“Routine to Research เพิ่มประสิทธิภาพของงานประจำด้วยการทำวิจัย” : ได้เรียนรู้อะไรบ้าง? (2)


“...เมื่อทราบภาพรวมแล้วลองวกกลับมามองงานประจำแล้วเชื่อมโยงสู่วิธีคิด วิธีมองแบบวิจัยต่อกันเถอะ...”

 

สิ่งที่ได้จากการบรรยายในลำดับถัดมา เป็นเรื่องของวิธีคิด วิธีทำสู่ “บางส่วน” ของ การเขียนโครงร่างงานวิจัย (proposal)

ประเด็นสำคัญคือ เพราะเราเริ่มจากการนำปัญหาที่เราพบในการทำงานประจำมาหาทางแก้ไข นั่นคือเริ่มจากข้อสงสัยที่เป็นโจทย์ หรือ คำถาม ดังนั้น “ชื่อเรื่องจึงมักเกิดขึ้นภายหลัง...”

 

โจทย์ หรือ คำถาม : วิธีมองหา

  1. มองปัญหาว่า ปัญหาไม่ใช่ขยะ (ที่ต้องโยนทิ้ง)
  2. ทำอย่างไรจึงทำให้งานที่ทำดีขึ้นกว่านี้อีก อย่าลืมว่าต้องดู “เนื้องาน” (กล่าวไว้ในบันทึกก่อนหน้า)
  3. สิ่งที่เกี่ยวข้องที่เราสามารถดึงมาเป็นปัญหาได้ ให้มองว่าเป็นโจทย์ที่ต้องการคำตอบมากกว่าเป็นปัญหา เช่น เวลาซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุน หรือมาตรฐานในการทำงานที่หากไม่มีอาจทำให้งานไม่ได้คุณภาพที่ต้องการ
  4. ปัจจุบันองค์กรมุ่งเน้นผลลัพธ์ ดังนั้น การคิดว่า “ทำ(วิจัย)แล้วได้อะไร” จึงเป็นการกำหนด output ที่ต้องการ เพื่อกลับมาปรับปรุง process และ input ที่มีอยู่เดิม โดยเชื่อว่า “อนาคตกำหนดได้” (เป็นการปรับวิธีคิด จากเดิมมีเพียง input > process > output มาเป็น output > process > input ได้)
  5. บางตัวอย่าง เช่น การกำหนดมาตรฐานงาน ได้แก่ work procedure (WP) standard procedure (SP) ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการ เวลา เชื่อมโยงกันสู่ระบบ กระบวนงานอย่างไร กำหนดมาตรฐานการทำงานอย่างไร
  6. อีกวิธีหนึ่งในการมองโจทย์ หรือ คำถาม คือ “การมองไปข้างหน้า” ว่าปัญหาเกิดจากการสังเกตเห็นว่า ถ้าเป็นแบบเดิมนี้ ในอีก 3-4 ปีจะเป็นอย่างไร ทำอย่างไรเราจึงจะไปถึงตรงนั้นในอีก 3-4 ปีข้างหน้า

 ที่กล่าวมาจะได้โจทย์หรือข้อคำถาม

 

ที่มาและความสำคัญ

หัวใจสำคัญคือศิลปะในการเขียน เขียนอย่างไรให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญ มีหลักฐานสนับสนุนความสำคัญให้น่าเชื่อถืออย่างไร มองได้หลายมุมมอง เช่น

  1. เริ่มจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เล่าสถานการณ์ ความถี่ที่เกิด
  2. เริ่มจากอนาคต ว่าเราอยากเป็นแบบนี้ แล้วกำหนดเป้าหมาย
  3. นำสภาพแวดล้อมภายนอกมาช่วยโดย
  • นำปัจจุบันกำหนดอนาคต หรือ
  • นำอนาคตออกแบบงาน
  1. สิ่งแวดล้อม/ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ที่นำมาช่วยเรื่องการเขียนได้ เช่น
  • Global Trends
  • Wireless World  
  • ONLINE OXYGEN
  • Aging Society
  • The Health Concern เป็นต้น

 

โดยสรุป

  1. สถานการณ์ : เป็นคำอธิบาย บ่งบอกที่มาและความสำคัญว่าเราจะทำอะไร ทำไมต้องทำ มีความสมเหตุสมผลและสำคัญในงานประจำอย่างไร ถ้าไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ดังนั้นต้องมีข้อมูล (information) ที่มาสนับสนุน เช่น มีจำนวนเท่าไหร่  ณ ตอนนี้เป็นแบบนี้ เรื่องนี้สำคัญอย่างไร? ระบบจัดการส่งผลดีหรือเสียอย่างไร? หากปล่อยไว้จะเกิดอะไรขึ้น อีก 10-20 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร สถานการณ์เป็นอย่างไร นำสู่การแก้ไขอย่างไร ดังนั้น จึงต้องทำเรื่อง........ ซึ่งจะส่งผลดีคือ...?
  1. โจทย์ : ปัญหา คือ ข้อสงสัยของเรา (ว่าเราจะทำอย่างไร?)
  2. ชื่อเรื่อง : บ่งบอกเนื้อหา (อยู่ตรงวัตถุประสงค์ ตั้งให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์
  3. ระเบียบวิธีวิจัย : โดยใช้คำถามว่า ทำอย่างไร? เช่น ทำอย่างไรให้คู่มือสู่การปฏิบัติได้มากกว่านี้
  4. การหาข้อมูลและวัตถุดิบมาสู่จินตนาการ
  • “การค้น” หรือเรียกว่า “search” ส่วน “การค้นแล้ว ค้นอีก” เรียกว่า “research”
  • การอ่าน การวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำหลักฐานมาสนับสนุนหรือโต้แย้ง การค้น เรียกว่าเป็นการ review
  • วรรณกรรม เป็นเรื่องของทฤษฎี งานวิจัย และเอกสารจากแหล่งต่างๆ
  • การค้นข้อมูลต้องมีประเด็นสำหรับการค้น มีแนวโน้มต่างๆ ค้นอย่างมีวัตถุประสงค์ เจอเอกสารที่ต้องการแล้วอ่านเพื่อให้ได้คำตอบ (คือต้องมีคำถามในการนำมาประพันธ์เรื่อง)
  • อ่านมาก่อนแล้วมาขมวด

เทคนิคการเขียน

  1. สื่อสารอย่างไรให้คนอื่นเข้าใจผ่านการเขียนของเรา
  2. ต้องเขียนด้วยสำนวนภาษาของตนเอง มิใช่ไปลอกมา
  3. เป็นเรื่องของการประพันธ์ การแต่งเรื่อง
  4. การประพันธ์ของนักวิจัย เป็นเรื่องของจินตนาการ ร่วมกับข้อมูลเชิงประจักษ์, หลักฐานสนับสนุน, ทฤษฎีอ้างอิง ทักษะการประพันธ์
  5. การเขียนที่มาและความสำคัญ ให้เขียนเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกจะกล่าวถึงคำสำคัญในวัตถุประสงค์ว่าสำคัญอย่างไร เช่นเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ลดค่าใช้จ่าย ถ้าไม่ทำจะเกิดผลเสียรุนแรงอย่างไร ส่วนที่สอง ถ้าเอาอนาคตเป็นตัวตั้ง ให้กล่าวถึงสถานการณ์ที่จะเกิดในอนาคต แต่หากพูดถึงปัจจุบันให้พูดถึงระบบที่ออกแบบเพื่ออนาคต และส่วนสุดท้ายให้กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ ด้วยความสำคัญดังกล่าว เรา (เกี่ยวข้องอย่างไร... หรือ ในฐานะอะไร) จึงสนใจขัดระบบ / กระบวนการ/มาตรฐาน/ ระบบสนับสนุน เป็นต้น

วัตถุประสงค์

ทำเพื่อสนับสนุนอะไร

ประโยชน์ที่ได้รับ

ทำแล้วได้ประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ต่อผู้ป่วย ต่อหน่วยงาน ต่อองค์กร ต่อคณะฯ ต่อมหาวิทยาลัย เช่นทำให้มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และเชื่อมต่อกันกับหน่วยงานอื่นอย่างไร เกณฑ์ตัวนั้นเมื่อนำสู่ปฏิบัติแล้วผลเป็นอย่างไร เป็นต้น

...

เท่าที่ผู้เขียนเล่ามา เป็นเพียงการจับประเด็นที่อาจารย์พยายามอธิบาย เรื่องสำคัญ ในช่วงเวลาเพียงสั้นๆ แต่ผู้เขียนอยากกล่าวว่า เป็นการลงเนื้องานให้เห็นวิธีคิดชัดเจน เรียกได้ว่าอาจารย์ถอดความรู้จากประสบการณ์ตรงของอาจารย์สู่ผู้ปฏิบัติเช่นพวกเรา ที่น่าจะง่ายขึ้นในการมอง

...

ผู้เขียนอยากเรียนอาจารย์ว่า อาจารย์บรรยายดีมากค่ะ เข้าใจทะลุปรุโปร่ง (ในภาพ proposal แบบคนหน้างาน) ความยากอยู่ตรงที่การประพันธ์ที่ไม่ใช่ลมๆแล้งๆของคนหน้างาน (ไม่ใช่นักวิชาการ) ที่ต้องเขียนให้นักวิจัย (มืออาชีพ ระดับปรมาจารย์พิจารณา) นี่แหละค่ะ อาจารย์

ขอขอบพระคุณ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ได้จัดกิจกรรมที่ดีเช่นนี้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 506266เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2013 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท