กอบกู้การศึกษาไทย ด้วยการถักทอในพื้นที่


 

 

          ทางสว่างของการศึกษาไทยเริ่มชัดเจนขึ้นสำหรับผม ในวันที่ ๒ และ ๓ ต.ค. ๕๕   ว่าต้องใช้ยุทธศาสตร์ “ถักทอในพื้นที่”   ที่นำเสนอโดย ศ. นพ. ประเวศ วะสี ในเวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ ๙   จัดโดย สสค.

 

          แล้วในวันที่ ๓ ต.ค. คุณทรงพล เจตนาวณิชย์แห่ง สรส. ก็มาชี้วิธีดำเนินการแนว “โรงเรียนพ่อแม่”   ที่ชุมชนเป็นเจ้าของ  มี “ครูใหญ่” ในพื้นที่หรือชุมชน   มี “แกนนำนักเรียน” ชวนกันเรียน “วิชาชีวิต”

 

          วันที่ ๑๕ ต.ค. มูลนิธิสยามกัมมาจล ลงมติสนับสนุนโครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น ๔ ภาค   ระยะที่ ๒ เพื่อดำเนินการถ่ายโอนความรับผิดชอบการพัฒนาเยาวชน ไปสู่ อปท. ในพื้นที่   โดยมีสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เป็นพี่เลี้ยง   ระยะเวลา ๓ ปี   โดยมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ร่วมสนับสนุนเงินกึ่งหนึ่ง 

 

          ทาง สสค. และ สสส. มีข้อตกลงว่าจะร่วมกันสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาทั้งจังหวัด   ที่ทางจังหวัดดำเนินการกันเอง    ทาง สสค. และ สสส. หาทางส่งเสริมให้เกิดอิสระด้านการเงินแก่กลไกปฏิรูปในพื้นที่   ข้อตกลงนี้มีมาหลายเดือนแล้ว    แต่ยังตัดสินใจหาจังหวัดนำร่อง ๓ จังหวัดยังไม่ได้    วันที่ ๙ พ.ย. ๕๕ นัดคุยกันเรื่องนี้ที่มูลนิธิสยามกัมมาจล   เพื่อใช้ข้อมูลการทำงานของคุณทรงพล เป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือก  

 

          นอกจากนั้นจะได้ข้อมูลจากการดำเนินการเครือข่ายครูสอนดี ๑๕ จังหวัด โดยมูลนิธิสดศรีฯ   นำมาใช้ในการคัดเลือกจังหวัดนำร่อง ถักทอในพื้นที่ เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ ที่ประชาคมจังหวัดนั้นเป็นเจ้าของ

 

          มองภาพกว้าง นี่คือขบวนการเล็กๆ ของการกระจายอำนาจในสังคมไทย    ที่ก่อกำเนิดและเติบโตขึ้นเองจากพื้นที่   ไม่ใช่หยิบยื่นให้โดยผู้มีอำนาจจากส่วนกลาง

 

 

 

วิจารณ์พานิช

๒๑ ต.ค. ๕๕

 

หมายเลขบันทึก: 506832เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2012 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านแล้วมีความสุข ที่จะเห็นสิ่งดีเกิดกับวงการศึกษาไทยครับ

ที่โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม มหาสารคาม เรากำลังถักทอค่ะ

เริ่มจากโครงการเล็กๆ ของกลุ่มจิตอาสาฮักนะเชียงยืน

ชวนเพื่่อนและน้อง นำปัญหาในหมู่บ้าน(ปัญหาการใช้สารเคมีในการปลูกแตงแคนตาลูป)ขึ้นมาเป็นปัญหาร่วมกันเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

ในส่วนของครูเราได้ชวนโรงเรียนเข้าร่วมพัฒนาทักษะศตวรรษที่21

เรียน ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ ที่เคารพ

หลังจากอ่านบันทึกนี้แล้ว "ความอยาก" เข้าครองจิตใจผมอย่างรุนแรง แต่ผมรู้ว่าเป็น "ความอยากดี" ที่ "อยากได้" รับโอกาสนี้มาลงที่ จ.มหาสารคาม แม้ตอนนี้ เครือข่าย LLEN จะยังไม่ขยายชัดเด่นมากนัก แต่เรามีเพื่อนใจอย่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ที่ล่าสุดเพิ่งจัดกิจกรรม วิสัญจร ซึ่งสนับสนุนโดยคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 13-14 นี้เอง) และกำลังวางแผนร่วมกันในการขับเคลื่อน PLC ทั้งโรงเรียนต่อไป และมีเพื่อนใหม่เป็น อบต. ที่คณะวิทยาศาสตร์ เลือกเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ตามโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

โครงการต่างๆ เหล่านี่้ยังขาดการขับเคลื่อน ภาคประชาชน โดยเฉพาะผู้ปกครอง หรือที่ท่านเรียกว่า "ถักทอ"

ทราบว่าอาจมีหลายจังหวัดพร้อม ปรารถนา และอาสาด้วยใจเต็มที่ เช่นเดียวกับที่มหาสารคามขอเสนอตัว 

เพื่อโปรดพิจารณาครับ

ฤทธิไกร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท