หนึ่งพัฒนากร หนึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ (๒)


หนึ่งพัฒนากร หนึ่งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

 

วิสัยทัศน์ของบ้านควนหินมุ้ย

 

วิถีชีวิตหลากหลาย มากมายเงินออม

ระเบียบครบ ระบบดี มีคุณธรรม

น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

 

ข้อมูลทั่วไปของบ้านควนหินมุ้ย

            สภาพพื้นที่ มีพื้นที่จำนวน4,867 ไร่

            ประชากร แบ่งเป็นชายจำนวน 351 คน หญิง จำนวน 393 คน รวมจำนวน 744 คน 156 ครัวเรือน

            การประกอบอาชีพ  ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม ข้าราชการและรับจ้าง

การใช้ประโยชน์และการถือครองที่ดิน มีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน4,867 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่โฉนด จำนวน3,500 ไร่ ส.ป.ก. จำนวน567 ไร่ และไม่มีเอกสารสิทธิ์ จำนวน800 ไร่

            การใช้ประโยชน์จากที่ดิน  ราษฎรใช้พื้นที่ทำการเกษตร โดยแบ่งเป็น ทำสวนผลไม้จำนวน180 ไร่ สวนปาล์มน้ำมัน จำนวน2,680 ไร่ สวนยางพารา จำนวน100 ไร่ ปลูกผักสวนครัวและปลูกบ้านที่อยู่อาศัย จำนวน1,907 ไร่

 

ที่ตั้ง

            บ้านควนหินมุ้ย หมู่ที่ 9 ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหลังสวน จำนวน 12 กิโลเมตร

 

การประกอบอาชีพ

                        ราษฎรบ้านควนหินมุ้ย ส่วนมากประกอบอาชีพทำการเกษตรผสมผสานและทำการเกษตรเชิงธุรกิจ คือ การปลูกปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด ลองกอง มะพร้าว ยางพารา เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย  และอาชีพรับจ้าง

 

 

 

 

 

 แหล่งท่องเที่ยว/ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                        บ้านควนหินมุ้ย มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวคิดทฤษฏีใหม่คือ สวนผสมผสาน เตาอิวาเตะ น้ำส้มควันไม้ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพ หมูหลุม

                        ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีที่สาธารณะ จำนวน75 ไร่ได้ทำการขุดสระน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่งเพื่อนำน้ำมาใช้เพื่อการเกษตร อีกทั้งมีเขาน้อยเป็นที่พักสงฆ์ภายในด้านในของเขาน้อยมีหินย้อยที่สวยงามสามารถเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้

 

กลุ่มองค์กร/ทุนในชุมชน ผู้นำ ปราชญ์ชาวบ้าน

            1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

 2.  กองทุนหมู่บ้านควนหินมุ้ย             

ผลการวิเคราะห์ปัญหา

                        จากข้อมูล จปฐ. ปี 2555 บ้านควนหินมุ้ย ไม่มีปัญหาด้านข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน เพราะหลังจากการสำรวจข้อมูล จปฐเสร็จเรียบร้อยแล้ว แกนนำของหมู่บ้านได้นำแบบสรุปข้อมูล จปฐ.มาร่วมปรึกษาหารือ หาแนวทางแก้ไขและเข้าที่ประชุมเวทีประชาคมเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาทุกปี ทำให้หมู่บ้านไม่มีปัญหาดังกล่าว

สภาพปัญหาจากข้อมูล กชช.2ค มีปัญหาด้านการเรียนรู้โดยชุมชน ราษฎร

รอเจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้าไปให้ความรู้และมีเพียงบางส่วนที่ไปทัศนศึกษาหาความรู้และนำความรู้ดังกล่าวมาฝึกหัดทำและนำไปใช้ได้ผลหรือที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและนำมาถ่ายทอดต่อ ขณะนี้มีศูนย์การเรียนรู้พัฒนาชุมชนต่อไปคงจะไม่มีปัญหาด้านการเรียนรู้โดยชุมชน สำหรับปัญหาปานกลางที่มีปัญหาไม่มากนักพอจะแก้ไขได้คือถนนซึ่งยังเป็นถนนดินลูกรังเป็นส่วนมากเมื่อถึงฤดูฝนน้ำจะกัดเซาะเป็นร่องน้ำทำให้การคมนาคมไม่สะดวก ปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารบางครัวเรือนยังไม่มีโทรศัพท์สาธารณะใช้ ปัญหาด้านการกีฬาไม่มีลานกีฬาของหมู่บ้านที่ถาวร ปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุนราษฎรในหมู่บ้านเป็นหนี้นอกระบบทำให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตได้ยกฐานะเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบและให้ราษฎรในหมู่บ้านเข้าถึงแหล่งเงินทุนภายในหมู่บ้านซึ่งมีอยู่จำนวน 5 กองทุนการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ยังมีที่ดินว่างเปล่าของหมู่บ้านที่ยังไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ น่าจะมีการทำประชาพิจารณ์เพื่อนำที่ดินดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นรายได้ของหมู่บ้าน

                        ราษฎรในหมู่บ้านยังขาดความรู้ด้านการประกอบอาชีพเสริมเพื่อเสริมรายได้เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และปัญหาอีกด้านหนึ่งคือราษฎรในหมู่บ้านยังเกิดความเคยชินกับการรอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล คิดแต่ว่ารอเดี๋ยวจะมีทางภาครัฐนำเงินมาอุดหนุน ช่วยเหลือ ตรงนี้ทำให้เกิดสภาพปัญหาราษฎรไม่ยอมช่วยเหลือตนเอง เมื่อภาครัฐเข้าไปให้ความรู้ ให้คำแนะนำก็มีการทำกิจกรรมเกิดขึ้น และปัญหาอีกด้านหนึ่งคือราษฎรในหมู่บ้านมีรายได้น้อยเพราะราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่มีตลาดรองรับ พ่อค้าคนกลางกดราคา ต้นทุนผลผลิตสูงทำให้เกิดสภาวะความยากจน

 

ครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงเข้มแข็งตามวิถีพอเพียง นายสมโภชน์  เครือหงส์ อยู่

บ้านเลขที่ 164 หมู่ที่ 9 ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

 

นายสมโภชน์  เครือหงส์ ได้ น้อมนำพระราชดำรัส นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและขอเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวคิดในการเรียนรู้แนวคิดพอเพียงและยึดหลักคุณธรรมนำความรู้ โดยเฉพาะ ๘ คุณธรรมพื้นฐานซึ่งประกอบด้วย ขยัน ประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคีและมีน้ำใจ

1.1.2 บทบาทหน้าที่ทางสังคม       

                1)แกนนำในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

                        2)ประธานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

                        3)ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

                        4)ประธานกองทุนหมู่บ้านควนหินมุ้ย

                        5)ประธานณาปนกิจสำนักงานเกษตรและสหกรณ์อำเภอหลังสวน

1.1.3 รางวัลที่ได้รับ

                        1)กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านควนหินมุ้ย ดีเด่น ปี 2548

                        2)กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านควนหินมุ้ย ดีเด่น ปี 2555

 

            1.3 การแปลงแนวคิดพอเพียงสู่การปฏิบัติครัวเรือนพอเพียง

                        1)การจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อทราบผลรายรับรายจ่ายและวางแผนการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ขยายผลการทำบัญชีครัวเรือน 7 ครัวเรือน พร้อมให้ความรู้ ความเข้าใจจนครัวเรือนขยายผลจัดทำบัญชีครัวเรือนได้และขยายผลต่อไป

                        2)ปลูกผักสวนครัวไว้สำหรับการบริโภค เช่น พริก ข่า ตะไคร้ มะนาว ส้มจี๊ด ผักเหรียง มะละกอ ตำลึง เป็นต้น

 

                                3)รณรงค์ให้ราษฎรในหมู่บ้านทุกครัวเรือนทุกคนในครัวเรือนสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเพื่อให้ทุกคนมีหลักประกันความเสี่ยง รู้จักการเก็บออมไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น

                        4)จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และคลังข้อมูลการพัฒนาชุมชน

5)เป็นแกนนำ รณรงค์ให้ประชาชนในหมู่บ้านนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ โดยส่งเสริม สาธิตกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอินทรีย์สูงและให้ประชาชนในหมู่บ้านทำปุ๋ยหมักใช้เองแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นการลดรายจ่าย ประหยัด รักษาหน้าดินและเป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์

                        6) แก้ไขปัญหาของสมาชิกจนประสบผลสำเร็จ ดังต่อไปนี้

                                    1)แก้ปัญหาหนี้ระบบ  โดยสมาชิกที่มีหนี้นอกระบบ ให้สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกของกลุ่ม กลุ่มให้บริการเงินกู้นำไปชำระหนี้นอกระบบและผ่อนชำระกับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตแทน ปัจจุบันหนี้นอกระบบของบ้านควนหินมุ้ยไม่มี

                                    2)กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านควนหินมุ้ยช่วยเหลือสมาชิกที่ไม่มีเงินทุน กู้เงินไปประกอบอาชีพจนประสบผลสำเร็จหายจากความยากจน

                        7)เป็นศูนย์การเรียนรู้สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน(กลุ่มออมทรัพย์ฯ กองทุนหมู่บ้าน มิยาซาวา ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน อาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง)โดยมีกลุ่ม/องค์กรเข้ามาศึกษาเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

                                    1)สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนอำเภอท่าแซะ

                                    2)กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตอำเภอสวี

                                    3)กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

                                    4)กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านแหลมหญ้า

                        8) เป็นแกนนำในการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

9)เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสครบรอบ 84 พรรษา

 

 

การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของพัฒนากร

1)           พลังแห่งแรงบันดาลใจที่คัดเลือกบ้านควนหินมุ้ย หมู่ที่ 9 ตำบลนาขา อำเภอ

หลังสวน จังหวัดชุมพร ถอดบทเรียนเพราะราษฎรในหมู่บ้านควนหินมุ้ยไม่ยอมรับฟัง ไม่รับรู้ ดึงดัน ไม่เอาอะไรเลย ฉันไม่ว่าง ฉันจะทำงานของฉันอย่ามายุ่งกับฉัน ฉันไม่อยากพัฒนา ฉันอยู่ของฉันอย่างนี้ดีอยู่แล้ว มีความสุขแล้ว

ข้าพเจ้านางปราณี  จินาบุญ ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ถือว่า

เป็นนักพัฒนามืออาชีพของกรมการพัฒนาชุมชน คิดหาวิถีทางที่จะนำพาให้ราษฎรบ้านควนหินมุ้ย ยอมรับตนเองให้ได้ สร้างศรัทธาในตนเอง ยึดตนเองเป็นแบบอย่าง นำเสนอสิ่งที่เป็นจริงนำดวงใจของตนเองทุ่มเทกับการทำงาน เพื่อน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทำงานสนองพระราชดำรัสและพระราชดำริของพระองค์ท่านสู่ปวงชนชาวไทยเพื่อให้ปวงชนชาวไทยอยู่เย็นเป็นสุข อยู่อย่างพอเพียงตามปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าจึงได้เลือกบ้านควนหินมุ้ย หมู่ที่ 9 ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เป็น 1 พัฒนากร 1 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

2)           วิธีการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

                        2.1 ประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยเวทีประชาคม

                        2.2 คัดเลือกแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ สร้างความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้านละ 3 คน อบรม 3 วัน

 

 กระบวนการพัฒนาหมู่บ้าน

            แกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบจัดเวทีประชาคมคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายในหมู่บ้านจำนวนไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน ดำเนินการส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านไปตามกิจกรรม

            1 การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 30 ครัวเรือน

                        จัดเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกคือ

                        1)สามารถเป็นต้นแบบได้

                        2)เรียนรู้ รอบรู้ นำสู่การปฏิบัติจริง

                        3)มีฐานข้อมูลการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงวิถีชีวิต

                        4)คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายในพื้นที่บ้านควนหินมุ้ย จำนวน 35 คน หมู่ที่ 3,4,6,12 จำนวน 10 คน รวม 45 ครัวเรือน

            2 การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง

1)สร้างกระบวนการพัฒนาชุมชนในหมู่บ้านหลักการพึ่งตนเองในการแก้ไข

ปัญหาความยากจนของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2)จัดระบบการบริหารจัดการชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

โดยมีกระบวนการเรียนรู้ 5 กิจกรรม ประกอบด้วย

 

กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ระดับอยู่ดี กินดี

การเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ปลุกให้รู้จักตัวตนของตนเองให้ความรู้ด้านการทำบัญชีครัวเรือน

แกนนำหมู่บ้านปลุกจิตสำนึกให้รู้จักตนเอง จัดทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่ายเช่น การทำสบู่ ยาสระผม ครีมนวดผม น้ำยาล้างจาน และปลูกทุกอย่างที่อยากกินและกินทุกอย่างที่ปลูก

 

กิจกรรมที่  ๒ กิจกรรมการเรียนรู้ตนเองและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ให้ความรู้กระบวนการจัดทำแผนชุมชน

 

กิจกรรมที่  ๓ กิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง

 

กิจกรรมที่  ๔ กิจกรรมเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน

 

กิจกรรมที่  ๕ กิจกรรมการจัดการความรู้วิถีการปฏิบัติการพัฒนาหมู่บ้าน

-ถอดบทเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

-ประเมินผลความสุขมวลรวมของชุมชนและการจัดการความรู้

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น

            การพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผลสุดท้ายคือคนในชุมชนอยู่เย็น เป็นสุข ท่ามกลางสังคมแห่งทุนนิยม เราเปลี่ยนสังคมไม่ได้แต่เราสามารถเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตได้โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่แบบพอเพียง พอประมาณและมีภูมิคุ้มกัน

            การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาครอบครัวซึ่งเป็นฐานหลัก พัฒนาหมู่บ้านตามกระบวนการ เปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตเริ่มจากคนในครอบครัวขยายไปสู่ชุมชน

            หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเรื่องแรกที่ต้องทำความเข้าใจ คือ ความพอประมาณ ความพอประมาณคือกระบวนการรู้จักตนเอง เน้นที่การพึ่งพาตนเอง อันดับแรกคือการจัดทำบัญชีครัวเรือน การจัดทำบัญชีครัวเรือนนำไปสู่การวางแผนชีวิต เข้าสู่กระบวนการ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การเก็บออม

            ความพอประมาณ คือการค้นหาเพื่อรู้จักตนเองในเรื่องของทุนชุมชน ชุมชนมีทุนอะไรบ้าง กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน กองทุนอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง  กองทุนศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านและกองทุนมิยาซาว่า พัฒนากองทุนดังกล่าวเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาทุนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนกายภาพ ทุนการเงิน ทุนสังคมและทุนธรรมชาติ

            การมีภูมิคุ้มกัน ทำให้เห็นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ถ้าชุมชนอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อนจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ดังกล่าว แสดงว่าชุมชนมีภูมิคุ้นกันที่ดี ซึ่งภูมิคุ้มกันดังกล่าวเกิดจากการที่คนในชุมชนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันแก้ไข ช่วยกันป้องกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยใช้หลักของเหตุผลคือการใช้ข้อมูลบัญชีครัวเรือนมาเป็นฐานในการแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน โดยคนในชุมชนนำปัญหาที่เกิดขึ้นเข้าสู่เวทีประชาคมเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและใช้หลักเหตุผลในการพัฒนาหมู่บ้านซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลมาเป็นฐานในการแก้ปัญหาของคนในชุมชน โดยคนในชุมชน อีกทั้งชุมชนได้นำความรู้คู่คุณธรรมมาเป็นหลักในการพัฒนาหมู่บ้าน ใช้ความคิด ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้และวางแผนแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นอีกทั้งวางแผนทั้งระยะต้น ระยะกลางและระยะยาวเพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และในการบริหารกิจกรรมของหมู่บ้านต้องอาศัยหลักคุณธรรม ความซื่อสัตย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปันในการทำงานร่วมกันในชุมชนทำให้ชุมชนมีความสุข

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 501868เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2012 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท