สมรรถนะครู ICT ในศตวรรษที่ 21


เตรียมครูเข้าสู่ศตวรรษที่ 21

สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 

บทนำ                

    กระแสเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้วิถีการดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไป  เกิดการแข่งขันทางปัญญา โดยการใช้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ใหม่ ๆ ที่ทันสมัยมากขึ้น บุคคลที่มีเชี่ยวชาญในการแสวงหาความรู้ การปรับประยุกต์ใช้เครื่องมือในการแสวงหาความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ย่อมมีข้อได้เปรียบในดำเนินชีวิต   ICT ก็เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการแสวงหาความรู้ การพัฒนาของโลกที่ไม่หยุดนิ่งขยับเข้าใกล้ยุคศตวรรษที่ 21 ที่เป็นยุคแห่งการดำเนินชีวิตในแบบดิจิตอล ที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ แต่ถ้าหากเราทุกคนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิต ก็จะทำให้อยู่ในโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างไม่อยากนัก  การการรู้ไอซีทีจะทำให้บุคคลสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการค้นหาความรู้เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่ต้องให้มีการพัฒนาความรู้ และทักษะความสามารถในด้านนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ก้าวไปเป็นบุคคลในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างสมบูรณ์

    การที่บุคคลจะเกิดการเรียนรู้นั้น จำเป็นต้องมีปัจจัยหลายอย่างมาส่งเสริมสนับสนุน ครูก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และการที่จะพัฒนาผู้เรียนไปให้ถึงเป้าประสงค์ของการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง และครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะปฏิบัติ และเจตคติที่ดี รวมถึงสมรรถนะและความสามารถพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับการศึกษา การเลือกรับ เลือกปฏิเสธ  การเข้าถึงความรู้ จนกระทั่งการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์  โดยไม่หลงลืมคุณธรรมจริยธรรม ดังนั้นครู ICT จึงถือได้ว่าเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นบุคลากรที่มีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับ ICTอีกทั้งมีส่วนในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนที่จะพัฒนาไปเป็นบุคคลในศตวรรษหน้า  ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาสมรรถนะครู ICT ให้สามารถจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)ให้รู้จักเลือกรับ เลือกปฏิเสธ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี

สมรรถนะครู ICT

     สมรรถนะที่บุคคลทั่วไปพึงมีนั้นประกอบด้วยความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะของตัวบุคคล ส่วนสมรรถนะครูนั้นจะเป็นการระบุชัดเจนในเรื่องของการมีความรู้ ทักษะ เจตคติและการมีพฤติกรรมต่างๆ ที่บ่งบอกถึงความสามารถในด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สมรรถนะครู ICT ก็เช่นกัน จะเป็นการระบุถึง ความรู้ ทักษะ เจตคติ  และความสามารถที่ที่ครู ICT พึงมีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งสามารถสรุปวิเคราะห์จากนักการศึกษาและงานวิจัยได้ดังตารางต่อไปนี้ได้ดังนี้ 

สมรรถนะครู ICT

นักการศึกษา / งานวิจัย

Kabilan

ใจทิพย์
ณ สงขลา

กฤษณวรรณ
 กิติผดุง

ดวงใจ
อาบใจ

จันทิมา
แสงเลิศอุทัย

ความรู้

-    ความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยี 

-    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี

-    ความรู้ด้านภาษาคอมพิวเตอร์

-    การโปรแกรมและการบำรุงรักษา

-    คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ

-    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

-    เนื้อหาสาระเทคโนโลยีสารสนเทศ

-    ข่าวสารด้าน ICT

ทักษะ

-    ทักษะด้านเทคโนโลยี 

-    ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหลักในการแสวงหาความรู้และการสื่อสาร

-    การเลือกสารสนเทศ

-    การใช้งานโปรแกรม / ซอฟต์แวร์

-    การใช้คอมพิวเตอร์

-    การใช้โปรอกรม

-    การใช้งานคอมในการเรียนการสอน

-    การปฏิบัติงานของครูโดยใช้ความรู้ความชำนาญทาง ICT

เจตคติ

-    แรงจูงใจ/เจตคติในการปฏิบัติงาน

-    การตระหนักถึงความสำคัญของ ICT

 

-    ความมั่นใจ สนใจ พึงพอใจ มุ่งมั่น มีวินัย พยายาม ใฝ่เรียนรู้

-    เห็นประโยชน์ ใฝ่เรียนรู้

-    รับผิดชอบ

-    ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ต่าง ๆ

-   มีเจตคติทางบวก

-   เห็นคุณค่า ประโยชน์ สนใจ ใส่ใจและมุ่งมั่น

พฤติกรรม / ความสามารถ

-   การเรียนรู้ด้วยตนเอง

-   การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 

-   บูรณาการเทคโนโลยีกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน สร้างบรรยากาศให้เกิดการคิดวิเคราะห์

-   ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ

 

 

 

     จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่าครูจำเป็นต้องมีสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยี  กล่าวคือ  จะต้องมีความรู้ ทักษะเละเจตคติ ที่ดีต่อการสอนโดยการใช้เทคโนโลยี และการสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยี รวมถึงการปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์  ส่วนมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ (2551) ได้กำหนดกรอบสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไว้ในโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะด้านไอซีที เป็น 2 กรอบใหญ่ ๆ คือ

     1. สมรรถนะหลัก (Core Competency) ด้านไอซีที ประกอบด้วย 6 ประเด็น ดังนี้

          1.1 ความรู้พื้นฐานด้านไอซีที (Basic ICT) หมายถึง การมีสมรรถนะในการใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ประกอบการทำงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

          1.2 การใช้ไอซีทีเพื่อการติดต่อสื่อสาร (ICT for Communication) หมายถึง การมีสมรรถนะในการใช้ไอซีทีเพื่อการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีจรรยาบรรณที่ดีและมีประสิทธิภาพ

          1.3 การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) หมายถึง การมีสมรรถนะในการเข้าถึงสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศที่ได้ และการนำสารสนเทศไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          1.4  การจัดการเอกสาร (Document Management) หมายถึง การมีสมรรถนะในการใช้ไอซีทีเพื่อการจัดการเอกสารต่างๆ อย่างเป็นระบบ และมีความสะดวกในการค้นคืนเอกสารต่างๆ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

          1.5  การนำเสนอด้วยไอซีที (Electronic Presentation) หมายถึง การมีสมรรถนะในการใช้ไอซีทีเพื่อการนำเสนอข้อมูลที่มีอยู่ในรูปแบบต่างๆ อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่นการนำเสนอข้อมูลด้วยโปรแกรมพรีเซ็นเทชั่น การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง หรือ แผนภูมิ เป็นต้น

          1.6 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ (Data & Information Management) หมายถึง การมีสมรรถนะในการใช้ไอซีทีเพื่อจัดการข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ ที่ได้มาใหม่ โดยจัดทำหรือดัดแปลงให้อยู่ในรูปของดิจิทัลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้งานต่างๆ ได้ในภายหลัง

     2. สมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency) หมายถึง การมีสมรรถนะในการคัดสรรไอซีทีหรือการประยุกต์ไอซีทีที่หลากหลายมาใช้งานได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้การปฏิบัติงานต่างๆ มีประสิทธิภาพ    

          จะเห็นได้ว่าสมรรถนะสำคัญของครู ICT คือการที่จะต้องเป็นผู้มีทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคลอบคลุมและรอบด้าน ก้าวทันการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์กับการจัดการเรียนการสอน  มุ่งเน้นและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน และมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ซึ่งก่อนที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ครูจะต้องมีเทคนิควิธีการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สื่อและนวัตกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทั้งตัวครูและผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา

สมรรถนะครู ICT ในศตวรรษที่ 21

     การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในยุคศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้เนื่องจากการรู้ไอซีทีจะทำให้บุคคลสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลในทางปฏิบัติในสังคมแห่งความรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตได้อย่างที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคคลทั่วไปในเรื่องของทักษะและความสามารถในด้านนี้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี

     สมรรถนะและความสามารถพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับการศึกษา การเรียนรู้ การทำงานและการดำรงชีวิต ในยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสังคมแห่งความรู้ ดังนั้นครูผู้สอนควรมีสมรรถนะที่จะสามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้ ICT ซึ่งมีดังนี้

     1. ความเชี่ยวชาญด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Proficiency) เป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การอ่านการเขียน การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการคำนวณ

     2.  ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค (Technical Proficiency) หมายถึงองค์ประกอบพื้นฐานและองค์ประกอบต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอล รวมถึงความรู้พื้นฐานทางด้าน ระบบสื่อสารต่างๆ ระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่าย

     3.  ความเชี่ยวชาญด้านไอซีที (ICT Proficiency) เป็นทักษะที่บูรณาการทักษะพื้นฐานด้านการรู้คิดในชีวิตประจำวันกับทักษะทางด้านเทคนิค และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ ได้อย่าเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ทั้งกับงานที่ง่ายไปจนถึงงานที่มีความซับซ้อน ได้อย่างมีประสบการณ์ กล่าวคือความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อ

      3.1 การเข้าถึงข้อมูล เป็นความชำนาญในการเข้าถึงข้อมูล รู้ว่าจะเก็บและสืบค้นข้อมูลได้อย่างไร

      3.2   การจัดการกระทำกับข้อมูล เป็นความชำนาญในการจัดการ จำแนก และจัดกลุ่มข้อมูล

      3.3   การวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูล เป็นความชำนาญในการแปลความหมายข้อมูล เปรียบเทียบ วิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ของข้อมูล สรุปและแสดงผลข้อมูลได้

      3.4   การประเมินผลข้อมูล เป็นความชำนาญในการประเมินคุณภาพ ประโยชน์ใช้สอย หรือประสิทธิภาพของข้อมูล

      3.5   การสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ เป็นความชำนาญในการสร้างข้อมูลขึ้นใหม่โดยอาศัยการดัดแปลง การประยุกต์ใช้ การออกแบบใหม่ การประดิษฐ์คิดค้นหรือการสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่

     ฉะนั้นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดการเข้าถึง (access) การจัดการ (manage) การบูรณาการ (integrate) การประเมินผล (evaluate) และการสร้างสารสนเทศ (create information) นั้นจึงเป็นหน้าที่หลักสำคัญของครู ICT ซึ่งสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เพื่อให้สามารถทำงานได้ในสังคมฐานความรู้ เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง มิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองโลก

บทสรุป

            จากประเด็นการศึกษาเรื่องสมรรถนะครู ICT นั้น สมรรถนะที่สำคัญที่ควรนำไปศึกษาและพัฒนาต่อยอดคือ การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถนำสิ่งทีได้รับจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูได้ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม  ทำอย่างไรครูถึงจะสามารถสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารครบตามองค์ประกอบของการรู้ ICT จะมีวิธีการอย่างไรในการพัฒนาให้ครูสามารถออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี  ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง รวมถึงรู้เท่าทันเทคโนโลยี และสามารถใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์สูงสุด การพัฒนาสมรรถนะครูจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษา เป็นอีกหนึ่งแรงผลัดดัน ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

กฤษณวรรณ  กิติผดุง.(2541).ความต้องการการพัฒนาสมรรถภาพการใช้คอมพิวเตอร์ของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ .จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ.

ใจทิพย์  ณ สงขลา. (2547). สมรรถภาพครูในยุคแห่งการเรียนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารครุศาสตร์.32(3), 120-128.

ดวงรัตน์  อาบใจ .(2547). สมรรถภาพที่พึงประสงค์สำหรับครูมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับโรงเรียนพัฒนาการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.วิทยานิพนธ์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ

มาลิดา อินทรีมีศักดิ์ . (2541) .สมรรถภาพของครูระดับก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์.มหาวิทยาลัยศิลปากร.กรุงเทพฯ.

สุนันท์  สังข์อ่อน, รัชนี  ชังชูและดวงใจ  ผือโย. (2544). การพัฒนาสมรรถภาพครูในการสร้างและใช้หลักสูตรและการสอนแบบบูรณาการในระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 16(3), 51-55.

อภิรักษ์  วรรณสาธพ. (2545). คน : Competencyความท้าทายขององค์กรยุคใหม่. Productivity World. 7(41), 17-27.

อุกฤษณ์  กาญจนเกตุ. (2543). Competency-Based Human Management. การบริหารคน.21(4), 19-22.

Hornby, Derek and Thomas, Reymond. (1989). Toward a Better Standard of management. Personal Management. 21(1), 52-55.

Kabilan, Muhammad Kamarul. (2004). Online Professional Development : A Literature Analysis of Teacher Competency. Journal of Computing in Teacher  Education. 21(2), 51-57.

McClelland, D. C. (1973). Testing for Competency Rather than the Intelligence. American Psychologist. 28(1), 1-14.

Woodruffe, Charles. (1992). What is meant by competency?. New York : McGraw-Hill.

 

หมายเลขบันทึก: 502755เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2012 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2012 08:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท