รักเรา รักโลก


วิกฤตโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน คือ ปัญหาก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญที่มนุษย์โลกทุกคนควรตระหนักถึง บางคนอาจจะคิดว่าก็เป็นแค่ภาวะที่อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น คงไม่มีอะไรร้ายแรง แต่คุณทราบหรือไม่ว่า ในปี 2003 มีคนเสียชีวิตเพราะทนความร้อนไม่ได้กว่า 30,000 ชีวิตด้วยกัน นอกจากนั้น ภาวะโลกร้อนนี้ยังส่งผลกับสิ่งแวดล้อมทั่วทั้งโลกอีกมากมายเราอาจจะไม่ทราบว่า ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุและปัจจัยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานต่างๆในชีวิตประจำวัน การดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ ซึ่งในการกระทำต่างๆเหล่านั้นมันส่งผลกระทบต่อโลกเรา เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคลอรีน ฯลฯ มันจะไปก่อตัวเป็นชั้นแผ่นฟิมล์บางๆ มาห่อหุ้มโลกเราเอาไว้ และทำลายชั้นโอโซนของเราให้ลดน้อยลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในปัจจุบันนี้

โลกกำลังเผชิญกับปัญหาที่ชั้นบรรยากาศของโลกกลับหนาขึ้น  เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่มนุษย์เป็นผู้ก่อ  เมื่อชั้นบรรยากาศหนาขึ้น  จะกักเก็บรังสีอินฟราเรดซึ่งควรจะหลุดลอดไปสู่ห้วงอวกาศ  ผลที่ตามมา  คืออุณหภูมิของบรรยากาศโลก  และมหาสมุทร  กลับอุ่นขึ้นจนอยู่ในระดับอันตราย   ภาวะโลกร้อนส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น  โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2538 – 2549 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ตั้งแต่  พ.ศ. 2539  และเกิดเหตุการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายระดับน้ำทะเลสูงขึ้น  รวมทั้งเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลก  เช่น  เฮอริเคน  ไต้ฝุ่น  โคลนถล่ม  ภัยแล้ง  และน้ำท่วม  ในทั่วภูมิภาคเอเชียและอเมริกากลาง  ในขณะที่ทวีปยุโรปต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวของกลไกธรรมชาติของโลกที่นับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้น  ปัจจุบันการรับรู้และทัศนคติของสาธารณชนในความห่วงใยต่อสาเหตุและความสำคัญของปรากฏการณ์โลกร้อนมีมากขึ้น  และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ชาติต่าง ๆ รวมทั้งชุมชนและองค์การในภูมิภาคต่าง ๆ เริ่มปฏิบัติการเพื่อหยุดการร้อนขึ้นของโลก

            นอกจากนี้  ประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาใหม่ (nowly developed economies) อย่างประเทศจีนและอินเดีย  ว่าควรบังคับระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าใด  โดยมีการคาดกันว่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมของประเทศจีนจะสูงกว่าอัตราการปล่อยของสหรัฐฯ ภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ สถานการณ์ภาวะโลกร้อน  ทำให้เกิดความแปรปรวนของภูมิอากาศ  ฤดูกาล  และปริมาณน้ำฝน  ล้วนมีผลกระทบต่อประเทศไทยไม่ต่างจากประเทศอื่น ๆ ในโลก  โดยสังเกตได้จากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีทั้งภัยแล้ง  พายุ  และน้ำท่วม  ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เห็นได้ชัดเจนในระยะสั้นแก่ประเทศไทยได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก  โดยผลกระทบดังกล่าว  อาจส่งผลต่อสถานะของไทยในการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรอันดับต้นของโลก  รวมถึงการส่งเสริมยุทธศาสตร์การค้าครัวไทยสู่ครัวโลก           

 

ภาวะโลกร้อนคืออะไร

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เกิดจากการที่ก๊าซที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศของโลกเพิ่มขึ้นมาก จนความร้อนที่ดวงอาทิตย์ส่งออกมาไม่สามารถสะท้อนกลับออกไปได้ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงเพิ่มขึ้น โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนี้ ก็คือมนุษย์นั่นเอง มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และ คลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไป พร้อมๆ กับการที่ตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของภาวะโลกร้อน

            ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง  แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้

            ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก พลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีทั้งรังสีคลื่นสั้นและคลื่นยาว บรรยากาศของโลกทำหน้าที่ปกป้องรังสีคลื่นสั้นไม่ให้ลงมาทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกได้ โมเลกุลของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศชั้นบนสุดจะดูดกลืนรังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์จนทำให้อะตอมของก๊าซในบรรยากาศชั้นบนมีอุณหภูมิสูง และแตกตัวเป็นประจุ (บางครั้งเราเรียกชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยประจุนี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์ มีประโยชน์ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสำหรับการสื่อสาร) รังสีอุลตร้าไวโอเล็ตสามารถส่องผ่านบรรยากาศชั้นบนลงมา แต่ถูกดูดกลืนโดยก๊าซโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ที่ระยะสูงประมาณ 19 - 48 กิโลเมตร แสงแดดหรือแสงที่ตามองเห็นสามารถส่องลงมาถึงพื้นโลก รังสีอินฟราเรดถูกดูดกลืนโดยก๊าซเรือนกระจก เช่น ไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นโทรโปสเฟียร์ ส่วนคลื่นไมโครเวฟและคลื่นวิทยุในบางความถี่สามารถส่องทะลุชั้นบรรยากาศได้ สำหรับ บรรยากาศของโลกประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจน 78% ก๊าซออกซิเจน 21% ก๊าซอาร์กอน 0.9% นอกนั้นเป็นไอน้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนเล็กน้อย แม้ว่าไนโตรเจน ออกซิเจน และอาร์กอนจะเป็นองค์ประกอบหลักของบรรยากาศ แต่ก็มิได้มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิของโลก ในทางตรงกันข้ามก๊าซโมเลกุลใหญ่ เช่น ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน แม้จะมีอยู่ในบรรยากาศเพียงเล็กน้อย กลับมีความสามารถในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด และมีอิทธิพลทำให้อุณหภูมิของโลกอบอุ่น เราเรียกก๊าซพวกนี้ว่า "ก๊าซเรือนกระจก" (Greenhouse gas) เนื่องจากคุณสมบัติในการเก็บกักความร้อน หากปราศจากก๊าซเรือนกระจกแล้ว พื้นผิวโลกจะมีอุณหภูมิเพียง -18 องศาเซลเซียส ซึ่งนั่นก็หมายความว่าน้ำทั้งหมดบนโลกนี้จะกลายเป็นน้ำแข็ง

           

ปัจจุบันการรับรู้และทัศนคติของสาธารณชนในความห่วงใยต่อสาเหตุและความสำคัญของปรากฏการณ์โลกร้อนมีมากขึ้น  และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ชาติต่าง ๆ รวมทั้งชุมชนและองค์การในภูมิภาคต่าง ๆ เริ่มปฏิบัติการเพื่อหยุดการร้อนขึ้นของโลก  

 

สภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงตลอดประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาสำหรับเหตุผลธรรมชาติหลายอย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงในการใช้พลังงานของดวงอาทิตย์ที่ได้รับจากโลกที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงวงโคจรช้าหรือการเปลี่ยนแปลงในพลังงานดวงอาทิตย์ที่จะถึงพื้นผิวโลกเนื่องจากการระเบิดของภูเขาไฟ ในทศวรรษที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมนุษย์มากขึ้นสภาพภูมิอากาศท้องถิ่นภูมิภาคและระดับโลกโดยการเปลี่ยนกระแสของพลังงานรังสีและน้ำผ่านระบบโลก (ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิลมฝน ฯลฯ ) ซึ่งประกอบด้วยบรรยากาศพื้นแผ่นดิน น้ำแข็งพืช, มหาสมุทร, น้ำแข็งที่ดินและน้ำทะเล ที่จริงหลักฐานเชิงแข็งแกร่งและผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการสร้างแบบจำลองอย่างน้อยกว่า 50 ปีที่ผ่านกิจกรรมของมนุษย์เป็นผู้บริจาครายใหญ่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  

ปรากฏการณ์เรือนกระจกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอุณหภูมิของโลกเริ่มก่อตัวขึ้นจากดวงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลก แล้วอุณหภูมิที่มากลับแสงอาทิตย์ประมาณ 30% จะถูกสะท้อนกลับออกไปสู่อวกาศด้วยพื้นผิวของโลกที่มันวาว เช่น น้ำแข็งและก้อนเมฆ 70% ที่เหลือจะถูกโดซับไว้บนพื้นดินและมหาสมุทร ในขณะที่ส่วนที่เหลือจะถูกดูดซับโดยชั้นบรรยากาศ เพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับโลกเช่นเดียวกับความร้อน หิน อากาศ และทะเล ที่จะปล่อยพลังงานความร้อนในรูปแบบของรังสีอินฟาเรด จากพื้นผิว พลังงานนี้จะเดินทางไปยังชั้นบรรยากาศและจะดูดซับไว้ด้วยไอน้ำ และสารที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกเช่น ก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ และ

ก๊าซมีเทน  เมื่อสิ่งเหล่านี้ดูดซับพลังงานที่แผ่ออกมาจากพื้นผิวโลก น้ำ หรือ โมเลกุลของก๊าซเรือนกระจก จะแปรสภาพเป็นความร้อน เหมือนกับก้อนอิฐในปล่องไฟ ที่แพร่กระจายความร้อนอยู่ตลอดแม้ว่าประกายไฟจะหายไปหมดแล้ว อิฐเหล่านี้จะแผ่ความร้อนไปทุกทิศทาง พลังงานที่ถูกแผ่ออกมาที่โลกจะให้ความร้อนต่อชั้นบรรยากาศด้านล่างและพื้นผิว ด้วยการแปรสภาพความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยตรง 

การดูดซับ และการแผ่ความร้อนแบบโดยชั้นบรรยากาศ คือปรากฏการณ์เรือนกระจกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะส่งผลดีต่อโลก หากไม่มีปรากฏการณ์เรือนกระจก อุณหภูมิของลูกจะต่ำมากๆ อยู่ที่ ติดลบ 18 องศาเซลเซียส หรือ 0 องศาฟาเรนไฮต์ แทนที่จะเป็นอุณหภูมิพอเหมาะที่ 15 องศาเซลเซียส หรือ 59 องศาฟาเรนไฮต์ ที่เป็นอยู่ในยุคปัจจุบัน 

ปรากฏการณ์เรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่บรรดานักวิทยาศาสตร์กำลังกังวลอยู่ในตอนนี้คือ ในช่วง 250 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างมหาศาล เช่นการเผาผลาญเชื้อเพลิงจากฟอสซิล รวมทั้งการตัดไม่ทำลายป่า ที่เป็นตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนได อ๊อกไซด์ที่ดีอีกด้วย นับจากที่การปฏิวัติระบบอุตสาหกรรมที่เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1750 ระดับของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สูงขึ้นถึง 38% เมื่อปี ค.ศ. 2009 ในขณะที่ระดับก๊าซมีเทน สูงขึ้นถึง 148 เปอร์เซนต์ ชั้นบรรยากาศในยุคปัจจุบัน มีโมเลกุลของก๊าซเรือนกระจกสูงขึ้น ในขณะที่รังสีความร้อนที่ถูกปล่อยจากพื้นผิวจะถูกดูดซับโดยชั้นบรรยากาศ ตั้งแต่ช่วงที่พลังงานบางส่วนย้อนกลับไปสู่พื้นผิว อุณหภูมิบนพื้นผิวที่สูงขึ้นโดย การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก เรากำลังทำให้ชั้นบรรยากาศมีความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น


 

                                                                         


 

คำสำคัญ (Tags): #วิกฤตโลกร้อน
หมายเลขบันทึก: 500717เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โลการ้อน เป็นเรื่องจริยธรรม...ขอบคุณครับ 

..หยุด..ตัวหยุดใจ..หยุด..โลกร้อน...(ยายธี)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท