การกำเนิดแห่งรัฐที่ปรากฎในในอัคคัญญสูตร


เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเริ่มด้วยสมัยที่โลกพินาศ สัตว์โลกที่มีบุญได้เกิดในชั้น อัสสรพรหม มีปิติเป็นอาหาร ไม่มีเพศ มีรัศมี อยู่ในวิมานอันงาม ครั้นเมื่อโลกกำลังเกิดขึ้นใหม่จักรวาลยังเป็นน้ำ มืดมน ไม่มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ไม่มีกลางวัน กลางคืน ต่อมาเกิดผืนดินลอยขึ้นอยู่บนผิวน้ำ มีสี กลิ่นและรสดี สัตว์โลกตนหนึ่งจึงลองชิมดู และสัตว์โลกอื่นๆ ก็ชิมตาม ตัณหาหรือความอยากก็เกิดขึ้น ร่างกายหยาบก็เกิดขึ้น แล้วเกิดดูหมิ่นผิวพรรณกันขึ้น

การกำเนิดแห่งรัฐที่ปรากฎในในอัคคัญญสูตร[๑]

             อัคคัญญสูตรกล่าวถึง กำเนิดมนุษย์ สังคม ความคิดทางการเมืองและสถาบันทางการเมือง โดยแสดงลำดับวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  พระพุทธองค์ทรงแสดงการเกิดของรัฐโดยธรรมชาติ  และธรรมชาติที่ว่านี้ก็เน้นไปถึงพื้นฐานทั้งทางกาย และทางใจของมนุษย์      
          เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเริ่มด้วยสมัยที่โลกพินาศ  สัตว์โลกที่มีบุญได้เกิดในชั้น  อัสสรพรหม มีปิติเป็นอาหาร ไม่มีเพศ มีรัศมี อยู่ในวิมานอันงาม ครั้นเมื่อโลกกำลังเกิดขึ้นใหม่จักรวาลยังเป็นน้ำ มืดมน ไม่มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ไม่มีกลางวัน กลางคืน ต่อมาเกิดผืนดินลอยขึ้นอยู่บนผิวน้ำ มีสี กลิ่นและรสดี สัตว์โลกตนหนึ่งจึงลองชิมดู และสัตว์โลกอื่นๆ ก็ชิมตาม ตัณหาหรือความอยากก็เกิดขึ้น  ร่างกายหยาบก็เกิดขึ้น  แล้วเกิดดูหมิ่นผิวพรรณกันขึ้น

ชี้ให้เห็นว่าตัณหาทำให้สัตว์โลกตกต่ำลงและเกิดความยึดมั่นถือมั่นคืออุปาทานขึ้น ความแตกต่างซึ่งเดิมไม่ปรากฏเพราะปราศจากรูปร่างก็เกิดขึ้น เพราะความมีผิวพรรณต่างกัน เป็นเหตุให้ยึดเอาผิวพรรณมากำหนดความสูงต่ำ เกิดทิฏฐิในวรรณะ ต่อมาร่างกายเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนเกิดเพศชาย เพศหญิงขึ้น เกิดการเสพเมถุนขึ้น สัตว์อื่นๆ ที่เห็นขว้างปาด้วยสิ่งปฏิกูลต่างๆ  ทำให้ต้องสร้างบ้านเรือนที่กำบังขึ้น แสดงว่าครอบครัวเกิดขึ้นแล้ว และครอบครัวนั้นเป็นเครื่องหมายของความตกต่ำทางจิตใจ แม้มนุษย์จะเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดีถึงกับมีการต่อต้าน แต่คนก็สร้างที่กำบังไม่ให้เห็นการกระทำนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนทางด้านอาหารการกินนั้น ก็เริ่มมีผู้ที่เกียจคร้านคิดสะสมอาหารไว้เกินกว่าที่จำเป็น คนอื่นๆ จึงสะสมบ้าง และแข่งขันสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จากความเกียจคร้านก็กลายเป็นความโลภ เมื่อมีคนโลภมาก ความอัตคัตก็เกิดขึ้นแก่ส่วนรวมและเพื่อแก้ปัญหานี้จึงมีการปักปันเขตแดนกันขึ้น ทรัพย์สินส่วนตัวก็เกิดขึ้น แต่ความโลภทำให้คนบางคนลักทรัพย์ในส่วนที่เป็นเขตของผู้อื่น จึงถูกด่าว่า ทุบตีคือการลงโทษ การลงโทษจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะการมีทรัพย์สินส่วนตัว แต่การลงโทษเช่นนี้ก็ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ หาความชอบธรรมไม่ได้ ความปรารถนาจะให้มีระเบียบการปกครองจึงเกิดขึ้น จึงได้ตกลงกัน สมมติคนผู้หนึ่งทำหน้าที่       ว่ากล่าว ติเตียนและลงโทษโดยที่คนผู้นั้นได้รับส่วนแบ่งผลผลิตจากผู้คนในความดูแลของตน จึงเกิดคำเรียกผู้ปกครองว่า มหาชนสมมติ คือเป็นผู้ที่คนทั่วไปสมมติขึ้น เรียกว่ากษัตริย์ เพราะเป็นหัวหน้าดูแลเขตหรือที่ทำกิน เรียกว่า ราชา เพราะทำให้เกิดความ สุขใจโดยการให้ความเป็นธรรม  ส่วนคนทั่วไปต้องแบ่งงานกันทำเป็นหน้าที่ๆ ในสังคมเพราะการมีครอบครัวทำให้ต้องทำมาหากินบำรุงบำเรอกายมากขึ้น

พระสูตรนี้แสดงให้เห็นความตกต่ำของมนุษย์ทั้งทางกายและศีลธรรมจากสภาพสมบูรณ์ ซึ่งปราศจากความชั่วไปสู่สภาพที่มีตัณหา ความยึดมั่นในตัวตนความโลภ เพศ และนำไปสู่สถาบันที่สำคัญ คือ ครอบครัว และทรัพย์สินส่วนตัว ทรัพย์สินส่วนตัวนั้นทำให้การทำมาหากินหรือ ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากแบบการหากินร่วมกันอย่างสงบมาเป็นการแย่งชิงและต่อสู้จนเกิดข้อพิพาทขึ้นเกี่ยวกับทรัพย์สินความคิดเรื่องครอบครัว และทรัพย์สินส่วนตัวจึงมาจากความยึดมั่นในตัวตน (อัตตา) ทำให้เกิดการพิพาท การลงโทษ และความไม่เป็นธรรม คนจึงแก้ไขข้อบกพร่องนี้โดยการตัดอัตตา วิธีหนึ่งก็คือหาความถูกต้องหรือธรรมมาเป็นหลักข้อนี้จะเป็นที่มาของสถาบันที่สำคัญอีกสถาบันหนึ่งคือกฎหมาย ซึ่งจะทำให้รัฐเป็นรัฐที่สมบูรณ์ แต่กฎหมายก็ยังไม่ปรากฏชัดเจนในตอนนี้ ยังคงต้องอาศัยความสามารถของบุคคลซึ่งส่วนรวมยอมรับคือมหาชนสมมติ  ซึ่งเป็นที่มาของสถาบันกษัตริย์หรือผู้ปกครองรัฐ กระบวนการทางการเมืองซึ่งปรากฏในตอนนี้ก็คือการมีผู้ปกครองซึ่งมาจากการเลือกตั้ง

เราจะเห็นได้ว่ารัฐตามทฤษฎีทางพุทธศาสนานี้ไม่ใช่รัฐแบบเทวสิทธิ์ซึ่งถือว่าอำนาจอันชอบธรรมในการปกครองมาจากเทวะหรือพระเจ้า แต่ผู้ปกครองมีลักษณะเป็นธรรมราชา คือผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมะ ผู้ใช้ธรรมะในการปกครอง อำนาจการปกครองยังเป็นของประชาชนอยู่เพราะในระบบนี้ประชาชนมิได้มอบอำนาจให้แก่ผู้ปกครองอย่างสิ้นเชิงดังเช่นในปรัชญาการเมืองของ โธมัส ฮอบส์ ซึ่งถือว่าประชาชนทำสัญญากันเองแล้งยกอำนาจให้แก่ผู้ปกครองโดยที่ผู้ปกครองมิใช่คู่สัญญา ในกรณีอัคคัญญสูตรประชาชนพร้อมใจกันมอบอำนาจให้ผู้ปกครองก็จริงแต่ก็มีพันธสัญญาว่าผู้ปกครองจะต้องปกครองโดยธรรมและประชาชนจะแบ่งผลประโยชน์ให้
          เมื่อพิจารณาบทบาทของผู้ปกครองในกรณีเช่นนี้จะเห็นว่ามีบทบาทจำกัดคือแก้ไขข้อพิพาทเท่านั้น  เป็นบทบาทเพื่อรักษาสังคมให้เป็นปกติสุขมากกว่าจะมีบทบาทสร้างสรรค์  กำหนดนโยบายหรือนำสังคมไปสู่จุดหมาย ไม่มีการใช้กฎหมายเพื่อสร้างความเจริญอะไรให้มากไปกว่าสภาวะที่ดำเนินอยู่โดยปกติ  ไม่มีการจัดสรรผลประโยชน์ดังเช่นรัฐสวัสดิการหรือรัฐสังคมนิยม รัฐตามทัศนะนี้มีลักษณะค่อนไปทางเสรีนิยมซึ่งผู้ปกครองจะมีอำนาจน้อยที่สุด ผู้ปกครองมีหน้าที่ปกครองมีหน้าที่ปกป้องปัจเจกชน  มากกว่าจะสร้างสถาบันและปกครองสถาบัน เช่น การสร้าง และรักษาสาธารณสมบัติ การกำหนดระบบเศรษฐกิจและการคุ้มครองระบบเศรษฐกิจนั้น

นอกจากเรื่องสถาบัน ครอบครัวสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองดังกล่าวแล้ว
เราจะเห็นได้ว่า นอกจากมูลเหตุทางด้านศีลธรรมซึ่งต่ำลงจนในที่สุดต้องใช้กฎหมายปกครองแทน จากสภาพอิสระมาสู่การควบคุมกันด้วยกฎเกณฑ์แล้ว การที่สถาบันการเมืองไม่อาจมีอำนาจได้เนื่องจากความคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์อัคคัญสูตรได้แสดงกว่ามนุษย์มิได้ด้วยลักษณะทางชีวภาพ ความแตกต่างกันเป็นความแตกต่างภายนอกซึ่งเป็นเรื่องผิวเผิน เช่นผิวพรรณ แต่เพระความตกต่ำ ทางจิตใจและศีลธรรมของมนุษย์ทำให้เกิดอุปทานในอัตตา ในทิฐิ แล้วยึดเอาสิ่งไม่สำคัญนี้มาเป็นสำคัญ ดังเช่นการถือวรรณะของพราหมณ์ การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอัคคัญญสูตรก็เพื่อให้เห็นว่าการเกิดขึ้นและความเปลี่ยนแปลงของมนุษย์และสังคมเป็นเรื่องธรรมชาติ อธิบายได้ด้วยเหตุผลตามธรรมชาติ มิใช่เรื่องเหนือธรรมชาติคือเป็นการกำหนดของเทพเจ้าที่พราหมณ์อธิบาย นั้นคือพระพุทธองค์ไม่ทรงให้ความสำคัญแก่วรรณะและเชื้อชาติแต่ได้ทรงชี้ว่า แม้เรื่องวรรณะก็เกิดจากการแบ่งหน้าที่กันตามความจำเป็นในสังคม การประพฤติปฏิบัติตนของบุคคล สามารถเปลี่ยนวรรณะได้ เช่น ศูทร ที่ปฏิบัติธรรมก็มีฐานะเท่าพราหมณ์ ส่วนพราหมณ์ซึ่งทำความผิดมีฐานะเป็นโจร  ไม่พึงใช้วรรณะเป็นข้อกำหนดความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธองค์ทรงเน้นว่าบุคคลมีความเท่าเทียมกัน
ในความเป็นคน ในโอกาสที่จะปฏิบัติธรรมและทำอาชีพต่างๆ ศาสนาก็ดี รัฐก็ดี ไม่พึงกำหนดให้บุคคลแตกต่างกัน ความแตกต่างของบุคคลที่กรรมหรือการกระทำของบุคคลนั้นๆ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ สิทธิที่จะไม่ถูกละเมิดในด้านร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินพึงมีเสมอกัน มิใช่แตกต่างกันตามวรรณะ ดังที่พราหมณ์ยึดถือบุคคลเกิดมาต่ำแต่ทำตนให้อยู่ในฐานะสูงขึ้นได้ เกิดมาสูงแล้วทำตัวให้ต่ำลงก็ได้ จึงต้องตัดสินจากการกระทำของบุคคลเสมอกัน มิใช่เปลี่ยนแลงมาตรฐานไปตามฐานะของบุคคล

รัฐจึงเป็นสิ่งที่กำเนิดขึ้นมาเพื่อควบคุมสถานการณ์ความเลวร้ายในสังคม ความเลวร้ายเหล่านี้เป็นตัวบีบคั้นสังคมให้แสวงหาวิธีที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา ผู้ปกครองรัฐ คือทางเลือกที่สมาชิกของสังคมเห็นร่วมกันให้เป็นผู้ที่มีความชอบธรรมในการใช้อำนาจรัฐ เพื่อสกัดกั้นกิเลสอันมีอย่างไม่จำกัดของมนุษย์ แต่รัฐสามารถทำได้เพียงควบคุมหรือสกัดกั้นกิเลสบางส่วนของมนุษย์เท่านั้น พอที่จะทำให้มนุษย์อยู่รวมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขเท่านั้น แต่ไม่สามารถทำให้กิเลสหมดไปจากมนุษย์ได้ จุดมุ่งหมายของรัฐเพียงเพื่อขจัดความเลวร้ายในสังคม และปกป้องคนดีให้อยู่กันอย่างสงบสุข หรืออาจจะกล่าวได้ว่ารัฐเป็นเพียงเครื่องมือที่จะทำให้มนุษย์พัฒนาตนเองให้บรรลุถึงเป้าหมายที่สูงสุดของชีวิตได้[๒]

 

๑. วิวัฒนาการแห่งรัฐตามแนวพระพุทธศาสนา

 

                            ในอัคคัญญสูตร ได้พูดถึงการวิวัฒนาการแห่งรัฐที่เป็นขั้นตอน เริ่มจากการเกิดปัญหาขึ้นในสังคม เป้าหมายและวิธีการแก้ปัญหา และเกิดเป็นสัญญาประชาคมขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่เป้าหมายที่มีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน[3]

๑) พัฒนาการของสังคมมนุษย์ แนวคิดของพระพุทธศาสนา มนุษย์มีจิตบริสุทธิ์มาแต่เดิมคือมาจากอาภัสสรพรหม แต่กระนั้นก็ตาม มนุษย์เมื่อถูกสภาพแวดล้อมและความไม่พอใจในสภาพเป็นอยู่ของตนเอง จึงมีการลิ้มลองของแปลกใหม่ จึงทดลองและละเมิดกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของสังคม จึงเกิดความทะยานอยากก่อให้เกิดปัญหา ไม่มีที่สิ้นสุด  ท้ายที่สุดก็มีการสร้างครอบครัวขึ้นมา ดังข้อความที่ปรากฏในอัคคัญญสูตร ดังนี้

“วาเสฏฐะและภารทวาชะ สมัยนั้น การเสพเมถุนธรรมอันเป็นเหตุให้ถูกขว้างฝุ่นใส่เป็นต้นนั้นถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี สมัยนั้นเหล่าสัตว์ผู้เสพเมถุนธรรม ไม่ได้เข้าไปยังหมู่บ้าน หรือนิคมตลอด ๑ เดือนบ้าง ๒ เดือนบ้าง เนื่องจากสัตว์เหล่านั้นต้องการเสพอสัทธรรมเกินเวลา ต่อมาจึงพากันสร้างเรือนขึ้น เพื่อปกปิดอสัทธรรมนั้น”

        แม้ข้อความตอนนี้จะบ่งบอกถึงการอยู่รวมกันเป็นชุมชน หรือหมู่บ้านกันมาก่อน แต่การอยู่รวมกันเป็นครอบครัว หรือการสร้างบ้านเป็นหลัง ๆ พึ่งเกิดหลังจากคนในชุมชนจับคู่กันเป็นครอบครัวขึ้น  เมื่อมีการจับคู่และสร้างบ้านเรือนมากขึ้น ๆ ก็พัฒนาการเป็นหมู่บ้าน  และรัฐขึ้นในที่สุด เนื่องจากมีการกักตุนอาหารเพื่อวันข้างหน้าและมีการเข้าไปจับจองปักเขตแดนเพื่อทำการเกษตรกันขึ้น ดังข้อความต่อไปนี้

“เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ ข้าวสาลีของพวกเราจึงมีรำห่อเมล็ดบ้างมีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นอีก ความพร่องได้ปรากฏให้เห็นจึงได้มีข้าวสาลีเป็นหย่อม ๆ ทางที่ดี เราควรแบ่งข้าวสาลีและปักปันเขตแดนกันเถิด ครั้นนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงพากันแบ่งข้าวสาลีและปักปันเขตแดนกัน

       จากแนวคิดพัฒนาการทางสังคมมนุษย์ดังกล่าว สอดคล้องกับแนวคิดความเป็นมาของสังคมมนุษย์ของ Thomas Hobbes ซึ่งเขาเชื่อว่า ก่อนที่มนุษย์จะมาอยู่รวมกันในสังคมนั้น มนุษย์มีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติซึ่งเป็นสภาพที่ปราศจากสังคม รูปแบบการปกครองหรือรัฐบาล ไม่มีกฎหมาย และไม่มีความยุติธรรม เขามีความเห็นว่า “มนุษย์ตามธรรมชาติแล้ว มีความต้องการและมีเหตุผล” แต่ “มนุษย์มีความต้องการมากกว่าเหตุผล” ดังนั้น การใช้พละกำลังจึงเป็นเครื่องมืออันเดียวที่จะควบคุมสิทธิของมนุษย์ตามธรรมชาติ มนุษย์ตามสภาพธรรมชาติ จึงมีแต่ความโหดร้ายทารุณ เห็นแก่ตัว เอาเปรียบผู้อื่น และเพื่อขจัดความชั่วร้ายดังกล่าว มนุษย์จึงสัญญาที่จะเข้ามาอยู่ร่วมกันในสังคม โดยละทิ้งสภาพธรรมชาติที่เลวร้ายเหล่านั้นเสีย

๒) กำเนิดแห่งรัฐ (Origin of the State) ในอัคคัญสูตร พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงการเกิดรัฐ การให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของมนุษย์ขึ้นเป็นครั้งแรกว่า

“...สัตว์เหล่านั้นได้ปรึกษากันแล้วตัดสินใจว่า อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรมาแบ่งข้าวสาลี และปักปันเขตแดนกันเสียเถิด...ครั้นแล้ว สัตว์ทั้งหลายจึงแบ่งข้าวสาลี และปักปันเขตแดนกัน

             กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะเป็นหลักประกันของมนุษย์แต่ละครอบครัวว่า จะมีข้าวสาลี สำหรับบริโภค (ในที่ดินแปลงที่ตนครอบครอง) โดยไม่ถูกมนุษย์คนอื่นแย่งเอาข้าวสาลีไปกักตุนสะสมไว้กินคนเดียว และเมื่อมีข้อพิพาท เช่น ไปเก็บข้าวสาลีที่ขึ้นในแปลงผู้อื่น (เกิดการลักขโมย) จึงต้องมีการแต่งตั้งบุคคลขึ้นมาว่ากล่าวได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยชอบ

ฐานกำเนิดอำนาจรัฐจึงไม่ได้มาจากพระเจ้าหรือพระพรหม ตามความเชื่อในลัทธิเทวสิทธิของพวกพราหมณ์ แต่มาจากมนุษย์ด้วยกัน ที่ได้สถาปนาสถาบันอำนาจรัฐขึ้น และร่วมกันคัดเลือกผู้ปกครองรัฐให้มาทำหน้าที่ ตามพันธะสัญญาประชาคม (Social Contract) ที่ได้รับมอบหมายจากผู้คนในสังคม[4]

เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันมากขึ้น มักเกิดปัญหาทางสังคม เหตุเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพและชีวิตของมนุษย์ในการอยู่รวมกัน การที่มนุษย์มีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์ต่อกัน มนุษย์จะต้องรู้ว่าตนมีสิทธิและหน้าที่อย่างใดบ้างต่อสังคม ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมชุมชนทำให้มีการพัฒนาการของรัฐ ซึ่งพอที่จะประมวลมาได้ดังนี้[5]

                             ๒.๑) การเหยียดผิวพรรณ (Apartheid) มีการดูถูกและการไม่เคารพสิทธิของกันและกัน จนทำให้ความดีงามร่วมกันหายไป มนุษย์เดิมมีปีติเป็นภักษา (อาหาร) ต่อมาจึงมีความติดใจในรสของง้วนดิน จึงกินเข้าไปทำให้กายหยาบขึ้น จึงทำให้บางจำพวกผิวพรรณดีงาม บางจำพวกผิวพรรณงาม บางจำพวกผิวพรรณไม่งามจึงทำให้เกิดปัญหาข้อนี้ขึ้นจึงก่อให้เกิดมานะถือตัวขึ้นมา จากนั้นง้วนดินที่เคยมีก็หายไป–เกิดมีสะเก็ดดินขึ้นแทน–ร่างกายก็หยาบขึ้นอีกสะเก็ดดินก็หายไป-จึงเกิดเครือดินขึ้นมาแทน ร่างกายก็หยาบขึ้นมีการดูถูกกันขึ้นอีก เครือดินก็หายไป ในที่สุดก็เกิดมีข้าวสาลีขึ้นมาแทน

         ซึ่งวิถีชีวิตช่วงนี้จะเป็นการหากินแบบสัตว์ทั่ว ๆ ไป คือไม่มีการสะสมอาหาร เมื่อมีความต้องการอาหารตอนเช้าก็ไปเก็บข้าวสาลีมากิน พอตกตอนเย็นก็ไปเก็บข้าวสาลีมากินใหม่ ณ จุดนี้เองจึงทำให้มนุษย์มีอวัยวะเพศปรากฏที่แตกต่างกัน กล่าวคือปรากฏว่ามีเพศชาย เพศหญิงขึ้นมา ต่างฝ่ายต่างเพ่งกันในที่สุดจึงเกิดมีการเสพเมถุนกันขึ้น    

    ๒.๒) ผลประโยชน์ (Benifit) เมื่อมนุษย์มีความต้องการที่จะสะดวกสบาย หรือมีความเห็นแก่ตัวและมีความโลภเกิดขึ้น จึงคิดที่จะสะสมอาหารโดยการออกไปเพียงครั้งเดียวแต่เก็บข้าวสาลีมาทั้งตอนเช้าและเย็น จึงเป็นที่มาของผลประโยชน์ ซึ่งเรื่องของ “ผลประโยชน์” นี้เองนักวิชาการบางท่านที่มองพัฒนาการทางการเมืองว่าเป็นผลที่เกิดขึ้นมาจากผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันระหว่างชนชั้น  นั้นมีแนวโน้มว่าจะตีความหมายของคำว่า “ชนชั้น” ในแง่เป็นสถานภาพทางเศรษฐกิจ และตีความหมายของคำว่า “ผลประโยชน์” ในแง่ที่เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ[6] ในที่สุดก็มีการเอาอย่างและเกิดการแข่งขันกันขึ้นจากการที่ออกไปหาอาหารครั้งเดียวสามารถบริโภคได้ ๑ วันก็เป็น ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗ วันตามลำดับจนข้าวสาลีที่เกิดเป็นเองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นสมบัติของส่วนรวมเมื่อมนุษย์ต้องการบริโภคจึงไปเก็บเอามากินตามความต้องการ ไม่มีการแย่งชิงกัน เมื่อมีบุคคลที่เก็บงำของส่วนกลางไว้ส่วนตนมากเกินไปจึงเกิดปัญหาขาดแคลน มนุษย์จึงมีพันธสัญญาต่อกันที่จะกำหนดเขตแดนพร้อมกับตกลงกันว่าผืนดินแห่งนี้เป็นของใครและมีการปักเขตแดนกันขึ้น

          ๓) ผู้ปกครองรัฐ ในอัคคัญญสูตรนี้ สามารถจำแนกระบบการเมือง และลักษณะของผู้ปกครองรัฐได้เป็น ๓ ประเภท คือ

              (๑) ผู้ปกครองรัฐแบบ “มหาชนสมมติ” อันสอดคล้องกับลัทธิทางการเมืองแบบประชาธิปไตย หรือ โลกาธิปไตย ที่ยึดถือโลกเป็นใหญ่

              (๒) ผู้ปกครองรัฐแบบ “กษัตริย์” อันสอดคล้องกับลัทธิทางการเมืองแบบ อัตตาธิปไตย ที่ยึดถือตนเป็นใหญ่

              (๓) ผู้ปกครองรัฐแบบ “ราชา” อันสอดคล้องกับลัทธิทางการเมืองแบบธรรมาธิปไตย ที่ยึดถือธรรมเป็นใหญ่

            ) การลักขโมย (Larceny) เมื่อมนุษย์เริ่มการแบ่งเขตแดนกัน และมีการเพราะปลูกมีคนที่ขี้เกียจ เก็บงำของตนไว้แต่ลักขโมยของผู้อื่นเมื่อมีการจับตัวผู้กระทำความผิดได้ ก็มีการลงโทษ ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้หากแต่มนุษย์ทุกคนเข้าใจและเข้าถึงสภาวะของชีวิตที่จริงแล้ว ก็จะพบว่ามนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ทั้งสิ้น เมื่อมีการทำผิดกันซ้ำ ๆ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะคอยจับคนผิดมาลงโทษจึงทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและมีมติที่จะสรรหาผู้ที่ทำหน้าที่แทนขึ้น

๕) เป้าหมายแห่งรัฐ (State target) เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในสังคม ประชาชนหวังความสันติสุขขึ้นในชุมชนจึงได้แต่งตั้งผู้ทำหน้าที่ในด้านการดูแลรักษาทรัพย์สินและพิจารณา ตำหนิ และขับไล่บุคคลผู้ทำผิดก่อน หากมองในทัศนะปรัชญาการเมืองตะวันตกอย่างอริสโตเติล ถือว่า “รัฐ” เป็นสิ่งสูงสุดสำหรับสังคมมนุษย์ แม้ว่าเขาจะยอมรับว่ามีอย่างอื่นอีกนอกจากรัฐก็ตาม แต่เขาเห็นว่าสำหรับมนุษย์แล้วการรวมตัวกันขึ้นนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรก คือครอบครัว หรือวงศ์ตระกูล ถัดมาจากนั้นก็หมู่บ้านแล้วรวมตัวกันจนเป็นรัฐ ขณะเดียวกันก็แบ่งปันข้าวสาลีให้ ในพระสูตรระบุเอาไว้ว่า

            “วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงได้ประชุมกันปรับทุกข์กันว่า ท่านผู้เจริญ บาปธรรมปรากฏในหมู่สัตว์แล้ว คือการถือเอาสิ่งที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ การครหาจักปรากฏ การพูดเท็จจักปรากฏ การถือทัณฑาวุธจักปรากฏ ทางที่ดีพวกเราควรสมมติ (แต่งตั้ง) สัตว์ผู้หนึ่ง ซึ่งจะว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยชอบ พวกเราจักแบ่งปันข้าวสาลีให้แก่สัตว์ผู้นั้น”

           จะเห็นว่าการที่มหาชนได้ปรึกษาหารือกันนั้นแสวงหาเป้าหมายของรัฐ  หรือสังคม หรือหน่วยงาน บุคคล คณะบุคคล หรือองค์กรที่จะมาขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการรวมตัวกันของครอบครัวและหมู่บ้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อคุณธรรมด้วยการมุ่งผลบั้นปลายเพื่อให้บังเกิดความสมบูรณ์ (absolute) และดำรงอยู่ได้อย่างพึ่งตัวเองได้โดยตลอด (self sufficiency) ซึ่งจุดประสงค์สุดท้ายของการสร้างรัฐตามพระสูตรนั้นมีเหตุผลอยู่  ๒ ประการคือผู้ปกครองชุมชนจะต้องมีหน้าที่ในการดูแลนาข้าวสาลีคือใครต้องการข้าวสาลี ขัตติยะ(ผู้ปกครอง)ก็จะเป็นผู้อนุญาต หรือใครแอบขโมย ขัตติยะจะเป็นผู้จับกุมผู้นั้นมาลงโทษ  ประการที่สองคือสร้างความสุข ความยินดีให้กับผู้อยู่ใต้ปกครองอันเนื่องมาจากการแก้ปัญหาข้อแรกได้สำเร็จ นี้คือวัตถุประสงค์เริ่มแรกของการสร้างระบบการปกครองของชุมชนโบราณ ในที่นี้คือการแต่งตั้งประมุข หรือผู้นำขึ้น

๖.วิธีการสรรหา (Recruitment) การเลือกผู้แทน หรือบุคคลผู้จัดการปัญหาในสมัยนั้นใช้วิธีการสรรหาเพื่อแต่งตั้ง โดยเลือกเอาจากบุคคลผู้มีรูปร่างดี พฤติกรรมดี  เข้าสู่ระบบ ดังข้อความในพระสูตรว่า

   “ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านที่มีรูปงดงามกว่า น่าดูกว่า น่าเลื่อมใสกว่า น่าเกรงขามกว่า แล้วจึงได้กล่าวดังนี้ว่า มาเถิด ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียน จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยชอบเถิดและพวกเราจักแบ่งปันข้าวสาลีให้แก่ท่าน”

        ๗) องค์ประกอบแห่งรัฐ (State Organization) รัฐตามแนวคิดปรัชญาการเมืององค์ประกอบแห่งรัฐถือว่ามีความสำคัญอยู่มิใช่น้อย หากพิจารณา ถึงองค์ประกอบของรัฐ ตามคติของชาวตะวันตกจะพบคำว่า รัฐ หรือ ประเทศ เมื่อนำมาพิจารณาตามองค์ประกอบแห่งรัฐจะเห็นว่ารัฐในอัคคัญญสูตร เปรียบเทียบกับองค์ประกอบแห่งรัฐในทฤษฎีตะวันตก และพอจะประมวลได้ ดังนี้

           ๗.๑) ประชากร (Population) แม้ในอัคคัญญสูตรจะไม่ได้ระบุจำนวนประชากรที่ชัดเจนว่ามีอยู่จำนวนเท่าใด แต่หากพิจารณาจาก ข้อความดังต่อไปนี้ คือ “สัตว์เหล่านั้น” “ สัตว์ทั้งหลาย” “หมู่บ้าน” “นิคม” “พวกเรา” เป็นต้น ก็จะเห็นร่องรอยของการมีประชากรที่มีจำนวนมากอยู่มิใช่น้อย ประชากรดังกล่าวนี้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน

          ๗.๒) ดินแดน (Territory) ในพระสูตรไม่ได้ระบุสถานที่ หรือแผนที่ว่าคือจุดไหน ส่วนไหนของโลก หรือเป็นชมพูทวีปแต่อย่างใด เพียงแต่เรียกรวม ๆ ว่าโลกนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตามประชากรได้อพยพมาจากที่อื่น (พรหมโลก) แล้วเข้ามาตั้งถิ่นฐานขึ้นที่แน่นอน มีการสร้างบ้านเรือน นิคมขึ้นและที่สำคัญมีการปักเขตแดนพื้นที่การทำมาหากินกันอยู่

         ๗.๓) รัฐบาล (Government) คือผู้ได้รับมอบอำนาจในการบริหารจัดการบ้านเมืองให้ความสงบเรียบร้อย ในพระสูตรได้ระบุชัดเจนว่ามีการสรรหาบุคคลผู้เป็นผู้นำ หรือต่อมาเรียกว่ากษัตริย์ หรือ มหาสมมต หรือ ราชา ขึ้นมาเพื่อปกครองคุ้มครองรักษาโดยประชาชนได้จ่ายภาษีที่เรียกว่าส่วนแบ่ง คือข้าวสาลีให้ ทั้งนี้รัฐบาลมีหน้าที่กำหนดนโยบายของรัฐและต้องดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จตามนโยบายที่วางเอาไว้ รัฐบาลต้องสามารถปกครองดินแดนทุกส่วนของรัฐ อาณาเขต ประชาชนและรัฐบาลจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่าง   แน่นแฟ้นความสัมพันธ์นี้ในแต่ละรัฐจะแตกต่างกันไป มีลักษณะเฉพาะของตนเองซึ่งทำให้รัฐแต่ละรัฐไม่เหมือนกัน

                   ๗.๓.๑) ที่มาของอำนาจ (Power) การได้มาซึ่งอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองแม้จะไม่มีการเลือกตั้ง หรือมีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สังกัดพรรคการเมือง เข้ามาเสนอตัวเพื่อทำงานให้กับสังคมก็ตาม แต่วิธีการสรรหาก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุดของระบอบการเมืองการปกครองที่มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนยังไม่มากเท่าใดนัก ดังปรากฏในพระสูตรว่า

         “วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่สัตว์นั้นอันมหาชนสมมต (แต่งตั้ง) ฉะนั้น คำแรกว่า “มหาสมมต มหาสมมต” จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่สัตว์นั้นเป็นใหญ่แห่งที่นาทั้งหลาย  ฉะนั้น คำที่ ๒ ว่า “กษัตริย์  กษัตริย์” จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่สัตว์นั้นให้ชนเหล่าอื่นยินดีได้โดยชอบธรรม ฉะนั้น คำที่ ๓ ว่า “ราชา ราชา” จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงได้เกิดมีแวดวงกษัตริย์ขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น”

               ๗.๓.๒) การใช้อำนาจ (Exercise of Power) การใช้อำนาจในระยะเริ่มต้นไม่มีอะไรยุ่งยากและซับซ้อนเพราะการบัญญัติกฎหมายหรือ นิติบัญญัติ มหาชนเป็นผู้ร่วมกันตราขึ้น ส่วนอำนาจทางการบริหาร และตุลาการเป็นหน้าที่ของกษัตริย์ หรือผู้ที่มหาชนแต่งตั้ง ทั้งนี้เมื่อประชาชนพร้อมใจกันแต่งตั้งอำนาจหน้าที่ให้แล้วผู้ปกครองย่อมจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด จึงทำให้เห็นถึงองค์ประกอบสำคัญของอำนาจหน้าที่ ๒ ประการ คือ ตำแหน่ง (Position) ที่ได้รับมอบหมาย และบทบาท (Role) ของบุคคลผู้ใช้อำนาจนั้น

        ๗.๔) อธิปไตย (Sovereignty) คือความเป็นใหญ่ในการจัดการบริหารบ้านเมือง เมื่อประชาชนแต่งตั้งขึ้นให้อยู่ในตำแหน่งก็ย่อมจะมอบอำนาจและสิทธิ์บางส่วนให้กับผู้นำแม้ผู้นำ หรือกษัตริย์ ในยุคแรกจะไม่มีความชัดเจนเท่าปัจจุบัน แต่รัฐบาลก็มีเสถียรภาพอยู่มากมิใช่น้อยหากจะว่าไปแล้ว อำนาจอธิปไตยหรือรัฐบาล แม้กระทั้งความหมายของรัฐ  พระพุทธเจ้าไม่ได้มองเป็นประเด็นสำคัญ พระพุทธองค์มิได้ตรัสความหมายของรัฐเอาไว้โดยตรง แต่เท่าที่ได้ประมวลจากบริบทของคำสอน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทางการเมือง ทำให้พอสรุปได้ว่า “รัฐ” ในทัศนะของพระพุทธเจ้าไม่ได้เป็นอะไรมากกว่าสถานที่ค้นหาสัจจะธรรมและการอยู่ดีกินดีของประชาชน ทั้งนี้พระพุทธเจ้าทรงมุ่งถึงเป้าหมายทางสังคมเป็นสำคัญมากกว่ารูปแบบของรัฐหรือการปกครอง

        เราจะเห็นได้ว่า รัฐตามแนวพระสูตรนี้ไม่ใช้รัฐแบบเทวสิทธิ์ ซึ่งถือว่าอำนาจอันชอบธรรมในการปกครองมาจากเทวะหรือพระเจ้า แต่ผู้ปกครองมีลักษณะเป็นธรรมราชา คือผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมะ ผู้ใช้ธรรมะในการปกครอง อำนาจการปกครองยังเป็นของประชาชนอยู่ เพราะในระบบนี้ประชาชนมิได้มอบอำนาจให้แก่ผู้ปกครองอย่างสิ้นเชิงดังเช่นในปรัชญาการเมืองของ โธมัส ฮอบส์ ซึ่งถือว่าประชาชนทำสัญญากันเองแล้วยกอำนาจให้แก่ผู้ปกครองโดยที่ผู้ปกครองมิใช่คู่สัญญา ในกรณีอัคคัญสูตรประชาชนพร้อมใจกันมอบอำนาจให้ผู้ปกครองก็จริง แต่ก็มีพันธะสัญญาว่าผู้ปกครองจะต้องปกครองโดยธรรมและประชาชนาจะแบ่งผลประโยชน์ให้

      ๘) รูปแบบแห่งรัฐ (Forms of States) ในพระสูตรไม่ได้ระบุรูปแบบของรัฐเอาไว้ว่าเป็นแบบไหน หากแต่ระบุถึงความเป็นมาโดยภาพรวมของรัฐเท่านั้น เมื่อจะอนุมานหรือเทียบเคียงได้ ดังนี้

           ก. รัฐเดี่ยว เป็นการปกครองที่มีผู้นำสูงสุดอยู่ที่พระมหากษัตริย์หรือรัฐบาลกลาง โดยมีเสนาอำมาตย์และปุโรหิตเป็นผู้คอยช่วยเหลือในการบริหารบ้านเมืองเป็นลำดับชั้นลงมา

         ข. ระบอบราชาธิปไตย ผู้นำในยุคนั้นสมัยนั้นมีผู้นำที่เรียกว่าราชา ที่มีการสืบทอดอำนาจทางการเมืองโดยกลุ่มคนในวรรณะเดียวกัน หรือครอบครัวเดียวกัน

       ส่วนระบบกฎหมายและการลงโทษหรืออาญานั้นในพระสูตรได้ทำเป็นขั้นเป็นตอนจากโทษเบาหรือลหุโทษ ก่อนแล้วเพิ่มเป็นโทษหนักขึ้น ๆ เป็นครุโทษตามลำดับ เมื่อมีการจับตัวผู้กระทำความผิดได้ ก็มีการลงโทษ การจับคุมและการลงโทษในครั้งนั้นไม่มีกระบวนการที่ซับซ้อน แต่เป็นการจับและพิจารณาโดยชุมชนที่ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งมีลำดับถึง ๓ ขั้นตอนด้วยกันคือ ครั้งที่หนึ่ง ตักเตือน สั่งสอนกก่อน ครั้งที่สอง เรียกมาทำทัณฑ์บน ครั้งที่สาม ลงทัณฑ์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นมติของชุมชนที่ใช้ร่วมกันจึงเป็นการลงโทษตามความผิด การลงโทษครั้งที่ ๑,๒ เป็นลหุโทษ  ส่วนครั้งที่ ๓ เป็นครุโทษที่มีความชัดเจนในวิธีการ ดังคำกล่าวในพระสูตรว่า

        “แม้ครั้งที่  ๓  คนทั้งหลายได้จับเขาแล้วกล่าวว่า คุณ คุณทำกรรมชั่วที่รักษาส่วนตนไว้แล้วถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ให้มาบริโภคคุณอย่าได้ทำอย่างนี้อีก คนเหล่าอื่นใช้ฝ่ามือบ้าง ก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้างทำร้าย วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในเพราะเรื่องนั้นเป็นเหตุ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ปรากฏการครหาจึงปรากฏ การพูดเท็จจึงปรากฏ การถือทัณฑาวุธจึงปรากฏ” 

 

          กล่าวโดยสรุป รัฐในอัคคัญญสูตร เป็นสูตรที่ว่าด้วยการกำเนิดแห่งรัฐที่พระพุทธเจ้าทรงได้ชี้ให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นและพัฒนาการ จากสัตว์ผู้ประเสริฐจากอาภัสสรพรหมสู่สามัญด้วยกระบวนการของการกระทำที่ลองผิดลองถูกด้วยอำนาจของกิเลสในที่สุดก็พัฒนาเป็นบ้านเรือน  ชุมชน เมือง จนมีรูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชและที่สำคัญมีระบบกฎหมายและการลงโทษที่เหมาะสำหรับคนที่มีจำนวนน้อย  และพระสูตรนี้เองเป็นการลมล้างความเชื่อในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ที่มีม

หมายเลขบันทึก: 504187เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ข้อ 3 ผู้ปกครองรัฐ อธิบายผิดนะครับในอัคคัญสูตรบอกถึงลำดับ ไม่ใช่ประเภทครับเริ่มแรก มหาชนสมมติ (นั่นบอกถึงระบบการเลือกผู้ปกครองทีแรกว่าเป็นประชาธิปไตย)เลือกมาเพื่อปกครองเขตแดน (กษัตริย์ รากศัพท์มาจากคำว่าเกษตร(สันสกฤต) หรือ เขต(บาลี)) เรียกผู้ปกครองนี้ว่า ราชา แปลว่า ผู้ทำให้สุขใจโดยธรรม

ดังนั้นไม่ได้แบ่งเป็น 3 ประเภทอย่างที่เขียนในบทความเลยครับ

อ้างอิง[๖๓] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้าอันมหาชนสมมติ ดังนี้แล อักขระว่า มหาชนสมมติ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับแรกเพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่งแห่งเขตทั้งหลาย ดังนี้แล อักขระว่ากษัตริย์ กษัตริย์ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สอง เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้ายังชนเหล่าอื่นให้สุขใจได้โดยธรรม ดังนี้แล อักขระว่า ราชา ราชา จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สาม

http://www.84000.org/tipitaka/_mcu/v.php?B=11&A=1703&Z=2129

ข้อ 3 ผู้ปกครองรัฐ อธิบายผิดนะครับในอัคคัญสูตรบอกถึงลำดับ ไม่ใช่ประเภทครับเริ่มแรก มหาชนสมมติ (นั่นบอกถึงระบบการเลือกผู้ปกครองทีแรกว่าเป็นประชาธิปไตย)เลือกมาเพื่อปกครองเขตแดน (กษัตริย์ รากศัพท์มาจากคำว่าเกษตร(สันสกฤต) หรือ เขต(บาลี)) เรียกผู้ปกครองนี้ว่า ราชา แปลว่า ผู้ทำให้สุขใจโดยธรรม

ดังนั้นไม่ได้แบ่งเป็น 3 ประเภทอย่างที่เขียนในบทความเลยครับ

อ้างอิง[๖๓] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้าอันมหาชนสมมติ ดังนี้แล อักขระว่า มหาชนสมมติ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับแรกเพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่งแห่งเขตทั้งหลาย ดังนี้แล อักขระว่ากษัตริย์ กษัตริย์ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สอง เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้ายังชนเหล่าอื่นให้สุขใจได้โดยธรรม ดังนี้แล อักขระว่า ราชา ราชา จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สาม

http://www.84000.org/tipitaka/_mcu/v.php?B=11&A=1703&Z=2129

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท