ภูมิปัญญาชาวบ้าน..วิถีชีวิต..วิถีชาวบ้าน..คือ การเรียนรู้


ได้เรียนรู้ วิธีการร้องเพลงกล่อมลูกน้อย เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนคลอด ขณะเดียวกันได้ฝึกทักษะร่วมกับหญิงหลังคลอด มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับปราชญ์พื้นบ้าน และนำไปสู่ความรู้จัก ชอบพอ ความใกล้ชิด สนิทสนมกับผู้สอน ได้เรียนรู้ เทคนิควิธีการร้องเพลง ชื่อเพลง ฟังเสียง ทำนองและฝึกการร้องเพลงกล่อมลูก

   หมอเปิ้ลไป พูด/สอน/เชิญชวน “วิถีชาวบ้าน-วิถีชีวิต” ....เรื่อง “การอนุรักษ์ ภูมิปัญญา - วิถีชีวิตของชาวบ้านลาด และ หมอเปิ้ลได้จัดให้มีการประกวดและจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

      1. จัดกิจกรรม  “ร้องเพลงกล่อมเด็กนอนเปล” โดยปราชญ์พื้นบ้าน  โดยมีกิจกรรม มหกรรมรณรงค์ครั้งใหญ่ 3 เดือนครั้ง มีเด็กหญิงหลังคลอด พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และหญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมโครงการ เพราะจะทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ วิธีการร้องเพลงกล่อมลูกน้อย เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนคลอด ขณะเดียวกันได้ฝึกทักษะร่วมกับหญิงหลังคลอด มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับปราชญ์พื้นบ้าน และนำไปสู่ความรู้จัก ชอบพอ ความใกล้ชิด สนิทสนมกับผู้สอน ได้เรียนรู้ เทคนิควิธีการร้องเพลง ชื่อเพลง ฟังเสียง ทำนองและฝึกการร้องเพลงกล่อมลูก

     2. จัดกิจกรรม “สอน สาธิต การร้องเพลงกล่อมลูก” ...ให้หญิงฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ (คลินิก ANC) ให้หญิงฝากครรภ์สามีของหญิงตั้งครรภ์ ญาติ ปู่ ย่า ตา ยาย โดยจัดกิจกรรมสาธิตการร้องเพลงกล่อมเด็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 

    3. จัดพิธี  “โกนผมไฟ”  ให้กับเด็กอ่อนที่...พ่อ แม่ ญาติ ปู่ ย่า ตา ยาย เข้าร่วมโครงการ โดยจัดกิจกรรมตามอายุ ของเด็กที่มีอายุครบ 1 เดือน

    โดยจัดกิจกรรมนี้ร่วมกับชมรมผู้สูงอายุโดยชมรมผู้สูงอายุ  รพ.บ้านลาด จะช่วยนิมนต์พระเพื่อทำพิธีโกนผมไฟ (พิธีสงฆ์) และตามด้วยให้ผู้สูงอายุที่มีอายุสูงสุดตัดผมไฟให้กับเด็กอ่อนต่อจาก “พระ” ตามมาด้วย ปู่ ย่า ตา ยาย พิธีกรรมนี้จะนำไปสู่ความรัก ความเมตตา ความเอาใจใส่ ความเอื้ออาทร ต่อเด็กทารกต่อผู้เป็นมารดา (หญิงหลังคลอด) ต่อบิดา (พ่อเด็ก) แสดงถึงความปรารถนาดีที่มีต่อกัน การยอมรับเป็นลูก (สะใภ้) ยอมรับ “หลาน” ที่คลอดใหม่ และพิธีกรรมทางศาสนาจะนำมาซึ่ง “การรับขวัญ” ทำให้เด็กได้รับการดูแลทั้งทางร่างกาย คือ ทำความสะอาดร่างกาย แสดงถึงความเอาใจใส่ทางกาย ขณะเดียวกันก็ส่งผลถึงการเอาใจใส่ด้านจิตใจ ความเชื่อในพิธีกรรม นำไปสู่เด็กได้รับ “ความรัก” ความเอาใจใส่ ความมีเมตตาต่อกัน ทั้งฝ่ายผู้สอน ผู้แนะนำ ผู้ร้องเพลงกล่อมเด็กกับการชี้แนะ การแนะนำ ทั้ง “ฝ่ายให้และผู้รับ” ต่างมีความสุขทั้ง 2 ฝ่าย

   4. กิจกรรม ... “ประกวดทรงผม”... การแต่งทรงผมของเด็กแรกเกิดจนถึง 5 ขวบ โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรมย่อยคือ

     - ประกวดเด็กที่ไว้ผม “ทรงจุก-แกละ - โก๊ะ”

     - ประกวดเด็กที่ไว้ผมทรง... “จุก”

     - ประกวดเด็กที่ไว้ผมทรง.. “เปีย”

      กิจกรรมนี้จะมีการประชาสัมพันธ์และรับสมัครเด็ก ๆ คนที่ไว้ผม ทั้ง 3 รูปแบบที่อยู่ในเขตพื้นที่ในอำเภอบ้านลาด โดยมีการแต่งตั้งให้ ผู้สูงอายุที่อยู่ชมรมผู้สูงอายุ “เป็นคณะกรรมการตัดสิน” เพราะผู้สูงอายุดังกล่าวจะมีภูมิปัญญา มีความรู้ (Knowledge) การไว้ทรงผมเด็กโบราณชาวบ้านลาดไว้ด้วยนะคะ

 

         ขอบคุณมากนะคะ ที่ให้เกียรติอ่านบทความ

 

 

 

 

 

            

           

 

 

             

 

           

 

 

           

 

         

 

          

            

 

กล่อมเห่..น้องนอน-ภูมิปัญญาชาวบ้าน...บ้านลาด..วิถีชีวิต

 

 

 

 

 

 

                 ขอบคุณนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 505343เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ตุลาคม 2012 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

มาร่วมเชียร์กิจกรรมตามประเพณีไทยดีๆนี้ค่ะ..

-สวัสดีครับหมอเปิ้ล

-แวะมาดูเจ้าแกละน้อย..น่าฮักขนาด...

-น่าเสียดายไม่มีโอกาสได้ “ร้องเพลงกล่อมเด็กนอนเปล”

-มีเรื่องจะปรึกษาหมอเปิ้ลหลายเรื่อง ขออนุญาตปรึกษาผ่านเมลล์ละกันนะครับ..

-ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดี ๆ แบบนี้ครับ..

-พาเที่ยววัดดอยบุญจันทร์....ด้วยกันครับ

  • เป็นวิถีชาวบ้านที่หาดูได้ยาก
  • โดยเฉพาะเปลกล่อมเด็ก หาได้ยากในสมัยนี้

 

 

Blank  ขอบคุณมากค่ะ ... พี่ใหญ่

ให้กำลังหมอเปิ้ล ตลอดมาเลย นะคะ

 

 

 

Blank  ขอบคุณมาก นะคะ น้องเพชร ....

"น่าฮักขนาด" แต้ๆๆเนอะ ... เด็กไว้ผมจุก นะคะ

 

 

                 

 

 

                  

 

..สวัสดีเจ้าค่ะ..คุณหมอเปิ้น..."น่าสนุก"..กับกิจกรรมเหล่านี้...ยายธี..อยากไป..อยู่ด้วยซะแล้ว..ตอนกลับเมืองไทย"ยายธีไปฝึกเรียน..Biodance..จริงๆแล้ว..เรามี..รำวง..และรำๆเต้นๆเยอะแยะเลยที่เป็นต้นตอ..ที่ลืมไป..จน.(.ฝรั่ง)..นำกลับมาปรับเปลี่ยนปัดขี้ฝุ่นซ๊ะใหม่...หมอเปิ้น..มีกิจกรรมนี้..หลังพิธี..โกนจุก..ไหมคะ..ยายธี

ภูมิปัญญาไทย น่าอนุรักษ์ไว้ค่ะ

เห็นผลงานของหมอเปิ้ล น่าทึ่ง โชคดีของชาวเพชรบุรีครับ

 

Blank ขอบคุณมาก นะคะ กอหญ้า  ได้ให้กำลังใจ หมอเปิ้น นะคะ

 

 

 

 

 

Blank ขอบคุณ ท่าน อจ.  ศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์ 

มากนะคะ  ท่านได้ให้กำลังใจ หมอเปิ้น นะคะ

 

ขอบคุณ ยายธีมากค่ะ พิธีโกนจุกนั้น คนในครอบครัว ของเด็กๆ จะจัด ต้องมีพิธีทางสงฆ์ ด้วยนะคะ ยายของเด็กๆๆ เล่าว่า จะทำพิธีี ตอนอาุ 5 ขวบ บ้างคน จะทำตอน 9 ขวบ นะคะ พวกเขาจะ ทำบุญที่บ้าน บอกบุญ ให้เพื่อนบ้าน มาทำบุญ ได้พบปะกับหลายๆ ครอบครัว นะคะยายธี .... เป็น วิธีชาวบ้าน .... วิธีชุมชน นะคะ

ขอบคุณ คุณน้ำผึ่ง สีชมพู มากๆๆ นะคะ ที่ท่านให้กำลังใจ หมอเปิ้น นะคะ

ที่บ้านฝนตกไหม? ที่เมืองเพชร กำลังตกมากเลยนะคะ

ขอบคุณ Krugui มากนะคะ ให้กำลังใจ หมอเปิ้น นะคะ

ขอบคุณ "น้ำผึ่งสี่ชมพู" มากๆๆ นะคะ ที่ให้กำลังใจ หมอเปิ้น นะคะ

ขอบคุณ pa deeng มากๆๆค่ะ ขอบคุณที่ท่าน ให้กำลังใจ หมอเปิ้น นะคะ

ขอบคุณ ท่าน ผอ. ชยันต์ มากนะคะ
ที่ท่านให้กำลังใจหมอเปิ้นค่ะ

ขอบพระคุณ ท่าน วัฒนา มาก นะคะ

ขอบคุณ ที่ท่าน ให้กำลังหมอเปิ้ล

ขอบคุณ อจ.หมอ ป. มากค่ะ

ให้กำลังใจ หมอเปิ้น นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท