ประสบการณ์การทำงานในรอบ 1ปี ของจันทร์ญา


ประสบการณ์ และความภาคภูมิใจ

ประสบการณ์การทำงาน  ในรอบ  1  ปี  ( ตุลาคม  2548-กันยายน  2549 )  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา   ของนางสาวจันทร์ญา  จิโน 
จากการปฏิบัติงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาของข้าพเจ้า ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวังพร้าว  ข้าพเจ้าได้จัดพิมพ์เรื่องของประสบการณ์ในการทำงานในรอบ  1  ปีที่ผ่านมา  ข้าพเจ้าจึงได้นำมาสรุปและจัดพิมพ์  ในการเล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าได้จัดแบ่งเรื่องเล่า  เป็นหัวข้อหลัก  จำนวน  4  เรื่อง  ดังนี้
1.  ระบบหลัก  ประกอบด้วย  ระบบจัดการเรียนรู้และระบบบริการและดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ระบบจัดการเรียนรู้  ประกอบด้วย (ระบบจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน)ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวังพร้าว จำนวน 2 ภาคเรียน  ดังนี้
ภาคเรียนที่  2/2548  มีนักศึกษาจำนวน 50 คน ในภาคเรียนที่ 2/2548  นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และหมวดวิชาพัฒนทักษะชีวิต 1  
วิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 ได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ดังนี้
เรื่องที่ 1  การนวดเพื่อสุขภาพ  วิทยากรบรรยายและสาธิตโดย  นางณิชกมล  จำปาวัน  (วิทยากรจากกลุ่มนวดบ้านโป่งร้อน)มีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม  จำนวน  28  คน  ในการจัดกิจกรรม  วิทยากรบรรยายและสาธิตการนวดเพื่อสุขภาพ  พร้อมทั้งให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ   นักศึกษาได้รับความรู้เรื่อง  อุปกรณ์ที่ใช้ในการนวด  การนวดฝ่าเท้าที่ถูกวิธี  ข้อห้ามสำหรับการนวด  และนำความรู้ที่ได้รับจากการนวดนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยการนำไปนวดให้   พ่อ  แม่  หรือสามี  ภรรยาของตนเอง  ญาติ  หรือบุคคลทั่วไปได้
เรื่องที่  2  การทำเครื่องดื่มสมุนไพร  วิทยากรบรรยายและสาธิตโดย  นางจันทร์คำ  ชัยสาร  (วิทยากรจากกลุ่มแม่บ้านบ้านวังพร้าวพัฒนา)  มีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม  23  คน  ในการจัดกิจกรรมวิทยากรได้บรรยายและสาธิตการทำเครื่องดื่มสมุนไพร (การทำน้ำใบเตย  และน้ำขิง)  นักศึกษาได้รับความรู้เรื่อง  อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร  การทำเครื่องดื่มสมุนไพร  วิธีการเก็บรักษาเครื่องดื่มสมุนไพร และใน ภาคเรียนที่  1/2549   มีนักศึกษา  จำนวน  48  คน  นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในหมวดวิชาภาษาไทย  และหมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน 
หมวดวิชาภาษาไทย  ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานและนักศึกษา  ได้จัดทำโครงงานในหมวดวิชาภาษาไทยในเรื่องต่างๆ ดังนี้
-  ระดับประถมศึกษา  โครงงานเรื่องข่าวสาร  สาระ  น่ารู้  และโครงงานเรื่องสุภาษิตล้านนา (คำสอนบ่าเก่า)
-  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  โครงงานเรื่องสุภาษิต ภูมิปัญญา ล้านนา  โครงงานเรื่องการซอ  เล่าอู้
-  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  โครงงานเรื่องประวัติวัดพระธาตุลำปางหลวง  โครงงานเรื่องประวัติวัดพระธาตุจอมปิง  โครงงานเรื่องคำอู้บ่าว อู้สาว โครงงานเรื่องคำเมืองที่น่ารู้  โครงงานเรื่อง  เรื่องเล่า  สุภาษิต โครงงานเรื่องการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านโครงงานเรื่องคำบ่าเก่า โครงงานเรื่องตั๋วเมือง  ฯลฯ
นักศึกษาได้รับความรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน  ในหมวดวิชาภาษาไทย  ในเรื่อง  การค้นคว้าหาข้อมูล  การคิดค้นในสิ่งที่ใหม่  เรียนรู้ในสิ่งที่นักศึกษาอยากรู้  อยากเรียน  เพื่อนำมาจัดทำเป็นโครงงาน และการนำเสนอโครงงานในรูปแบบของการ บรรยาย  
หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน  ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  ดังนี้
-  การบริหารจิตและการเจริญปัญญา  โดยมีพระจรูญ  กุสลจิตโต  เป็นพระวิทยากรให้ความรู้  ในเรื่องการบริหารจิตและการเจริญปัญญา  มีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม  จำนวน  20  คน  และนักศึกษาได้รับความรู้เรื่อง  การนั่งสมาธิและการทำจิตใจให้สงบ
-  โครงการกฎหมายน่ารู้เรื่องสิทธิประโยชน์จากการประกันสังคม  วิทยากรจากสำนักงานประกันสังคม จ.ลำปาง (นางไพเราะห์  มาซา)  โดยวิทยากรได้บรรยายเรื่องกฎหมายกับการประกันสังคม  นักศึกษาได้รับความรู้จากการบรรยายในเรื่องสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับจากการประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลา การคลอดบุตร การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ และในงานของตำบลวังพร้าว ได้จัดพิมพ์แหล่งเรียนรู้ ของตำบลวังพร้าว คือ การทำเต้าเจี้ยว ของกลุ่มแม่บ้านบ้านวังพร้าวพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลวังพร้าว เพื่อใช้เป็นเอกสารเผยแพร่และประชาสัมพันธ์  ของแหล่งเรียนรู้ในตำบลวังพร้าว
ในส่วนของตำบลใหม่พัฒนาได้จัดกิจกรรม การเรียนแบบหน่วยการเรียนรู้ กลุ่มลำไยบ้านทุ่งขาม  จำนวน  20  คน  เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ให้กับกลุ่มอาชีพลำไย  (พันธกิจที่  1  พันธกิจที่  2  และพันธกิจที่  3)
( ระบบจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ )ได้จัดอบรมให้กับสมาชิกกลุ่มลำไย  บ้านทุ่งขาม  ตำบลใหม่พัฒนา  ดังนี้
เรื่องที่  1.  การบำรุงรักษาต้นพันธุ์  ในวันที่  13  ธันวาคม  2549  วิทยากรบรรยายและสาธิตจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลำปาง  (ผศ.สันติ  ช่างเจรจา)  สถานที่  วัดบ้านทุ่งขามและสวนลำไยของสมาชิกกลุ่มลำไย  มีผู้เข้าร่วม  จำนวน  21  คน  ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ในเรื่องการบำรุงรักษาต้นพันธุ์ของลำไย  การดูแลลำไยเมื่อออกผลลิต  การให้ปุ๋ยและให้น้ำต้นลำไย  และการกำจัดวัชพืช
เรื่องที่  2.  การพัฒนาดินและการตกแต่งกิ่งลำไย  ในวันที่  29  ธันวาคม  2549  วิทยากรบรรยายและสาธิตจากกลุ่มเกษตรกรจังหวัดลำพูน  (นายมงคล  ทองกลาง  และนายจำรัส  ทองชาติ)  สถานที่  สวนลำไยของนางดวงจันทร์  ต่างถิ่น  มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน  23  คน   ผู้เรียน  ได้รับความรู้เรื่องการให้ปุ๋ยให้น้ำกับต้นลำไย  ขนาดโตระดับกลาง  คือ  อายุ  ตั้งแต่  4  ปีขึ้นไป  การทำปุ๋ยสำหรับลำไย  รูปทรงของการตัดแต่งกิ่งลำไย  ไม่ว่าจะเป็นทรงเจาะกะโหลก  ทรงฝาชีหงาย  เป็นต้น  และผู้เรียนนำความรุ้ที่ได้รับจากการตัดแต่งกิ่งลำไยไปปรับใช้ในการทำสวนลำไยของสมาชิก
เรื่องที่  3.  การศึกษาดูงานเรื่องการตัดแต่งกิ่งลำไยและการทำสารไล่แมลง  ในวันที่  24  มกราคม  2549  โดยศึกษาดูงานจากกลุ่มเกษตรกรบ้านหลุก  ตำบลเหมืองง่า  จังหวัดลำพูน  มีผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน  จำนวน  35  คน  ผู้เข้าร่วม  ได้รับความรู้ในเรื่องการตัดและตกแต่งกิ่งลำไย  การทำสารไล่แมลง  และการทำน้ำส้มควันไม้  และผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานยังได้แสดงความคิดเห็นว่า  อยากจะทำน้ำส้มควันไม้ด้วยตนเอง  เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีประโยชน์มากมาย  สามารถนำมาใช้ได้กับไม้ยืนต้น  และสามารถนำมาใช้ประโยชนือย่างอื่นได้อีก
เรื่องที่  4.   การทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำ  ในวันที่  5  เมษายน  2549  วิทยากรบรรยายและสาธิตโดยนางกุญจร  จินา  วิทยากรจากสำนักงานบำเพ็ญสาธารณประโยชน์  สถานที่  วัดทุ่งขาม   ในการฝึกอบรมในครั้งนี้  ประกอบด้วยสมาชิกกลุ่มพริก  สมาชิกกลุ่มปลุกผักปลอดสารพิษ  กลุ่มสวนส้ม  และสมาชิกกลุ่มลำไย  มีผู้เข้าร่วม  จำนวนจำนวน  40  คน  ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกด้วยตนเอง  ทั้งนี้สังเกตได้จากการนิเทศสมาชิกกลุ่มลำไยตามสวนลำไยว่าหลังจากที่สมาชิกได้รับความรู้  เรื่องการทำหมักและปุ๋ยน้ำแล้วสมาชิกได้นำไปฝึกปฏิบัติทำปุ๋ยแล้วนำไปใช้กับการทำสวนลำไย  และบางส่วนสามารถรู้ได้จากการสัมภาษณ์ถึงเรื่องการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำ
เรื่องที่  5.  การตัด  ตกแต่งกิ่ง  และการทำสารไล่แมลง  ในวันที่  29  สิงหาคม  2549  วิทยากรบรรยายและสาธิตจากกลุ่มเกษตรกรจังหวัดลำพูน จำนวน 3 คน สถานที่วัดทุ่งขามและสวนของสมาชิกกลุ่มลำไย  มีผู้เข้าร่วม  จำนวน 20 คน  ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้เรื่อง  การทำปุ๋ยและวิธีการตัดแต่งกิ่งลำไยที่ถูกวิธี  การดูแลต้นลำไยที่เป็นโรค  และความรู้จากการฝึกปฏิบัติการตัดแต่งกิ่งลำไยในรูปทรงต่างๆ  และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้กับการทำสวนลำไยของตนเอง

ในส่วนของตำบลวังพร้าวได้จัดอบรมวิชาชีพ   ในพื้นที่  ตำบลวังพร้าว  ปีงบประมาณ  2549
เรื่องที่  1.  การทำตุง  ดำเนินการวันที่  11  เมษายน  2549  หลักสูตร   3  ชั่วโมง  ณ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสาด หมู่ที่  3   ผู้เรียนจำนวน  15  คน และมีผู้จบหลักสูตร  จำนวน 15  คน  วิทยากรบรรยายและสาธิตโดย นางสาว ศิราณี  อินธิมา  โดยผู้เรียนได้รับความรู้เรื่อง  การทำตุง  3  หาง  การทำตุงไส้หมู  การทำตุงสำหรับงานพิธี  และได้รู้ถึงความเป็นมาของการทำตุง
เรื่องที่  2.  การเพาะพันธ์กล้าไม้  ดำเนินการระหว่างวันที่  10-13  พฤษภาคม  2549  หลักสูตร  10  ชั่วโมง  ณ  บ้านเลขที่  18  หมู่ที่  2  บ้านวังพร้าว   ผู้เรียนจำนวน  16  คน   และมีผู้จบหลักสูตร   จำนวน  16  คน   วิทยากรบรรยายและสาธิต  โดยนายชาญชัย  ขันธิกุล  ผู้เรียนได้รับความรู้เรื่อง  เทคนิคและวิธีการในการเพาะพันธุ์กล้าไม้  และบำรุง  การดูแลรักษากล้าไม้
เรื่องที่  3.  การทำข้าวเกรียบสมุนไพร   ดำเนินการระหว่างวันที่  15-19 พฤษภาคม  2549  หลักสูตร  15  ชั่วโมง  ณ  บ้านเลขที่  193/1  หมู่ที่  7 บ้านวังพร้าวพัฒนา ผู้เรียน จำนวน 15  คน และมีผู้จบหลักสูตร  จำนวน 15 คน วิทยากรบรรยายและสาธิตโดยนางดวง  จันทร์สุภาเสน  ผู้เรียนได้รับความรู้เรื่อง  การทำข้าวเกรียบสมุนไพร  การทำข้าวเกรียบฟักทอง  การทำข้าวเกรียบใบมะกรูด  การทำข้าวเกรียบใบกระเพรา  การทำข้าวเกรียบตะไคร้   
(ระบบจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต) ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ  ดังนี้
กิจกรรมที่  1  โครงการจักรยาน  เยาวชนไทย  ห่างไกลบุหรี่  วันที่  25  ธันวาคม  2549  สถานที่  วัดไหล่หินหลวง  วิทยากรบรรยายนายทรงศักดิ์  แก้วมูล  โป่งน้ำร้อน วิทยากรบรรยาย  นางณิชกมล  จำปาวัน  และวัดไหล่หินหลวง  วิทยากรบรรยายนายเกษม  สิทธิ  มีผู้เข้าร่วมโครงการ  250  คน  ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องสถานที่  ท่องเที่ยวทั้ง  3  แห่ง ประวัติความเป็นมาของสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง  3  แห่ง ได้รับความรู้เรื่องเส้นทางในการนำไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวทั้ง  3  แห่ง
กิจกรรมที่  2.  โครงการนักศึกษาเยี่ยมทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปาง  ดำเนินการวันที่  29  ธันวาคม  2549  สถานที่  ทัณฑสถานบำบัดพิเศษลำปาง  อำเภอห้างฉัตร  จังหวัดลำปาง  มีผู้เข้าร่วมโครงการ  30  คน  ผู้เรียนได้รับความรู้เรื่องการใช้ชีวิตในทัณฑสถานบำบัดพิเศษ  เช่น  การกิน  การนอน  การฝึกปฏิบัติงานอาชีพ  ได้เรียนรู้เรื่องโทษของยาเสพติด
กิจกรรมที่  3. โครงการรณรงค์ความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน  ดำเนินการวันที่  8  มกราคม  2549  วิทยากรบรรยายและสาธิตจากทีมงานของบริษัทนิยมพานิชลำปาง  จำกัด  มีผู้เข้าร่วมโครงการ  จำนวน  200  คน  ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรุในเรื่องเทคนิคและวิธีการในการขับขี่อย่างปลอดภัย  และฝึกปฏิบัติการขับขี่อย่างปลอดภัย
กิจกรรมที่  4.  โครงการใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม   ดำเนินการระหว่างวันที่  27-29  มกราคม  2549  วิทยากรบรรยายให้ความรู้จากทีมงานของพระวิทยากรวัดศาลาดงลาน มีผู้เข้าร่วม จำนวน 52 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ ในเรื่อง การทำวัตรเช้า การทำวัตรเย็น การปฏิบัติการทำสมาธิ  การให้ความรู้ในเรื่องการบริหารจิตและการเจริญปัญญา ฯลฯ
กิจกรรมที่ 5. โครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท  ดำเนินการระหว่างวันที่  11-13  มิถุนายน  2549  วิทยากรโดยทีมงานจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ศูนย์การเรียนรู้ภาคเหนือ  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่  สถานที่ศูนย์การเรียนรู้ภาคเหนือ  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียง  มีผู้เข้าร่วมโครงการ  62  คน  ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้เรื่อง  เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง  การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมที่  6.  โครงการนิทรรศการฉลองสิริราชสมบัติ  ครบ  60  ปี  ดำเนินการวันที่  9  มิถุนายน  2549  สถานที่  ศาลาน้ำแต้ม  ตำบลลำปางหลวง  อำเภอเกาะคา  มีผู้เข้าร่วมโครงการ  1,062  คน  ผุ้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และได้ร่วมลงนามถวายพระพรลงบนใบไม้แห่งต้นพระบรมโพธิสมภาร
กิจกรรมที่  7.  โครงการปฏิบัติธรรมเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องโอกาสครองราชย์  ครบ  60  ปี  ดำเนินการระหว่างวันที่  16-20  มิถุนายน  2549  มีผู้เข้าร่วมโครงการ82  คน  ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในเรื่อง  การบริหารจิตและการเจริญปัญญา  การเดินจงกรม  การทำวัตรเช้า  การทำวัตรเย็น  ฯลฯ
กิจกรรมที่  8.  กิจกรรมถวายเทียนพรรษา  วันที่  9  กรกฎาคม  2549  มีผู้เข้าร่วมโครงการ  22  คน  โดยถวายเทียนพรรษา  ณ  วัดวังพร้าว  ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ในเรื่องประวัติ  และความเป็นมาของการถวายเทียนพรรษาโดยมีพระจรูญ  กุสลจิตโต  เจ้าอาวาสวัดวังพร้าว  เป็นผู้ให้ความรู้
กิจกรรมที่  9.  กิจกรรมพัฒนา  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวังพร้าว  วันที่  13  สิงหาคม  2549  มีผู้เข้าร่วม  22  คน   โดยผู้เข้าร่วม  ได้ทราบว่าในศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวังพร้าว  มีสื่อ  หรือมุมต่างๆ  ที่จัดอยู่ในศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวังพร้าว
กิจกรรมที่  10. โครงการเปิดโลกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   วันที่  19  กุมภาพันธ์  2549  มีผู้เข้าร่วม  100  คน  สถานที่  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา  จังหวัดลำปาง  ผู้เข้าร่วม  ได้รับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  โดยการเข้าร่วมกิจกรรม  ทั้ง  10  ฐาน
กิจกรรมที่  11.  โครงการเข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ  ถวายเป็นราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติ  ครบ  60  ปี  ระยะเวลา  11  กรกฎาคม-7  ตุลาคม  2549  ผู้เข้าร่วมโครงการ  นักศึกษาทั้ง  9  ศูนย์การเรียนชุมชน  ประชาชนทั่วไป  สถานที่  วัดพระธาตุลำปางหลวง  ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าร่วมทำบุญเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
(ระบบจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน )
ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการต่างๆ  ดังนี้  โครงการทบทวนแผนชุมชนบ้านทุ่งขาม  วันที่  1  พฤศจิกายน  2549  มีผู้เข้าร่วม  65  คน
โครงการทบทวนแผนปฏิบัติงาน  ครั้งที่  1  วันที่  22  มีนาคม  2549  มีผู้เข้าร่วม  85  คน
โครงการประชุมและจัดทำผังชุมชน  วันที่  21  กรกฎาคม  2549  มีผู้เข้าร่วม  64  คน
โครงการทบทวนแผนปฏิบัติงาน  ครั้งที่  2  วันที่  15  สิงหาคม  2549  มีผู้เข้าร่วม  85  คน
ระบบบริการและดูแลช่วยเหลือผู้เรียนได้ร่วมโครงการและให้คำแนะนำปรึกษาโครงการและกิจกรรมต่างๆ  ดังนี้ 
เรื่องที่  1.  โครงการเสริมสร้างความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและเยาวชนนอกโรงเรียน    มีผู้เข้าร่วมโครงการ 500  คน  สถานที่  ศาลาเอนกประสงค์บ้านแม่หลง  วัดวังพร้าว  วัดบ้านสาด  วัดอรัญญิการาม  วัดบ้านผึ้งนาเกลือ  ศาลาเอนกประสงค์บ้านสบจาง  การจัดกิจกรรม  ได้นำเอากิจกรรมของห้องสมุดประชาชนให้บริการ  คือ  รับสมัครสมาชิกห้องสมุดประชาชนฟรี  บริการให้ยืม-คืนสื่อ  ประชาสัมพันธ์การให้บริการในห้องสมุดประชาชน  การประชาสัมพันธ์งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  บริการรับสมัครนักศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  ประชาสัมพันธ์งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เรื่องที่    2. ให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน  ในหมวดวิชาภาษาภาษาไทย  โดยการแนะนำขั้นตอนการจัดทำโครงงาน  แนะนำการนำเสนอโครงงานในหมวดวิชาภาษาไทย
เรื่องที่  3.  ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ  กับกลุ่มอาชีพลำไย  ในการจัดการฝึกอบรม  หรือนิเทศติดตามงานของสมาชิกกลุ่มลำไย  เช่น  แนะนำการนำผลการอบรมไปปรับใช้กับการทำสวนลำไย  แนะนำการบันทึกผลการปฏิบัติงาน  แนะนำการจัดทำบัญชีครัวเรือน  เป็นต้น
 เรื่องที่  4.  จัดให้มีบริการมุมสื่อ  ในศูนย์การเรียนชุมชน  เช่น  ผลงานนักศึกษา  ภูมิปัญญาของตำบลวังพร้าว  บริการยืม-คืน  สื่อในศรช.  เป็นต้น
2.  ระบบสนับสนุน  ประกอบด้วย
( ระบบโครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้  )
ได้ร่วมจัดกิจกรรมยกระดับความรู้ให้กับประชาชน  ประชากรวัยแรงงาน  ตำบลวังพร้าวและตำบลใหม่พัฒนา(บ้านสันป่าสัก)  โดยการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  และรับลงทะเบียนนักศึกษา  ตำบล  ละ  2  วัน และได้ จัดข้อมูลพื้นฐานในศูนย์การเรียน  เช่น   การจัดบอร์ดข้อมูลทั่วไปของ  ศรช.   การจัดมุมสื่อ  (ภูมิปัญญาตำบลวังพร้าว  ผลงานนักศึกษา  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวังพร้าว)
( ระบบบุคลากร  )ได้ร่วมจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ  ดังนี้
โครงการที่  1 โครงการพัฒนาบุคลากรการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้โครงงาน  วันที่  6  ธันวาคม  2548
ได้รับความรู้ในเรื่อง  การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้โครงงานชัดเจนมากยิ่งขึ้น  และนำความรู้ที่นักศึกษาได้รับมาจัดทำเป็นข้อสอบเพื่อใช้ในการวัดผลและประเมินผลนักศึกษา  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวังพร้าว
โครงการที่  2.  โครงการทบทวนคู่มือระบบการประกันคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียน  วันที่  10  กุมภาพันธ์  2549
ได้รับความรู้ในเรื่องระบบประกันคุณภาพการศึกษา  ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา
โครงการที่  3.  โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบประกันคุณภาพในสถานศึกษา  (TOP  STAR) วันที่  14-15  กุมภาพันธ์  2549
โครงการที่  4.  โครงการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้  วันที่  17  กุมภาพันธ์  2549 ได้รับความรู้ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยการเรียนรู้เพิ่มขึ้น  เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มเปาหมายของบ้านทุ่งขามและสมาชิกของกลุ่มลำไย
โครงการที่  5.  โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียน  วันที่  27  กุมภาพันธ์  2549
โครงการที่  6.  โครงการอบรมการประเมินตนเอง  (SAR)   วันที่  8  มีนาคม  2549 ความรู้ที่ได้รับ  คือ  การนำเอาการอบรมมาใช้ประกอบในการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง
โครงการที่  7.  โครงการฝึกอบรมการประกอบและซ่อมคอมพิวเตอร์  (รุ่นที่  1)ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม -30  เมษายน  2549  ความรู้ที่ได้รับ  คือ  รู้จักส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มากขึ้น  รู้จัก  ขั้นตอนและวิธีการในการลงโปรแกรมต่างๆ  และรู้จักอาการของเครื่องคอมพิวเตอร์เวลามีปัญหาขั้นต้น  และวิธีการดูแลรักษษคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
โครงการที่ 8. ประชุมสัมมนาโครงการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้   www.gotoknow.org ความรู้ที่ได้รับ คือสามารถนำสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้หรือพบเจอ นำเขียนเป็นเรื่องเล่า ผ่าน www.gotoknow .org ได้  และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ทั้งในด้านการศึกษา  และเรื่องทั่วไป  ที่สามารถนำมาเพิ่มพูนเป็นความรู้ของตนเอง
โครงการที่  9.  โครงการประชุมสัมมนาครูการศึกษานอกโรงเรียน  วันที่  28  พฤษภาคม  2549  สถานที่  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา  นอกจากนี้  ยังได้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย  คืออยู่เวร-ยามประจำเดือน 
ปฏิบัตงานนอกเวลาราชการ จัดพิมพ์รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำวัน  และรายงานผลการพบกลุ่ม  โดยรายงานในเว็ปไซด์  ของ  ศบอ.เกาะคา  (สายตรงผู้อำนวยการ)  และเขียนบันทึกในสมุด  เบอร์  2  และได้เข้าร่วมอบรม  การเงิน  บัญชี  และพัสดุ  เดือนกุมภาพันธ์  2549  ได้นำความรู้ที่ได้รับมาใช้กับการทำงานใน  ศบอ
(ระบบเครือข่ายและความสัมพันธ์กับชุมชน)ในส่วนของข้าพเจ้า  ได้จัดทำ/จัดพิมพ์หนังสือราชการในเรื่องต่างๆ  ดังนี้
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน  (ศรช.วังพร้าว)
จัดพิมพ์หนังสือขอเรียนเชิญเป็นประธานในการเปิดสอนวิชาชีพ  การทำตุง  บ้านสาด  หมู่ที่  3  การเพาะพันธุ์กล้าไม้  บ้านวังพร้าว  หมู่ที่  2   การทำข้าวเกรียบ สมุนไพร  บ้านวังพร้าวพัฒนา  หมู่ที่  7
จัดพิมพ์หนังสือขอเชิญเป็นประธานในพิธีเปิดในงานโครงการพิเศษ  กิจกรรรมพิเศษ  งานกลุ่มอาชีพของบ้านทุ่งขาม
จัดพิมพ์  หนังสือขอเชิญเป็นวิทยากรในงานโครงการพิเศษ  กิจกรรมพิเศษ  งานของกลุ่มอาชีพบ้านทุ่งขาม
ขอความร่วมมือประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  เดือนมีนาคม  2549  (ตำบลวังพร้าว)  โดยการแจกใบปลิว/แผ่นพับตามหมู่บ้านทั้ง  7  หมู่บ้าน
และจัดพิมพ์หนังสือ ขอความร่วมมือในการประสานงานการสรรหา  อส.กกต.  (9  ตำบล)
 (ระบบนิเทศ  ติดตามและประเมินผล) ข้าพเจ้าได้นิเทศ  ติดตามและประเมินผลกิจกรรมต่างๆ  ดังนี้   นิเทศการจัดกิจกรรม งานการศึกษาสายอาชีพ  ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
วิชา  การทำตุง บ้านสาด หมู่ที่ 3 วิชา การพันธุ์กล้าไม้ บ้านวังพร้าว  หมู่ที่ 2 วิชา การทำข้าวเกรียบสมุนไพร  บ้านวังพร้าวพัฒนา  หมู่ที่  7  )
และ นิเทศงานกลุ่มอาชีพ  ของบ้านทุ่งขาม  การติดตามผลหลังจากการฝึกอบรมในแต่ละครั้ง 
ระบบสารสนเทศ  ข้าพเจ้าได้จัดทำในส่วนของการรายงานข้อมูลศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวังพร้าว  และรายงานข้อมูลสารสนเทศ  ดังนี้  รายงานผู้จบ งานวิชาชีพ (วิชา  การทำตุง  บ้านสาด  หมู่ที่  3 วิชา การพันธุ์กล้าไม้  บ้านวังพร้าว  หมู่ที่  2 วิชา การทำข้าวเกรียบสมุนไพร  บ้านวังพร้าวพัฒนา  หมู่ที่  7) และ  รายงานข้อมูลในโครงการพิเศษ  กิจกรรมพิเศษ  งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เช่น  รายงานผลการเข้าร่วมโครงการเข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ  รายงานผลการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา  รายงานผลโครงการนักเรียน  นักศึกษา  ทำงานเพื่อมีรายได้ระหว่างเรียน    เป็นต้น
(ระบบบริหารเชิงกลยุทธ์)ได้เข้าร่วมประชุมและอบรม ในส่วนของ  แผนพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน     แผนปฏิบัติการประจำปี  แผนการยกระดับการศึกษาให้กับประชากรวัยแรงงงาน  อายุระหว่าง  15-59  ปี
ได้ร่วมเป็นวิทยากรการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ณ  ห้องพวงชมพู  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ 
3.  งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วยงานโครงการพิเศษ รับผิดชอบจัดทำโครงการ  คำสั่ง   ประสานงานกับผู้ร่วมโครงการ  จัดพิมพ์หนังสือราชการ   บันทึกผลการจัดกิจกรรม  และรายผลการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง,งานกิจกรรมพิเศษ  รับผิดชอบจัดทำโครงการ  คำสั่ง   ประสานงานกับผู้ร่วมโครงการ  จัดพิมพ์หนังสือราชการ   บันทึกผลการจัดกิจกรรม  และรายผลการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง,งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  รับผิดชอบงานทะเบียน  ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา  การรับสมัครนักศึกษา  การลงทะเบียนเรียน  การบันทึกผลการจัดกิจกรรม  กพช.  การจัดห้องสอบ  จัดพิมพ์หนังสือ/คำสั่ง  เรื่อง  การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบ  วัดผลประเมินผล  ภาคเรียนที่  1/2549  จัดพิมพ์ใบระเบียนแสดงผลการเรียน  และ รับผิดชอบกลุ่มอาชีพของบ้านทุ่งขาม  กลุ่มอาชีพลำไย  เพื่อร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เช่น  การจัดฝึกอบรมและการติดตามผลการนำ ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในการทำสวนลำไย  โดยการนิเทศติดตามการทำสวนลำไย และการสัมภาษณ์ของสมาชิกกลุ่มลำไย
4.  ข้อคิดเห็น/ ข้อเสนอแนะ และความรู้ที่ได้รับจากการทำงานในรอบ  1  ปี  ในการทำงานในระยะเวลา  1  ปีที่ผ่านมา  ข้าพเจ้าได้รับคามรู้ใหม่ๆ  หลายๆด้าน  ทั้งในเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  โดยใช้โครงงาน   โดยข้าพเจ้านำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม  ซึ่งนำโดย  ดร..ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา เป็นผู้ให้ความรู้ในการรอบรม  และได้รับคำแนะนำจากอาจารย์รสาพร  หม้อศรีใจ  เพื่อนำไปขยายผลและนำไปถ่ายทอดให้กับนักศึกษา  ซึ่งภาคเรียนที่  1/2549  เป็นภาคเรียนแรกของศยอ.เกาะคา  ที่ได้นำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้โครงงาน  และข้าพเจ้าได้รับความรู้ในเรื่องการใช้โปรแกรม  MIND  MAP   โดยมีดร.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  เป็นผู้ถ่ายทอดให้ความรูในการใช้โปรแกรมกับข้าพเจ้า  และส่วนหนึ่งได้จากการศึกษา  การใช้โปรแกรมด้วยตนเอง  และที่ข้าพเจ้าสามารถใช้โปรแกรมได้คือ  ผอ.ณราวัลย์  ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้า  จัดพิมพ์หลักสูตรของกลุ่มอาชีพบ้านทุ่งขาม  ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถถ่ายทอดการใช้โปรแกรมให้กับเพื่อนๆและผู้ที่สนใจโปรแกรมได้  ความรู้ในเรื่องต่อไปที่ข้าพเจ้าได้รับ  คือ  เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา  ของ  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา  เนื่องจาก  ผอ.  ได้ทำการจัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่  บุคลากร  ใน   ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา  ทำให้ได้รับความรู้และทำความเข้าใจกับเรื่องการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  ความรู้เรื่องต่อไปที่ข้าพเจ้าได้รับ  คือ  เรื่อง  การประเมินตนเอง  (SAR)  ข้าพเจ้านำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาใช้กับการประเมินตนเองในรอบ  6  เดือนที่ผ่านมา  และความรู้ที่สำคัญยิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับความรู้ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชิวิต  หน่วยการเรียนรู้  แบบสะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขาม  โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  เพื่อสร้างความเข้มแข็ง  เศรษฐกิจพอเพียง  พ้นความยากจนและยกระดับการศึกษาประชากรวัยแรงงาน  (15-59  ปี)  มีการศึกษา  9.5  ปี  โดยข้าพเจ้าได้รับความรู้ในเรื่องการจัดทำหลักสูตร  การจัดทำแผน การจัดทำเครื่องมือ  และการจัดทำการวัดผลประเมินผล  ของกลุ่มลำไย  และยังทำให้บุคคลทั่วไปรู้จักชุมชนอีกชุมชนหนึ่งของจังหวัดลำปาง  คือบ้านทุ่งขาม  ซึ่งเป็นชุมชนที่ชาวบ้านให้ความสนใจกับการทำงานร่วมกับ  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา ผลที่เกิดขึ้นทำให้  ประชาชนทั่วไป  รู้จัก บ้านทุ่งขามและ  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา   และที่สำคัญยิ่ง  ในการนำเรื่องชุมชนแห่งการเรียนรู้  บ้านทุ่งขาม  ไปนำเสนอในมหกรรมยกระดับการศึกษา  ระหว่างวันที่6-9  กันยายน  2549  ทางศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา  ยังได้รับรางวัล  และได้รับธงของกระทรวงศึกษาธิการ  โดยมีข้อความว่า  ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน  พ.ศ.  2549   “ ปรับการเรียน  เปลี่ยนการสอน” สร้างความภาคภูมิใจให้กับคณะทีมงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคาเป็นอย่างยิ่ง  และความรู้ที่ได้รับอีกอย่างหนึ่งคือ  งานทะเบียน  (การใช้โปรแกรม  IT) ซึ่งงานทะเบียนนั้น  ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา   ให้รับผิดชอบตั้งแต่เดือนกรกฎาคม  2549  เป็นต้นมา  ซึ่งข้าพเจ้าพอจะมีพื้นฐานในการทำงานทางด้านงานทะเบียนอยู่บ้าง  ดังนั้นข้าพเจ้า  จึงพยายามศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองบ้าง  สอบถามข้อมูลกับเพื่อนๆ  ต่างอำเภอที่ใช้โปรแกรม  IT  บ้าง  ทำให้ตอนนี้  ข้าพเจ้ามีความรู้ในเรื่องการใช้โปรแกรมเพิ่มมากขึ้น

 

คำสำคัญ (Tags): #จันทร์ญา
หมายเลขบันทึก: 50232เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2006 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ในการทำงาน ของศบอ.เกาะคา  ได้อ่านแล้วรู้สึกว่าครูได้ทำงานเต็มความสามารถจริงๆ ค่ะ  ขอเป็นกำลังใจในการทำงานต่อไปค่ะ

กศน.เกาะคาเป็นหน่วยงานที่มีความสามารถ มีโครงการต่าง ๆ มากมายแตกต่างจากในยุคที่ผ่านมา ขอเป็นกำลังใจในการทำงานให้ทุกคนนะครับ

ก็ช่วยได้เยอะเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท