เส้นทางเดิน ... รังสีชุมชน...เริ่มต้นต่อสู้เรื่องปรับตำแหน่ง(อย่างเป็นระบบ)


ยื่นโต้แย้งเอกสารตอบกลับ กพ. 

      หลังจากศึกษาเอกสารตอบกลับจาก กพ.ซึ่งใช้เวลาเพียงน้อยนิดกับสมองก้อนน้อยๆของข้าฯเอง ก็มองเห็นแนวทางที่จะดำเนินการต่อสู้ต่อไปได้ในเรื่องของการปรับตำแหน่ง ซึ่ง กพ.แจ้งว่าไม่สามารถปรับ จพ.รังสีเป็นนักรังสีได้เหมือนพยาบาลเทคนิดเป็นพยาบาลวิชาชีพ โดยให้เหตุผลประกอบว่า พยาบาลเทคนิคทำงานเหมือนกับพยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิคไม่มีการผลิตแล้วทำให้ไม่ต้องเปิดตำแหน่งเพิ่ม สาระหลักๆมีแค่นี้เองครับ แล้วรังสีเราล่ะ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตรงไหน รังสีไม่มีการผลิตระดับอนุปริญญาแล้วเช่นกัน จพ.รังสีกับนักรังสีเราก็ทำงานชิ้นเดียวกัน คือเอกเรย์ผู้ป่วยเป็นหลัก ไม่เหมือนกันตรงไหน เมื่อสมองอันน้อยนิดคิดได้เท่านี้ก็ โทร.ปรึกษากับท่าน อ.บรรจง ประธาน กช. คุณขนิษฐา รองประธานชมรมฯ คุณวิทูรย์  ที่ปรึกษาชมรมฯ และเห็นตรงกันว่าเราจะเดินหน้าเรื่องนี้ต่อ โดยจะทำในนามกลุ่ม ไม่เกี่ยวกับชมรมฯ เราจึงเริ่มกระบวนการแบ่งงานกันทำ โดยคุณขนิษฐาเป็นคนทำข้อมูลหลัก อ.บรรจง ทำเรื่องสถาบันผู้ผลิต คุณวิทูรย์ ดูเรื่องข้อกฎหมาย และคุณอุดมลักษณ์คอยประสานงานข้อมูล ส่วนข้าพเจ้าดำเนินการประสานงานกับ กพ.เป็นหลัก เพื่อหาหลักเกณฑ์ มาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง และส่วนต่างๆ เราใช้เวลาเพียงแค่อาทิตย์เดียวในการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น และจัดการนัดหมายเลขา กพ.เพื่อยื่นข้อโต้แย้ง อีกรอบ ซึ่งทาง กพ.มอบหมายให้ ผอ.ฝ่ายจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน ประสานงานแทน นัดหมายกันวันที่ 13 มค. 55 เอกสารที่ยื่นวันนั้น มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนในวิชาชีพเซ็นต์ชื่อในเอกสาร  คือ อ.บรรจง ประธาน กช.เซ็นต์ชื่อในฐานะสถาบันผู้ผลิต คุณวิทูรย์ กรรมการวิชาชีพ  คุณขนิษฐา ในฐานะตัวแทนชมรมฯ คุณอุดมลักษณ์ จพ.รังสีที่รอปรับ ในฐานะผู้เดือดร้อน และข้าพเจ้า นักรังสีการแพทย์ ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ และมีน้องปลามาช่วยนั่งทำข้อมูล หลังจากมีการยื่นเอกสารแล้ว ก็มีการเปิดห้องประชุมถกกันในรายละเอียดอย่างชัดแจ้งทุกข้อ หลายๆเรื่องที่เราต้องตกใจ คือ กพ.มีข้อมูลที่ผิดๆในหลายๆเรื่อง เช่นนักรังสี กับ จพ.ทำงานคนละอย่างกัน เค้าไม่เคยทราบมาก่อน เรื่องหยุดผลิตระดับอนุปริญญาก็ไม่เคยมีใครแจ้งเข้ามา และบอกกับเราว่าเมื่อก่อนเวลาจะขอตำแหน่งเราไม่เคยส่งข้อมูลอะไรเลย เวลาเข้าคณะกรรมการพิจารณา แทบจะไม่ต้องพูดอะไรกันเลยด้วยซ้ำ ตกตั้งแต่ชงเรื่องขึ้นมา เราเลยเริ่มเข้าใจ กพ.มากขึ้น และ กพ.ก็เริ่มขอข้อมูลเราในด้านต่างๆมากขึ้น เช่นจำนวนคนที่รอบรรจุ ขอชื่อและรายละเอียด ขอจำนวนที่ขาดแคลน ขอเรื่องเครื่องมือ ฯลฯ ซึ่ง กพ.ไม่เคยมีข้อมูลเหล่านี้เลย พวกเราก็เลยกลับกันออกมาพร้อมกับการบ้านชิ้นใหญ่ที่ต้องเร่งทำให้แล้วเสร็จ หลังจากนั้นประมาณเดือนเดียวก็มีหนังสือจาก กพ.ขอข้อมูลด้านต่างๆเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณา รวมถึงส่งหนังสือสำเนาถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่า กพ.มีความสนใจที่จะนำเรื่องของพวกเราเข้าพิจารณาในคณะกรรมการจริงๆ ทำให้พวกเรามีกำลังใจขึ้นเยอะมากที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมต่อไป  

    หลังจากนั้นเราก็ช่วยกันรวบรวมข้อมูลจากเพื่อนร่วมวิชาชีพทั่วประเทศ รวมถึงศูนย์วิทย์ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทุกคนในวิชาชีพเริ่มตื่นตัวมากขึ้นเมื่อเริ่มมีหนังสือตอบกลับ กพ.ในเรื่องข้อมูลต่างๆเพื่อใช้ในการปรับตำแหน่ง ทำให้พวกเราชาวรังสีเริ่มมีความหวังเต็มเปี่ยม และเริ่มมีคนเข้ามาช่วยเพิ่มมากขึ้น เป็นการรวมกลุ่มรวมพลังกันทำงานที่ได้ผลเกินคาดหมาย ....ขอบคุณทุกๆท่านครับ จากใจจริง

   

หมายเลขบันทึก: 509994เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอให้สำเร็จตามที่ตั้งใจนะคะ สำหรับหมออนามัยก็ยังไร้วิชาชีพเหมือนเดิม ดูจะทำอะไรในอนามัยได้น้อยลงทุกที ทั้งๆที่อยู่กับอนามยและเป็นที่พึ่งชาวบ้านมานานมากกว่าวิชาชีพอื่นในอนามัยเสียอีก นี่คือความจริงค่ะ

ขอบคุณครับ ยังงัยเสียสหวิชาชีพด้านสุขภาพทั้งหมด คงต้องร่วมมือกัน ขวัญกำลังใจของน้องๆ เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้การทำหน้าที่ให้บริการกับประชาชนผู้รับบริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หวังว่าผู้ใหญ่คงหันมามองพวกเรากันบ้าง ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท