อบรมการใช้เครื่องช่วยหายใจ


เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator) หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถทำให้เกิดสภาวะการไหลของอากาศ เข้า-ออกในระบบทางเดินลมหายใจ

คกก.เครื่องมือ ได้จัดอบรมการใช้เครื่องช่วยหายใจ Bennett เป็นเครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตร (ปกติพวกเราชำนาญแต่เครื่องที่ควบคุมด้วยแรงดันเช่น Bird) เราได้เครื่องนี้มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ ราคาหลายแสนบาท ใช้งานกับผู้ป่วย ๒๑ ราย แต่ในปี ๒๕๕๕ (๗ เดือนกว่า) ยังไม่เคยได้ใช้เครื่องนี้กับผู้ป่วยเลย

คกก.เครื่องมือได้ทบทวนค้นหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรซึ่งพบว่า พยาบาลของเราขาดความชำนาญในเรื่องการใช้งานเครื่อง จึงวางแผนจัดอบรมขึ้น ตั้งเป้าไว้ว่าพยาบาลต้องเข้าทุกคน, พนักงานผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เราแบ่งออกเป็น ๒ รุ่นช่วงบ่าย

ท่านผอก.มาเปิดการอบรม และแจ้งนโยบายเกี่ยวกับการใช้เครื่อง Bennett ถ้าต้องใช้เครื่องที่ตึกใด ให้เสริมพยาบาลขึ้นมาดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ เพื่อจะได้ไม่ load งานของจนท.ในตึกนั้นๆ

คุณหมอทวีพงศ์ อายุรแพทย์ ของเราสอนการใช้เครื่อง ข้อบ่งชี้ (ส่วนใหญ่จะใช้กับผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและต้องรู้สึกตัวดี ให้ความร่วมมืออย่างดี) ข้อควรระวังต่างๆ และการตั้งการปรับเครื่อง เช่น

- ปรับตั้งค่าปริมาตรการหายใจแต่ละครั้ง VT (Tidal volume) โดยคิด 7-10 ml/kg.

- ปรับตั้งค่าอัตราการหายใจ โดยทั่วไป จะปรับไว้ที่ 10-12 ครั้ง/นาที ปกติจะตั้งอัตราส่วน I: E ประมาณ 1: 2 (ระยะเวลาหายใจเข้า: ระยะเวลาหายใจออก)

- ปรับตั้งค่าความเข้มข้นของ O2 ถ้าผู้ป่วยวิกฤตเริ่มด้วย 100% ถ้าไม่มีภาวะนี้หรือผู้ป่วย ตอบสนองดี ก็พยายามลดความเข้มข้นลงให้ต่ำกว่า 50% เพื่อป้องกันพิษของ O2 (FiO2 คือความเข้มข้นของก๊าสออกซิเจน ถ้า O2=50% จะได้ FiO2=0.5)

- ตั้งปรับค่า Airway Pressure ไม่เกิน ๔๐ ซม.น้ำ

- Minute Volume หมายถึงปรืมาตรลมหายใจเข้า-ออกจากปอดผู้ป่วยใน ๑ นาที = Tidal volume (Vt) x Respiratory Rate (RR)

** ไม่ต้องกังวลเกินไปค่ะ เพราะแพทย์จะเป็นผู้ตั้งเอง **

แต่การอบรมเรื่องนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่งกับวิสัญญีพยาบาล

เพราะเครื่อง Ventilator ของเราใช้ลักษณะเดียวกันค่ะ (ควบคุมปริมาตร)

ซึ่งงานนี้พวกเรา.. วิสัญญีพยาบาล จะเป็นผู้ตั้ง-ปรับเอง-ใช้งานทั้งหมดค่ะ


คุณเสกสิน ช่างประจำรพ.แนะนำตัวเครื่อง-ปุ่มปรับ-สาย-อุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ-การตรวจเช็ค-การ Callibrate ก่อนเริ่มใช้เครื่อง (Tihgness และการทดสอบ Flow Sensor)

คุณวาสนา หัวหน้าตึกอายุกรรมชาย สอนขั้นตอนการต่อ-ถอดอุปกรณ์ทุกชิ้นกับตัวเครื่อง กับผู้ป่วย และได้ถ่ายทำ Clip VDO การต่อ-ถอดอุปกรณ์ เพื่อเก็บไว้เปิดดูตามหน่วยงานต่างๆ (เพราะนานๆใช้ที อาจลืมได้) และวิธีการทำความสะอาดสาย Circuit, Filter, Chamber, ข้อต่อต่างๆ

คุณกาญจนา พยาบาลประจำการตึกอายุกรรมชาย สอนกิจกรรมพยาบาล การดูแลผู้ป่วยขณะใช้เครื่อง การเฝ้าระวังต่างๆ รวมถึงการบันทึกทางการพยาบาลด้วย เช่น

- ดูแลดูดเสมหะบ่อยๆ ซึ่งเราสามารถทำงานคนเดียวได้ โดยใช้เครื่องช่วยใน Mode Manual Breathing (อาจจำเป็นต้องพ่นยา กรณีที่หอบมาก)

- เราต้องเช็คระดับน้ำใน Chamber ทุกๆ ๑ ชม.เนื่องจากน้ำจะระเหยเข้าไปสู่ผู้ป่วย เพื่อให้ลมหายใจชุ่มชื่นไม่แห้งจนเกินไป, เช็คน้ำที่อยู่ในกระเปาะ ต้องเทออกเป็นระยะๆ ป้องกันการติดเชื้อ

- Record Flow chart, Vital sign ทุก ๑ ชม. Record I/O ร่วมด้วย

- เฝ้าระวังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ, ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางปอด

- ประเด็นเรื่องการสื่อสารกับผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ สำคัญที่สุด (ต้องเลือกว่าจะใช้วิธีใดเหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย)

หลังอบรมหลายคนบอกว่าไม่ยากเกินไปสำหรับการดูแลผู้ป่วย

เพราะแพทย์จะเป็นผู้ตั้งเครื่องอยู่แล้ว

ถ้าเครื่อง Alarm ให้เช็คว่าเกิดจากสาเหตุอะไร

High Pressure อาจเกิดจากมีเสมหะอุดตัน, สายหัก-พับ-งอ

Low pressure อาจเกิดจากสายต่อต่างๆหลุด

ที่สำคัญ.. สามารถรายงานแพทย์มาดูได้ตลอดเวลาค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 499925เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นการอบรมท่ามกลางบรรยากาศแห่งมิตรภาพนะคะ เห็นรอยยิ้มถ้วนหน้าเลยค่ะ

ช่วย ให้หายใจ ได้บุญ ได้ใจ (ญาติ) ได้ทำหน้าที่ ทำดีดี หัวใจพยาบาล สีขาว ดีจริงๆ ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ สบายดีนะคะ คิดถึงนะคะ

เรียนคุณ Sila

คุณหมอเพ้ง.. สอนเข้าใจง่ายค่ะ เลยสนุก มีแต่รอยยิ้ม ตอบทุกคำถาม ตอบกันจนเหนื่อย ส่วนช่างเสก.. ก็เต็มที่กับพวกเราเหล่าพยาบาล ฮิฮิ

 

ขอบคุณ P'Ple พี่สาวใจดี.. พวกเราตั้งใจอบรมค่ะ หวังว่าเครื่องนี้จะช่วยผู้ป่วยได้ (เก็บไว้เป็นอนุสาวรีย์เสียนานตั้ง ๗ เดือน)

 

ขอบคุณพี่ใหญ่ค่ะ

เมื่อก่อนเราเอาเครื่อง Bennett ไว้ที่ตึกอายุรกรรมชาย จนท. จะชำนาญกว่าที่อื่น.. ต่อไปนี้หลังจากที่พวกเราอบรมไปแล้ว เราสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องไปที่หน่วยงานต่างๆที่ต้องการใช้ได้.. คาดว่าพยาบาลจะสามารถ ทุกคนค่ะ

 

ขอบคุณสำหรับดอกไม้นะคะ.. สวยงามทางจิตใจมากค่ะ

Blank คุณพ่อน้องทิมดาบ

Blank P'Ple

Blank น้องชลัญ

Blank คุณหมออ้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท