เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

ดาบสองคมของการใช้ภาษา


การสื่อสารเป็นช่องทางหนึ่งของการใช้อำนาจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นแนวคิดอย่างหนึ่งของหลักวิชารัฐศาสตร์หนึ่งในแนวความคิดที่ว่านี้คือการใช้ภาษา

          ภาษาใช้ไม่ดีคืออาวุธร้าย

      ภาษาต่างประทเศที่เราร่ำเรียนกันมานั้นใช้ว่าจะมีเฉพาะด้านบวกเท่านั้นหากว่าเราไม่รู้จักใช้มัน มันก็จะเกิดผลในทางลบเช่นกัน เพราะฉะนั้นการศึกษาที่มาที่ไปของภาษาจึงมีผลทำให้ทราบที่มาของตัวภาษา เช่นคำว่า vulgar tongue คำนี้ถูกบัญญัติขึ้นในยุคที่ภาษาละตินถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาในยุโรป คนที่เข้ารับการศึกษาจะต้องเรียนรู้จนทำให้ภาษาพื้นเมืองของยุโรปในอังกฤษ ฝรั่งเศลและเยอรมันถูกตีตราว่าเป็น vulgar tongue หรือภาษาระดับล่าง จึงเห็นได้ว่าคำๆนี้ถูกภาษาที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์กว่าบัญญัติขึ้นมาตีตราลดค่าภาษาพื้นเมือง

     เราไม่รู้ว่าคนพื้นเมืองอังกฤษ ฝรั่งเศลและเยอรมันในยุคนั้นรู้สึกอย่างไรที่ภาษาของตนถูกกำหนดและตีค่าด้วยคำว่า vulgar tongue แต่สำหรับคนในยุคนี้ที่พรั่งพร้อมด้วยเครื่องมือสื่อสารอันทรงประสิทธิภาพในการเข้าถึงคนหมู่มากภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว คงรับไม่ได้ ถ้าภาษาและวัฒนธรรมหรือเอกลักษณ์ของตนถูกตีตราลดชั้นผ่านทางอำนาจจากถ้อยคำภาษาในกระบวนการสื่อสาร การใช้จิตใจควบคุมดูแลการใช้ภาษาเพื่อพาดพิงการกล่าวถึงซึ่งกันและกันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในสังคมยุคนี้เพราะในสังคมปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเหล่านี้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ่น และบางครั้งความร่วมมืออาจแปรเปลี่ยนเป็นความขัดแย้งได้ถ้าการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องเพราะมันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้

     ตัวอย่างเช่น คำว่า

          ผู้ที่ถูกกระทำชำเราทางเพศ เราจะใช้คำว่า ผู้นั้นถูก raped หรือ sexually abused

         คนใช้ยาเสพติดจะใช้คำว่า drug addict หรือ drug victim

       กลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนาจะใช้คำว่า extremist หรือ fundamentalist

        คำเหล่านี้ล้วนเป็นข้อถกเถียงว่าคำใดเป็นคำที่เหมาะสม คำใดที่ทำให้ผู้ที่ถูกพาดพิงถึงถูกตราบาป  กรณีเชื้อชาติสีผิวในอเมริกาเห็นได้ชัดเจนว่า คำว่า negro หรือ คำว่า black ถูกตัดทิ้งในวงการสื่อสารมวลชน แต่หันมาใช้แหล่งที่ของพวกเขาแทน คือคำว่า Afo-American หรือคำว่าprostitute ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับผู้ทำอาชีพนี้เพราะเป็นคำที่มีลักษณะเหยียดหยามดูถูกดูแคลน แต่พอยอมรับได้กับคำว่า sex-worker ในขณะที่องค์กรที่ดูแลปัญหาแรงงานอพยพข้ามพรมแดนนิยมให้เรียกพวกแรงงานเหล่านี้ว่า migrant worker มากกว่า alien worker และนอกจากนี้ในระดับประเทศนักวิชาการบางท่านไม่เห็นด้วยกับการใช้คำว่า first world และ third world  เพื่อแบ่งแยกระดับประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนาเพราะมองว่าเป็นการแบ่งชนชั้นที่ไม่เหมาะสม

       คนหลายกลุ่มที่อยู่ในสังคมเดียวกัน ล้วนต่างฐานะ อาชีพ วัย การศึกษา ศาสนา ชาติพันธุ์ สภาพความเป็นอยู่ จึงเป็นสิ่งที่เราจะต้องตระหนัก เพื่อจะได้ไม่ใช้ภาษาเป็นอาวุธในการทำร้ายซึ่งกันและกัน

      หรือกรณีของผู้ป่วยโรคเอดส์และติดเชื้อเอชไอวีโดยที่ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีนโยบายรณรงค์ป้องกันช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ ประเด็นคือ นอกจากเชื้อโรคร้ายแรงที่ทำลายล้างชีวิตของพวกเขาแล้ว เราจะใช้ภาษาสื่อสารอย่างไรเพื่อที่ไม่เป็นการซ้ำเติมบุคคลเหล่านั้น

       ด้วยเหตุนี้เองโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติถึงกับการกำหนดนโยบายการใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อให้เกียรติและเคารพผู้ติดเชื้อ เช่น ไม่ควรใช้คำว่า victim หรือ sufferer แต่ควรใช้คำว่า people living with HIV  หรือ people -living with AIDS และนอกจากนี้ยังมีการเสนอให้ใช้คำว่า stiuation of risk แทน risk of behaviour หรือ risk group

       และตอนนี้เชื่อกันว่าหลายคนคงตระหนักแล้วว่าภาษานั้นมีอิทธิพลมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าบางทีมันอาจจะกลายเป็นดาบหันกลับมาทำลายเราก็ได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 50088เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ มีคุณค่าค่ะ

ขอบคุณทุกคนเหมือนกันคะที่เข้ามาแวะทักทายคุยกัน

 

เข้ามารับความรู้ด้วยจ้า...

ขอชมว่ารูปสวยจัง....อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท