ศาสนาคืออะไร


ตัดมาจาก วนิดา ขำเขียว. ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : พรานนกการพิมพ์, 2543. ใน [http://hu.swu.ac.th/ph/religion.htm]-Department of Philosophy and Religion, Srinakarintarawirote University.

ศาสนามาจากภาษาสันสกฤตว่าศาสนมและภาษาบาลีสาสนแปลว่าคำสั่งสอนและข้อบังคับซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่ารีลีเจียน ” (religion) ซึ่งคำนี้มาจากภาษาละตินว่าเรลีจีโอ ” ( religio ) แปลว่าความกลัวหรือความยำเกรงในอำนาจพระเจ้าความหมายแบบนี้รวมถึงความศรัทธา ตลอดจนการทำกิจกรรมต่อพระเจ้า โดยผ่านคำสอนที่เป็นระบบทางศีลธรรม

ดังนั้นความหมายของศาสนมและสาสนจึงต่างจากรีลีเจียน ” ( religion ) โดยคำว่าศาสนมและสาสนมิได้มุ่งหมายเฉพาะคำสอนของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ แต่หมายถึงคำสอนของผู้ก่อตั้งศาสนาที่จะยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติได้พ้นจากความทุกข์ ส่วนรีลีเจียน ” ( religion ) มีความหมายค่อนข้างโน้มนำไปในเรื่องอำนาจของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ อันได้แก่ พระเจ้า

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน. 2525 : 770) ได้อธิบายว่า  ศาสนา คือ ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์ อันมีหลักคือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่าย ปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญและบาป อันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่ กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถืออันนั้น ศาสนาเกิดขึ้นได้อย่างไร ? จากทฤษฎีต่าง ๆ ที่ฮอพฟ์ได้ทำการสรุปไว้ 5 ทฤษฎี ดังนี้ 1. เกิดจากความเชื่อเรื่องวิญญาณ เป็นความเชื่อในลัทธิวิญญาณนิยม ซึ่งมีความเชื่อว่ามนุษย์ดั้งเดิมในยุคแรก ๆ นั้น มีความสับสนในการแยกความแตกต่างระหว่างความจริงกับความฝัน เมื่อพวกเขาฝันเห็นเกี่ยวกับความตายหรือฝันเห็นวิญญาณ จึงทำให้เกิดเป็นความเชื่อในเรื่องจิตหรือวิญญาณ และคิดว่าสิ่งที่เห็นในฝันนั้นมีอยู่จริง ๆกลุ่มนี้ยังมีความเชื่อต่อไปอีกว่าวิญญาณเหล่านี้ไม่เพียงแต่มีอยู่ในมนุษย์เท่านั้น แต่ยังแฝงอยู่ในธรรมชาติด้วยเช่น ก้อนหิน ต้นไม้ สัตว์ อากาศ แม่น้ำ ลำธาร ภูเขาไฟ และภูเขา เป็นต้น วิญญาณเหล่านี้ในภาษาละตินเรียกว่า อนิมา ” ( Anima ) ซึ่งวิญญาณนี้หากมนุษย์ทำอะไรที่ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้วิญญาณนี้ไม่พอใจและลงโทษมนุษย์ได้ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องทำพิธีสวดอ้อนวอนเพื่อขอความกรุณานอกจากนี้ยังมีอีกความเชื่อหนึ่งในหมู่เกาะเมลานีเชียน (Melanesians ) ที่เรียกอำนาจนี้ว่ามานา ” ( Mana ) วิญญาณแบบมานานี้เป็นวิญญาณแบบอบุคคล เป็นอำนาจที่แฝงอยู่ในธรรมชาติ ต่างจากอนิมาที่เป็นอำนาจลึกลับแบบบุคคล อำนาจแบบมานาไม่ต้องเซ่นไหว้หรือสวดอ้อนวอนเอาใจแบบอนิมา เพียงแต่หลีกเลี่ยงการกระทำบางอย่างซึ่งอาจให้โทษ การหลีกเลี่ยงไม่กระทำนี้เรียกว่าตาบู ” ( Taboo )เช่น การไม่รับประทานเนื้อสัตว์หรือพืชบางชนิด การไม่แต่งงานในสายเลือดเดียวกัน การไม่ปลูกต้นไม้บางชนิดในบ้าน เป็นต้น 2. เกิดจากการนับถือธรรมชาติ สืบเนื่องมาจากความช่างสังเกตของมนุษย์ที่เห็นความสม่ำเสมอของธรรมชาติก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ การเกิดกระแสน้ำขึ้นน้ำลง การเกิดพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ลง พระจันทร์ขึ้น พระจันทร์ลง ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่กล่าวมานี้เป็นผลมาจากอำนาจลึกลับที่มนุษย์ไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้แต่มันก็มีอยู่ในธรรมชาติ มนุษย์ในสมัยนั้นจึงผูกเรื่องขึ้นมากลายเป็นตำนานและเล่าต่อ ๆ กันมา เช่น ตำนานเทพเจ้ากรีก โรมัน เทพเจ้าอินเดีย เป็นต้น 3.เกิดจากความเชื่อในลัทธิเอกเทวนิยม เป็นทฤษฎีที่เสนอโดย คุณพ่อวิลเฮล์มชมิตต์ ( Father Wilhelm Schmidt ) ซึ่งเป็นบาทหลวงนิกายซูอิต ท่านเชื่อว่า บ่อเกิดของศาสนามาจากความเชื่อที่ว่า มีพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่อยู่องค์หนึ่ง เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งขึ้นมา เป็นบิดาของเทพเจ้าทั้งหลาย เมื่อพระองค์สร้างโลกแล้วก็ทรงปล่อยโลกให้เป็นไปตามวิถีทางของมัน โดยพระองค์ติดต่อกับโลกนี้น้อยมาก แต่เชื่อว่าสักวันหนึ่งพระองค์จะเสด็จกลับมาอีก แนวคิดนี้จึงทำให้เกิดแนวคิดแบบเอกเทวนิยม ( Monotheism ) 4. เกิดจากความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เป็นทฤษฎีที่เสนอโดย เซอร์ เจมส์ จอร์ช เฟรเซอร์ ( Sir James George Frazer ) ท่านเสนอไว้ว่า มนุษย์ได้พัฒนาเกี่ยวกับความคิดในเรื่องศาสนามีทั้งหมด 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 มนุษย์พยายามจะเอาชนะธรรมชาติโดยใช้ไสยศาสตร์ เวทย์มนต์ พ่อมด หมอผี เป็นต้น โดยจะใช้วิธีการเซ่นสรวงบูชา การเต้นรำขับร้อง และการทำนาย ทั้งหมดนี้เกิดจากพื้นฐานที่ว่ามนุษย์พยายามที่จะควบคุมธรรมชาติ ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มนุษย์มีศาสนาจึงเกิดพวกนักบวชขึ้นมา ใช้วิธีการสวดมนต์ อ้อนวอน และทำพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือเกิดความพอใจ ระยะที่ 3 เป็นระยะเวลาที่เกิดความเจริญในทางวิทยาศาสตร์ การอธิบายสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยหลักของเหตุผลจึงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เช่น ถ้าชาวนาต้องการฝนเขาไม่ต้องทำพิธีแห่นางแมว เขาแค่ต้องไปหานักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบในการทำฝนเทียม ที่จะมีวิธีที่จะทำให้เกิดฝนขึ้นโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุและผลและเป็นรูปธรรมสามารถมองเห็นได้ 5. เกิดจากความปรารถนาอันรุนแรงที่จะสร้างพระเจ้าขึ้นมา ฟอยเออบัค ( Ludwig Feuerbach ) ซึ่งเป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงมากในศตวรรษที่ 19 มีความเชื่อว่า พระเจ้าไม่มีอยู่จริง และความเชื่อในเรื่องพระเจ้าก็เป็นเพียงความปรารถนาอันรุนแรงของมนุษย์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อจะแก้ปัญหาความยุ่งยากในชีวิตของเขา ต่อมาศิษย์ของฟอยเออบัค 2 คน คือ มาร์กซ์ ( Karl Marx ) และ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud ) เป็นผู้บุกเบิกความคิดในการปฏิเสธความมีอยู่ของพระเจ้า มาร์กซ์ กล่าวว่าศาสนาคือยาเสพติด(ฝิ่น-opium) ” เพราะเห็นว่า ศาสนาเป็นเพียงกระบวนพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ในระหว่างชนชั้น ศาสนาเกิดจากคนกลุ่มหนึ่งได้สร้างกลไกขึ้นมาเพื่อควบคุมมวลชนไม่ให้เกิดความคิดในการต่อต้านหรือปฏิวัติ คนกลุ่มนั้น ได้แก่ นักปกครอง และนักบวชผู้ซึ่งพยายามทุกวิถีทางที่จะรักษความมั่งคั่งและอำนาจในหมู่ตนให้นานที่สุด ดังนั้น พวกเขาจึงสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้า สวรรค์และนรก สำหรับคนยากจนซึ่งเป็นชนชั้นส่วนใหญ่ให้ยอมรับในชีวิตที่ตนกำลังเผชิญอยู่เพื่อความสุขนิรันดรในสวรรค์ คำสอนเหล่านี้ไม่ต่างอะไรไปจากฝิ่นที่มีฤทธิ์ทำให้ผู้เสพหลงมัวเมาคลั่งไคล้ (อนึ่งถ้าไม่มีอคติฝิ่นจะช่วยผ่อนคลายจากความล้าด้วย)ฟรอยด์ เป็นนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง เขามีความคิดเห็นว่า ศาสนาเกิดมาจากความรู้สึกผิดในจิตของแต่ละคนความรู้สึกผิดนี้สืบเนื่องมาจากความเกลียดชังพ่อที่มีมาตั้งแต่เด็กและฝังรากลึกในจิตไร้สำนึกของลูกชาย ทำให้พวกเขาพยายามชดเชยความรู้สึกโดยจินตนาการถึงพ่อที่มีความยิ่งใหญ่ พิเศษและเรียกว่า พระเจ้า ดังนั้น มนุษย์ที่สมบูรณ์ในแบบความคิดของฟรอยด์ ก็คือ คนที่สามารถยืนหยัดต่อสู้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองโดยไม่อาศัยศาสนาและพระเจ้า แม้ว่าการเกิดขึ้นของศาสนาจะมีทัศนะต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป แต่ก็อาจสรุปได้ว่า ศาสนาเป็นความเชื่อถือของมนุษย์ในกลุ่ม ๆ หนึ่ง เมื่อเชื่อแล้วจะต้องมีการปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อความพ้นทุกข์ทางกายและใจ ความเชื่อถือของมนุษย์ในด้านศาสนามีอะไรบ้าง ? ความเชื่อถือของมนุษย์ในด้านศาสนามี 2 ประเภท คือ 1. ความเชื่อถือในอำนาจอันสูงสุดของพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ความเชื่อแบบนี้ก่อให้เกิดเป็นลัทธิเทวนิยม ( Theism )ซึ่งยอมรับในอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าว่าเป็นผู้สร้างสรรค์และทำลายโลก อำนาจของพระองค์จึงแผ่คลุมอยู่ไปทั่ว พระองค์ทรงสรรเดชะ ทรงรู้ทุกสิ่ง จึงไม่มีความรู้ใดปิดบังอำพรางพระองค์ได้ ทรงสถิตอยู่ในทุก ๆ แห่ง ความเชื่อเช่นนี้ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาซิกข์ เป็นต้น 2. ความเชื่อถือในหลักธรรมและกฎศีลธรรมต่าง ๆ และจริยธรรมทั่ว ๆ ไปแต่ปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดและไม่เชื่อว่าโลกจะเกิดจากพระผู้สร้างนี้ เพราะเชื่อว่าโลกเกิดจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ ศาสนาในกลุ่มนี้จึงเรียกว่า อเทวนิยม ( Atheism ) มีแนวความคิดอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลมากกว่าความเชื่อศรัทธา ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาเชน คำสอนของเหลาจื้อและคำสอนของขงจื้อ เป็นต้น องค์ประกอบของศาสนามีอะไรบ้าง ? ศาสนาจะเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ได้จะต้องมีองค์ประกอบครบถ้วน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้ ถ้าขาดข้อหนึ่งไปก็ให้จัดเป็นลัทธิหรือปรัชญา องค์ประกอบของศาสนามีดังต่อไปนี้ 1.ศาสดา คือ ผู้ประกาศคำสอนหรือผู้ก่อตั้งศาสนา ซึ่งมีตัวตนสามารถสืบค้นประวัติความเป็นมาได้อย่างมีหลักฐาน 2. คำสอน คือ แนวทางในการปฏิบัติทางศาสนา ซึ่งศาสดาเป็นผู้บอกหนทางแห่งการปฏิบัตินั้น ๆต่อมาได้มีการรวบรวมกันเป็นคัมภีร์เพื่อเป็นหลักปฏิบัติแทนองค์ศาสดา 3. ผู้ทำพิธีกรรม ได้แก่ นักบวชซึ่งดำเนินตามแนวทางของศาสนาที่ได้สั่งสอนไว้ และเป็นผู้ที่สืบทอดคำสอนรวมทั้งประกาศคำสอนของศาสดา นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆทางศาสนา 4. สถานที่ทำพิธีกรรม คือ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของศาสนิกชนในศาสนานั้น ๆ 5. ศาสนิกชน หรือผู้นับถือศาสนานั้น ๆ ซึ่งต่างจากผู้ทำพิธีกรรม เพราะไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แต่ต้องปฏิบัติตามหลักคำสอนพื้นฐานที่ได้กำหนดไว้ในบทบัญญัติของศาสนา รวมทั้งเป็นผู้ให้การสนับสนุนปัจจัยต่าง ๆเพื่อให้ศาสนาของตนสามารถดำรงอยู่ได้ แต่ศาสนิกชนเหล่านี้ ก็สามารถที่จะเปลี่ยนมาเป็นผู้ทำพิธีกรรมหรือนักบวชได้ ถ้ามีความพร้อมตามข้อกำหนดในศาสนา นอกจากองค์ประกอบทั้ง 5 นี้แล้ว ผู้รู้บางท่านยังกำหนดให้เครื่องหมายทางศาสนาเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดความเป็นพวกเดียวกัน เช่น ศาสนาพุทธ มีพระธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ศาสนาคริสต์มีไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ ศาสนาอิสลาม มีพระจันทร์เสี้ยวและดาวเป็นสัญลักษณ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เครื่องหมายทางศาสนายังไม่ใช่สิ่งสูงสุดหรือสิ่งสำคัญที่ศาสนาทุกศาสนาจะต้องมี บางศาสนาอาจไม่มีเลยก็ได้ เช่น ศาสนาเชนและศาสนาดั้งเดิมของเผ่าต่าง

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนาคืออะไร
หมายเลขบันทึก: 50828เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2006 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

อ่าน แร้ว เมื่อย

ดีมากๆเลยได้เรียนรู้ตั้งเยอะ

ไม่เห็นดีเลยไม่มีอะไร มักก้องั้นเหละไม่น่าเปิดเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท