หนึ่งพัฒนากร หนึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ (๓)


หนึ่งพัฒนากร หนึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

 

บ้านห้วยขอน   หมู่ที่    ๑๓  ตำบลพะโต๊ะ   อำเภอพะโต๊ะ    จังหวัด ชุมพร

***************************************

ประวัติหมู่บ้านห้วยขอน

                จากการเล่าขานของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านว่า  เดิมมีลำห้วยใหญ่และขอนไม้ในลำห้วยใหญ่ ชาวบ้านผู้บุกเบิกและคนเฒ่าคนแก่ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน  จึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “ บ้านห้วยขอน ”  มาจนถึงปัจจุบัน

                หมู่บ้านห้วยขอน  แยกมาจากหมู่ที่ ๑ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ  จังหวัดชุมพร  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐                    มีผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว   ๔    คน  คนแรก   คือ นายเชาวลิตร  แดงศรีธรรม  ดำรงตำแหน่ง   ๑๗  ปี     คนที่สอง คือ นายอาดูร  สงบุญรอด  ดำรงตำแหน่ง  ๑๐ ปี  คนที่สาม  คือ  นายนิโรจน์  ทิพย์บุญทรัพย์  ดำรงตำแน่ง  ๔  ปี   และผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน  คือ  นายทินกร  อำพันมณี

    บ้านห้วยขอน  หมู่ที่  ๑๓ ตำบลพะโต๊ะ  อำเภอพะโต๊ะ  จังหวัดชุมพร  ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอระยะทางประมาณ  ....๑๔.....  กิโลเมตร   สภาพพื้นที่เป็นที่ลาดชัน  การตั้งบ้านเรือนของราษฎร จะตั้งบ้านเรือนอยู่กัน  กระจัดกระจาย  ในพื้นที่ของตัวเอง  ไม่รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม  บ้านห้วยขอนมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์

บ้านห้วยขอน  หมู่ที่  ๑๓  ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ  จังหวัดชุมพร ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาและพื้นที่ราบเชิงเขา   นอกจากนี้ยังมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี  

                ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร  ได้แก่    การทำสวนผลไม้  เช่น ทุเรียน  มังคุด ลองกอง  ลางสาด  เงาะ  และการทำสวนยางพารา , ปาล์มน้ำมัน  กาแฟ 

การคมนาคม

๑.      ระยะทางจากหมู่บ้าน ถึงอำเภอพะโต๊ะ         จำนวน      ๑๔      กิโลเมตร

๒.    ระยะทางจากหมู่บ้าน ถึงจังหวัดชุมพร          จำนวน     ๑๒๐    กิโลเมตร

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

                การประกอบอาชีพของราษฎรภายในหมู่บ้าน   แยกได้ดังนี้

                ๑.  อาชีพหลัก     จำนวน     ๗๒     ครัวเรือน   

   -  สวนปาล์ม                                                  

   -  ยางพารา                                     

   -  สวนผลไม้                                                  

   -  กาแฟ                                        

               

                ๒.  อาชีพเสริม

   -  ค้าขาย                         จำนวน     ๑๕    ครัวเรือน 

   -  เลี้ยงสัตว์                    จำนวน     ๕๖    ครัวเรือน 

                                                                                                

 

 

ศิลปวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาหมู่บ้าน

                ประชาชนในหมู่บ้าน  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของชาวบ้านใช้ภาษาท้องถิ่นปักษ์ใต้  ประชาชนในหมู่บ้านมีความรักใคร่  สามัคคี  เอื้ออารีแก่กันและกัน  ผู้นำมีความเสียสละและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกบ้าน  มีการจัดตั้งกองทุนชุมชน  เพื่อช่วยเหลือในด้านการประกอบอาชีพและการจัดสวัสดิการแก่ชุมชน  มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่เยาวชนรุ่นหลัง  เพื่อสืบทอดและพัฒนาให้เป็นเอกลักษณ์ของบ้านในจอก  สืบต่อไป 

ประเพณีเทศกาลประจำปี

๑.        วันขึ้นปีใหม่   กาจัดกิจกรรมแลกของขวัญและการแข่งขันกีฬา 

๒.       วันสงกรานต์  การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ( เดือนเมษายนของทุกปี )

๓.       เทศกาลเข้าพรรษา   ลอยกระทง

๔.       ล่องแพ บุญกลางบ้าน

ผลิตภัณฑ์ของชุมชน

  • ส่วนใหญ่เป็นสินค้าทางการเกษตร เช่น เงาะ ลองกอง

มังคุด ทุเรียน ยางพารา  และปาล์มน้ำมัน 

  • กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้า
  • กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

กลุ่มกองทุนในหมู่บ้าน

                กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง   จัดตั้งเมื่อ     ๑๕    เดือน  พฤษภาคม   พ.ศ.  ๒๕๔๔   

สมาชิก   ๑๒๕   คน  สัจจะ/หุ้น   ๑,๒๐๐,๐๐๐ .-  บาท  สมาชิกกู้ยืม   ๗๕  ราย  เป็นเงิน    ๑,๑๐๐,๐๐๐.- บาท   คณะกรรมการบริหาร  ๑๒  คน   นายทินกร   อำพันมณี   เป็นประธาน

                กองทุนแม่ของแผ่นดิน   จัดตั้งเมื่อปี   พ.ศ.   ๒๕๕๒      สมาชิก    ๒๓๕    คน   เป็นเงินจำนวน   ๒๐,๕๐๐  บาท   คณะกรรมการบริหาร    ๑๐  คน   มีนายทินกร   อำพันมณี  เป็นประธาน

                กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต   จัดตั้งเมื่อ ๑๓  เดือน มิถุนายน   พ.ศ.  ๒๕๓๔   สมาชิก ๑๒๕  คน     สัจจะ/หุ้น  ๔๕๗,๐๐๐ .- บาท   สมาชิกกู้ยืม ๓๕ ราย  เป็นเงิน ๓๕๐,๐๐๐  -บาท    คณะกรรมการบริหาร  ๑๒ คน มีนายโสภาค    เพชรแหลมน้ำ   เป็นประธาน

สถานที่ท่องเที่ยว

๑.      เขาพ่อตาหินช้าง

๒.    ลองแพแม่น้ำพะโต๊ะ

๓.     การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

๔.     การท่องเที่ยวตามฤดูกาล

 

กฎ  ระเบียบของหมู่บ้าน
บ้านห้วยขอน  หมู่ที่  ๑๓  ตำบลพะโต๊ะ  อำเภอพะโต๊ะ  จังหวัดชุมพร

๑.  ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

                ๑.๑  ผู้ใดที่ค้าหรือมียาเสพติดหรือเป็นผู้เสพ  ถ้าถูกจับดำเนินคดี  ถูกศาลตัดสินจำคุก ๖ เดือน ถึง

๑  ปี ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มและองค์การต่างๆ  อีกทั้งไม่ให้ได้รับสิทธิ์ต่างๆในชุมชน

                ๑.๒ ผู้เสพยาเสพติด  ถ้าเข้ารับการบำบัดมาแล้วแต่ยังไม่เลิกเสพหรือกลับไปมั่วสุมในกลุ่มผู้เสพ

ติดอีก  และให้คณะกรรมการหมู่บ้านบังคับใช้กฎตามข้อ ๑.๑

                ๑.๓ ผู้ต้องโทษคดียาเสพติดและค้ายาเสพติด  ถ้ามีการอุปสมบทผู้ใหญ่บ้านจะไม่ให้การรับรอง

ใบสมัครบรรพชาอุปสมบท

                ๑.๔ ผู้ค้า  ผู้เสพยาเสพติด  หลังจากถูกดำเนินคดีและถึงที่สุดศาลสั่งต้องโทษจำคุก หลังพ้นโทษ

มาแล้วต้องรายงานตัวต่อคณะกรรมการหมู่บ้านทุกเดือน

๒.  ด้านการลักทรัพย์และทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย

                ๒.๑  ผู้ที่ลักทรัพย์สินของมีค่าของผู้อื่น  ปรับ ๓ – ๕ เท่า  ของมูลค่าทรัพย์สินนั้น

                ๒.๒ ผู้ที่ลักหรือเคลื่อนย้ายและทำลายหลักเขตที่ดิน  ปรับตั้งแต่ ๕00 – ๒,000  บาท

                ๒.๓  การปลูกต้นไม้ยืนต้นแนวเขตร่วมกัน  ต้องห่างจากแนวเขตข้างละ ๕0 เซนติเมตร

                ๒.๔  ผู้ที่ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย  โดยการเจตนาให้ใช้กฎข้อบังคับ ๒.๑

                ๒.๕  ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ทุชนิด  หากปล่อยให้สัตว์ไปทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น  ให้มีความผิดและปรับ

ค่าเสียหาย ดังนี้

                         -  พืชยืนต้น  ปรับ ๑00  บาท/ต้น

                         -  พืชไร่ / พืชสวน  ปรับตั้งแต่ ๒00  - ๑,000 บาท  (แล้วแต่ความเสียหาย)

๓.  ด้านการรักษาความสงบ

                ๓.๑  เมื่อเกิดเหตุทะเลาะวิวาทที่สาธารณะของหมู่บ้าน  ผู้ก่อเหตุจะถูกปรับเป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท

                ๓.๒ ห้ามยิงปืนภายในหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุจำเป็น   ผู้ใดฝ่าฝืน  ปรับ ๕00 บาท/นัด

                ๓.๓ ให้ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านจัดเวรยามและลาดตระเวนในหมู่บ้าน

                ๓.๔ ให้สมาชิกในครัวเรือนเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน  ครัวเรือนละ  ๑  คน

                ๓.๕ การรวมกลุ่มตั้งแต่ ๓0 คนขึ้นไปเพื่อทำกิจอันใด  ต้องแจ้งให้คณะกรรมการหมู่บ้านทราบ

                ๓.๖ ห้ามมิให้เยาวชนอายุต่ำกว่า  ๑๘ ปี เที่ยวเตร่ในหมู่บ้าน  ตั้งแต่เวลา  ๒๒.00 น.  เป็นต้นไป

๔.  บุคคลใดดูหมิ่นหรือทำร้ายคณะกรรมการหมู่บ้านในขณะปฏิบัติหน้าที่  ปรับคนละ ๕,000 บาท

 

 

 

 

 

 

ครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงเข้มแข็งตามวิธีพอเพียง

๑.  แนวคิดครัวเรือนพอเพียง

ชื่อ   นางจรัสศรี  อินทรสุวรรณ

เกิดเมื่อวันที่   ๖   เดือน  มกราคม พ.ศ.  ๒๕๐๓
สัญชาติไทย   ศาสนาพุทธ  ปัจจุบันอายุ  ๕๒  ปี

จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 
ความสัมพันธ์ในครอบครัว

๑.   สมาชิกในครอบครัวมีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบกันทำ

๒.  มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน

๓.  ให้อิสระในการปกครองร่วมกัน

๔.  สามารถส่งลูกเรียนและทำงานราชการก้าวหน้าทั้งสองคน

 บทบาทหน้าที่ของครอบครัวที่มีต่อชุมชน

-                   ทำหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดี  ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง

-     ให้ความช่วยเหลือชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

-     ให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

 การดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรีชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่แสดงถึงการพึ่งตนเองของครอบครัว
                ๑.  ด้านการลดรายจ่าย 

                  ๑.๑   ครัวเรือนทำสวนครัว 

                      ๑.๒  ครัวเรือนปลอดอบายมุข

                      ๑.๓ ครัวเรือนมีการใช้ปุ๋ยหมัก

                     ๑.๔ ครัวเรือนมีการทำนาเพื่อผลิตและเก็บข้าวไว้บริโภคเองเป็นการลดรายจ่ายของครัวเรือน

๒. ด้านการเพิ่มรายได้ 

                      ๒.๑  ครัวเรือนเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน

                      ๒.๒ ครัวเรือนเป็นสมาชิกลุ่มโครงการ กข.คจ.

                      ๒.๓  ครัวเรือนเป็นสมาชิกลุ่มวัวพันธ์พื้นเมือง

                      ๒.๔  มีการประกอบอาชีพเสริมหลายๆด้าน

                      ๒.๕  ทำมาหากินด้านธรรมชาติเพื่อลดรายจ่าย

 ๓. ด้านการประหยัด

      ๓.๑  สมาชิกในครัวเรือนมีความขยันหมั่นเพียรและอดออมมีเงินฝากในบัญชีประจำ

                      ๓.๒ ครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวไว้กินเองเพื่อประหยัดเงินของครัวเรือน

 ๔. ด้านการเรียนรู้

 ๔.๑  ครัวเรือนมีการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน เพื่อให้รู้ถึงรายรับรายจ่ายของตนเอง
และนำไปวางแผนการใช้จ่ายครัวเรือน

 ๔.๒  คนในครอบครัวเข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคนในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และเข้าร่วมจัดเวทีการเรียนรู้ทุกครั้ง

 ๔.๓  คนในครอบครัวมีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งจากสื่อวิทยุ/โทรทัศน์และการประชุมชนของหมู่บ้าน

                ๕. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ      

 ๕.๑  ครอบครัวมีการปลูกต้นไม้เพื่อให้ความร่มรานและน่าอยู่จัดสวนหย่อมในบริเวณบ้าน

 ๕.๒ ครอบครัวมีการกำจัดขยะและสิ่งเหลือใช้อย่างถูกวิธี

 ๕.๓  ครอบครัวมีการใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืน

๖. ด้านการเอื้ออารีย์

         ๖.๑  ครอบครัวให้การช่วยเหลือแก่ผู้ที่ยากจน ด้อยโอกาสตามความเหมาะสมแก่คนในชุมชน

  การมีส่วนร่วมในชุมชนอย่างมีคุณภาพของครอบครัว
            ๑.  ยึดหลักประชาธิปไตยในการทำงานและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
             ๒. ยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของหมู่บ้านอย่างเคร่งครัด
             ๓. ส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือในกิจกรรมด้านสวัสดิการของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
             ๔. ครัวเรือนมีการปฏิบัติกิจตามศาสนกิจจารีตประเพณีอย่างสม่ำเสมอ

 

 กิจกรรมเด่นที่ครัวเรือนดำเนินการ

การเพาะเห็ดนางฟ้า

วัสดุการใช้เพาะเห็ดนางฟ้า  เห็ดนางรม
             ส่วนมากจะใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ หรือใช้ฟางข้าวก็ได้ ตาม ฟาร์มเห็ดทั่วไปแล้วเพื่อความสะดวกในการหมักและผสมวัสดุจึงนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ซึ่งเป็นขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนและมีสารอาหารที่มีคุณค่าในการเพาะเห็ดมาก

 

การเลี้ยงหมู

แนวคิดที่เลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติ
๑.  ต้องการศึกษา เรียนรู้ วิธีการ เลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเรียนรู้        การแก้ไขปัญหาที่เผชิญได้ด้วยตัวเอง
๒. เป็นแนวทางการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ตามภารกิจงานการศึกษานอกโรงเรียน
๓. เป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว มีส่วนร่วมในกระบวนการคิด บริการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวอยากให้ชาวบ้าน และแนวทางการเลี้ยงในการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น

 

การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของพัฒนากร

พลังแห่งแรงบันดาลใจ (ทำไมถึงเลือกหมู่บ้านถอดบทเรียน

                การตัดสินใจเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  บ้านห้วยขอน  หมู่ที่  ๑๓  ตำบลพะโต๊ะ  อำเภอพะโต๊ะ  จังหวัดชุมพร  ในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการ  ๑  พัฒนากร  ๑  หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  เนื่องจากหมู่บ้านนี้มีความเข้มแข็ง  ทั้งด้านผู้นำชุมชน  องค์กรชุมชน  และเป็นหมู่บ้านเป้าหมายในการดำเนินงานตามคำรับรอง  การปฏิบัติราชการในปี  ๒๕๕๕  ในการดำเนินงานตามโครงการมีกิจกรรม  ขั้นตอนการดำเนินที่สอดคล้องกับโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ของพัฒนากร

                วิธีการ  ขั้นตอน การดำเนินงาน  ไปดำเนินงานส่งเสริม  สนับสนุนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร

๑.      ประชุมหมู่บ้าน  เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ  ๑  พัฒนากร  ๑  หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

๒.    ชี้แจงแนวทางการดำเนินวานแก่ผู้นำชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายที่ได้คัดเลือกไว้

๓.     จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการภายใน

ประจำปี ๒๕๕๕                           

๔.     ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น

๑.        หมู่บ้านได้ดำเนินการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๒.      หมู่บ้านได้รับการพัฒนาผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดทั้ง  ๔  ด้าน  ๒๓  ตัวชี้วัด

๓.       ประชาชนในหมู่บ้านมีอาชีพ  รายได้  มีการประหยัด   อดออม  และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขั้น

๔.       กิจกรรมในหมู่บ้าน  สามารถเป็นแบบอย่างและสามารถขยายผลให้หมู่บ้านอื่นได้นำไปเป็นแบบอย่าง

สิ่งที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ

๑.        ผู้นำชุมชน / กลุ่มองค์กร / ประชาชน  มีความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ  และมีให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  และเป็นรูปธรรม

๒.       หน่วยงานต่าง ๆ เห็นความสำคัญและการส่งเสริมสนับสนุน  ในด้านวัสดุ  อุปกรณ์  และปัจจัยการผลิตอื่นๆ

๓.       ผลงานที่สำเร็จเป็นแรงผลักดันให้คนในหมู่บ้านได้มีขวัญกำลังใจในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

 

 

 

ปัญหา / อุปสรรค์ในการดำเนินงาน

๑.    มีงานและกิจกรรมต่างๆ ที่ทำในช่วงเวลานั้นมีจำนวนมาก  อีกทั้งเป็นช่วงฤดูฝน  ซึ่งอยู่ในฤดูกาลดูแลพืชผลทางการเกษตร

๒.  ผู้นำชุมชนและประชาชนมรกิจกรรมที่หน่วยงานต่าง ๆ ขอความร่วมมือให้ร่วมทำกิจกรรม

๓.   การจัดทำแผนปฏิบัติการ  ไม่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในบางขั้นตอน

แนวทางแก้ไข

๑.    การบริหารจัดการ  การเลือกเวลาทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับพื้นที่

๒.  การสลับสับเปลี่ยนผู้นำชุมชน  และประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมกับหน่วยงานต่างๆ

๓.   ปรับแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับงานที่เป็นอยู่ในพื้นที่

การนำไปใช้ประโยชน์กับพื้นที่อื่น

๑.    เป็นการดำเนินงานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกพื้นที่  ทุกกิจกรรม

๒.   การดำเนินกิจกรรมให้ครัวเรือนดำเนินการตามที่ตนเองถนัด  ไม่ควรทำตามผู้อื่น

๓.   การเลือกพื้นที่ดำเนินการ  ควรให้เหมาะสมกับสภาพของกิจกรรม  และสิ่งแวดล้อมของชุมชนนั้นๆ

๔.   ผู้นำชุมชน / หน่วยงานราชการ  ควรให้การสนับสนุนส่งเสริม  และติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด  และมีการเผยแพร่  ประชาสัมพันธ์  ผลการดำเนินงานให้หมู่บ้านอื้นได้รับทราบข้อมูล

๒.  วิธีการปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

                ผู้เอื้ออำนวยในกระบวนการเรียนรู้  ประกอบด้วย

๑.                ผู้นำชุมชน  คณะกรรมหมู่บ้าน  กลุ่มต่างๆ

๒.              หน่วยงานภาคีการพัฒนา

๓.   ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน  ผู้นำสตรี  อาสาพัฒนาชุมชน

๔.   ปราชญ์ชาวบ้านและผู้สนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ  ที่ตนเองมีวามรู้และมีความถนัด

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 501874เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2012 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2012 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สุดท้ายควรชี้ให้เป็นว่า ชุมชน ไม่มีหนี้นอกระบบอย่างไร ไม่จนอย่างไร ไม่ติดสิ่งเสพติดอย่างไร และชุมชนมีการจัดสวัสดิการอย่างไร มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร รวมทั้งมีความสามัคคีหรือไม่อย่างไร  จะทำให้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายและมีคุณค่าเหมาะสมเป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ดีได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท