beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ข้อคิดจากการคุมสอบ


ถ้าทำอย่างนี้ได้ สังคมไทย จะกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

     ไปคุมสอบวิชาพื้นฐานมา 2 วัน วิชาแรกเป็น Introductory biology ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นนิสิตปี 1 และปี 2 ของคณะวิทยาศาสตร์  ผู้สอบกว่า 400 คน วิชาที่สอบ เป็น Cell & Molecular Biology มีผู้เข้าสอบเกือบ 700 คน เป็นนิสิตปีที่1 สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ผมมีมุมมองเกี่ยวกับการสอบดังนี้

     ในด้านกรรมการคุมสอบ

  1. ต้องใช้บุคลากรที่เป็นอาจารย์มาก ครั้งละ 13-14 คน (หมดภาควิชาเลยครับ) ทุกคนต้องทำงานมากกว่าเวลาคุมสอบ เช่น 2 ชั่วโมง อาจต้องใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมง
  2. ต้องไปก่อนเวลาเพื่อแจกข้อสอบ อย่างน้อย 15 นาที รวมการเดินทางต้องเผื่อไว้เกือบ 30 นาที
  3. ข้อสอบต้องมีความผิดพลาดน้อยที่สุด เพื่อไม่ต้องไปแก้ข้อสอบในห้อง
  4. ผู้คุมสอบต้องเดินให้นิสิตลงนามการเข้าสอบทุกคน ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1.30 ชั่วโมง  ในจำนวนผู้เข้าสอบ 180 คน ต้องตรวจบัตรประจำตัวว่าผู้เข้าสอบหน้าตาเหมือนรูปในบัตรไหม (ตรวจได้ไม่ละเอียดหรอกครับ)
  5. บางครั้งมีนิสิตด้วยกันหยิบของนิสิตคนที่สอบเสร็จทีหลังไป ทำให้ต้องตามหากันวุ่นวาย บางครั้งไม่เจอ ผู้คุมสอบก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
  6. ต้องพูดและดูแลเครื่องแต่งกายของนิสิต

      ในด้านนิสิตที่เข้าสอบ

  1.  เตรียมตัวมาไม่ดี เข้าห้องสอบไม่ถูก
  2. ตื่นเต้น ลืมเอาบัตรประจำตัวมาให้ตรวจ
  3. ลุกลี้ลุกลน เพราะทำข้อสอบไม่ได้
  4. มีเจตนาที่จะลอกคำตอบคนอื่น (ทำไม่ได้)
  5. ข้อสอบเป็นแบบปรนัย (เดาได้)
  6. ความสามารถในด้านการเขียนลดลง (ไม่ได้ถูกฝึก)
  7. ความสามารถด้านความคิดไม่ค่อยได้ (เพราะข้อสอบปรนัย มักเน้นความจำหรือความเข้าใจ)
  8. ผมเข้าใจว่า การสอบทฤษฎีนี่สบายกว่าสอบปฏิบัติมาก แถมคะแนนก็มาก ดูหนังสือแค่คืนเดียว หากมีความสามารถในการเดาข้อสอบด้วยแล้วนะจะทำคะแนนได้ดีมาก (60-100 %)
  9. ความอดทนและความรอบคอบในการทำข้อสอบลดลงกว่ารุ่นก่อน

     เวลาผ่านมา 20 ปี กิจกรรมการสอบก็ทำเหมือน ๆ เดิมไม่มีอะไรใหม่ ความรู้ด้านสาระของนิสิตลดลงไปเรื่อย ๆ นะครับ แค่ปริญญาตรีไม่พอแล้วสำหรับยุคนี้ นิสิตต้องขวนขวายในการศึกษาให้มาก ระบบการสอนควรต้องเป็นแบบ 2 ทาง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เวลาวัดผลถ้าเป็นไปได้ คำตอบไม่มีถูกผิด แต่เน้นที่วิธีการคิด............... ถ้าทำอย่างนี้ได้ สังคมไทย จะกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้..ครับ

 

  

หมายเลขบันทึก: 5022เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2005 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์ค่ะ,

จากการประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่ พบเมธีวิจัยอาวุโส ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อเดือนที่แล้ว มีท่านอาจารย์จากมหิดล เสนอว่า การประเมินผลนักศึกษา ควรจะเปลี่ยนรูปแบบเป็นการออกไปสู่ชุมชน (ถ้าเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับชุมชน เช่น ชีววิทยา เคมี วิศวะ ฯลฯ) แล้วให้นักศึกษาเหล่านี้ ซึ่งคงต้องเป็นปี 3 ปี 4  ตอบคำถามของชาวบ้าน หากตอบไม่ได้ ก็ไม่ผ่าน เพราะการศึกษาสมัยนี้ทำให้คนเมืองห่างออกจากคนชนบท อย่างไม่ได้ตั้งใจ บางสิ่งที่ร่ำเรียนอย่างหนัก ก็ไม่ทำให้นักศึกษาเห็นว่าจะเอาไปใช้จริงได้อย่างไร  อย่างไรก็ตาม อ.วิจารณ์ ได้เสนอว่า น่าจะใช้วิธีนี้กับ คณะอาจารย์ด้วย

ครูบาสุทธินันท์ ปราชญ์ชาวบ้านบุรีรัมย์ เคยเล่าให้ฟังว่า นักเรียนเทคนิคบุรีรัมย์ เขาจะออกไปฝึกงานในชุมชน แบกเครื่องไม้เครื่องมือไปเคาะประตูบ้านทุกบ้าน แล้วถามชาวบ้านว่าใครมีอะไรให้พวกเขาซ่อมบ้าง ทำอย่างนี้ก็เท่ากับเป็นการตอบแทนสังคมด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่าการฝึกงานในบริษัทเอกชนจะไม่จำเป็นนะคะ คงจะอยู่ที่ความสมดุลย์มากกว่า

   ถ้าจะทำได้แบบที่ว่า ต้องเปลี่ยนความคิดของผู้บริหารก่อน  ถ้าเปลี่ยนได้ ผมขออาสาเป็นคนแรกที่จะไปตอบคำถามชาวบ้านครับ และจะพาลูกศิษย์ออกไปช่วยชาวบ้านด้วยครับ (ถ้าเปลี่ยนผู้ความคิดผู้บริหารไม่ได้ ผมก็จะตั้งหน่วยวิจัยผึ้ง หาเงินเข้าหน่วยแล้วพานิสิตที่เรียนวิชาผึ้งไปตอบปัญหาของเกษตรกร ถ้าใครตอบได้ถึงจะผ่านครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท