ศึกษาดูงาน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และศิลปวัฒนธรรม ประเทศอินโดนีเซีย ตอนที่ 1:นโยบายการจัดการศึกษาของประเทศอินโดนีเซีย / ASEAN Secretariat / SEAMOLEC


คณะฯ จำนวน 28 ท่าน  ไปศึกษาดูงานหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศอินโดนีเซีย  รุ่นที่ 2  ระหว่างวันที่ 24- 29  กันยายน 2555  ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง จำนวน 12   ท่าน  ศึกษานิเทศก์จำนวน  2 ท่าน โรงเรียน Sister School  จำนวน  3 ท่าน   โรงเรียน Buffer School จำนวน 5 ท่าน  โรงเรียน ASEAN FOCUS School จำนวน 2 ท่าน และโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโด จำนวน 4  ท่าน

             

โรงเรียนสตรภูเก็ต -โรงเรียนราชินีบูรณะ - คุณ ANTI -โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม - โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์


โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม เป็นหนึ่งในจำนวน 27 โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโด  และได้ทำการลงนามคู่พัฒนากับโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 2 โรงเรียนคือ    SMP 115 Jakarta Junior High School  และ The State Junior High School 11  Jakarta   โดยทำการตกลงในการพัฒนาอยู่ 4 ข้อ แต่ด้วยปัจจัยหลายเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน  จึงยังไม่สามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ 

               

                                      นักเรียนโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม


... ในขณะเดียวกันได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนัก-ความเข้าใจในเรื่องของการเตรียมการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนให้กับบุคลากรของโรงเรียนและร่วมกันจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนฯ ให้มีความรู้-ความเข้าใจ  ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมอาเซียนได้มาอย่างต่อเนื่อง ...                 
 

 

นโยบายการจัดการศึกษาของประเทศอินโดนีเซีย             


กิจกรรมแรกของการศึกษาดูงานคือ ไปรับฟังนโยบายการจัดการศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการ   ได้รับการต้อนรับและบรรยายสรุปจากการนำเสนอโดย Power point Presentation ดังนี้       

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอินโดนีเซีย  ประกอบไปด้วยเกาะจำนวนมากถึง   17500 เกาะ  มีความหลากหลายของภาษาที่ใช้มากถึง  350 ภาษา  ในบางพื้นที่จึงใช้ระบบการเรียนรู้ทางไกล ผ่านดาวเทียม สำหรับเด็กๆที่ตามพ่อแม่ ไปศึกษาดูงาน ยุโรปและตะวันออกกลาง         แม้จะซ้ำซ้อนกันบ้างแต่ก็ต้องสนับสนุน   ให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาเป็นอันดับต้น เพราะเชื่อว่าการพัฒนาคนให้มีคุณภาพนั้น  ต้องให้การศึกษาที่ดี  พึ่งพาตนเองได้  จำนวนคนทำงานพิ่มขึ้นและเน้นการพัฒนาคูณสมบัติที่พึงประสงค์โดยเริ่มจากวัยเด็ก     มีการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาปีละ   20 %     


                                               

 

ปัจจุบันอยู่ในช่วงของการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี  และทำการขยายคาดภาคบังคับเป็น 12 ปี  ครบวงจรในปี  2020   ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดการใช้พระราชบัญญัติการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ครบมาตั้งแต่ปี งบประมาณ 2552 (ศึกษาเพิ่มเติมที่นี่)
  

 

สำหรับผู้ที่ที่อาศัยอยู่เกาะเล็กๆ  หรืออยู่บนเขาสูงๆ ห่างไกลขึ้นไป ทางเหนือ   มีโรงเรียนขนาดเล็กให้เรียนแบบคละชั้น เช่น  นักเรียน เกรด 1-3  เรียนอยู่ในชั้นเดียวกัน   แต่พอเรียนอยู่ Grade  4-9 จะจัดการศึกษาระบบ Special Design  คือไปเรียนที่บ้านครู  ประมาณครั้งละสัปดาห์  ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์    คล้ายการเข้าค่าย   ไปกิน-นอน ด้วยกัน กลับบ้านเสาร์-อาทิตย์ 

ทุนการศึกษา
 มีการมอบทุนการศึกษาอยู่ 2  ประเภทคือ

 1.  ทุนนักเรียนดี
 2.  ทุนช่วยเหลือผู้ยากจน   
               

เป็นทุนช่วยเหลือสำหรับครอบครัวยากจน     ตลอดชีวิตการเรียน นับตั้งแต่ระดับประถม – มหาวิทยาลัย    ผู้ได้รับทุนจะมี บัตรแสดง สามารถไปเรียนที่โรงเรียน – มหาวิทยาลัย ไหนก็ได้   ส่งผลให้อัตราการเรียนต่อสูงขึ้น 

การประเมินผลระดับชาติ
         
มีการวัด-ประเมินผล นักเรียนด้วยข้อสอบส่วนกลางที่เรียกว่า   National Test  ใน 3 ช่วงชั้นคือ

ระดับชั้น ป.6

ระดับชั้น ม.3

ระดับชั้น ม. 6

 

ระบบการเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา

นักเรียนระดับชั้น ม.6   เมื่อสอบผ่านการประเมินผลระดับชาติ  จะได้ passport   ซึ่งนำไปรวมกับคะแนนจากทางโรงเรียนประกอบการพิจารณาผลในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย   คิดเป็นสัดส่วนของคะแนน   60% :  40% 

          1. Certificate จากโรงเรียน

          2. passport

สำหรับผู้ที่สอบไม่ผ่าน ต้องสอบใหม่ในปีถัดไป      แต่ก็มีระบบที่จะให้เข้ามหาวิทยาลัยได้เช่นกัน   คล้ายกับการสอบตรงของมหาวิทยาลัยนั้นๆ  แต่ก็เป็นส่วนน้อย

นโยบายในปี   2013 จะใช้เพียงคะแนน  2 อย่าง สามารถเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยได้เลย

จุดเน้นในการพัฒนาอย่างเร่งด่วน  

    1.  การพัฒนาคุณภาพครู
    2.  การพัฒนาเรื่องอาเซียน

มีการจัดทำคู่มือเกี่ยวกับอาเซียน ตั้งแต่ปฐม-ระดับชั้น ม. ปลาย  พัฒนากระบวนความคิด ไม่ได้เน้นการท่องจำ  อย่างเช่นเรื่องของสถาบันพระมหาษัตริย์ ไม่ใช่ถามว่ามีลูกกี่คน ขึ้นครองราชย์ในปี  พ.ศ. ใด  ต้องถามว่า ทำไม  อย่างไร

โครงการเด่นเน้นคุณธรรม  Trust Honesty
           
โครงการ Self  buying –Self  Selling   โครงการไว้เนื้อ-เชื่อใจ ฝึกความซื่อสัตย์  ซื้อเอง ขายเอง  จัดการด้วยตนเอง  มีสื่อ-อุปกรณ์ต่างๆ เช่น หนังสือ  สมุด ไม้บรรทัด  ปากกา-ดินสอ  รวมทั้งอาหาร จัดวางไว้ ให้เลือกหา สามารถหยิบด้วยตนเอง และนำเงินไปจ่ายที่เครื่องอัตโนมัติ  หากเงินไม่พอก็ให้ติดไว้ก่อนได้(เชื่อไว้ก่อน) แล้วนำมาจ่ายเพิ่มภายหลัง

โครงการทุนพิเศษ
              
มีทุนให้นักเรียนทั่วโลกมาเรียนศิลปะ ในระดับปริญาตรี  จำนวน 500 คน   นักเรียนไทยจำนวน 56 คนก็เข้าร่วมโครงการฯ รับทุนนี้ด้วย  นอกจากนั้นยังมีทุนระดับปริญญาโท-เอก  ให้กับผู้สนใจมาเรียน วิทย์-คณิตฯ และภาษา ด้วย  รวมทั้งมีทุนให้ครูมาเรียนภาษาและระบบ IT  ที่นี่ด้วย  

ช่วงเวลาการเปิดภาคเรียน
มกราคม – มิถุนายน  

ปลายกรกฎาคม - ธันวาคม

 

 


ASEAN Secretariat
        

ไปเยี่ยมชมสำนักงานเลขาธิการอาเซียน  ณ กรุง Jakarta  ได้ฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการจัดดำเนินงานขององค์กรฯ  เช่นการดำเนินโครงการด้านการศึกษาในปี 2555   หนึ่งในนั้นคือการจัดทำหลักสูตรอาเซียน  เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประเทศสมาชิกมีความตระหนักถึงบทบาทที่จะร่วมกันสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน โดยแบ่งหัวข้อออกเป็น 5 เรื่องคือ

  1. Knowing ASEAN
  2. Valuing Identity and Diversity
  3. Connecting Global and local 
  4.  Promoting Equity and justice
  5. Working together for a sustainable  future

ข้อควรพิจารณา

        ประเทศสมาชิกควรขับเคลื่อนโครงการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

        กลไกลภายในของสหภาคีต้องมีความเข้มแข็ง
  

ความสำคัญของกฏบัตรอาเซียนต้องเป็นไปตามปริบทดังนี้

มีการทำข้อตกลงใหม่ๆ ในระดับสูง

มีการกำหนดกรอบของสิทธิทางกฏหมายและสิทธิส่วนบุคคลใหม่

มีการร่างหลักการอาเซียนใหม่

มีการประชุมอาเซียนเพิ่มขึ้น

เพิ่มบทบาทของรัฐมนตรีฝ่ายอาเซียน

เพิ่มบทบาทของเลขาธิการอาเซียน ใหม่

 

 

ในส่วนของช่วงซักถาม   คุณจันทรา ตันติพงศานุรักษ์  ได้เสริมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนของคณะฯ ในแต่ละส่วน  เช่นจากฝ่ายพัฒนาฯ กระทรวงศึกษาธิการ   โรงเรียน Sister School  โรงเรียน Buffer School  โรงเรียน ASEAN FOCUS School  และโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโด 

      


ปัจจุบัน ดร. สุรินทร์  พิศสุวรรณ  ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน  ระยะเวลา 5  ปี  จะสิ้นสุดลงในปลายปี 2555 (ศึกษาเรื่องบทบาทของเลขาธิการอาเซียนได้ที่นี่)  

 

                     ดร.ชยพร  กระต่ายทอง - คุณจันทรา ตันติพงศานุรักษ์ -คุณ Anti  Rismayanti 
 

คุณ Anti  Rismayanti ผู้ประสานงานศูนย์ SEMOLEC   ของประเทศอินโดนนีเซีย  ได้มาพบปะ-พูดคุย และนำเสนอผลการดำเนินงานที่ก้าวหน้าไปไกล
    
     1.   การจัดค่าย TVET Camp ระหว่างวิทยาลัยอาชีวะศึกษาของไทย 15 สถาบัน  และวิทยาลัยอาชีวะศึกษาของอินโดนีเซีย 15  แห่ง  

     ค่ายที่ 1 :วันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ 2553  ที่  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงชลา 
     ค่ายที่ 2 :วันที่ 30 กรกฎาคม -8 สิงหาคม  2553  ที่  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงชลา     
     ค่ายที่ 3 :วันที่ 9- 15 ตุลาคม  2554  ที่  Jogya ประเทศอินโดนีเซีย

    2.  การลงนามคู่พัฒนาไทย-อินโด  ฯ ระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยและอินโดนีเซีย เมื่อ 23-26  มกราคม 2554

    3.  การมาร่วมสังเกตการณ์และนำเสนอเรื่อง IT  ในงานประชุมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง Climate Change – Human Values based Water & Sanitation  Hygiene  ที่ สกว.ประเทศไทยเป็นผู้จัดฯ

 

 

 *** ... สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานการพัฒนาการศึกษา ของสถาบันทั้ง 3 แห่ง  “ นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ    การวางแผนพัฒนาผ่านโครงการของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน และการเร่งพัฒนา-ติดตามผลผ่านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ฯของศูนย์ SEMOLEC ” ต่างให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน – มีความต่อเนื่องและติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง ...***


 

 

                                       ***...ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ ...***  

หมายเลขบันทึก: 504755เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2012 02:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 07:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เตรียมตัวสู่อาซียน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

       เพื่อพัฒนาเยาวชน และประเทศชาติ

        ชื่นชม และเป็นกำลังใจให้ค่ะ

                     

*** ... ขอบคุณ " พี่ครู KRUDALA "  Blank  นะคะ  ใจลึกๆรู้สึกเป็นห่วงเยาวชนไทย  หากยังยึดติดกับความสบาย  ไม่ขยันใฝ่เรียนรู้จะเสียเปรียบเขาง่ายๆ - ปรับตัวอยู่ในสังคมลำบากแน่ค่ะ ... *** 


                                                                 

  

                  ***... ขอขอบคุณสำหรับกำลังใจจาก "   คุณชยันต์ "  Blank  มา ณ โอกาสนี้นะคะ ...***


                                                                

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท