เก็บตกงานเสวนา “แจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ลดหรือเพิ่มปัญหาสังคม”


เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เราควรเลือกใช้ว่า เมื่อไหร่ควรใช้ เมื่อไหร่ควรสอน การสอนให้เด็กเรียนรู้ต้องสอนแบบเป็นขั้นตอน เริ่มจาก 1 ก่อน แล้วต่อเป็น 2 3 4 ไม่ใช่กระโดดข้ามขั้น
 
        ช่วงนี้แม่ดาวชีพจรลงเท้าอย่างมาก มีเรื่องให้ต้องเดินทางไม่ไห้หยุด วันนี้เป็นอีก 1 วันที่สัญจรไปร่วมงานเสวนาดังกล่าว  ไปด้วยอาการงง ๆ  รู้จักแต่เขาดิน รัฐสภาไม่รู้จักซะงั้น นี่ถิ่นเก่านะเนี้ย จบมาจากราชภัฎสวนดุสิต ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต  ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมจะต้องเปลี่ยนชื่อเนอะ  ทุกอย่างล้วนเป็นการสมมติทั้งสิ้น เอานั่น...นอกเรื่องซะงั้น  
 
        ไป ถึงงานปุ๊บก็เจอคนที่อยากเจอมากที่สุดปั๊บ คือ คุณสรวงมนฑ์ สิทธิสมาน ผู้จัดรายการวิทยุคลื่น 105 FM รายการพ่อแม่พันธุ์ใหม่หัวใจเกินร้อย ออกอากาศทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00 น.-9.00 น.  รายการนี้เหมาะมากๆ สำหรับพ่อแม่อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ อิอิ  มี สาระความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ดี ๆ มากมาย หลากหลาย แม่ดาวแนะนำไปบ่อย ๆ นะคะ ว่ารายการนี้ดีจริง ๆ อยากให้ฟัง เอามาลงในบทความซะเลย  เผื่อใครที่ไม่เคยติดตามอ่านกันตั้งแต่ต้นจะได้ทราบด้วยเนอะ   คุณสรวงมณฑ์ มาในนามผู้ดำเนินการเสวนา และเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการฯ   งานนี้จัดโดย คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
 
        หัวข้อวันนี้ ดูจะเป็นประเด็นร้อนจริง ๆ แต่ละท่านที่มาเข้าร่วมการเสวนาต่างจัดหนัก จัดเต็ม กันแทบจะทุกคน   ส่วนวิทยากรผู้เข้าร่วมอภิปรายหลัก ๆ จะมี 4 ท่านค่ะ
 
1.      นายวรพัฒน์ ทิวถนอม  รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        แม่ดาวจับใจความได้ว่า  การแจกแท็บเล็ตนั้นเพื่อต้องการสร้างโอกาสความเท่าเทียมกันทางการศึกษาในสังคม  และ มีผู้สนับสนุนแนวความคิดนี้จากผู้ร่วมเสวนา 1 ท่าน ที่ใช้ว่า 1 ท่านไม่ใช้ ท่านหนึ่ง เพราะมีคนเดียวจริง ๆ ที่พูดออกไมค์กระจายเสียงแล้วเป็นการสนับสนุนในเรื่องนี้  มองว่าการมีแท็บเล็ตจะเป็นการต่อยอดความคิดของเด็กได้ดี  หากทางบ้านมีการดูแลอย่างใกล้ชิด อบอุ่น และโรงเรียนดี ก็ไม่เป็นปัญหา  ฟังแล้วก็มีหลาย ๆ คำถามสงสัยอยู่ในหัวมากมาย รู้สึกเลยว่าวันนี้จิตใจไม่ปกตินะ ค่อนข้างจะอคติกับเรื่องนี้อยู่เป็นทุนเดิม  พอได้ฟังแล้วก็วุ่นวายใจ หายใจแรงผิดปกติ 555   
        แล้วถ้าบ้านอบอุ่นแล้วโรงเรียนไม่เอื้ออำนวยล่ะ  แล้ว ส่วนใหญ่คนในสังคมก็อย่างที่เห็น ๆ กันอยู่พ่อแม่มุ่งหาเงินเลี้ยงชีพกันเป็นหลัก ลูกเป็นรอง ถึงมักจะพูดกันว่าที่ทำ ๆ เพื่อลูก ก็เถอะ  แต่ความคิดกับการกระทำมันสวนทางกันอย่างแรงนะคะว่าไหม  หากเราทำเพื่อลูกเราจริง หลาย ๆ บ้าน หลาย ๆ ครอบครัวก็คงไม่ประสบปัญหามากมายอย่างเช่นทุกวันนี้  แม่ดาวเข้าใจนะคะกับหลาย ๆ ครอบครัวที่ต้องช่วยกันทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว  แต่เราก็สามารถมีเวลาคุณภาพ เวลาอบอุ่น เวลาแห่งความสุขให้ลูกเราได้ไม่แพ้กับแม่ดาวเลย  
        หลายคนมักมองว่าแม่ดาวมีชีวิตที่น่าอิจฉาเหลือเกิน ได้ออกจากงานมาเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ได้มีเวลาคุณภาพกับลูกเต็ม 100   แม่ดาวอยากจะบอกนะคะว่า  การทำงานบ้าน หากได้ทำเองจริง ๆ มันมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย  เป็นงานทีทำได้ไม่รู้จักจบสิ้น มีอะไรให้ทำได้ตลอด ๆ ถ้าจะเราจะทำ  เมื่อก่อนแม่ดาวก็แบ่งเวลาไม่ค่อยจะเป็น กลายเป็นว่าแทนที่ได้อยู่บ้านทำกิจกรรมสร้างสรรค์กับลูกก็ไม่รู้หายไปไหนหมด  เคยตำหนิตัวเอง ว่าเรานี่แย่มาก ทั้ง  ๆ ที่มีเวลาอยู่กับลูกแท้ ๆ ยังปล่อยเวลาที่มีค่าผ่านไปแบบไม่ทันรู้ตัว   1 วัน ผ่านไปไวเหมือนโกหก  นี่ก็ 5 ปีผ่านไปเหมือนละครซีรีย์   
        ไม่ว่าจะแม่ที่ทำงานในบ้าน หรือแม่ที่ทำงานนอกบ้าน หากไม่รู้จักแบ่งเวลาให้เป็นก็ไม่ต่างกันหรอกค่ะ   ปัญหา สังคมมีเพิ่มขึ้นมากมายและกระจายตัวไปทั่วทุกสารทิศ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่สังคมเมืองหลวง สังคมต่างจังหวัดก็เป็นแบบนี้กันเยอะมากขึ้น   แล้วจะเอาบ้าน ครอบครัวที่อบอุ่นจากไหน 
        ส่วนเรื่องมาตรการเรื่องการเข้าเว็บที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ท่านก็ยังไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนแน่นอน ว่าฟันธง เข้าไม่ได้แน่ ๆ  นะ  รับประกัน  ฟังแล้วก็เพลียหัวใจชอบกล  
 
2.      แพทย์หญิงจันทร์เพ็ญ  ชูประภาวรรณ  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและพัฒนาการเด็ก,นายกสมาคมนักวิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และนายกสมาคมนพลักษณ์ไทย
        ท่านนี้ สำหรับแม่ดาวนะคะยกให้เป็นที่สุดของงาน ฮ่าๆๆ ชอบเป็นการส่วนตัว  พูดชัดเจน ตรงประเด็น ไม่หมกเม็ด  ท่านบอกว่าเทคโนโลยีทำให้เราสูญเสียความสามารถของสมอง  ท่าน ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การจำเบอร์โทรศัพท์ จากเมื่อก่อนท่านสามารถจดจำเบอร์โทรศัพท์คนสำคัญต่าง ๆ ได้มากมาย ปัจจุบันการ์ดความจำให้เครื่องโทรศัพท์ที่ท่านใช้ได้ทำหน้าที่นี้แทนให้แล้ว  ทำให้สมองของท่านไม่สามารถจำเบอร์บุคคลสำคัญต่าง ๆ ได้  ฟังแล้วคิดตาม จริงที่สุดค่ะ  ลองทบทวนตัวเองดูนะคะ ว่าช่วงก่อนหน้าที่เราจะมีโทรศัพท์มือถือ ท่านจำเบอร์ต่าง ๆ ของคนสำคัญได้ไหม  เปรียบเทียบกับปัจจุบันซิว่าเราเป็นเป็นที่แพทย์หญิงท่านนี้กล่าวไว้หรือไม่  นี่ขนาดยังไม่ได้พูดถึงเด็กนะคะ  ดูที่ตัวเรานี่แหละ
        ตัว แม่ดาวเองก็เป็นปัจจุบันที่ยังจำเบอร์บางคนได้ นั่นเพราะเป็นชุดความทรงจำเดิมของสมอง ส่วนเบอร์ใหม่ ๆ ที่ไหลเข้ามาใหม่นั้น ไม่สามารถจำได้เลย  ขนาดเป็นเบอร์แม่ของตัวเอง แต่ท่านเปลี่ยนเบอร์ใหม่  เราก็จำได้แต่เบอร์เก่าที่เคยโทร.สมัยก่อน เบอร์ใหม่จำไม่ได้แหะ แต่เบอร์เก่าเนี้ยปัจจุบันมันยังอยู่ในสมองอยู่เลยนะ  
        จำได้ว่าสมัยก่อนที่ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือ ก็จะมีสมุดจดเบอร์โทรศัพท์เล็ก ๆ เป็นแบบแม่เหล็กดูดหากใครจำได้เนอะ  ลวดลายน่ารักๆ ด้วยนะ ฮ่าๆๆ  เวลา ที่เราจดเอาไว้ แล้ว เบอร์ไหนที่เราโทรบ่อย ๆ ก็ต้องมาหยิบเปิดดู แล้วกดตามหมายเลขที่ละตัว ๆ ส่วนมากสมัยนั้นก็จะโทรจากตู้สาธารณะซะส่วนใหญ่ และอีกเรื่องที่จำได้คือรอคิวนานมากๆๆๆๆ   เรามีธุระด่วน ต้องรอคิวจากนักศึกษาทั้งหลาย ณ วัยนั้น เขาก็มีความรักกันแหละเนอะ ก็คุยนาน คุยยาว  ไอ้เราไม่มีกับเขา แต่มีธุระก็รอต่อคิวไป ฮ่าๆๆ อ้าว...นอกเรื่องอีกแล้ว   แต่ ก็อยากให้เห็นภาพชัด ๆ ว่า อันที่จริงการที่เราล้าสมัยไปบ้างตกยุคไปบ้าง บางทีมันก็มีข้อดีมากมายนะคะว่าไหม ยิ่งเราพึ่งพาเทคโนโลยีมากเท่าไหร่ เหมือนสมองของเราก็ยิ่งทำงานน้อยลงไปเรื่อย ๆ หรือเปล่าค่ะ แม่ดาวคิดว่าสมองแม่ดาวมันเป็นแบบนั้นนะ    
        คุณหมอพูดถึงเรื่องรูปแบบของการทำงานของสมอง  สรุปเอง ดังนี้ค่ะ
-          สมองสัตว์เลื้อยคลาน  คือ การคิดแบบที่จะเอาตัวรอด ทำอย่างไรชีวิตถึงจะอยู่รอดได้
-          สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  คือ การคิดแบบที่ต้องการอยู่รวมกันเป็นสังคม รักพวกพ้อง
-          สมองมนุษย์  คือ การคิดแบบมีเหตุผล  (อันนี้ลืมจดแต่จำมาผิดเปล่าไม่แน่ใจฮ่าๆๆ) หากใครที่ได้เข้าฟังรบกวนมาย้ำกันอีกครั้งนะคะ
               
        เด็กปฐมวัย  ควรเรียนรู้ทุกอย่างจากของจริง ให้เขาได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี  เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีทุกชนิดไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย  ควรสอนให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้ได้   
        คุณหมอพูดถึงเรื่องไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ดูโทรทัศน์เลย  เพราะ สมองของเด็กยังไม่สามารถแยกแยะเรื่องจริง กับเรื่องในโทรทัศน์ได้ ท่านกล่าวถึงรายการสารคดีดังมากรายการนึง ที่หลาย ๆ ท่านก็อาจมองว่ามันดี มีประโยชน์ซะเหลือเกินกับเด็ก ๆ  เช่น สัตว์ออกลูกมาเป็นไข่ ตัดภาพมาให้เห็นว่าสักพักก็จะกลายเป็นตัว แล้วตัดภาพมาว่าสักพักก็เติบโต พัฒนาการต่าง ๆ เหล่านี้ เด็กเห็นก็จะไม่เข้าใจ  อาจเข้าใจผิดว่า มันสามารถเกิดขึ้นได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนในทีวี เป็นต้น
        ทีวี มีแค่ 2 สัมผัส คือ เสียง และภาพ เท่านั้น จึงไม่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีให้เด็ก ๆ ได้
        เรื่องนี้แม่ดาวเห็นด้วยมาก ๆ นะคะ  แต่ตัวเองก็ทำไม่ได้ฮ่าๆๆ  ลูกตัวเองก็ดูทีวีเช่นกัน แต่ไม่ได้ปล่อยให้ดูเรื่อยเปื่อยนะคะ  ส่วนมากจะดูแบบมีกำหนดเวลา โดยที่ลูกเป็นคนเลือก และเราเป็นคนให้ทางเลือก แม่ดาวจะย้ำ ๆ ถึงผลเสียของการดูทีวีกับลูกบ่อย ๆ  ลูกแม่ดาวชอบดูช่องการ์ตูนย์เน็ตเวิร์ค  ติดมาจากพี่ข้าง ๆ ห้อง เขาชอบดู  ที่ ขำคือ ก่อนหน้านี้ลูกแม่ดาวเข้าใจว่าช่องการ์ตูนย์ทั้งหลายเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เนื่องจากแม่ดาวแอบเปลี่ยนภาษาเป็นภาษาอังกฤษหมด อันที่จริงก็ไม่ได้อยากให้ดูเท่าไหร่ค่ะ แต่ทำไงได้ สังคมมันพาไปด้วย  ตัวเราก็ส่วนนึง ตัวเองเมื่อก่อนก็ติดทีวี  
        แม่ดาวไม่ใช้คำว่าติดทีวีกับลูก เพราะลูกไม่ติด เขาแค่ชอบ  แต่หากเราชวนเขาเล่นด้วยกัน เขาพร้อมจะปิดทีวีและเดินมาเล่นกับเราทันที  ยอม รับว่าตัวเองก็ต้องอาศัยทีวีบ้างในการดึงความสนใจ เพราะเขาติดแม่ดาวมาก บางอย่างที่เราทำเขาก็ทำด้วยไม่ได้ เช่น รีดผ้า เป็นต้น เราก็เอาเพลงเต้น ๆ บ้าง การ์ตูนย์บ้างให้ดู แต่ไม่ได้ใช้ประจำนะคะ  ใช้บ้าง   มีอีกกรณีคือเราไม่ไหว ไม่สบาย หรือเหนื่อยมากต้องการพักผ่อนยาวหน่อย  เขาอยู่คนเดียวไม่ได้  หากเราขอพัก เขาก็จะขอดูทีวี  อันนี้คือหลังจากเบื่อจะเล่นกับทุก ๆ สิ่งในบ้านแล้ว   แต่จำได้ว่าใจช่วงเล็ก ๆ วัยก่อนเข้าเรียน แรกเกิด- 3 ขวบ ลูกแทบไม่ได้ดูทีวีน้อย กว่าในปัจจุบันมากมายนัก   
        มีหลาย ๆ เรื่องที่เขาไม่ได้ดู เวลาเพื่อนคุยที่ห้องเรียน เขาก็คงอึดอัด คุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่อง เลยอยากจะดูบ้างก็มี  อันนี้ก็ต้องคุย ต้องดูกันเป็นเรื่อง ๆ ไป   สำหรับตัวเองนะคะ  คิดว่าให้ลูกดีได้ค่ะ  แต่เราต้องดูกับลูกคอยบอก ชวนพูดคุย ไม่ใช่ปล่อยให้ลูกดูคนเดียวดีที่สุดหากทำได้เนอะ  ส่วนผลกระทบ ผลเสีย เรารู้อยู่แล้ว ก็ต้องยอมรับ เรียนรู้กันไปนะคะ
 
        มาต่อกันที่คุณหมอ
        เด็กวัยประถมศึกษา   เหลือ เวลาไม่มากที่เด็กจะเปลี่ยนข้อมูลจากของจริงมาสู่การเข้าใจ “นามธรรม” หรือกฎเกณฑ์ที่สำผัสจริง ๆ ไม่ได้ เช่น แรงโน้มถ่วง ความดี เชื่อมข้อมูลรูปธรรมกับกฎเกณฑ์ที่เป็นนามธรรมให้ดี (แบบง่าย ๆ ) เทคโนโลยีจึงไม่เหมาะกับกระบวนการนี้
        ควรระวังอย่างมากสำหรับเด็ก เราควรสอนให้เขามีความเป็นมนุษย์ให้มากที่สุด เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น  เราควรเลือกใช้ว่า  เมื่อไหร่ควรใช้  เมื่อไหร่ควรสอน การสอนให้เด็กเรียนรู้ต้องสอนแบบเป็นขั้นตอน เริ่มจาก 1 ก่อน แล้วต่อเป็น 2 3 4  ไม่ใช่กระโดดข้ามขั้น คุณหมอยกตัวอย่างเรื่อง การสอนเด็กใช้มีด คุณหมอถามว่าเราควรสอนเด็กให้ใช้มีดอย่างไร  เมื่อไหร่    ยกตัวอย่าง สอนเด็กเล็กให้รู้จักมีดก่อน ว่ารูปร่างแบบนี้นะ มันคือ มีด  มีดเป็นของมีคม อันตรายยังไง จับยังไง ถือยังไง ใช้ยังไง ทำให้ดู ทำให้เห็นจริง  สัก 2 ขวบให้เขาลองใช้มีดแบบที่ไม่มีคม ลองใช้ฝึกใช้ดู  จากนั้นสักประมาณ 4 ขวบสอนให้ใช้จริง ๆ มีดจริง ๆ    
        ลูกแม่ดาวปัจจุบัน 5 ขวบ จำได้ว่าก็สอนเขาแบบนี้เลยค่ะ  และจำได้ว่าเขาได้ใช้มีดจริง ๆ หั่นจริง ๆ ช่วยแม่ทำกับข้าวหั่นผัก  ช่วยกันทำผัดผักรวมมิตรสักประมาณเกือบ ๆ 5 ขวบ ก่อนหน้าก็ให้เขาช่วยหั่นผักที่หั่นง่าย ๆ หน่อย โดยใช้มีดทาแยมนี่แหละ  อันนี้สอนแบบคิดเอง แต่ตรงกับคุณหมอบอกเลยนะเนี้ย ภูมิใจฮ่าๆๆ  แอบโดนตำหนิจากสามีด้วยนะว่าทำไมให้ลูกใช้มีดจริงหั่นผัก  ตอนที่เขาเห็นเนี้ยลูกใช้มาสัก 2-3 ครั้งได้แล้วแหละค่ะ  แต่ต้องระวังอย่างมากนะคะ  ต้องดูแลใกล้ชิดมาก ๆ  แม่ดาวให้เขาทำเองจริง แต่อยู่ตรงนั้นตลอดเวลาที่ลูกทำค่ะ
        คุณ หมอยกตัวอย่างต่างประเทศ เขาเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ในวัยปฐมวัย เขาสอนให้เด็กเรียนรู้คอมพิวเตอร์จากการที่เอาคอมพิวเตอร์เก่ามาแกะแยกส่วน เป็นชิ้น ๆ สอนกันทีละขั้นตอน  ก่อนที่จะมาเป็นภาพและเสียงต่าง ๆ ให้เห็นนั้น ข้างในมันทำงานยังไง มีอะไรบ้าง แต่ละตัวมันทำงานกันอย่างไร  เจ๋งเนอะ สอนกันแบบนี้บ้างไหม บรรเจิดสุด ๆ นะ  เดี๋ยวจะขอร้องสามีให้เอาคอมพิวเตอร์เก่า ๆ มาแงะ แกะ สอนลูกบ้างดีกว่า  ไอ้ตัวเราเนี้ยไม่มีความรู้ด้านนี้ต้องอาศัยสามี ไม่รู้จะร่วมมือไหมฮ่าๆๆ ต้องลองเจรจาดู
        สรุป ของคุณหมอ เรื่องแท็บเล็ตกับเด็ก ป.1 มองว่าไม่เหมาะสมกับวัยนี้  ควรปูพื้นฐานให้มั่นคงเสียก่อน ลงเสาเข็มให้แข็งแรงมั่นคงก่อน  แท็บเล็ตนั้นคุณหมอเปรียบเทียบเป็น “หลังคา” ค่ะ  มันเป็นขั้นตอนสุดท้าย แม่ดาวเห็นด้วยกับคุณหมอค่า
ส่วนจะลดหรือเพิ่มปัญหาสังคมนั้นก็ข้ามไป มันก็เห็น ๆ นะคะ ว่าไหม   สังคมนะคะ สังคมส่วนใหญ่ เกิดอะไรก็เห็น ๆ กันอยู่ เนอะ  ลดหรือเพิ่มก็ให้กลับไปคิดกันเองจ้า    
 
        แม่ดาวเคยไปอบรมเรื่องสำนึกแห่งวินัย หัวใจแห่งการเรียนรู้ เมื่อนานมากแล้วก็พูดถึงเรื่องพัฒนาการของสมองและพฤติกรรมคล้าย ๆ แบบนี้  สมองจะมีการทำงาน 3 ส่วน คือ ส่วนสัญชาติญาณ ทำหน้าที่ในการเอาตัวรอด  ส่วนต่อมาคืออารมณ์  และสุดท้ายคือเหตุผล  ที่คนส่วนใหญ่ใช้กันน้อยเหลือเกิน
 
        คนเราส่วนมากใช้สมองส่วนไหน หรือสมองแบบไหนมากที่สุด  ทายซิค่ะ  ..........สมองสัตว์เลื้อยคลาน หรือสัญชาติญาณ ค่า  คือ คิดแบบที่จะเอาตัวรอด  สังคมถึงวุ่นวายกันมากมายกันอย่างที่เห็น หากเราใช้สมองในส่วนเหตุผลกันมากกว่านี้ก็คงจะดีมาก แต่สมองในส่วนเหตุผลนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเลี้ยงดูปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ๆ  สิ่งแวดล้อมด้วย  เราละเลยในจุดนี้กันมาก  มุ่ง แต่จะหาวัตถุ หาเครื่องมือ สร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ คิดว่าจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพของคน แต่เปล่าเลย คน(ดี)ต่างหากที่จะสร้างคนให้เป็นคน(ดี)ได้ไม่ใช่เทคโนโลยี เราใช้ได้แต่ไม่ใช่หวังพึ่งเสียทุกอย่าง ยังไงซะเราก็ต้องสร้างคนดี ด้วยคนดีนี่แหละดีที่สุด ทั้งหมดนี่ความคิดเห็นแม่ดาวนะคะ คิดว่าน่าจะสอดคล้อง และมีบางอย่างที่ตรงกับคุณหมอแหละเนอะ    
 
หมายเลขบันทึก: 501403เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2012 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท