แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ..... เล่าสู่กันฟัง


     ตามสื่อต่างๆ จะมีการเล่าเรื่อง เล่าข่าว ผ่านคอลัมน์ดังๆในสื่อสิ่งพิมพ์ หรือรายการดังๆตามสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ  

     อยากให้บล๊อกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ..... เล่าสู่กันฟังนี้ เป็นเวทีที่ทุกท่านได้เล่าประสบการณ์ที่ได้ไปสัมผัสมา เพื่อให้เกิดบรรยายกาศของการแชร์ความรู้ร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 50089เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เมื่อวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2549 ได้มีโอกาสเข้าร่วมการสัมมนา เรื่อง e-learning เพื่อการศึกษาแห่งประเทศไทย กิจกรรมหนึ่งใน University Fair 2006 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ขออนุญาต แลกเปลี่ยนเรียนรู้... เล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นประโยชน์ แก่ผู้สนใจดังนี้1.      จากการได้รับฟังการบรรยายโดยวิทยากรจากประเทศ เกาหลี สิงคโปร์ ญี่ปุ่น Thai Cyber University  รวมทั้งการบรรยายจากท่านเลขาธิการ สกอ. (ศ. พิเศษ  ภาวิช ทองโรจน์)  ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการนำ e-learning มาใช้เพื่อพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเกาหลี ซึ่งได้เตรียมการให้มีความพร้อมอย่างมากและตั้งเป้าจะใช้ทั้งประเทศ ในปี  2008  (รายละเอียดการสัมมนาและ slide ประกอบการบรรยายที่ www.thaicyberu.go.th)2.             การบริหารจัดการ e-leaning ต้องเกี่ยวข้องกับคณาจารย์ผู้สอนและบุคลากร/ปัจจัยเกื้อหนุนสนับสนุนด้าน IT ซึ่งขณะนี้ทาง Thai Cyber U. (TCU) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ สกอ. ได้เริ่มสนับสนุนแนะนำด้านการจัดทำ LMS เพื่อบริหารจัดการ Coursewares ต่างๆ และ e-book ที่คณาจารย์สามารถสมัครเข้าใช้บริการผ่านการลงทะเบียนสมาชิก รวมทั้งการ download โปรแกรมได้ที่ web ของ TCU ข้างต้น3.             ในส่วนของระบบ KC ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งคณาจารย์หลายท่านเข้าไปใช้งาน ได้รับการยอมรับเป็น LMS ต้นแบบ ต่อไปคาดว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันทุกสถาบันผ่าน TCU.4.                   ในการสัมมนาได้มีการนำเสนอ Best Practice จากโรงเรียน  เช่นการจัดทำระบบ MIS  เพื่อการบริหารโรงเรียน   การดำเนินการคล้ายๆกับที่คณะฯกำลังดำเนินการอยู่ โดยเริ่มจากการทำ System Analysis ผ่านการสำรวจข้อมูลผู้ใช้  วางระบบ และพัฒนาโปรแกรมเพื่อจัดทำระบบ MIS ที่สมบูรณ์และสามารถใช้งานเต็มรูปแบบ   ศูนย์ผลิตสื่อการเรียนการสอนและการบริการด้าน IT  รวมทั้งการบูรณาการ ICT ในการเรียนการสอน  โรงเรียนได้สร้างบรรยกาศการเรียนรู้ที่ดีมาก และพัฒนาส่วนนี้ไปไกลมาก นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่าน สื่อ/ web/internet  5.    ในส่วนงานที่รับผิดชอบ ด้านการจัดการเรียนการสอน เห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ e-learning  ทั้งนี้ปัญหาเร่งด่วนคงเป็นเรื่องของการเพิ่มการผลิตบัณฑิตและการไม่เข้าชั้นเรียนของนักศึกษา  โดยสามารถดำเนินการดังนี้- จัดกิจกรรมแนะนำคณาจารย์ในการจัดทำบทเรียน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิธีการสอน การถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์กับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง   ซึ่งในส่วนนี้คงสามารถดำเนินการได้เลย   เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการนำข้อมูลขึ้น web คณะฯ  อาจแนะนำให้คณาจารย์สร้าง coursewares ผ่าน KC ของ มช. หรือ LMS ของ TCU- ในส่วนของการบริการด้านการผลิตสื่อการสอน  ในปัจจุบันหลายแห่งได้ปรับเปลี่ยนจาก       ตำรา เป็น e-book  และเปลี่ยนจาก  Cassette/ TV/ VDO/ DVD  เป็น web-based/ internet based เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นและหาองค์ความรู้ได้นอกห้องเรียนมากขึ้น  ในส่วนนี้คงต้องหารือเชิงนโยบายของคณะฯ ซึ่งอาจรวมถึง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างในงานต่างๆ  รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณให้สอดรับในส่วนนี้ด้วย

 

ระหว่างวันที่  22-23 สิงหาคม 2549   ได้มีโอกาสเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการสภาคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ  ที่โรงแรมอิมพีเรียลธาราแม่ฮ่องสอน  โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย/คณะ คณาจารย์และผู้รับผิดชอบหลักสูตรบัณฑิตศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และเอกชนเอกชน  จำนวนประมาณ 100  คน จึงขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ... เล่าสู่กันฟัง ดังนี้

 
ปาฐกถาพิเศษ   การพัฒนาบัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศโดย     ศาสตราจารย์ ดร. เทียนฉาย กีระนันทน์         รองประธานกรรมการคณะกรรมการการอุดมศึกษาสรุป   บทบาทของบัณฑิตศึกษา เสาะแสวงหาความรู้ (research)  เผยแพร่ความรู้ (presentation/ publication)  เป็นแหล่งอ้างอิง (source of references)  รวมทั้งสร้างและรักษาคนดีปราชญ์ของแผ่นดิน          ปัจจุบันมีพัฒนาการในการจัดการศึกษาบัณฑิตศึกษาหลายรูปแบบ มีการแสวงหาความรู้ผ่านการจัดหลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้า (Honors program) หลักสูตรปริญญาควบ (ตรี-โท-เอก ตรี-เอก)  ประกาศนียบัตรบัณฑิต ประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง  การฝึกอบรมวิชาชีพ/หลังปริญญาเอก (post doctoral)  บางหลักสูตรมีการสร้างความรู้แต่ไม่เกิดองค์ความรู้ การเป็นแหล่งอ้างอิงและการรักษาคนดีมีแนวโน้มน้อยลง มี                  ข้อสังเกตในส่วนของการบริหารจัดการหลักสูตร เช่น สภามหาวิทยาลัยของแต่ละสถาบันอนุมัติหลักสูตรเอง และเสนอสกอ. เพื่อทราบ  ใครรับผิดชอบ  มีการจัดหลักสูตรปริญญาโท แผน ข ภาคพิเศษ มากขึ้น  มีการเรียนการสอนกระบวนวิชาเบื้องต้น (Introduction to …..) ในบางหลักสูตร   ปริมาณ VS คุณภาพ            การพัฒนาบัณฑิตศึกษา ควรเน้นการสร้างองค์ความรู้  พัฒนาความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ การกระตือรือล้น และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญของงานวิจัยโดยถือว่าบัณฑิตศึกษาเป็นสินทรัพย์ของการวิจัย  ควรจัดให้มีระบบ TA & RA แทนการให้ทุนเล่าเรียน  หลักสูตรควรพัฒนาความพร้อมด้านอาจารย์ ปัจจัยเกื้อหนุนอื่น พัฒนาห้องสมุดและแหล่งสืบค้น  รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการผลิตบัณฑิต 
บรรยายพิเศษ   ทิศทางการบริหารจัดการบัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศโดย      ศาสตราจารย์ ดร. เมธี ครองแก้ว  คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์สรุป    การจัดการศึกษาทุกระดับต้องคำนึงถึง Demand side /Supply side           ผู้เรียน  ต้องการเพิ่มความรู้/ทักษะ  เปลี่ยนเรียนรู้สาขาใหม่  เพิ่มรายได้           สาขาที่ผู้เรียนต้องการ :  ตามพฤติกรรมและจิตวิทยา  ลงทุนตามความต้องการของตลาด การคาดการณ์และความเสี่ยงในการทำงาน รายได้และสถานภาพทางการเงินของครอบครัว         สถาบันผู้ผลิต/หลักสูตร  :  ต้องการขยายโอกาสทางธุรกิจ/การบริการวิชาการ  เพิ่มองค์ความรู้ ทักษะ ขุมปัญญา ต้องการ/แข่งขันการสนับสนุนงบประมาณ  สนองตอบความต้องการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ/พัฒนาประเทศ  มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ           สถานการณ์ณ์ปัจจุบัน Demand side /Supply side อยู่ต่างระดับ ทำให้เกิดปัญหาระดับประเทศ คนเรียน basic science มีน้อย ทำให้เป็นจุดอ่อนของการแข่งขันและความสามารถในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งมีผลต่อความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ  คนเรียน social science มีมาก ทำให้เกิดจุดอ่อนของการทำงานหนักและการตาม ขาดผู้นำในทุกระดับ          ทิศทางการจัดการศึกษาบัณฑิตศึกษา ต้องศึกษานโยบายของรัฐในการสนับสนุนการจัดการศึกษา แนวโน้มปัจจุบันจะสนับสนุนระดับอาชีวศึกษามากขึ้น  แต่ละสถาบันต้องพัฒนาศักยภาพของอาจารย์  เน้นการมีคุณภาพ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ รวมทั้งทุ่มเทด้านการวิจัยและสร้างผลงานให้ปรากฏ  ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตและศักยภาพของผู้เรียนด้วย 
บรรยายพิเศษ   บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศโดย        ดร. พีรพันธุ์ พาลุสุข  ผู้ช่วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสรุป          แนวทางการดำเนินการบัณฑิตศึกษาของแต่ละสถาบัน                 ศึกษาทิศทางการพัฒนาประเทศจาก นโยบายของรัฐ  แผนพัฒนาฯ ระยะที่ 10 นโยบายอุดมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ/สกอ. ทบทวนบทบาทและขอบข่ายการจัดการศึกษาของสถาบัน : ผลิตกำลังคนตามความต้องการ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน-    พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการและทิศทางการพัฒนาประเทศ (สาขาเป็นที่ต้องการเร่งด่วน สาขาขาดแคลน-    ปฏิรูปการเรียนการสอนให้เป็น R&D เน้นการปฏิบัติจริง โดยวางแผนการจัดการศึกษาโดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคการผลิตและสถานประกอบการ-    เน้นคุณภาพบัณฑิตให้เป็นมาตรฐานสากล สามารถเป็นกลไกในการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ-    สร้างนักวิจัยมืออาชีพในสถาบัน สร้างงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ในสาขาที่มีความเชี่ยวชาญและมีความเป็นเลิศ รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณสำหรับการสร้างงานวิจัยให้แก่นักศึกษา-    สร้างระบบติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อการสร้างระบบการประกันคุณภาพที่เป็นวัฒนธรรมขององค์กร               แนวทางการพัฒนาบัณฑิตศึกษาให้มีมาตรฐาน           ดึงดูดและรักษาคณาจารย์ที่มีคุณภาพ  พัฒนาคณาจารย์และแลกเปลี่ยนคณาจารย์ขยายการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สร้างสมดุลระหว่างมาตรฐานสากลกับความต้องการของท้องถิ่น  ให้มีความอิสระและเสรีภาพทางวิชาการ  สร้างผู้นำที่มีความสามารถสูง

ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการสำรวจและจัดทำข้อมูลสารสนเทศ

 
อภิปรายร่วม  การดำเนินการของ สภาคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (สคบท).โดย  รศ. ดร. วินัย อาจคงหาญ  คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ประธาน สคบท.ผศ. ดร. สมศักดิ์  ดำริชอบ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต  เลขาธิการ สคบท.สรุป  สคบท. รับที่จะดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลนักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่สำเร็จการศึกษา รวมทั้งฐานข้อมูลคณาจารย์และความเชี่ยวชาญ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ตลอดจนการจัดกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการสอบวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
              นอกจากนี้ยังมีการบรรยายพิเศษ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยนายดิเรก ก้อนกลีบ  ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน  และการอภิปรายร่วม โดย ดร. จำรูญ คำนวณตา กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่  นายต่อบุญ พ่วงมหา  ผู้บริหารบริษัทเอ็มเวป ประเทศไทยจำกัน ดำเนินรายการโดย ผศ. ดร. ประยุทธ วาศ์แปง คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ 
วันนี้  14 กันยายน 2549  ช่วงเช้า  ได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาเรื่อง การจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการในระดับอุดมศึกษา จัดโดย โครงการศูนย์วิจัยและบริการการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   จึงขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ...... เล่าสู่กันฟัง แก่ผู้สนใจทุกท่าน ดังนี้              ในการสัมมนาครั้งนี้ เริ่มต้นด้วยการบรรยายนำ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เบญจา ชลธาร์นนท์ ผู้ตรวจการกระทรวงศึกษาธิการ  ท่านได้กล่าวนำด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540  รวมทั้งพ.ร.บ. การศึกษา พ.ศ. 2542  ซึ่งได้ระบุชัดเจน ถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่จะได้พึงได้รับอย่างเท่าเทียมกัน  ท่านยังได้กล่าวถึง     การจัดการศึกษา ตามแนวทางของ UNESCO (4A) ดังนี้

      การจัดการศึกษาให้ทั่วถึงและให้เปล่า (Availability) 

      การจัดการศึกษาที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Accessability)

      การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับ (Acceptability)

      การจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับผู้เรียน (Adeptability) ถึงตรงนี้ทำให้ฉุกคิดในใจ ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งที่อยู่ในสถาบันการศึกษา ซึ่งจะต้องมีหน้าที่ช่วยกันบริหารจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส  ไม่ว่าจะทางร่างกาย ความคิด สติปัญญา  ได้รับโอกาสในเรียนรู้และพัฒนาตนเอง                ในส่วนของสถาบันการศึกษาทุกระดับ  ท่านได้แนะนำให้แต่ละสถาบันบริหารจัดการในส่วนนี้ โดยเริ่มจากนโยบาย วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน รวมทั้งการกำหนดบทบาทหน้าที่สำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง   ซึ่งในส่วนที่รับทราบจากการสัมมนาครั้งนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดนโยบายและมีการดำเนินการแล้วบางส่วน เช่น การจัดตั้งโครงการศูนย์วิจัยและการบริการการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มีการเปิดหลักสูตร  สาขาวิชากายภาพบำบัด/กิจกรรมบำบัด ระดับบัณฑิตศึกษา   คณะศึกษาศาสตร์  โดยได้รับงบประมาณทุนสนับสนุนการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับผู้พิการจากจังหวัดในภาคเหนือตอนบน  สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป  คงเป็นการจัดระบบบริหารจัดการเพื่อดูแลนักศึกษาพิเศษ  (Disability Support Service Center, DSSC)  โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  เช่น ห้องสมุด  IT สภาพทางกายภาพของที่เรียน   ทั้งสถานที่/โสตทัศนูปกรณื สื่อการเรียนการสอน รวมทั้งรูปแบบและวิธีการสอนที่จะเอื้อต่อนักศึกษากลุ่มนี้ ซึ่งขณะนี้ยังมีไม่มากในมหาวิทยาลัย แต่ต่อไปจะมีมากขึ้น                 ในการสัมมนาครั้งนี้ ได้รับฟัง ความคิดเห็นของนักศึกษาพิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในกลุ่มคณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งคณะวิจิตรศิลป์  ส่วนใหญ่คณะจะจัดให้มี Buddy ช่วยดูแลช่วยเหลือทั้งด้านการเรียน ความเป็นอยู่ ตลอดจนเป็นล่ามไปในตัว   ที่สำคัญนักศึกษากลุ่มนี้ต้องเรียนหมวดศึกษาทั่วไปในส่วนของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์ (SC 100 Math 100  ฯลฯ) ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องการเรียน รวมถึงวิธีการสอนของอาจารย์ ความพร้อมของสื่อการสอน หนังสือ ตำรา ฯลฯ ทั้งนี้จะได้นำหารือในกรรมการประจำคณะฯต่อไป

ขอบคุณครับ โลกข้างนอกกำลังเติมหลากหลายวิธีเข้ามา โลกข้างในต้องปรับตัวและเปิดใจกว้างที่จะเรียนรู้มากๆครับ

มีใครสงสัยไหมว่า เขาคิดกันเร็ว หรือเราคิดกันช้า ...หมายถึง inertia อื่นๆนะครับไม่ใช่แค่ความคิด คล้ายว่า สมองไปแต่องคพายศอื่นมันหนักเลยหน่วงไปทั้งหมด

ยังต้องช่วยเร่งกันต่อไปครับ

ขอเรียนผู้สนใจว่า ได้ย้ายคอลัมภ์ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้... เล่าสู่กันฟัง" ไปเป็นบล๊อกใหม่ในชื่อเดิมแล้ว เชิญติดตามตอนต่อไป

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท