ระเบียบวิธีวิจัยปัจจุบันกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ขณะนี้จนถึงปลายปี  2555 นี้ ผมมีส่วนร่วมกับการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม...... ผมเขียนบันทึกนี้เพื่อเตือนสติตัวเองว่า อย่างหลงยึดว่าสิ่งที่่เห็นอยู่นั้นเป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง.....

จากการสังเกตของคุณอ้อ (มสส.) พบว่า สามารถแบ่งลักษณะการวิวัฒนาการของการเรียนการสอนในประเทศไทยออกเป็น 4 แบบ ได้แก่

  • การสอนแบบบอกความรู้ เน้นเนื้อหา โดยการท่องจำ
  • การพัฒนานวัตกรรมต่างเพื่อช่วยใหได้ความรู้ เข้าใจ และจดเนื้อหาได้ดีขึ้น ง่ายขึ้น
  • การสอนแบบ PBL เพื่อให้ได้เนื้อหา
  • การสอนแบบ PBL เพื่อให้ได้ทั้งเนื้อหาและทักษะ

คุณอาเพ็ญศรี (เชียงยืนพิทยาคม) เตือนสติผมหลังจากอ่านข้อสังเคราะห์ของคุณอ้อว่า

  • ยังมีการเข้าใจผิดว่า เฉพาะโครงงานวิทยาศาสตร์เท่านั้
    นที่จะพัฒนาเด็กได้

ทำให้ผมเกิดแรงบันดาลใจที่จะเขียนข้อวิพากษ์ต่อไปนี้ไว้ เตือนสติตนเองอีกที....

ปัจจุบัน ผลงานวิจัยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการวิจัยเชิงปริมาณ แม้แต่ด้านการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกตัวตนซึ่งของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน หากใครเป็นครูเพื่อศิษย์จะเข้าใจว่าการพินิจเด็กเป็นรายบุคคลนั้นสำคัญเพียงใด นักวิจัยยังให้ความสำคัญกับการสำรวจสอบถามทางสถิติของแล้วนำไปกำหนดนโยบายกันยกใหญ่ 

ในด้านการศึกษา นักศึกษาที่เรียนเกี่ยวข้องกับการวิจัยทุกคน จะต้องเรียน "ระเบียบวิธีวิจัย" ซึ่ง ผู้ที่จบแล้วจะต้องทำวิจัย 5 บท ซึ่งใครๆ ก็คงรู้ดีว่ามีอะไรบ้าง ขั้นตอนสำคัญคือ เมื่อกำหนดปัญหาวิจัยแล้ว จะต้องทำเครื่องมือวิจัยที่เป็นรูปธรรม และผู้วิจัยจะต้องสืบค้น รีวิวการศึกษาต่างๆ ให้มากที่สุด โดยมากจะสืบค้นงานจากต่างประเทศ แล้วค่อยดำเนินการขั้นต่อๆ ไป

หากเป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบวิธีวิจัยทุกขั้นตอนอย่าง "มีเหตุผล และ สมเหตุสมผล" ก็ไม่มีปัญหาอันใด แต่ผมสังเกตว่า ผู้วิจัยมักจะตั้งสมมติฐานหลายเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล โดยเฉพาะกับคน ชน และบริบทของตนเอง ส่วนหนึ่ง ทึกทักเอาว่า งานที่สำเร็จในต่างประเทศ น่าจะดีกับคนไทยเช่นกัน ..... ความจริง เรื่องการศึกษาไม่ใช่เรื่องง่ายและแยกส่วนขนาดนั้น

ผมอยากชี้ให้เห็นกระบวนการวิจัยอีกแบบที่ต่างๆ ไป ที่ไม่มีกรอบ วิธี กรอบ หรือขั้นตอนตายตัว เพียงแต่เน้นหลักดังต่อไปนี้

  1. เหตุและผล สมเหตุ สมผล
  2. ไม่เน้นกรอบ เน้นวิธี แต่มีเป้าหมายชัดเจน
  3. เน้นเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์.... ในด้านการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ 
  4. เน้นความเป็นองค์รวม คือความร่วมมือ ไม่ใช่มองจากมุมของนักวิจัย แต่ทำวิจัยในมุมมองแบบองค์รวม
  5. แยกความจริงสมมติออกจากความจริงปรมัตถ์

ด้วยข้อเสนอเหล่านี้ ผมจึงขอเสนอต่อเรื่องปฐมเหตุของบันทึกนี้ดังนี้

  1. ไม่สำคัญว่าจะเป็น PBL หรือไม่ หรือเป็น PBL ชนิดใด แต่ตัองชัดเจนว่า การออกแบบการเรียนการสอนนั้น มีเป้าหมายจะให้นักเรียนเกิดทักษะอะไรบ้าง ทักษะเหล่านั้นเกิดหรือไม่ ถ้าเกิดหรือไม่เกิดทำอย่างไร
  2. ไม่ตายตัว ไร้รูปแบบตายตัว เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูเป็นนักออกแบบเพื่อนักเรียน......   สังเกตที่ความสุข สนุก หรือแรงบันดาลใจของผู้เรียน
  3. อย่าไปยึดแม้กระทั่งกับคำว่า อาเซียน หรือ ทักษะในศตวรรษที่ 21 แต่เน้นการศึกษาชีวิตจริงของตน สอนให้คนรู้จักตนเอง ....สุดท้ายจะเห็นองค์รวม
  4. ครูต้องเป็น "ผู้สังเกต" เป็น "เครื่องมือวัด" เป็น "เครื่องมือวิจัย" ครูต้อง สามารถมองอย่าง "กระบวนกร" ที่สามารถเห็น "กระบวนทัศน์" ผ่านการสังเกต "กระบวนการ" เรียนรู้ของนักเรียน
  5. ผู้ที่สามารถแยกความจริงสมมติออกจากความจริงปรมัตถ์ได้ ต้องศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า.....เริ่มต้นที่การปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง

5 กันยายน 2555

ฤทธิไกร

หมายเลขบันทึก: 501217เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2012 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เห็นด้วยครับ

แต่ที่อยากเสริมอีกก็คือ

๑ เรื่องให้เด็กเน้นการใช้ความคิดให้มากๆ ครับ เพราะเรื่องทางเทคนิคไม่ใช่เรื่องใหญ่ ควรให้เด็กตั้งคำถามฉลาดๆ ครูอาจจะมีโจทย์ว่า ลองตั้งคำถามดีๆ มา สักคนละ ๓ ข้อ (ที่มีทางหาคำตอบได้ เพราะถ้าไม่มีคำตอบก็ไม่ใช่คำถามทางวิทยาศาสตร์)

๒ การใช้คำให้ถูกต้อง ผมหมายถึงคำในภาษาไทย เด็กรุ่นใหม่ใช้คำไม่ค่อยตรงความหมาย สะกดก็อาจจะผิด ถ้าภาษาไทยอ่อน ก็ไม่ต้องพูดถึงภาษาอังกฤษ การใช้คำ การเขียน มีความสำคัญในเรื่องการสื่อสาร และการจัดการความรู้ และเวลาเด็กเขียนรายงาน ก็ต้องคอยดูไม่ให้ลอกกัน ให้เขาต่างคนต่างคิดกันออกมาเอง

เห็นด้วยกับท่านอาจารย์บุรชัยครับ ขอบคุณที่เติมเต็มครับ

เห็นด้วยกับที่ อาจารย์ฤทธิไกร กล่าวมาครับ แต่ผมคิดว่า ทฤษฎีบางทฤษฎีใช้ได้ในบางบริบทและบางสถานการณ์ของเด็ก ครูจึงต้องมีความพร้อมใน ศาสตร์และศิลป์ในการสอน เรื่องรูปแบบการเรียนการสอนผมเห็นผู้ใหญ่หลายคนพูดในนานาทัศนะ แต่ก็ไม่เห้นจะทำแบบจริงๆๆจังๆๆสักที ผมคิดว่า ในปัจจุบัน เราเน้น content ในการสอนมากเกินไป เด็กเรียนแบบไม่รู้เป้าหมาย ไม่รู้แนวความคิดหลัก หรือแม้กระทั่งหลักการของวิชาเหล่านั้น ผมจึงอยากเห็น โรงเรียนที่เป้นอิสระในการบริหาร ครูอนุญาตให้เด็กนำหนังสือเข้าห้องสอบได้ เปิดหนังสือสอบ ปรึกษากันได้ในห้องสอบ ข้อสอบเน้นการคิด วิเคราะห์ สังเคราห์ และที่สำคัญที่สุดคือการนำไปใช้ เพราะในปัจจุบัน เด็กมักพูดว่า ความรู้ที่เรียนรู้ไม่เคยนำไปใช้ ทั้งๆที่บางครั้งเด็กก็ใช้มันโดยที่ไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างเช่น การเล่นกีฬากรีฑา และเชื่อมโยงความรู้ทางฟิสิกส์ .....

ขอชื่นชมครับ ขอติดตามผลงานต่อไป พันเทพ

ขอบใจมากครับพันเทพ ขอเป็นกำลังใจในการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นครูเพื่อศิษย์ครับ

คราวนี้อ.ต๋อยเขียนสิ่งที่เกิดขึ้นกับการเรียนของนักเรียนและการสอนของครูได้ถูกใจ มาก (มีหลายครั้งรู้สึกสวนกระแสกับอาจารย์) สิ่งสำคัญที่อ๋อยใช้เรียนรู้ร่วมกันกับนักเรียนตลอดเวลา 1 ปีที่ผ่านมา อ๋อยไม่ได้นึกถึงว่าจะเป็น pbl หรือไม่แต่เมื่อเราทราบองค์ประกอบของpbl แล้ว สำคัญที่เราต้องออกแบบทั้งวางแผนล่วงหน้า หรือไม่วางแผน หรือแก้ด้วยโจทย์สด เพราะเหตุการณ์ในห้องเรียนมีสื่งที่เกิดขึ้นหลายอย่าง ชนิดที่เราคาดไม่ถึง แต่ถ้าครูฝึกการแก้ปัญหา บ่อย ๆ เปิดโอกาสให้เด็กช่วยแก้ด่้วย มีที่สำหรับเสนอความคิดของเขาบ้าง เรายอมรับเขา ให้เกียรติเขา เชื่อมั่นเขา ให้เขาได้ลองทำบ้างเขาจะภูมิใจมาก ดีใจที่ได้รู้จักองค์ประกอบของ pbl เพราะทำให้เราออกแบบการสอนได้เยอะแยะ ไม่เหนื่อย เด็กสนุก ชอบการเรียนมากขึ้น ค้นหาคำตอบด้วยตัวเองได้ดีขึ้น ไม่โดดเรียน คนเก่งแบ่งปันช่วยเหลือเพื่อน และที่สำคัญรู้จักคิดในสิ่งที่ควรและไม่ควรได้ นักเรียนที่หนองเหล็ก ม1 ม 6ที่ตัวเองรับผิดชอบสอนกำลังมีพฤคิกรรมที่กล่าวมา แม้จะเกิดในปริมาณที่น้อย แต่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ทุกวัน ขอบคุณที่ได้พบทีมครูเพื่อศิษย์และอ,ต๋อย สำคัญอย่าคิดว่ามันตรงหรทอไม่ตรงกับ pbl เพราะมันเป็นอยู่แล้วในตัว สำคัญคือครูเปิดประเด็นได้โดนใจเด้กแค่ไหน เกาถูกจุดมั้็ย กล้าที่จะให้เขาเผชิญโจทย์ที่เขาสร้างขึ้นด้วยตัวเอง เราต้องอดทนรอคำตอบแรก ๆอาจช้าบ้างแต่ทำบ่อย ๆตอนนี้แย่งกันตอบเลยและตอบอย่างมีเหตุและผลมากขึ้น การเป็นครุูผู้สอนนี่ช่างวิเศษณ์จริง ๆ มีความสุขมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆคะที่ได้อยู่กับนักเรียน

รอชม บทต่อไป ที่ อ. เคยบอกว่า Filp classroom ผมก็สนใจอยู่น่ะครับ แต่คิดว่าตอนใช้เวลาในการเตรียมการนาน ผมเคยอ่านบทความใน นานาทัศนะ ของนักการศึกษาหลายท่าน มีท่านหนึ่งที่สนใจเป็นพิเศษ ท่านบอกว่า การสอบการเรียนในปัจจุบันผิด เฉพาะให้ใช้หนังสือในการเรียน ท่านกลับบอกว่า ในห้องเรียนควรสอนเฉพาะหลักการของแต่ละวิชา ส่วนในห้องสอบนั้น ควรอย่างยิ่งที่จะให้ใช้หนังสือ เพราะคำถามที่ถามจะเป็นคำถามที่ต้อง dynamic ประยุกต์ปรับเปลี่ยนไปตามบริบท น่ะครับ วิธีนี้ อาจจะคล้ายๆ pbl ในส่วนของวิธีการเพราะเป็นการโยนปัญหาลงไปในกลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาและแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง

เคยเป็นเด็กเรียนในกรอบมาก่อน..ขาดการมีส่วนร่วมตลอดมา..ดีใจที่จะได้เห็นเด็กยุคใหม่สัมผัสกับกระบวนการกลับทาง..ขอให้กำลังใจค่ะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท