เรื่องเล่าเร้าพลัง “คนพันธ์สูงเนิน” ครั้งที่ ๓ (ตอน ๒)


SHA : S สื่อให้นึกถึง sustainable & spirituality เน้นความยั่งยืนผ่านมิติการพัฒนาทางจิตวิญญาณและจิตตปัญญา H สื่อถึง healthcare & health promotion เป็นการพัฒนาทั้งบริการสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพควบคู่กัน A สื่อให้นึกถึง appreciation & accreditation ใช้กระบวนการชื่นชมและกระบวนการ accreditation ควบคู่กัน ชื่นชมผ่านเรื่องเล่า นำมาสู่ความคิดฝัน รวมถึงเชื่อมั่นในความสามารถของชุมชนที่เราทำงานด้วย

ขอเล่าต่อจากบันทึกที่แล้วนะคะ

ลืมเล่าค่ะ.. งานนี้เรามีพิธีกร ๒ ท่าน (Moderator) ผู้ที่ทำหน้าที่บนเวทีคือพี่ยา’ จรรยาวัฒน์ ทับจันทร์ ส่วนภาคสนามคือนุช่า’ อนุชา สร้อยเป้า ทำหน้าที่กระตุ้นให้ผู้ฟังได้ร่วมแสดงความรู้สึก หลังจากรับฟังเรื่องเล่าแต่ละเรื่อง.. เสียดายนิดนึงค่ะ จนท.รพ.เข้าฟังน้อย เนื่องจากมีภารกิจมากมาย แต่ไม่ต้องเสียใจนะคะ พี่เทพ’ เสน่ห์ แมลงทับ คนสร้างภาพประจำรพ.ได้อัด Clip ไว้แล้ว ส่วนรายละเอียดเนื้อหาตามดูตามอ่านได้จาก E-BOOK ของรพ.จ้า.. สำหรับท่านที่แวะเข้ามาอ่านบันทึกนี้ kunrapee จะเป็นผู้เล่าต่อให้ฟังนะคะ

 

เวทีครั้งนี้.. เราโชคดีมีคนไข้เบาหวาน ที่เป็นจิตอาสาเพื่อนช่วยเพื่อน มาเล่าความรู้สึกจากการทำงานให้ฟัง ๒ ท่าน “จากป่วยสู่จิตอาสา” เกริ่นนำโดย คุณต่าย’ เดือนเพ็ญ แสงทอง เจ้าแม่งาน HHC ต่ายบอกว่างานจิตอาสาไม่ใช่การสงเคราะห์ แต่เป็นการช่วยเหลือด้วยหัวใจของเพื่อนมนุษย์ เป็นการยกระดับจิตใจของตนเองเพื่อผู้อื่น

พี่สำเริง เป็นเบาหวานมา 20 ปี ไม่เคยคุมระดับน้ำตาลได้เลย มารพ.ครั้งใด น้ำตาล >200 ตลอด ถูกบ่นจากแพทย์และพยาบาลทุกครั้ง จึงแก้ปัญหาด้วยการไม่มารับยาซะเลย ร้อนถึงเจ้าแม่ HHC ต้องออกเยี่ยมบ้าน ค้นหาสาเหตุและชักชวนให้เข้ากลุ่มเบาหวาน (Self health group) ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน หลังเข้ากลุ่มอย่างตั้งใจ พฤติกรรมเปลี่ยนไปจนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ในระดับที่ดีมาก (FBS=90-130 mg%) พี่สำเริงบอกว่าตอนแรกไม่กล้าเจาะเลือด (หมายถึงการตรวจด้วยเครื่อง Dtx) แต่คุณหมอหนึ่ง’ ศุภฤกษ์ (ขณะนี้ไปเรียนต่อ EMS ทุนรพ.พิมาย) บอกตอนเข้ากลุ่มว่า เรื่องแค่นี้ก็ทำไม่ได้ แล้วจะไปทำอะไรกิน พี่สำเริงเปลี่ยนวิกฤติคำสบประมาทให้เป็นโอกาส ซึ่งสามารถทำได้ในที่สุด และมีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนเบาหวานด้วยกัน ทุกเช้าวันจันทร์แรกของเดือนจะงดภารกิจทั้งมวล มาเป็นผู้เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลให้เพื่อนๆเบาหวานในกลุ่มของตนเอง มีความสุขภูมิใจที่ได้ช่วยเพื่อน เป็นที่ไว้วางใจของเพื่อน และได้ช่วยคุณหมอ

พี่ทวี เป็นเบาหวานและอสม.มาหลายปีเช่นกัน ทุกครั้งที่เพื่อนเบาหวาน (รวมทั้งคนในหมู่บ้านด้วย) มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นลม, เหนื่อยเพลียใจสั่นหวิวเป็นลม, รู้สึกไม่ค่อยดีไม่สบาย มักจะมาตามพี่ทวีให้ไปดูและช่วยเหลือเสมอ เมื่อเข้าไปดูพี่ทวีจะเจาะ Dtx ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ให้คำแนะนำในการดูแลพยาบาลเบื้องต้น บางเรื่องถ้าเกินความสามารถ ก็จะโทรศัพท์มาถามจนท.คลินิกโรคไม่ติดต่อ (NCD Clinic) พี่เพ็ญและกระต่าย เพื่อขอคำแนะนำ หลังจากทำหน้าที่นี้มาหลายปีรู้สึกมีความสุขและภูมิใจที่คนในหมู่บ้านให้ความไว้วางใจ

 

 

น้องขวัญ เล่าเรื่อง “พลังความเครียด” เป็นความรู้สึกดีใจ ตื่นเต้น ประทับใจ ที่ผลงานวิจัยของตนเองได้รับรางวัล (ด้านโปรสเตอร์) รองชนะเลิศอันดับสอง ของสปสช. ในงานมหกรรมวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เนื่องจากตอนทำไม่ได้คาดหวังจะส่งประกวด เพียงแค่ส่งอาจารย์เพื่อเอาคะแนนตอนเรียนต่อเนื่องเท่านั้น อ่านรายละเอียดผลงานวิจัยได้จากบันทึกนี้นะคะ ผลงานวิจัย : ความเครียดของคู่สมรสของบุคลากรในโรงพยาบาลสูงเนิน

 

น้องสา เล่าเรื่อง “กัวซามาใหม่” กัวซาเป็นแพทย์ทางเลือกอีกแขนงหนึ่งของรพ.เรา น้องสามีโอกาสได้ไปฝึกอบรม และยังไม่ค่อยมั่นใจว่าจะมีผู้สนใจ ได้ลองพูดคุย เล่าเรื่อง และบอกต่อ จนมีจนท.ท่านหนึ่งมาทำ เพื่อลดปวดไหล่-บ่า หลังทำอาการปวดดีขึ้น และมีการบอกต่อจนมีจนท.หลายท่านมารับบริการ ทำให้น้องสารู้สึกมีกำลังใจ มีความหวัง มุ่งมั่นที่จะดำเนินงาน “ระบบการรับบริการด้วยกัวซา” ให้เป็นทางเลือกใหม่ของผู้รับบริการต่อไป

 

 

เรื่องสุดท้ายของวันนี้คือ “ขบวนการนางฟ้า” จริงๆ kunrapee คิดว่า.. น่าจะตั้งชื่อเรื่องเสียใหม่ว่า “จินตนาการ พากลับบ้าน” เพราะดูน่าค้นหามากกว่ากันเยอะ เรื่องนี้เล่าโดย เพื่อนอ้วน’ วลัยพร วงษ์สินธน เรื่องนี้ มีพวกเราอยู่ในเหตุการณ์หลายคน เป็นช่วงหลังที่พี่นารถ เริ่มอาการแย่ลงเรื่อยๆ(เท้าความเรื่องของพี่นารถได้ที่นี่นะคะ ไว้อาลัยให้ใครดี อ้วน ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life Care) และเป็นผู้ที่ดูแลช่วยให้พี่นารถได้เตรียมตัว-เตรียมใจ เพื่อจากไปอย่างสงบมาร่วม ๑-๒ สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ได้เล่าถึงช่วงเวลา ความรู้สึกที่ได้ช่วยให้พี่นารถจากไปอย่างสงบ


เช้าวันนั้น อ้วนลงเวรดึกยังไม่ได้กลับบ้าน น้องมีนลูกสาวพี่นารถ มาบอกว่า.. แม่เหนื่อยมาก จึงเข้าไปดูอาการ สิ่งที่พบคือพี่นารถหายใจแบบหิวอากาศ ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า Air hunger อ้วนเข้าไปพูดคุย ซักถามหลายอย่าง เปิดเทปธรรมะให้ฟัง ตามญาติสนิท เพื่อนร่วมงานมาขออโหสิกรรม สุดท้ายถามว่าพี่นารถยังห่วงอะไร พี่นารถบอกว่าไม่มีห่วงแล้ว อ้วนคิดนาฬิกาชีวิตของพี่นารถเริ่มถอยหลังแล้ว.. เวลาผ่านไปร่วม ๒-๓ ชั่วโมง พี่นารถยังหายใจเหนื่อยหอบเหมือนเดิม.. อ้วนสอบถามซ้ำอีกครั้ง พี่นารถยังห่วงอะไร พี่นารถบอกว่าไม่มีห่วง (เหมือนเดิม) อ้วนคิดในใจ.. มันต้องมีสิ ไม่งั้นทำไมพี่นารถยังทรมานอยู่ และแล้วก็นึกได้ว่า เวรดึกส่งเวรว่าพี่นารถบ่นอยากกลับบ้าน.. อ้วนคิดถ้าขอพากลับบ้าน หลายคนหลายฝ่ายคงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง.. นั่งคิดว่า จะทำอย่างไรดี.. ก็คิดได้เคยอ่านหนังสือแนะนำให้นำพาคนไข้กลับบ้านโดยใช้จินตนาการ.. หลังจากที่คิดได้ อ้วนเริ่มงานทันที ถามพี่นารถอยากกลับบ้านไหม พี่นารถตอบ อยากกลับ งั้นเดี่ยวพวกเราจะพาพี่นารถกลับบ้านนะคะ อ้วนพูดเสียงดัง ให้ใครโทรศัพท์ไปขอรถ Refer ที.. รถมาแล้ว พี่นารถเดี๋ยวจะช่วยกันยกพี่นารถขึ้นรถเข็นนอนนะ.. เอ้า.. อึ๊บ ขึ้นรถ Refer แล้วนะ ตอนนี้ออกนอกประตูรพ.แล้ว ถึงประตูเสือจะ U-Turn แล้วนะ เลี้ยวเข้าหมู่บ้านแล้วนะคะ เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านพี่นารถแล้วนะ.. เอ้าช่วยกันยกพี่นารถขึ้นบ้านที.. พี่นารถ ถึงบ้านนะ.. พี่นารถยิ้ม มีสติดีตลอด ถามตอบกันรู้เรื่อง ตามทุกคำพูดของอ้วนไปจนถึงบ้าน.. สักครู่ใหญ่ๆ พี่นารถก็จากไปอย่างสงบ” ความรู้สึกของอ้วนและทุกคนในที่นั้น ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือได้.. kunrapee รู้สึกตื้นตัน ปิติ มีความสุขที่ได้เห็นคนๆหนึ่งทำหน้าที่ช่วยเหลือคน อีกคนหนึ่ง แต่คงไม่มากไปกว่าผู้ที่ลงมือทำด้วยหัวใจ ของความรักที่จะทำ


 


จบแล้วค่ะ ๘ เรื่องราวดีๆ

(อีก ๑ เรื่องมีเหตุขัดข้องนิดหน่อยทำให้ ไม่ได้มาเล่าในวันนี้ค่ะ)

สำหรับความสุขเล็กๆที่อยากนำมาแบ่งปันค่ะ

ขอให้ทุกท่านมีความสุขในวันหยุดนะคะ


หมายเลขบันทึก: 503123เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2012 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2012 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ตามมาอ่านอีกค่ะ ยินดีด้วยนะคะที่สามารถ ทราบความต้องการของพี่นารถ และนำพาพี่เค้าให้จากไปแบบไม่มีห่วงและกังวล อนุโมทนาบุญค่ะพี่อ๋อย

ขอบคุณอ.ชัยพร สำหรับดอกไม้ค่ะ

ขอบคุณแฟนพันธ์แท้ tuktun จ้า การทำงานด้วยหัวใจ มักได้รับสิ่งนั้นตอบแทน

 

  • อ่านเรื่องพี่นารถแล้ว...น้ำตาจะไหล
  • นึกถึงน้องชายของคุณมะเดื่อที่จากไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจ้ะ
  • เดือนหน้าก็จะทำบุญ 100 วันแล้วจ้ะ

เรียนคุณมะเดื่อ ในยามเมื่อคนที่เรารักจากไป เรารู้สึกได้ว่ามันมากเกินรับไหว.. แต่ต้องทำใจให้ได้นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ น้องชายไปสู่สุคติแล้วนะคะ (พี่นารถเพิ่งทำบุญร้อยวันเมื่อต้นเดือนค่ะ)

 

ตามมาอ่านต่อด้วยความประทับใจทุกเรื่องเล่า..ขอบคุณค่ะ..

เรื่องเล่าช่วย.. เสริมสร้างพลังให้ตัวผู้เล่าเอง และเสริมคุณค่ากำลังใจให้ผู้อื่นด้วยค่ะพี่ใหญ่ ขอบคุณนะคะ

 

  • ตามมาตั้งแต่ตอนแรก
  • แต่ไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น
  • ขอชื่นชมการทำงานด้วยครับ

ทีมงาน.. ทำตามนโยบายค่ะอ.ขจิต เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SHA ที่สรพ.แนะนำให้พวกเราชื่นชมกันและกันผ่านเรื่องเล่า เราเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี จึงทำต่อมาเรื่อยๆ ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามแล้ว ขอบคุณนะคะ

 

มาตามอ่านเรื่องดี ๆ ครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณเช่นกันค่ะคุณภูคา Blank

ขอบคุณดอกไม้ของหนูรี Blank คุณใบบุญ Blank คุณสันติสุข Blank นะคะ


 

ตามมาอ่านต่อจากบันทึกก่อนแล้วนะจ๊ะคุณน้อง ถ้าได้นั่งฟังผู้เล่าๆเรื่องเอง คงได้อรรถรสมากมาย

น่าประทับใจทุกเรื่องเลยค่ะ ทุกคนทำงานด้วยหัวใจที่เป็นผู้ให้อย่างแท้จริง ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ค่ะ

เข้ามาเชียร์และเอาใจช่วยนะครับ

  • สวัสดีค่ะท่านBlankkunrapee  
  • หวังว่าท่านคงจะสบายดีนะคะ
  • มาส่ง  ให้กำลังใจค่ะ

เรียน kruangle ประทับใจมากมายค่ะ เพราะผู้เล่าเป็นผู้ประสบเหคุการณ์ด้วยตนเอง พวกเรา.. มองเห็นสายตาที่บ่งบอกถึงความสุข ความประทับใจขณะเล่าค่ะ

 

ขอบคุณอาจารย์ยุวนุช ที่ส่งกำลังใจมาให้ค่ะ

พวกเราตั้งใจทำ โดยหวังแค่ให้คนไข้ได้รับสิทธิ์อันพึงได้-พึงมี และที่สุดคืออยู่ในสังคมอย่างมีความสุขค่ะ

 

ขอบคุณนะคะคุณอัคขณิช Blank ที่มาร่วมเชียร์กัน

ดอกไม้น่ารักมาค่ะคุณครูทิพย์ Blank ขอบคุณจริงๆ

 

 ก็คิดได้เคยอ่านหนังสือแนะนำให้นำพาคนไข้กลับบ้านโดยใช้จินตนาการ.. หลังจากที่คิดได้ อ้วนเริ่มงานทันที ถามพี่นารถอยากกลับบ้านไหม พี่นารถตอบ อยากกลับ งั้นเดี่ยวพวกเราจะพาพี่นารถกลับบ้านนะคะ อ้วนพูดเสียงดัง ให้ใครโทรศัพท์ไปขอรถ Refer ที.. รถมาแล้ว พี่นารถเดี๋ยวจะช่วยกันยกพี่นารถขึ้นรถเข็นนอนนะ.. 

 

นำมาเล่าอีกนะคะ อ่านแล้วเห็นภาพ อนุโมทนาด้วย

คิดได้ดีจังค่ะ พาคนไข้กลับบ้านโดยใช้จินตนาการ..

ขอบคุณค่ะอาจารย์ภูสุภา เพื่อนอ้วน (คนรับผิดชอบเรื่องนี้) เค้าเก่งค่ะ ค้นคว้าหาข้อมูลจากหนังสือมากมาย เพื่อช่วยเหลือคนไข้ระยะสุดท้าย ให้จากไปอย่างสมศักดิ์ศรี - สงบ - ไร้ห่วงกังวลใดๆ

 

สวัสดีคะ

อ่านด้วยความปิติและมีสุขไปกับน้องทุกคนคะเป็นรพSHA จริงๆ

 

ขอบคุณแม่ต้อยมากๆค่ะ ที่แวะเข้ามาอ่าน

 

SHA...ของแม่ต้อย ... อร่อย...มีคุณภาพสุด...สุด นะคะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท