การเชื่อโยงการเรียนรู้สู่ท้องถิ่น " เรารักษ์บ้านสวาย"


เรียนรู้เรื่องราวท้องถิ่นของตนเอง ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ด้วยความร่วมมือจากชุมชน พัฒนากระบวนการคิดและสร้างค่านิยมให้รักท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
         โรงเรียนบ้านสวายเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่  1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ในด้านการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  ทางโรงเรียนได้ให้ความสำคัญตั้งแต่การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้  การจัดกิจกรรม  การจัดบรรยากาศ  การประเมินพัฒนาการ  โดยคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของเด็ก  เพราะเชื่อว่าเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังมีการเจริญเติบโตทางสมองที่รวดเร็ว  เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ที่ดีหากได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ถูกวิธี  รวมทั้งการจัดประสบการณ์สามารถสนองต่อความต้องการ  วัย  วุฒิภาวะ  ของเด็กโดยเน้นการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  บูรณาการผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เป็นประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า  กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องเน้นทักษะกระบวนการคิด  เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพบนพื้นฐานการดำรงชีวิตที่พอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว            การจัดหน่วยการเรียนรู้จึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องราวที่ใกล้ตัวเด็กโดยคำนึงถึงประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงซึ่งหน่วยเรารักษ์บ้านสวายเป็นหน่วยการเรียนรู้หนึ่งที่มุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้วิถีชีวิตของบุคคลในท้องถิ่นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของการดำเนินชีวิตในอดีตและปัจจุบันกิจกรรมหลักในหน่วยเรารักษ์บ้านสวาย1.การเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของบ้านสวายจากคำบอกเล่าและหลักฐานทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน2.การเรียนรู้อารยธรรมโบราณของชุมชนที่มีร่องรอยหลักฐานเป็นโบราณวัตถุเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน3.การเรียนรู้อาหารพื้นบ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่น4.การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนจากวิทยากรท้องถิ่น5.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการจัดนิทรรศการวิธีการจัดกิจกรรม1.จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เป็นฐานการเรียนรู้2.ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้จริงในท้องถิ่น3.ฝึกปฏิบัติกิจกรรมจากคำบอกเล่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น4.จัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรม1.การจัดบรรยากาศในการเรียนรู้  เน้นบรรยากาศเชิงบวก  เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจ2.กิจกรรมมีความหมายต่อตัวเด็ก  สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง3.สื่อและอุปกรณ์เป็นของจริงที่สัมผัสได้ 

4.ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาร่วมกิจกรรมเข้าใจและสื่อความหมายกับเด็กได้อย่างเป็นกันเอง

หมายเลขบันทึก: 50347เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2006 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท