เปิดเทอมประชาคมอาเซี่ยน


                  ตามที่ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยไทยมีมติในการเลื่อนเปิดการเรียนระดับอุดมศึกษารองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อความเป็นสากลและประโยชน์ในการทำกิจกรรมร่วมกันกับประเทศอื่นๆ โดย จะดำเนินการในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งในการนี้มหาวิทยาลัยนเรศวร ลองทดลองนำร่อง ในปีการศึกษา 2556

                 มองดูเหมือนไม่มีอะไรต้องยุ่งยาก ก็แค่เปลี่ยน เลื่อนเวลาเปิดภาคเรียนจากเดิมที่เปิดช่วง มิถุนายน ไปเป็นสัปดาห์ที่สองของเดือน สิงหาคม  ปี 2556 แต่พอเอาเข้าจริงก็มีอะไรเยอะเหมือนกันที่ตามมา เช่น หลังจากจบภาคเรียนที่สองของปีการศึกษา 2555 ในเดือนมีนาคม ภาคเรียนฤดูร้อนจะยาวนาน ถึง 5 เดือน คือตั้งแต่ กลางเดือนมีนาคม ถึง กลางสิงหาคม อูย!!! พักยาวเลยเหรอ นิสิต จะไปทำอะไรกัน

               มีหลากหลายความเห็นออกมา

                บางคนบอกว่า นิสิตที่จะจบตอนภาคฤดูร้อน ต้องลากยาวไปอีกห้าเดือน ทำให้จบช้าลง และมีบางคนที่จะต้องจบภาคการศึกษาถัดไป จะกลายเป็น จบช้าไปอีก 9 เดือน

              อย่างคณะศึกษาศาสตร์ นิสิตออกฝึกสอนเทอมต้น โรงเรียนเปิดพฤษภาคม นิสิตปีสี่ปีนี้ ก็ต้องลงทะเบียนเรียนภาคฤดูร้อน ก่อน แล้วจึงออกฝึกสอนในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างภาคฤดูร้อนกันภาคเรียนต้น เพราะทางโรงเรียนต่างๆ ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนภาคเรียนเหมือนอุดมศึกษา ซึ่ง เลขาธิการ กพฐ. เองก็ออกมาให้ข่าวว่าไม่เลื่อนภาคเรียนตามอุดมศึกษา เพราะนักเรียน ประถม มัธยมไม่มี การเลื่อนไหลไปเรียนต่างประเทศ

           “โดยเฉพาะนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะไม่ค่อยเคลื่อนย้ายไปเรียนประเทศต่างๆ เหมือนระดับอุดมศึกษา เด็กเล็กส่วนใหญ่จะเรียนอยู่กับบ้าน เพราะฉะนั้น ในความเห็นของ สพฐ.ยืนยันว่า ระบบเปิด-ปิดภาคเรียนที่ใช้อยู่เหมาะสมแล้ว เด็กและผู้ปกครองต่างก็คุ้นเคยกับระบบนี้แล้ว เพราะเป็นระบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย อีกทั้งจำนวนนักเรียนและผู้ปกครองก็มีถึง 20 ล้านคน เรียกว่า เกือบครึ่งของประเทศแล้วถือว่าเป็นคนจำนวนมาก ดังนั้น ถ้าจะทำอะไรก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบก่อน เรื่องการเลื่อนเปิด-ปิดภาคเรียนให้สอดคล้องกับประเทศอื่น ยังถือว่าเป็นเหตุผลที่ไกลตัว” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
 

                 เอาละซี แล้วอย่างนี้จะเป็นปัญหาไหม อย่าง คณะศึกษาศาสตร์ มีเปิดเรียนภาคเรียนฤดูร้อน ซึ่งดำเนินการมา 17 ปี เหมาะสำหรับครูประจำการใช้เวลาช่วงปิดเทอมใหญ่มาเรียนเพิ่มเติมความรู้ ก็คงต้องมีผลกระทบ เพราะถ้าโรงเรียนอยู่คงเดิม ไม่ปรับ ภาคเรียนฤดูร้อน ของคณะศึกษาศาสตร์ ก็ต้องมีปัญหาการลงทะเบียนเรียน ซึ่งต้องทำเป็นกรณีพิเศษ

                นิสิตคนใดที่มีผลกระทบกับเรื่องดังกล่าว มีความคิดเห็นกรุณาแจ้งบอกกล่าวด้วยเพื่อ ภาควิชาจะได้วางแผนในการเตรียมการรองรับเรื่องดังกล่าว

หมายเลขบันทึก: 506679เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2012 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2012 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แบบนี้คงต้องวางแผนยาวเลยครับอาจารย์หนึ่ง
  • อาจารย์สบายดีไหมครับ

เสือปืนไวอีกแล้วครับ สบายดีครับ อาจารย์ล่ะครับ สบายดีไหม

จากมิ.ย. เลื่อนเป็น กลาง ส.ค. = 1เดือนครึ่ง

เปิดช้าไป 1 เดือนครึ่ง ก็ต้องจบช้าไป 1เดือนครึ่ง แน่นอนครับ ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ ทุกคนที่ยังไม่จบ รวมไปถึงนักเรียนที่กำลังจะเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยครับ

ด้วยจิตคารวะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท