เมื่อผู้ดูแล....เหนื่อยล้า ทำอย่างไร


หนึ่งบ้าน หนึ่งชุมชน ไม่เพียงแต่ผู้ป่วย 1 คนเท่านั้นที่ป่วย แต่ญาติ ผู้ดูแล ล้วนแล้วแต่มีโอกาสป่วยทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณด้วยกันทั้งสิ้น รวมทั้งยังมีโอกาสขยายวงกว้างในเชิงสังคมและประเทศชาติต่อไปได้

วันนี้(28 กันยายน 2555) เมื่อได้เข้าไปทำงานในชุมชนแห่งหนึ่ง...ได้ยินเสียงสะท้อนของประชาชนคนไทย ที่บอกถึงสุขภาวะทางจิตที่สำคัญ เนื่องจากในบ้านหลังนี้มีพี่ชายป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำให้ผู้เป็นแม่วัย 85 ปี รู้สึกเป็นกังวล และต้องการใครสักคนมาดูลูกชายวัย 50 ปีคนนี้ หน้าที่นี้คงไม่มีใครอยากทำนัก เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยเป็นระยะเวลานาน มีทั้งความเครียด ความกดดัน และโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว และมีพยาธิสภาพที่สมองด้วยแล้ว มักมีปัญหาเรื่องการแสดงออกทางอารมณ์ตามมาด้วยเสมอ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยจะสามารถยอมรับและปรับตัวได้เองหรือไม่ ดังนั้น หน้าที่ในการดูแลลูกคนนี้จึงต้องไปยอู่ที่คนใดคนหนึ่งของครอบครัว ซึ่งก็คือ น้องสาวนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่น้องสาวต้องออกจากงาน มาดูแลพี่ชาย ระคน ปนทุกข์ ที่ตนเองไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ ต้องอยู่ในบ้าน หากแต่ไม่มีใครเข้าใจได้ ทุกคนได้แต่บอกว่าต้อง "อดทน" ความรู้สึกเหล่านี้เก็บสั่งสมเป็นระยะเวลานาน จนระเบิดและตั้งมั่นแน่วแน่ว่า หากแม่จากไป ทุกคนจะทิ้งพี่ชายคนนี้....จะเห็นได้ว่าในหนึ่งบ้าน ในหนึ่งชุมชน ไม่เพียงแต่ผู้ป่วยเท่านั้นที่ป่วย แต่ญาติล้วนแล้วแต่มีโอกาสป่วยทางจิตสังคมด้วยกันทั้งสิ้น จากกรณีตัวอย่างของครอบครัวนี้ พบว่า ครอบครัวต้องการการช่วยเหลือ 2 ประเด็นใหญ่ คือ การช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีความสามารถและสามารถแสดงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มความสามารถ และ การส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถสื่อสาร บอกความต้องการของแต่ละบุคคลได้อย่างตรงไปตรงมา

การฟื้นฟู= ระยะเวลายาวนาน+ผู้ดูแล

เหนื่อย ล้า ท้อแท้ หมดพลัง= 0หากผู้ดูแลเหนื่อยล้า ท้อแท้ ทุกอย่างก็จบ เพราะขาดทั้งกำลังกายและกำลังใจให้ทั้งผู้ป่วยและตนเอง

ดังนั้น การให้บริการทางสาธารณสุขในทุกมุมมองของสหวิชาชีพจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้รับบริการอย่างสูงที่สุด โดย หากครอบครัวนี้หากมีนักจิตวิทยาที่ทำหน้าที่ดูแลให้คนในครอบครัวได้มีโอกาสสะท้อนอารมณ์ แก้ไขปมคิดของจิตใต้สำนึก หรือการให้คำปรึกษาครอบครัว มีทีมฟื้นฟูความสามารถของผู้ป่วย (นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด นักแก้ไขการพูดและการสื่อความหมาย) นอกจากนั้น ยังจำเป็นต้องอาสัยนักสังคมสงเคราะห์ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานเกี่ยวกับการเงิน การช่วยเหลือ การหางานอาชีพให้แก่บุคคลอื่นในครอบครัว รวมทั้งสิทธิต่างๆ ที่พึงได้


นี่คือโจทย์ที่ยากที่เดียวว่าจะทำอย่างไรให้ครอบครัวนี้มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามแนวคิดของงานกิจกรรมบำบัด

หมายเลขบันทึก: 503033เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2012 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท