ทักษะชีวิต


ทักษะชีวิต

 

                                              

  

     วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2555 นางจินดารัตน์ คงมั่น ตำแหน่งครู กศน. ตำบลหันตราร่วมกับนักศึกษา และประชาชนในตำบลหันตราที่สนใจโครงการจัดและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทักษะชีวิต "การป้องกันโรค มือ เท้า ปากเปื่อย"โดยใช้หอประชุมหลวงพ่อยิ้ม วัดท่าการ้องเป็นสถานที่จัดอบรม โดยมีพระครูสิทธิปัญญาโสภณเจ้าอาวาสวัดท่าการ้องเป็นประธานเปิดโครงการฯ และมีนางวันทนา สุขสกุลพันธุ์ เป็นวิทยากร โดยให้ความรู้เรื่อง โรค มือ เท้า ปาก ติดต่อโดยเชื้อไวรัสเข้าสู่ปาก บอกถึงวิธีการป้องกันและควบคุมโรค

 

 

 

 

โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome

 เป็นโรคมักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ
โรค HFMD ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 1-7 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirusA16 และ EV71 ผู้ป่วยจะมีไข้ฉับพลันและมีแผลเปื่อยเล็กๆ ในลำคอบริเวณเพดาน ลิ้นไก่ ทอนซิล มีอาการเจ็บคอมากร่วมกับมีน้ำลายมาก ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต และอาจมีอาการกลืนลำบากปวดท้องและอาเจียน โรคจะเป็นอยู่ 3 - 6 วัน และมักจะหายเอง

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ที่พบเฉพาะในมนุษย์ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคปากเท้าเปื่อยส่วนใหญ่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16

อาการ

ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะอาการป่วย เป็นไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย เป็นต้น จะปรากฏอาการดังกล่าว 3-5 วัน แล้วหายได้เอง สำหรับผู้ที่มีอาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ

การติดต่อ

โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจาก

  • จากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ (ซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการ) หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย

  • และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ( droplet spread)

ระยะที่แพร่เชื้อ

ประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว การแพร่เชื้อมักเกิดได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อออกมามาก เชื้อจะอยู่ในลำคอ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและลำไส้ เพิ่มจำนวนที่ทอนซิลและเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ และเชื้อจะออกมากับอุจจาระ ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า การแพร่กระจายของโรคเกิดจากแมลง น้ำ อาหาร หรือขยะ 

การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

  1. ควรดูแลรักษาความสะอาดทั่วไป  และสุขอนามัยส่วนบุคคลโดยล้างมือ ฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนเตรียมอาหารและหลังขับถ่ายทุกครั้ง

  2. รับประทานอาหารที่สะอาด  ปรุงใหม่ๆ  ไม่มีแมลงวันตอม

  3. ควรใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร  ไม่ใช้แก้วน้ำหลอดดูด  ช้อน  ขวดนม  ร่วมกัผู้อื่น

  4. หลีกเลี่ยงการคลุกคลี  อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย  แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ  และให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายป่วย

  5. หลีกเลี่ยงการนำทารกและเด็กเล็กเข้าไปในสถานที่แออัด หรือที่ๆเด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมาก หรือเล่นของเล่นร่วมกันในที่สาธารณะในช่วงที่มีโรคระบาดมาก

  6. ผู้ดูแลเด็กต้องตัดเล็บให้สั้น  หมั่นล้างมือบ่อยๆและรีบล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว  เมื่อเช็ดน้ำมูกน้ำลาย  หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม  เสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระ

  7. ทำความสะอาดพื้น  เครื่องใช้  หรือของเล่นเด็กที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค  อย่างสม่ำเสมอ

    ด้วยน้ำยาฟอกขาว  (คลอร็อกซ์)  อัตราส่วน  คือน้ำยา 20 ซีซี. ต่อ น้ำ 1,000 ซีซี. และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง

  8. ถ้าพบผู้ป่วยเป็นโรคมือ  เท้า  ปาก  ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยเร็วเพื่อดำเนินการควบคุมโรคต่อไป

 

 

      

 

คำสำคัญ (Tags): #ทักษะชีวิต
หมายเลขบันทึก: 499807เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2012 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 04:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท