ข้อคิดจากประเมินภายนอก, การสรุปผลการดำเนินงาน, อัตลักษณ์เดียวก็ดี, สับสนค่าขีดจำกัดล่าง, ระดับคุณภาพรายมาตรฐาน, เก็บข้อมูลกี่ %, ใช้คะแนนดิบ, อำเภอที่ประเมินปี 56


ข้อสังเกตที่น่าสนใจจากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 ใน 2 อำเภอ, น่าจะมี 1 อัตลักษณ์ 1 สถานศึกษา, ค่าขีดจำกัดล่างใน SAR กับในการประเมินภายนอก คนละค่ากัน การทำ SAR 55 ใช้คะแนนปลายภาค 2/53 ถึง 1/55, นอกจากสรุประดับคุณภาพรายตัวบ่งชี้แล้ว สรุประดับคุณภาพเป็นรายมาตรฐานและภาพรวมด้วย, คะแนนปลายภาคที่จะนำมาเปรียบเทียบกับค่าขีดจำกัดล่าง จะต้องเป็นคะแนนดิบ ( คะแนนจากคะแนนเต็ม 60 หรือ 30 ตามจำนวนข้อสอบ )

สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 8 เรื่อง ดังนี้

 

         1. วันที่ 13 ก.ย.55 ผมคุยกับคุณปรารถนา กศน.อ.กะปง ในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ เรื่องการประเมินคุณภาพฯภายนอกรอบสามของ กศน.อ.กะปง กับ อ.สรรคบุรี ซึ่งรับการประเมินภายนอกระหว่าง 11-13 ก.ย.55 พร้อมกัน  ว่า   กศน.อ.สรรคบุรี โดยรวมคงผ่าน ( เขาดูไม่เกินที่เขาแจ้งให้เตรียมล่วงหน้า )  ที่ อ.กะปงมีปัญหาที่ ตัวบ่งชี้ 6 ของ สมศ. ( ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนฯ )  ส่วน อ.สรรคบุรีก็มีปัญหาที่ตัวบ่งชี้ 6 เช่นกัน เช่นเรื่องการศึกษาค้นคว้าวิจัยของครู และตัวบ่งชี้ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา เพราะไม่ค่อยมีอะไรให้เขาดู นอกจากนี้มีปัญหาที่ตัวเลขต่าง ๆ เช่นจำนวนนักศึกษา ใน SAR ในรายงานผลการปฏิบัติ และในเอกสารต่าง ๆ ตัวเลขไม่ตรงกัน
             ที่ กศน.อ.กะปง จัดแฟ้มตาม 12 ตัวบ่งชี้ของ สมศ.เลย เพราะเขามาประเมินตามเกณฑ์ของเขา จะได้ไม่ต้องวุ่นวายกับการหาเอกสาร บางตัวบ่งชี้กรรมการจะหาข้อมูลเอง เช่น ตัวบ่งชี้ที่ 8-10 เขาดูจากเอกสารเองทั้งหมด และสัมภาษณ์คณะกรรมการสถานศึกษา  ที่กะปงโชคดีเนื่องจากคณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ตลอด เขาจึงทราบข้อมูลของเราดีอยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องการตอบคำถาม  ส่วนตัวบ่งชี้ 1-4 สัมภาษณ์นักศึกษา แล้วมาสัมภาษณ์ครู เมื่อครูตอบแล้วก็ไปหยิบหลักฐานมาให้เขาดู เพื่อเขาจะได้มีข้อมูลสำหรับให้คะแนน  ฉะนั้น ควรจัดเตรียมข้อมูลตามเกณฑ์ สมศ เลย   อีกอย่างการตอบคำถาม ควรตีความให้ออกว่าเขาประเมินอะไร อ่านเกณฑ์ให้เคลียร์จะได้ตอบได้ตรงประเด็น
             ผมบอกว่า นี่ขนาด 55 อำเภอแรกใน 8 จังหวัด ประเมินผลงานปี 54 ไม่ใช่ 55 ยังจัดตาม 12 ตัวบ่งชี้ของ สมศ.   ผมก็ไปแนะนำให้ อ.สรรคบุรี จัดตาม 12 ตัวบ่งชี้ของ สมศ.เหมือนกัน เขาก็เชื่อ กรรมการประเมินก็ไม่ว่าอะไร พูดในทำนองชมเสียด้วยว่า "ปรับตัวทันนะ"   คุณปรารถนาตอบว่า เขาไม่สนหรอกว่าเราจะเตรียมแฟ้มอย่างไร แต่ที่แน่ๆเขามาประเมินตามตัวบ่งชี้ของเขา เพื่อให้ง่ายและไม่สับสนจึงจัดตามเกณฑ์เขาดีที่สุด

 

         2. วันที่ 17 ก.ย.55  "ศน.คน ดี ที่ มีคนเดียว" นำคำแนะนำของท่าน ศน.สุรีย์นาคนิยม ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ กศน.จ.ตรัง มาโพสต์ในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า สถานศึกษาควรมีอัตลักษณ์เพียงแห่งละ 1 อัตลักษณ์
             ผมเห็นด้วย และขอร่วมเสนอความเห็นขยายความ ดังนี้
             อัตลักษณ์ ก็คือ "คุณลักษณ์ที่พึงประสงค์" ที่เป็นจุดเน้นสำคัญที่สุด หรือเป็นเป้าหมาย ที่ต้องการให้ผู้ที่เรียนจบจากสถานศึกษานั้น เป็นคนลักษณะอย่างนั้น
             ตัวอย่างอัตลักษณ์ เช่น
             - มีความซื่อสัตย์
             - มีวินัย
             - ใฝ่เรียนรู้
             - ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

             ถ้ากำหนดอัตลักษณ์ว่า "มีจิตวิญญาณไทย ใจเป็นสากล เปี่ยมล้นเทคโนโลยี ชีวีพอเพียง" อย่างนี้ถือว่ามีอัตลักษณ์หลายอย่าง ไม่ดีอย่างไร
             เมื่อกำหนดอัตลักษณ์แล้ว ก็ต้อง
             1)  มีนโยบาย แผนงาน/โครงการ ที่จะปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีลักษณะตามอัตลักษณ์ที่กำหนด
             2)  มีการกำหนดเกณฑ์/ตัวบ่งชี้ของแต่ละอัตลักษณ์ว่า จะดูจากตรงไหนอย่างไรจึงจะรู้ว่าผู้เรียนมีลักษณะตามอัตลักษณ์นั้นหรือไม่
             3)  มีการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด ทั้งที่เป็นโครงการ/กิจกรรมปกติที่ทำอยู่แล้วแต่ส่งผลให้เกิดอัตลักษณ์นั้น ๆ  และโครงการ/กิจกรรมที่กำหนดขึ้นมาเพื่อการปลูกฝัง/สร้างอัตลักษณ์นั้นโดยเฉพาะ
             4)  มีการวัดและประเมินผลว่าผู้เรียนมีลักษณะตามอัตลักษณ์นั้นหรือไม่ มากเท่าไร
             จะเห็นว่าถ้ามีอัตลักษณ์หลายอย่าง ก็ยิ่งเพิ่มภาระในการทำทั้ง 4 เรื่องนี้

 

         3. วันที่ 18 ก.ย.55  เนื่องจาก มีบางคน ( รวมทั้งผมเองด้วย ) สับสนกับค่าขีดจำกัดล่างที่ใช้คำนวณตามตัวบ่งชี้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในการประเมินคุณภาพ
             ผมจึงสรุปเป็นข้อ ๆ ไว้ในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ เพื่อลดการสับสน ดังนี้
             1)  ในการทำ SAR 54 ใช้ค่า X (ค่าเฉลี่ย) - 1SD  แต่ในการทำ SAR 55 และการประเมินภายนอกรอบสาม เปลี่ยนมาใช้ค่าขีดจำกัดล่างแทน โดยเลิกใช้ค่า X (ค่าเฉลี่ย) - 1SD แล้ว
             2)  ค่าขีดจำกัดล่างของ SAR 55 ที่เราได้มาจากกลุ่มพัฒนา กศน. นั้น ได้มาจากคะแนนปลายภาค  ซึ่งแตกต่างกับค่าขีดจำกัดล่างของการประเมินภายนอก ที่ได้มาจากคะแนน N-NET
             3)  เราไม่มีค่าขีดจำกัดล่างของคะแนน N-NET ( กรรมการประเมินภายนอกจะคำนวณคะแนนผลสัมฤทธิ์ฯ ตามตัวบ่งชี้ที่ 5 ของการประเมินภายนอกเอง  เราเพียงแต่เตรียมคะแนน N-NET ของนักศึกษารายบุคคลไว้  โดยถ้าเป็น 55 อำเภอใน 8 จังหวัดแรก ที่ประเมินภายนอกในเดือน ก.ย.55 นี้ ให้เตรียมคะแนน N-NET ภาค 2/54 ไว้  ส่วนอำเภออื่น ๆ ที่จะประเมินภายนอกในปีงบประมาณ 56 ให้เตรียมคะแนน N-NET ภาค 2/54 กับ 1/55 ไว้ )
                  แต่ถ้าใครอยากรู้อยากลองคำนวณ ก็สามารถคำนวณค่าขีดจำกัดล่างของคะแนน N-NET ได้เอง ตามสูตรในเอกสาร "ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ฯ" ของ สมศ.
             4)  ค่าขีดจำกัดล่างของคะแนนปลายภาค ฉบับที่ถูกต้องคือ ฉบับที่ค่าขีดจำกัดล่างภาค 2/54 ระดับประถม วิชาทักษะการเรียนรู้ เท่ากับ 28.857
             5)  คะแนนปลายภาคที่จะนำมาเปรียบเทียบกับค่าขีดจำกัดล่าง จะต้องเป็นคะแนนดิบ ( คะแนนจากคะแนนเต็ม 60 หรือ 30 ตามจำนวนข้อสอบ )
             6)  การคำนวณคะแนนผลสัมฤทธิ์ฯตัวบ่งชี้ที่ 1.5 ใน SAR 55  ให้ใช้คะแนนปลายภาค รวม 2 ปี 4 ภาค ( 2/53 - 1/55 ) ไม่ใช่คะแนน N-NET  โดยดาวน์โหลดตารางคำนวณได้ที่ http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/834/046/original_achive1_5.xls   หรือ  www.nfe.go.th/main_doc/achievement_lndicator.xls 
             7)  เนื่องจากตอนนี้ยังไม่มีค่าขีดจำกัดล่างของคะแนนปลายภาค 1/55 แต่ต้องรีบส่ง SAR 55 ให้จังหวัดก่อน 8 ต.ค.55  ปี งปม.55 จึงให้ใช้คะแนน 2/54 เทอมเดียว ส่ง SAR ตามกำหนดก่อน  เมื่อได้ค่าขีดจำกัดล่าง 1/55 มาภายหลัง ค่อยมาปรับ SAR ตาม"

 

         4. วันเดียวกัน ( 18 ก.ย. )  คุณศิริเพ็ญ ครูอาสาฯ กศน.อ.เชียรใหญ่  เขียนถึงผมในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า   ฝาก เรียนถามกลุ่มงานประกันคุณภาพ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียนว่า ใน SAR 55 บทที่ 2 หัวข้อ “เป้าหมายความสำเร็จรายมาตรฐาน”  เราจะคำนวณระดับคุณภาพเป็นรายมาตรฐานได้ยังไง หรือจะใส่ระดับคุณภาพเป็นรายตัวบ่งชี้ จึงจะถูก

            เกณฑ์ระดับคุณภาพ รายตัวบ่งชี้ รายมาตรฐาน รายด้าน และ สรุปรวมทั้ง 6 มาตรฐาน ดาวน์โหลดได้ที่  https://dl.dropbox.com/u/109014048/estimate_academy.pdf

 

         5. วันที่ 19 ก.ย.55  คุณ Sangtip Tipsangsai  ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า   การทำ SAR เก็บข้อมูลกี่เปอร์เซ็น
             เรื่องนี้ ท่าน ผอ.กลุ่มพัฒนา กศน. ตอบผมในเฟซบุ๊คกลุ่มงานประกันคุณภาพ ว่า  เก็บข้อมูลหรือสำรวจข้อมูลจากทุกคน ( 100 % ) ครับ

 

         6. สมศ. ประกาศรายชื่อ กศน.อำเภอที่จะประเมินภายนอกปี 56  ดูได้ที่  www.onesqa.or.th/onesqa/th/home/download.php?LinkPath=../../upload/NewsPublish/download/2203-8831-0.pdf&DownloadFile=2203-8831-0.pdf&DownloadID=3008&path=../../upload/NewsPublish/download/2203-8831-0.pdf

 

         7. คืนวันที่ 19 ก.ย.55  คุณ “แก้วตา น่ารัก” ส่งข้อความผ่านหน้าเฟซบุ๊คผมมาขอ แนวทางการสรุปงาน 5 บท

             ผมตอบว่า    ผมไม่มีแนวทางการสรุปงานเป็น 5 บทแบบงานวิจัย  แต่ผมเคยเป็นวิทยากรและทำเอกสารเรื่อง “การสรุปผลการดำเนินงานเป็นรูปเล่ม" ไว้นานแล้ว  ใครสนใจดาวน์โหลดได้ที่  http://gotoknow.org/file/nfeph999/report.pdf..
            นอกจากนี้  คุณอาคม ครู กศน.ตำบลบางโพธิ์เหนือ เคยนำลิ้งค์ตัวอย่างการประเมินโครงการ มาให้ดาวน์โหลดในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ  เป็นลักษณะการประเมินโครงการที่เน้นประเมินให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการได้อย่างดี   ใครสนใจดาวน์โหลดได้ที่  http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=2A21C483BAGEY[I5NZIP8KOYH49QL6 

 
 

         8. วันที่ 20 ก.ย.55  ผมไปร่วมกิจกรรม การนำเสนอสรุปผลการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2555 ของ กศน.อำเภอใน จ.พระนครศรีอยุธยา มุทิตาจิตผู้เกษียณ และเลี้ยงส่งท่านรอง วสันต์  รัชชวงษ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.สนง.กศน.จ.สตูล   ที่ สนง กศน.จ.พระนครศรีอยุธยา
             งานนี้ ผมชื่นชม กศน.อ.เสนา ที่ หลังนำเสนอสรุปผลการปฏิบัติงาน มีการโชว์คลิปคณะบุคลากรเต้นเลียนแบบกังนัมสไตล์ทุกช็อต ดูสนุกมาก  ตอนจบมีเซอร์ไพรส์ ผอ.เต้นด้วย  เข้าคอนเซปต์ “คนสำราญงานสำเร็จ” ได้อย่างดี   อยากให้ตัดคลิปส่วนนี้ไปโชว์ในยูทูปด้วย

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 502929เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2012 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณประสบการณ์ตรงที่ท่านได้แบ่งปันค่ะ

กราบขอบพระคุณท่านมากค่ะ ที่ให้ข้อมูลรายการโทรทัศน์ จะนำเสนอต่อคณะกรรมการด้วยค่ะ

กำลังคิดรูปแบบการนำเสนอผลการดำเนินงานประจำปีของจังหวัด เห็นว่าอยุธยาทำกังนัมสไตล์ เป็นแนวทางที่ดีเลยครับ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ Blank Blank Blank

สวัสดีค่ะท่านBlankเอกชัย  กศน. ผักไห่  หวังว่าท่านคงจะสบายดีนคะ

วันนี้มาส่ง  ให้กำลังใจค่ะ  อย่าลืมไปดูเรื่อง ปลาๆ ของครูทิพย์บ้างนะคะ

ขอบใจมาก ไปดูมาแล้วครับครูทิพย์

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท