ข้าแต่ แพทยราช!


ไวทฺยราช นมสฺตุภฺยํ ยมราชสโหทร ฯ

ยมสฺตุ หรติ ปฺราณานฺ ตฺวํ ตุ ปฺราณานฺ ธนานิ จ ฯ

 

वैद्यराज नमस्तुभ्यं यमराजसहोदर ।

यमस्तु हरति प्राणान् त्वं तु प्राणान् धनानि च ॥

 

vaidyarāja  namastubhyaṁ  yamarājasahōdara,

yamastu  harati  prāṇān  tvaṁ  tu  prāṇān  dhanāni  ca.

 

ข้าแต่ไวทยราช  ความเคารพจงมีแด่ท่าน  ผู้ร่วมอุทรกับยมราช

แต่ยมราชนำชีวิตไป ทว่าท่านนำชีวิตและทรัพย์ไป

 

แปลอีกที

 ข้าแต่จอมแพทย์ ภราดาแห่งยมราช ข้าขอนมัสการท่าน

พญายมราชนั้นมาแล้วก็นำชีวิตไป

แต่ท่านนอกจากนำไปทั้งชีวิตไปแล้ว ยังนำทรัพย์ไปด้วย.

 

คำศัพท์

ไวทฺยราช               

ไวทฺยราช, แพทย์ [ไวทฺยราช; นาม. เพศชาย. การกที่ 8. เอกพจน์]

ไวทฺย+ราช ราชาแห่งการแพทย์

นมสฺ                     

ความนอบน้อม, ความเคารพ. [นมสฺ; นาม. เพศกลาง. การกที่ 1. เอกพจน์]

ตุภฺยมฺ 

แด่ท่าน. [ตฺวมฺ; สรรพนาม. การกที่ 4. เอกพจน์]

ยมราชสโหทร       

ผู้ร่วมอุทรกับยมราช [ยมราชสโหทร; นาม. เพศชาย. การกที่ 8. เอกพจน์] {ยม+ราช}+{สห+อุทร} ยมราช + ผู้ร่วมอุทร

ยมสฺ   

พระยม [ยม; นาม. เพศชาย. การกที่ 1. เอกพจน์]

ตุ       

แต่ [นิบาต (คำไม่แจกรูป ชนิดคำเชื่อม)]

หรติ   

ย่อมนำไป [หฺฤ; กริยาปัจจุบันกาล. เอกพจน์. บุรุษที่ 3. กรรตุวาจก]

ปฺราณานฺ               

ชีวิต, ลมปราณ [ปฺราณ; นาม. เพศชาย. การกที่ 2. พหูพจน์]

ตฺวํ                         

ท่าน. [ตฺวมฺ; สรรพนาม. การกที่ 1. เอกพจน์]

ธนานิ                    

ทรัพย์. [ธน; นาม. เพศกลาง. การกที่ 2. พหูพจน์]

จ                           

และ [นิบาต (คำไม่แจกรูป ชนิดคำเชื่อม)]

 

     กัลยาณมิตร ที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์อย่าค้อนขวับๆ นะครับ สุภาษิตนี้ ออกไปในแนวเสียดสีพวกแพทย์ ไม่รับรองว่าแต่งสมัยไหน เพราะผมไม่ได้แต่งเอง อิๆๆ

     บทนี้ศัพท์ไม่ยาก หลายศัพท์เรารู้แล้ว วรรคหนึ่งก็จบข้อความหนึ่ง ไม่กระโดดไปมาอย่างร้อยกรองที่ซับซ้อน

     เมื่อแปลศัพท์ใดก็ตาม อย่ายึดติดว่าศัพท์นี้ต้องแปลอย่างนี้เสมอไป ในบทอื่นๆ คำนั้นอาจมีความหมายอื่น หรืออาจทำให้ความหมายโดยรวมแตกต่างไปก็ได้

      ไวทยราช นี้ มีชื่อว่า ธันวันตริ เป็นแพทย์ของทวยเทพ แพทย์ผู้นี้บังเกิดขึ้นพร้อมถ้วยน้ำอมฤตเมื่อคราวกวนเกษียรสมุทร

      อนึ่ง สระ ไอ ในภาษาสันสกฤต อาจแผลงเป็น แอ ได้ เช่น ไสนฺย เราใช้ แสนย, แสนยา  ส่วน ว ก็ แผลงเป็น พ ได้ ดังนั้น ไวทฺย จึงเป็น แพทย์ ในภาษาไทย เช่นเดียวกับ ไวศย ก็แผลงเป็น แพศย์ นั่นเอง

 


อ้างอิง

“Sanskrit subhashita 7” ใน www.chitrapurmath.net

หมายเลขบันทึก: 501438เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2012 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อยากจังเลยนะคะ...P'Ple เรียน ต้องสอบตกแน่นๆ นะคะ

ขอบคุณคะ ได้ความรู้ ว่า ไวทย กับ แพทย มีความหมายเดียวกัน แต่ แพศย์ ทำเอาใจหายวาบ :)

สวัสดีครับ พี่ Blank ...Dr. Ple

ต้องมีสมาธิดีๆ ครับ เพราะเนื้อหาเยอะ

จะว่าไปบทสวดมนต์ก็พอนำมาประยุกต์ได้เหมือนกันครับ

 

สวัสดีครับ คุณ Blank ป.

นึกถึงอีกคำใช่ไหมครับ ;)

คำที่ลงสระอะ กับคำที่ลงสระอา บางทีก็ความหมายเดียวกัน

ต่างแต่เพศเท่านั้นเองครับ

 

 

เสียดสีได้ลึกซึ้งจังเลยนะคะ ภาษาน่าสนุกอย่างนี้เอง การแปลศัพท์ต้องรู้จักหาความหมายที่เหมาะสมจริงๆค่ะ ไม่มีคำตายตัวเป๊ะๆ เป็นการฝึกสมองอย่างหนึ่งนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท