สร้างนิสัยรักการอ่านผ่านบล็อก


          ผมได้เข้าไปอ่านแนวคิด เรื่องห้องเรียนกลับทางจากบันทึกของหมอวิจารณ์ พานิช จากบันทึกนี้ ที่เขียนแนวคิดจากการอ่านหนังสือ เรื่อง Flip Your Classroom : Reach Every Student in Every Class Every Day ทำให้เกิดแรงบันดาลใจจากคุณหมอว่าคุณหมอเป็นนักอ่านที่อ่านแล้วยังแบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่นโดยนำมาเล่าต่อผ่านบันทึกในบล็อก Gotoknow โดยวิธีการเขียนบันทึกของคุณหมอ เขียนจากมุมมองของผู้อ่านที่มีประสบการณ์ ทำให้บันทึกน่าอ่าน เพราะเราเห็นภาพของปัญหา และแนวทาง ผสมผสานกับการศึกษาของบ้านเรา ที่จะสามารถยกระดับการศึกษาของไทยผ่านกระบวนการอย่างไร 

       ซึ่งการเขียนของคุณหมอใช้วิธีการเขียนเล่าเป็นตอนๆ ทั้งหมด ๙ ตอน

  1. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง : 1. เริ่มจากการทำงานในหน้าที่ครูสอน
  2. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง : 2. ห้องเรียนกลับทางเป็นอย่างไร
  3. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง : 3. ทำไมจึงควรกลับทางห้องเรียน
  4. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง : 4. วิธีดำเนินการกลับทางห้องเรียน
  5. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง : 5. ห้องเรียนกลับทางและเรียนให้รู้จริง
  6. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง : 6. ลักษณะของห้องเรียนกลับทางและเรียนให้รู้จริง
  7. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง : 7. วิธีดำเนินการ
  8. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง : 8. คำถาม - คำตอบ
  9. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง : 9. สรุป (จบ)

เวลาอ่านแต่ละตอน ทำให้เราไล่ลำดับกลับไปกลับมาได้อย่างสะดวกจากลิ้งที่คุณหมอทำไว้ ในแต่ละบันทึกยังมีลิ้งตัวอย่างไปยังประเด็นของสื่อโซเชี่ยลต่างๆ เช่น Youtube  Wiki  หรือร้านหนังสืออย่าง หนังสือห้องเรียนกลับทางจากเว็บ Amazon  

วิดีโอแนวคิดเรื่อง ห้องเรียนกลับทางจากเว็บ Youtube 

               เมื่อผมอ่านบันทึกดังกล่าวแล้วทำให้ผมปิ๊งไอเดีย ในการที่จะส่งเสริมให้นิสิตมีนิสัยรักการอ่าน โดยก่อนอื่นผมลองไปค้นหาสถิติการอ่านของคนไทย พบข้อมูลปี 2554 ตามลิ้งนี้  จะเห็นได้ว่า คนไทยอ่านหนังสือ 35 นาที/วัน คนไทยอ่านหนังสือ 35 นาที/วัน

ผลการสารวจที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ การอ่านของเด็กเล็ก นอกเวลาเรียน ทั้งการอ่านด้วยตัวเองและมีผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง  พบว่า เด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือ ร้อยละ 52.8  เพิ่มขึ้นจากการสำรวจในปี 2551 โดยเด็กผู้หญิงอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าเด็กผู้ชาย คือร้อยละ 55.9 และ 49.9 ตามลําดับ

เมื่อดูข้อมูลแล้วพบว่ายิ่งโตขึ้นแนวโน้มการอ่านหนังสือลดลง โอ้พระเจ้าจอร์จอะไรกันเนี่ยประเทศไทย ไม่ได้แล้ว เราต้องหากลเม็ดในการส่งเสริมการอ่านให้กับนิสิตบ้างแล้ว

เอาล่ะเรามาเริ่มกันดีกว่า ก่อนอื่น ผมต้องให้นิสิตเค้าเลือกหนังสือที่เค้าอ่านสักเรื่อง ว่าแล้วผมก็ลองเข้าไปค้นดูในเว็บอเมซอนว่ามีหนังสือทางการศึกษาและเทคโนโลยีการศึกษาอะไรที่น่าอ่าน โอ้ !!! มีหนังสือน่าอ่านเพียบเลยที่อเมซอนแนะนำไว้



ทักษะศตวรรษที่ ๒๑  คิดใหม่นักเรียนเรียนรู้อย่างไร

ห้องเรียนกลับด้าน

เครื่องมือดิจิตอลสำหรับครู

เว็บ ๒.๐ การนำไปใช้สำหรับนักการศึกษา

การใช้เทคโนโลยีการสอนในห้องเรียน
อ่านแล้วทำอะร คำตอบนี้สำหรับผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ผู้อ่านควรได้สรุปความรู้ และเชื่อมโยงความคิดจากการอ่านสะท้อนคิดสู่โลกแห่งความเป็นจริง อ่านแล้วต้องค้นต่อมีแหล่งให้สืบค้นต่อเพิ่มเติมมากมาย เช่น Wiki Google Youtube เป็นต้น 

หมายเลขบันทึก: 509057เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2012 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

รักการอ่าน...ดีมากๆๆค่ะ .... รักลูก และ รักลูกศิษย์ ...... "รักการอ่าน"  นะคะ

 

 

 

 

เข้ามาทักทายท่านอาจารย์ครับ ผมว่าท่านอาจารย์เหมาะในการใช้ Flip Your Classroom กับนิสิตมากที่สุดเลย ส่วนการอ่านอยากเห็นการอ่านที่ไม่ใช่ตำราบ้างครับ ระลึกถึงครับ

เดี๋ยวนี้อ่านหนังสือง่ายมากขึ้นด้วย ebook reader ต่างๆ ด้วยครับ ก่อนหน้านี้อยากได้หนังสือจาก Amazon สักเล่มนี่วุ่นวายมาก ตอนนี้คลิกเดียวก็ได้อ่านเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท