ความเข้มแข็งของระบบการแพทย์ไทยก่อนไป AEC


การสร้างระบบเพื่อรองรับให้คนไทยมีหมอประจำตัว เปิดพื้นที่การทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว(Family Medicine) ให้เต็มพื้นที่เป็นทางออกที่น่าจะต้องรีบทำ ก่อนจะเปิดประเทศและระบบเต็มรูปแบบให้เพื่อนบ้านเข้ามาใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพของเรา

    ผมยอมรับว่าสนใจเรื่อง AEC น้อยมากเพราะไม่ได้เฉลียวใจว่าหนึ่งในข้อตกลงของความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน( ASEAN ECONOMIC COMMUNITY) คือการเปิดเสรีธุรกิจทางการแพทย์ด้วย มีรายละเอียดที่นี่

    จนเมื่อผมได้มีโอกาสไปร่วมเรียนรู้กับโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของมูลนิธิสัมมาชีพ มีอาจารย์ท่านหนึ่งเปิดประเด็นพูดคุยกับผม ทำให้ผมรู้สึกมีคำถามในใจว่า เรา(หมายถึงประเทศไทย)มีการเตรียมตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปถึงไหนแล้ว

    ผมเห็นแต่ข่าวการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาล(Medical Hub) ที่มีนายกรัฐมนตรีไปเปิดงานเสียใหญ่โต ตามข่าว นี้

จำได้ว่าเมื่อก่อนมีการจัดงานระบบสุขภาพชุมชนได้รับความสนใจจากผู้บริหารระดับสูงน้อยมาก เรียกว่าพูดกันเอง คุยกันเอง และก็ทำกันเอง ผมเห็นว่าปัจจุบันเมืองไทยเรามีแพทย์ไม่น้อย แต่ก็ยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้บนความขาดแคลนก็ยังมีความไม่เป็นธรรมของการกระจายตัวอีกด้วย ทราบมั๊ยครับว่าพวกหมอบ้านนอกอย่างผมดูแลรับผิดชอบประชาการ หารเฉลี่ยแล้วบางพื้นที่หมอหนึ่งคนดูประชากรเกือบ 20,000 (สองหมื่นคน) ในขณะที่เมื่อไม่นานมานี้คนระดับรัฐมนตรีบอกว่าหมอไทยต่อประชากรไม่ถึงพันคน และจะพยายามทำให้เป็น 1:500 คน ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศดูดีจริงครับ  แต่ความต่างระหว่างพื้นที่ดูหดหู่ยิ่งกว่า นี่ไม่นับรวมว่า ระบบของเรายังเป็นตัวขวางกั้นการเข้าถึงทรัพยากรที่ควรได้รับอีกด้วย มีรายละเอียดที่ต้องวิเคราะห์แลกเปลี่ยนอีกมาก ผมมีความเชื่อโดยส่วนตัวว่า การสร้างระบบเพื่อรองรับให้คนไทยมีหมอประจำตัว เปิดพื้นที่การทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว(Family Medicine) ให้เต็มพื้นที่เป็นทางออกที่น่าจะต้องรีบทำ ก่อนจะเปิดประเทศและระบบเต็มรูปแบบให้เพื่อนบ้านเข้ามาใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพของเราเหมือนกับการที่เราส่งข้าวหอมมะลิชั้นดีออกขายต่างประเทศโดยที่คนไทยไม่มีโอกาสได้ลิ้มลองและเราได้แต่นั่งมองด้วยความทุกข์ ฝากถึงมูลนิธิสัมมาชีพว่าการสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ก็ต้องพิจารณาอาชีพแบบนี้ของคนไทยด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 500954เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2012 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2012 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การเปิดเสรีธุรกิจทางการแพทย์ .... น่าเป็นห่วงมากค่ะ ... เรา กับ มหาอำนาจ อย่าง "จีน"...แล้วอะไรจะตามมา...โอ้ไม่อยากคิด?????

 แล้วเราจะเตรียมตัวกันอย่างไรดีครับ อาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท