บริษัทผู้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตกับการเปิดเสรีภาคบริการของ ASEAN


ในกลุ่มของสาขาบริการด้านการเงิน (Financial Services) ที่จะต้องเปิดเสรีตามกรอบความตกลงว่าด้วยการบริการของอาเซียน (ASEAN Framework on Services: AFAS) และแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างองค์ความรู้ และเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อที่จะอาศัยประโยชน์จากการเปิดตลาดของอาเซียน

             พัฒนาการของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนได้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องมากไปกว่านั้นบรรดาผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีความพยายามที่จะเร่งรัดการเปลี่ยนแปลงอาเซียนไปสู่ภูมิภาคที่มั่นคง มั่งคั่ง และมีขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน อันนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ซึ่งได้แก่


ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community:APSC)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economy Community:AEC)

และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)

 

             สำหรับเสาหลักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economy Community: AEC) นั้นเป็นความร่วมมือประการหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีอิทธิพลต่อพัฒนาการในภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก ที่ส่งผลให้อาเซียนเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นภูมิภาคที่จะผูกโยงเศรษฐกิจของทุกประเทศสมาชิกเข้าด้วยกันเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Single Production Base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุนข้ามพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเสรีมากขึ้น (Free Flow of Goods, Services, Investment, and Skill Labors and Freer flow of Capital) โดยกำหนดเวลาที่จะลดหรือยกเลิกอุปสรรคของการเคลื่นย้ายเสรีระหว่างกันเป็นระยะ อาทิ การกำหนดให้ลดภาษีสินค้าเป็น 0% และลดหรือยกเลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี การเปิดเสรีการลงทุน และเปิดตลาดภาคบริการทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
ซึ่งนับว่าเป็นความท้าทายของอาเซียน และประเทศสมาชิก รวมถึงประเทศไทยที่จะต้องดำเนินการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งการเปิดตลาดเสรีนี้ย่อมส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อภาคเอกชนผู้ประกอบธุรกิจภายในประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างแน่นอน

 

  ดังนั้น บริษัทในกลุ่มธุรกิจประกันชีวิต ในฐานะนิติบุคคลไทย ที่ประกอบธุรกิจการประกันชีวิต อันเป็นธุรกิจประเภทหนึ่งของการบริการ ซึ่งอยู่ในกลุ่มของสาขาบริการด้านการเงิน (Financial Services) ที่จะต้องเปิดเสรีตามกรอบความตกลงว่าด้วยการบริการของอาเซียน (ASEAN Framework on Services: AFAS) และแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างองค์ความรู้ และเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อที่จะอาศัยประโยชน์จากการเปิดตลาดของอาเซียนที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ อันมีประชากรเกือบ 600 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 10 ของประชากรโลก และมี GDP รวมประมาณ 2.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 2.6 ของ GDP โลก และจากการค้าการลงทุนที่เสรีและเป็นธรรม อันปราศจากอุปสรรค และการกีดกันทางการค้า มาเป็นเครื่องมือสำหรับการเปิดตลาดในเชิงรุก และการขยายโอกาสทางธุรกิจในประเทศสมาชิกอาเซียน
อีกทั้งเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในอาเซียน 

หมายเลขบันทึก: 508685เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2012 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท