White lie โกหกสีขาว ผิดหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาหรือไม่


ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า White lie คือการพูดไม่จริงสีขาว ถ้าผมพูดตั้งแต่ต้นปีว่า เราคงจะขยายตัวส่งออกไม่ได้ ความไม่มั่นใจจะอยู่ในภาวะอะไร เวลานั้นใช่เวลาที่เหมาะสมที่จะพูดอย่างนั้นไหม แล้วในแง่ของความตั้งใจ ตั้งเป้า ผมก็พูดชัดเจนว่าเป้าในการทำงาน ผมก็จะทำราวกับว่าจะทำให้การส่งออกขยายตัวได้15%"

White lie โกหกสีขาว ผิดหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาหรือไม่

          อันเนื่องมาจากเหตุการณ์มีนักวิชาการทางด้านเศรษฐกิจ นักการเมืองในซีกฝ่ายค้านและมีวุฒิสภาบางท่านวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักกรณี นายกิตติรัตน์ ณ ระนองรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปาฐกถาพิเศษ "โรดแมพสู่อนาคตประเทศไทย"ในงานสัมมนา "หนึ่งปียิ่งลักษณ์กับอนาคตเศรษฐกิจไทย" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2555 มีเนื้อหาสาระดังนี้ ขณะนี้เศรษฐกิจของไทยได้ปรับเข้าสู่สมดุลมากขึ้น เพราะไม่ได้พึ่งพาการส่งออกที่ต้องขยายตัวสูงเป็นตัวเลข 2 หลักเหมือนช่วงที่ผ่านมา แต่มีการพึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ เห็นได้จากการที่สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 5.5 - 6% ต่อปี โดยคาดการณ์การส่งออกว่าจะขยายตัวเพียง 7.3% ก็สะท้อนว่า มีการพึ่งพาการส่งออกน้อยลง อย่างไรก็ดี ยอมรับว่า ปีนี้การส่งออกจะเติบโตไม่ถึง 15% ซึ่งไม่น่าแปลกใจ โดยก่อนหน้านี้การที่ตนได้ยืนยันว่าการส่งออกจะขยายตัวได้ 15%เป็นไปตามหน้าที่ ซึ่งในฐานะ รมว.คลัง และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจที่สามารถพูดไม่จริงได้ในบางเรื่องและขณะนี้ก็ตั้งเป้าให้ส่วนราชการผลักดันส่งออกให้ได้9%[1]
           "ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า White lie คือการพูดไม่จริงสีขาว ถ้าผมพูดตั้งแต่ต้นปีว่า เราคงจะขยายตัวส่งออกไม่ได้ ความไม่มั่นใจจะอยู่ในภาวะอะไร เวลานั้นใช่เวลาที่เหมาะสมที่จะพูดอย่างนั้นไหม แล้วในแง่ของความตั้งใจ ตั้งเป้า ผมก็พูดชัดเจนว่าเป้าในการทำงาน ผมก็จะทำราวกับว่าจะทำให้การส่งออกขยายตัวได้15%" 

        จากประเด็นคำพูดของนายกิตติรัตน์ ณ ระนองที่กล่าวมาในเบื้องต้นจะเห็นว่าคำพูดเพียงประโยคเดียวจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในเรื่องของการลงทุนการส่งออกเกี่ยวกับเศรษฐกิจภาพรวม ตลอดถึงความน่าเชื่อถือของทีมเศรษฐกิจและความหมั่นใจต่อการบริหารราชการทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในภาพรวมอย่างแน่นอน ก่อนอื่นผู้เขียนเห็นว่าจะต้องมาทำความเข้าใจร่วมกันกับความหมายของ คำว่า โกหก คือ การพูดไม่จริง การสร้างเรื่องเท็จที่บิดเบือนความเป็นจริง  เพื่อซ่อนหรือเลี่ยงความเป็นจริงบางอย่างไม่ให้ใครรู้ ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ได้ให้ความหมายของคำว่า [2]มุสาวาท คือ พูดเท็จ,พูดโกหก,พูดไม่จริงจากคำพูดของนายกิตติรัตน์ ณ ระนองถ้านำมาวิเคราะห์กับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ว่าคำพูดโกหกถึงแม้ว่าจะไม่มีเจตนาร้าย หรือพูดไปมีแต่ความปรารถนาดีต่อเศรษฐกิจของประเทศก็ตามผลของการพูดเท็จหรือโกหกสีขาวนั้นมันมีผลสำเร็จเรียบร้อยแล้วก็คือการกระทำ(กรรม) ที่ส่อเจตนา นั่นคือ ผิดศีลธรรมและคุณธรรมตลอดถึงจริยธรรมของนักการเมือง

       กล่าวโดยสรุป ประเด็นที่เกิดขึ้นต่อนักการเมืองไทยในการแสดงความคิดความเห็นในที่สาธารณะ หรือต่อสื่อสารมวลชนต่าง ๆ จะต้องตระหนักสังวรหรือระมัดระวังคำพูดในการนำเสนอแต่ละครั้ง เพราะว่าคำพูดของนักการเมืองถ้าพูดออกไปแล้วถือว่าเป็นนายของตัวเองจะต้องรับผิดชอบต่อคำพูดนั้น ๆ เพราะว่านักการเมืองเป็นบุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน ประชาชนมีความเชื่อถือ ศรัทธาในคำพูดของนักการเมืองที่ให้สัญญาไว้ในช่วงหาเสียง ถ้าพูดหรือการกระทำดังกล่าวตรงกันข้ามกับความจริงคือพูดปดมดเท็จประชาชนก็จะหมดความเชื่อถือ ศรัทธาในนักการเมือง ซึ่งจะเป็นมะเร็งร้ายต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมากต่อระบอบการปกครองของไทยในอนาคต ถ้านักการเมืองไม่ปรับปรุงวิธีคิดวิธีการทำงานทางการเมืองเสียใหม่ อนาคตของลูกหลานในภายภาคหน้าคงจะหมดหวัง.



[1]ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

[2] พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.

หมายเลขบันทึก: 500414เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท