ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด


              "ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด" คำคำนี้มีความหมายว่าอย่างไรนะ ? ผมได้ยินเสียงคุณแม่ลูกสองเพื่อนผมคนหนึ่งสอนลูกสาววัย 9 ขวบของเธอ ในขณะที่กำลังคุยธุระกับผม  เสียงลูกสาวเธอออดอ้อนคุณแม่เหมือนน้อยใจเล็กๆ ที่คุณแม่ไปต่อว่าเธอว่า กระแดะ หรือเปล่า คุณแม่ท่านนี้จึงต้องพักสายธุระกับผมเพื่ออธิบายความหมายของคำคำนี้ให้กับลูกสาววัยอยากรู้ อยากซน อยากเรียนรู้ 

               ผมลองสืบค้นในกุ๊กเกิ้ลดูได้ความว่า หมายถึง   ฟังเรื่องราวไม่ชัดเจน  แล้วนำไปพูดหรือทำอย่างผิดพลาด  กระเดียด  คือ  กิริยาที่นำสิ่งของไปโดยเอาเข้าข้างสะเอว ในที่นี้  หมายถึง  นำไปพูดต่อ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมคนโบราณ จึงนำความหมายของคำนี้ไปเทียบกับคำว่ากระเดียด ซึ่งในสำนวนของฝรั่งเองก็มีคำในทำนองความหมายนี้เช่นกัน เช่น "To catch at Shadow " ซึ่งมีความหมายว่าฟังไม่ได้ความ แล้วนำไปเล่าให้ผู้อื่นฟังทำให้เกิดความเสียหาย

              ในความเป็นจริงแล้วความหมายของคำว่า "ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด" ยังตีความหมายได้ว่า สื่อความหมายกันแล้ว แต่ตีความผิด นำความหมายของการสื่อสารที่ไม่ตรงกันไปตีความ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกัน  มองเหมือนทักษะการฟังจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่หลายคนกับไม่ได้คิดว่าการฟังเป็นเรื่องเล็กๆ เลย ทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี การฟังอย่างตั้งใจ กับเป็นกลไกล และเครื่องมือของคนเป็นผู้บริหาร ที่ต้องฝึกทักษะการเป็นผู้ฟัง ทักษะการฟังอย่างใส่ใจ ใช้ใจในการฟัง

             ผมชื่นชมคุณแม่ท่านนั้นที่เขาสนใจลูก ซึ่งกำลังเรียนรู้และตีความสิ่งที่คุณแม่พูดว่า คำว่า ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียดมีความหมายว่าอย่างไร และก็อธิบายให้คุณลูกเข้าใจในความหมายนั้น ไม่ได้ปล่อยผ่านเลยไป 

            แต่บางครั้งเองคนใกล้ตัว ก็มีบ่อยครั้งที่ฟัง แต่เหมือนไม่ได้ฟัง หรือฟังอย่างไม่เข้าใจ ฟังไม่หมด ไม่ได้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับการฟัง เพราะสิ่งแวดล้อมรอบตัวมีทั้ง เสียงโทรทัศน์ ข้อความจากไอแพด ทำให้สมาธิในการฟังเสียไป จนจดจำใจความสำคัญของการสื่อสารดังกล่าวไม่ได้  ดังนั้นในวันนี้ผมจึงขอเสนอคำสุภาษิตวันละคำว่า "ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด" หวังว่าคนใกล้ตัวจะมีทักษะการฟังที่ดี ไม่เหมือนหนูน้อยวันเก้าขวบนั่นเอง

              


หมายเลขบันทึก: 509780เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2012 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2012 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท