สาระความรู้จากพระวินัยปิกฎ


กฎ ระเบียบ ข้อบัญญัติ แห่งความดี

                 สาระพระวินัยปิฎก

  ความหมายของวินัย

๑.  วิวิธ + นัย    =  นัยต่าง ๆ  ( ภิกขุวิภังค์ และ ภิกขุนีวิภังค์ )

๒.  วิเสส + นัย   =  นัยพิเศษ  ( อนุบัญญัติ )

๓.  วินยนโต  เจวกายวาจานัง  =  ฝึกหัดกาย  วาจา

 

 ไวพจน์ของพระวินัย

๑.  ศีล   ปกติ

๒.  พระบัญญัติ

๓.  สิกขาบท   บทที่ควรศึกษา 

         ได้แก่   ๑) มูลบัญญัติ  บัญญัติครั้งแรก 

                     ๒)อนุบัญญัติ  บัญญัติเพิ่มเติม

 

  อานิสังส์ของพระวินัย

๑)  อตฺตโน  สีลกฺขนฺโธ  สุคุตฺโต  โหติ  สุรกฺขิโต

      ได้รักษากองศีลของตน

๒)  กุกฺกุจฺจปกตานํ  ปฏิสรณํ  โหติ

     เป็นที่พึ่งแก่ผู้สงสัย

๓)  วิสารโท  สงฺฆมชฺเฌ  โวหรติ

       มีความองอาจกล้าพูดในที่ประชุม

๔)  ปจฺจตฺถิเก  สหธมฺเมน  สุนิคฺคหิตํ  นิคฺคณฺหาติ

      สามารถสยบผู้ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งได้ด้วยเหตุผล

๕)  สทฺธมฺมฏฺฐิติยา  ปฏิปนฺโน  โหติ

      ได้ปฏิบัติตนเพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม

       ( อ , กุ , วิ , ป , ส )

 

ขั้นตอนการบัญญัติพระวินัย

๑)     ประชุมสงฆ์

๒)    สอบถาม  ( สอบสวน )

๓)    ตำหนิ  พร้อมตรัสโทษการคลุกคลี

๔)    ตรัสประโยชน์ของการบัญญัติสิกขาบท

๕)    บัญญัติสิกขาบท

 

ประโยชน์ของการบัญญัติสิกขาบท

   ๑.  ประโยชน์สงฆ์ส่วนร่วม              ๑)  เพื่อความดีงามแห่งสงฆ์

                                                  ๒)  เพื่อความผาสุกของสงฆ์

   ๒.  ประโยชน์บุคคล                      ๑)  เพื่อขจัดคนหน้าด้าน

                                                   ๒)  เพื่อความผาสุกของผู้ทรงศีล

    ๓.  ประโยชน์แก่ชีวิตพรหมจรรย์      ๑)  เพื่อขจัดความเลวร้ายในปัจจุบัน

                                                  ๒)  เพื่อป้องกันความเลวร้ายในอนาคต

      ๔.  ประโยชน์พุทธศาสนิกชน        ๑)  เพื่อความเลื่อมใสของผู้ยังไม่เลื่อมใส

                                                   ๒)  เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้เลื่อมใสอยู่แล้ว

      ๕.  ประโยชน์พุทธศาสนา              ๑)  เพื่อความดำรงแห่งพระสัทธรรม   

                                                     ๒)  เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย  ( สังวร, ปหาน, สมถ, บัญญัติ )

 

           นิคหกรรม

คือ  มาตรการทางพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้  เพื่อให้สงฆ์ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับ  ข่ม  กำราบ  หรือลงโทษแก่ภิกษุผู้ประพฤติผิดแล้วไม่ย่อมรับผิด  หรือไม่ย่อมประพฤติกลับตนใหม่มี  ๕  ประเภท

๑.  ตัชชนียกรรม              การลงโทษด้วยการขู่   จะลงโทษนี้แก่ภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง

๒.  นิยสกรรม                 การลงโทษด้วยการให้กลับไปถือนิสัยใหม่   จะลงโทษนี้แก่ภิกษุผู้โง่เขลา

๓.  ปัพพาชนียกรรม        การลงโทษด้วยการขับไล่   จะลงโทษนี้แก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล

๔.  ปฏิสารนียกรรม         การลงโทษด้วยการให้กลับสำนึกได้   จะลงโทษนี้แก่ภิกษุผู้ด่าบริภาษคฤหัสถ์

๕.  อุกเขปนียกรรม          การลงโทษด้วยการแยกออกจากหมู่   จะลงโทษนี้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ  แต่ไม่ยอมรับ

 

          บุคคลควรไหว้

๑. บวชก่อน

๒. ภิกษุนานาสังวาส

๓. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

           บุคคลไม่ควรไหว้

๑. ผู้ที่บวชภายหลัง

๒. ผู้ยังไม่บวช

๓. ภิกษุนานาสังวาส

๔. มาตุคาม

๕. กระเทย

๖. ภิกษุอยู่ปริวาส

๗. ภิกษุชักเข้าหาอาบัติ

๘. ภิกษุประพฤติมานัต

 

        ภิกษุฉัพพัคคีย์

๑. พระปัณฑุกะ

๒. พระเมตติยะ

๓. พระโลหิตกะ

๔. พระอัสสชิ

๕. พระภุมมชกะ

๖. พระปุนัพพสุกะ

                                                                                                                                                                                                                                                                    

              ภิกษุณีฉัพพัคคีย์

๑. ถุลลนันทา

๒. สุนทรีนันทา

๓. นันทาวดี

๔. ภัททกาปิลานี

๕. นันทา

๖. จัณฑากาลี

 

             อนิยตสิกขาบท

  ๑. ที่ลับตา   ปาราชิก, สังฆาทิเสส, ปาจิตตีย์

  ๒. ที่ลับหู    สังฆาทิเสส, ปาจิตตีย์

       ผู้มีวาจาเชื่อถือได้  อุบาสก, อุบาสิกา  ที่บรรลุธรรมชั้นโสดาบันขึ้นไป

             

          ศัพท์ที่ควรรู้

อาบัติ                     โทษที่เกิดแต่การล่วงละเมิดสิกขาบท

ลหุอาบัติ                 อาบัติเบา

ครุอาบัติ                  อาบัติหนัก

ทุฏฐุลลาบัติ             อาบัติชั่วหยาบ

อทุฏฐุลลาบัติ           อาบัติไม่ชั่วหยาบ

เทสนาคามินี             อาบัติที่พ้นด้วยการแสดง

อเทสนาคามินี           อาบัติที่ไม่พ้นด้วยการแสดง

สาวเสสาบัติ             อาบัติมีส่วนเหลือ

สเตกิจฉา                 อาบัติยังพอแก้ไขได้

อเตกิจฉา                 อาบัติแก้ไขไม่ได้

สิกขา                      บทที่ควรศึกษา

สาชีพ                     สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้

อนาปัตติวาร             ข้อยกเว้นไม่ต้องอาบัติ

สมนุภาสน์                การสวดตักเตือน ๓ ครั้ง ( ด้วยญัตติจตุตถกรรม )

ปฐมาปัตติกะ             ต้องอาบัติทันทีเมื่อล่วงละเมิด

ยาวตติยะ                ต้องอาบัติต่อเมื่อยังยืนยันอยู่จนสงฆ์สวดสมนุภาสน์

                             ครบ ๓ ครั้ง  จึงปรับอาบัติสังฆาทิเสส

บทภาชนีย์              การจำแนกแยกแยะความหมายของบท

สิกขมานา               สามเณรผู้ที่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี

ปาราชิก                  ผู้พ่ายแพ้

สังฆาทิเสส             กรรมที่สงฆ์ต้องทำ

ถุลลัจจัย                 ความล่วงละเมิดที่หยาบ

นิสสัคคีย์                ทำให้สละสิ่งของ

ปาจิตตีย์                 การละเมิดอันยังกุศลให้ตก

ปาฏิเทสนีย์             พึงแสดงคืน

ทุกกฏ                     กระทำชั่ว

ทุพภาสิต                พูดไม่ดี

เภสัชช์                   น้ำนม, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย, น้ำมัน

จีวรกาล                  เวลาที่กำลังทำจีวร

อกาลจีวร                จีวรที่เกิดขึ้นนอกฤดูกาล

อติเรกจีวร               จีวรที่เป็นส่วนเกินจากไตรจีวร

อัจเจกจีวร               จีวรเร่งด่วน

อติเรกบาตร             บาตรนอกจากบาตรอธิฐาน

ปัจจุทธรณ์              ถอนคืนอธิฐานไตรจีวรชุดเก่า

วิกัปป์                     ทำให้เป็นของสองเจ้าของ   มี ๒ วิธี คือ   

                             ๑)  วิกัปต่อหน้า          ๒)  วิกัปป์ลับหลัง

อธิฐาน                    ตั้งไว้เป็นของประจำตัว

สีที่ทรงอนุญาตให้พินทุ  คือ  สีเขียว  สีคราม  สีดำคล้า

หมายเลขบันทึก: 500584เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สาระความรู้จากพระวินัยปิกฎ...มีมากมายนะคะ...เป็นความรู้ใหม่สำหรับP'Ple ... เลยนะคะ....ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณพี่เปิ้ลนะครับ

 

ยังมีอีกเยอะนะครับ  แต่ผมไม่รู้จะนำอะไรมาอธิบายดีนะครับ กลัวว่าจะเป็นเรื่องไกลตัวมากไปนะครับ (ผู้สนใจน้อยนะครับ)

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท