โครงการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการกรมพัฒนาที่ดินระดับชำนาญการ หลักสูตร การพัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ รุ่นที่ 1


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์กรมพัฒนาที่ดิน รุ่นที่ 1ทุกท่าน

วันนี้ (วันอังคารที่ 21 สิงหาคม 2555)เป็นวันปฐมนิเทศและพิธีเปิดของโครงการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการกรมพัฒนาที่ดินระดับชำนาญการ หลักสูตร การพัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ รุ่นที่ 1 เพื่อแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ ที่สำคัญในหลักสูตรนี้ สำหรับโครงการนี้แบ่งการเรียนรู้เป็น 2 ช่วงระหว่างวันที่ 21สิงหาคม -7 กันยายน 2555 ระยะเวลาทั้งหมด 8 วัน

ขอใช้ Blog นี้เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันครับ

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ ช่วงที่ 1

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ช่วงที่ 2

หมายเลขบันทึก: 499551เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (69)

หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม 2555

โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

 

การมีบุคลิกที่ดี ต้องมีองค์ประกอบดังนี้

-                        การแต่งตัว

-                        พูดจาดี

-                        ต้องมีมาด

-                        อารมณ์ดี

-                        กาลเทศะ

 

ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่

 

เทคนิคการแต่งตัวของผู้ชาย

-               ถ้าหากผู้ชายตัวเตี้ย เวลาเลือกกางเกงขายาวไม่ควรเลือกกางเกงที่มีจีบ เพราะจะทำให้อ้วน

-               เลือกซื้อกางเกงที่ไม่ยับ

-               ไซส์เสื้อไม่ควรเล็กเกินไป ควรเลือกให้พอดีตัว

-               ควรเลือกลายและสีให้ดี

-               รองเท้าผู้ชาย เลือกรองเท้าหนังแบบเรียบๆ และขัดเงาให้มันสะอาด

-               สีสันในการแต่งตัว ต้องดูผิวของตัวเองด้วย

-               คนผิวคล้ำ ไม่ควรเลือกสีเสื้อผ้าแบบมอๆ เพราะจะดูมืดไป ทำให้ดูผิวคล้ำลง       

เทคนิคการแต่งตัวของผู้หญิง

-                        ไม่ควรเลือกกระโปรงที่สั้นเกินไปเวลาทำงาน

-                        เวลาใส่ชุดทำงาน ควรใส่รองเท้าแบบรัดส้น จึงจะสุภาพ

-                        รองเท้าคัชชู จะเก็บหน้าเท้าทำให้ดูดีขึ้น

-                        กิ๊ฟติดผม ควรเป็นสีดำจึงจะดูเรียบร้อย

-                        กระเป๋าสะพาย ควรเลือกสีดำ น้ำตาลจึงจะสุภาพ และไม่ควรใหญ่เกินไป

-                        ต่างหู ควรเลือกให้สวยงามไม่ได้เป็นพวงระย้า

-                        รองเท้าเปิดหัวไม่ควรใส่ หากไม่มั่นใจว่านิ้วเท้าสวยและทาสีเล็บแล้ว

-                        คนผิวคล้ำ สีเหลืองจะทำให้ผิวคล้ำลงอีก

-                        สายสิญจน์ไม่ควรผูกไว้ เพราะหากสายสิญจน์ดำจะทำให้เสียบุคลิกได้

 

มาดและท่วงท่าอิริยาบถของคนทันสมัย

-                        ไหว้ต้องก้มให้เรียบร้อย ก้นไม่โด่ง ก้มแล้วมองเห็นหัวแม่เท้า

-                        การนั่ง ผู้ชายสามารถนั่งก้นติดพนักเก้าอี้

-                        การนั่งผู้หญิง  ให้นั่งครึ่งเก้าอี้ ขาชิด เข่าชิด หลังตรง ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง

-                        การยืน ผู้หญิงให้ยืนเอาเท้าชี้ 10 นาฬิกา

-                        การยืน ผู้ชายยืนแยกเท้า แล้วปล่อยมือข้างลำตัว

-                        การเดิน ต้องไม่ก้าวสั้น และยาวเกินไป ให้เอาส้นเท้าลงก่อน แล้วเอาหน้าเท้าตาม

ท่วงท่าน่าอับอาย สัญญาณร้าย ต้องรีบแก้ไข

-                        หน้าท้องยื่น

-                        ไหล่ห่อ ก้มงอไปด้านหน้า

-                        เวลายืนศีรษะ หน้าท้องยื่น

-                        ทรวงอกห่อ

-                        ก้นยื่นไปด้านหลัง

-                        เข่าทั้งสองไม่ตึง งอ

-                        ปลายเท้าชี้เข้า หรือ ชี้ออก

-                        หากยืนผิดท่า จะทำให้กระดูกสันหลังผิดรูป ทำให้ปวดหลัง ปวดเอวได้

 

     ควรนั่ง ควรยึดหลักดังต่อไปนี้ ความปลอดภัย  ความสะดวกสบาย การให้เกียรติ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย 

 

   การนั่งเวลาไปเยี่ยมบ้านแขก ควรนั่งตรงไหน : หากมีโต๊ะกลมตรงกลาง มีเก้าอี้ ซ้าย ขวา และตรงกลาง เวลาให้เกียรติผู้ใหญ่ เจ้าของบ้านนั่งเก้าอี้ขวา โซฟาเป็นที่ของแขกผู้หญิงและผู้อาวุโส นั่งไกลประตู

เวลาไปหาผู้ใหญ่มาก ควรยืนสวัสดีผู้ใหญ่ ควรให้ผู้ใหญ่นั่งก่อน

 

การนั่งรถยนต์  หากมีคนขับรถ เจ้านายนั่งเยื้องคนขับรถ

การนั่งรถตู้ ผู้ใหญ่นั่งแถวแรก คนติดตามนั่งหลัง

เวลาคนเต็ม ให้คนเข้าข้างหลังให้เต็มก่อน หลังจากนั้นเหลือแถวแรกให้เด็กเข้าก่อนแล้วให้ผู้ใหญ่นั่งกลาง

และเวลาลง ผู้ใหญ่ลงก่อน

 

ขึ้นบันได ผู้หญิงขึ้นก่อน  ลงบันได ผู้ชายลงก่อน

 

เวลาเดินนำผู้ใหญ่ ในการต้อนรับให้ผายมือเชิญผู้ใหญ่เดินก่อน และเวลาเดินตามผู้ใหญ่ ให้เดินตามทางซ้ายมือ ระยะห่างประมาณช่วงแขนจะพอดี

 

การแนะนำตัว หากแนะนำตัวให้บุคคลที่ 3 ให้แนะนำตัวให้เพื่อน แล้วชวนคุยกันให้บรรยากาศลื่นไหล เป็นวัยเดียวกัน ให้เกียรติกันต้องเรียกชื่อ หากเป็นผู้ใหญ่ ต้องพูดว่า คุณ.... ขอแนะนำ คุณ... ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานกับดิฉันค่ะ

 

มารยาทบนโต๊ะอาหาร

          ห้ามพูดขณะมีอาหารในปาก

            รองผ้ากันเปื้อน

            เวลาเคี้ยวให้หุบปาก อย่าเสียงดัง

 

             

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปการบรรยายหัวข้อCreative Thinking and Value Creation (1)

กับการทำงานของกรมพัฒนาที่ดิน

โดย     อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2555

ณ วังรี รีสอร์ท จังหวัดนครนายก

 

หลักปรัชญาพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ต้องมีความรู้ที่พอเพียงด้วย เพราะในการทำโครงการแต่ละโครงการของในหลวง จะต้องให้คนที่รับทำโครงการมีความรู้ด้านนั้นจริงๆ จึงจะทำให้โครงการนั้นเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์

อีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจ คือ บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ สามารถเอาน้ำมาปั่นไฟ และขายไฟให้สหกรณ์ชุมชน ด้วย ซึ่งมาจากโครงการหลวง ซึ่งเหลือแต่คนแก่ในหมู่บ้าน โครงการหลวงจึงส่งอาจารย์เข้าไป สอนชาวบ้านให้ปลูกกาแฟ แล้วแซมเข้าไปในป่า จึงได้ป่ากลับมา จากเดิมที่เคยแห้งแล้ง  ณ ปัจจุบันนี้เป็นแหล่งการท่องเที่ยว คือ สหกรณ์ท่องเที่ยวชุมชน เป็นหมู่บ้านที่มีความเป็นธรรมชาติสูง เป็นหมู่บ้านที่มีอากาศเย็นสบายตลอดปี และนอกจากนั้นยังเป็นหมู่บ้านที่ยังคงรักษาความเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สมบูรณ์เป็นอย่างดี  

อีกทั้งได้รางวัลเชิงท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนั้น ลูกหลานจึงกลับเข้าสู่หมู่บ้าน วัดถูกบูรณะอย่างสมบูรณ์ และยังมีโฮมสเตย์  หลังจากนั้น มีสหกรณ์กาแฟ มีโรงคั่วกาแฟเองในหมู่บ้าน

สิ่งสำคัญ คือ จะต้องมีความรู้ก่อน เหมือนคำกล่าวของ Albert Einstein พูดไว้ว่า  “Imagination is more important Than knowledge. For knowledge is limited”  “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้มีจำกัด”

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ หมอดิน หรือ ปราชญ์ชาวบ้าน 80,000 ภูมิปัญญา จะต้องมีการนำความรู้ของท่านเหล่านี้ มาเผยแพร่สู่โลกออนไลน์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนอย่างแพร่หลาย เพราะความรู้จากท่านปราชญ์หาไม่ได้จากสถาบันศึกษา ความรู้ต้องเปลี่ยนจาก Education เป็น Learning 

ทุนธรรมชาติ ทุนชุมชน ทุนวัฒนธรรม ของแม่กำปองเกือบหมดไปแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้แม่กำปองฟื้นกลับมาอีกรอบคือ ความรู้ ซึ่งได้มาจากโครงการหลวง

คิดบวก เป็นจุดเริ่มต้นของทุกเรื่อง การจินตนาการและเพิ่มเติมเข้าไปต่อเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ

สรุป

1. ทบทวนเรื่องวัตถุประสงค์ขององค์กร ของตัวเรา

2. ความรู้ที่พอเพียง

3. ต้องคิดบวก

 

การทำงานต้องมีพลวัตร เพราะโลกเปลี่ยนทุกวัน ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ และการจัดการกับลูกค้า

            แนะนำหนังสือ

เอาลูกค้ามาเป็นตัวตั้ง ห้ามเอาจากตัวเองเป็นตัวตั้ง เพราะไม่พลวัตร

-          International Marketing (การตลาดระหว่างประเทศ) สิ่งที่สำคัญ คือ เรื่องวัฒนธรรม  พูดถึงการเข้าประชาคมอาเซียนเป็นเรื่องที่ทำให้อยู่รอดปลอดภัยเป็นประเทศ ทฤษฎีการรวมกลุ่ม การเกิด Margin ใหม่ เพื่อต่อรองกับศูนย์กลาง อีก 2 ปี ข้างหน้าอย่างน้อยลูกค้า คือ 10 ประเทศ + 3

ปัญหาเรื่องพหุวัฒนธรรม (Multi cultural) ในยุโรปมีปัญหาเรื่องความหลากหลายของวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ไม่เกิดการพัฒนา เช่น ประเทศกรีซ ปัจจุบันนี้กรมพัฒนาที่ดินต้องเริ่มการปรับทัศนคติ และค่านิยมก่อน

-          Blue Ocean Strategic  Keyword ของหนังสือเล่มนี้ คือ Value Innovation ซึ่งสามารถช่วยคิดกลยุทธ์ของกรมได้  นวัตกรรมใหม่อะไรบ้างที่ให้คุณค่ากับเกษตรของเรา 

-          ความคิดของผู้ประกอบการ  ตัวอย่างกรมที่ปิดไปคือ กรมโทรเลข เพราะไม่เป็นพลวัตร และเป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่ใช้แล้ว

-          The world is Flat  โลกแบนด้วยเทคโนโลยี การสื่อสารแล้ว

-          Leisure  Marketing

-          Customer Relationship  Management

-          Differentiate or Die คิดต่าง หาอะไรที่เป็นไปได้ใหม่ๆให้เกิดขึ้น  มุมมองหรือวิธีการคิดใหม่ๆ

โดยมีShare Knowledge กัน

 

            การประยุกต์เหตุการณ์ต่างๆของโลกมาใช้กับกรมพัฒนาที่ดิน

พลังงานสีเขียว ประเทศบราซิล มีการปลูกอ้อย แล้วนำอ้อยไปทำน้ำมัน เพราะฉะนั้น กรมพัฒนาที่ดินก็เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงาน

            การใช้ที่ดินของญี่ปุ่น  ญี่ปุ่นวันนี้เข้าสู่ Y shape ผู้สูงอายุมีมากขึ้น ผู้ใหญ่ร่วมมือกับตลาดเกษตรล่วงหน้า ในอีก 2-3 ปี แล้วจึงมาวางแผนการเพาะปลูก ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินควรมีการนำเอาประโยชน์มาใช้บ้าง

            รัฐบาลแจกแทปเล็ท ซึ่งต่างประเทศใช้มานานแล้ว  ปัจจุบันน่าจะแปลงองค์ความรู้เรื่องดิน  เรื่องป่า เข้ามาใส่แทปเล็ท ให้เด็กได้เรียนรู้ว่ามีความหลากหลายอยู่ในป่า แล้วเด็กๆจึงจะมองระบบนิเวศออก

            การใช้ที่ดินทิศทางเรื่องอาหารของโลก  การใช้ที่ดินเพื่อพลังงานทดแทน Global Warming ซึ่งทั้ง 3 เรื่องมีความสำคัญกับกรมพัฒนาที่ดินทั้งสิ้น

            นักบริหาร ต้องเป็นผู้พัฒนาวิสัยทัศน์เป็นประจำ

-          เมื่อเข้าสู่ยุคโมเดินปี 2000 เป็นศาสตร์เฉพาะทางเท่านั้น

-          ยุค Post Modern ยุคแห่งสหวิทยาการ ต้องมีหลายศาสตร์หลายความรู้ ต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ “ยุคแห่งความเป็นไปได้” เป็นยุคแห่งการค้นและรื้อ รื้อโครงสร้างเก่าทิ้ง แล้วจะเจอความรู้ใหม่ แล้วนำไปถ่ายทอดต่อ แล้วเกิดเป็นความยั่งยืน

-           ยุคนี้ คือยุคแห่งความคิดสร้างสรรค์ โดยมีIT เทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน

 

จังหวัดน่าน ไม่สำเร็จในการพัฒนาที่ดิน เพราะยังไม่มีเศรษฐกิจฐานความรู้  ควรศึกษาจากหมู่บ้านแม่กำปอง เพื่อสอนให้ชาวบ้านดูแลดินใหม่

กรมพัฒนาที่ดิน ไม่ควรทำงานคนเดียว ต้องทำงานแบบ Cluster แปลว่าฝูงของความเก่งเกี่ยวกับคนเก่งเรื่องดิน

รัฐบาล เอกชน  การศึกษา ต้องทำงานร่วมกัน จึงจะทำให้เกิด การได้เปรียบทางการแข่งขัน เรียกว่า 3 เหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

ความคิดสร้างสรรค์เกิดจาก

1. Expertise ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ จึงต้องทำเป็นประจำ

2. กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ

3. อะไรเป็นแรงจูงใจ (motivate)

 

GET HIT GO GREEN การท่องเที่ยวแบบดูดี และต้องมีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ควรจะนำไปใช้ในการพัฒนาที่ดินในจังหวัดน่าน

การเน้นศิลปวัฒนธรรมและเน้นความคิดใหม่ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

 ความคิดสร้างสรรค์ สามารถที่จะนำเอาไปช่วยการพัฒนาที่ดินได้อย่างเต็มที่ 

 

ทฤษฎี 5C เป็นแนวคิดเพื่อให้นำมาต่อยอดได้ มีดังนี้

 

1. Connection การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง

2. Creation ต้องมีการคิดสร้างสรรค์ว่าจะทำอะไรใหม่

3. Communication ต้องสื่อสารให้เข้าใจ ต้องอธิบาย และมีการนำเสนอเป็น

4. Competitiveness Advantage ความสามารถในการแข่งขัน

5. Cluster ฝูงของความเก่ง ต้องการความเก่งในแต่ละพื้นที่

 

ปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดิน ต้องมีการทำงานวิจัยและพัฒนา (R&D)มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอาเซียน เช่น การใช้ที่ดินเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  การฟื้นฟูที่ดินที่มาจากเขตอุตสาหกรรม ซึ่งอาจนำความรู้เดิมมาต่อยอดก็ได้

หลังจากนั้นควรทำเรื่อง Marketing ที่กำลังทำเรื่องนั้นๆให้มาก หากชาวบ้านมีความเชื่อ เราสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดชาวบ้านโดยการให้ความรู้  และเพื่อสร้างความมั่งคั่งในอนาคต

ยูคาลิปตัส เป็นการใช้ประโยชน์จากดิน เพราะโตเร็ว ใช้งานได้ ส่วนใหญ่มาใช้ทำเป็นกระดาษ และไม่อัด

            Holistic Framework

-สำรวจว่าลูกค้ามีความต้องการอะไรบ้าง ต้องการเอาไปใช้ประโยชน์อะไร  ข้อมูลที่ได้ไปนำไปใช้เพื่ออะไร

- สร้างเป็นการบริการข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

Workshop

 

แนวความคิด(Concept)ใหม่ๆ ในการอนุรักษ์รักษาและการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดวัตถุประสงค์

กลุ่ม 5 การปลูกต้นไม้เป็นคอนโดเพื่อส่งเสริมประโยชน์จากการใช้ดินอย่างสูงสุด

โดยแบ่งเป็นระดับ ได้แก่ ไม้ผล ไม้เลื่อย  พืชผักสวนครัว

มีขุดบ่อรอบสระ ทำการเลี้ยงปลา และการปลูกบัว

ทำการปลูกแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อลดการชะล้างของหน้าดิน

ไม้ที่นำเอาไปปลูก คือ อยู่ได้ 5-10ปี

หากมีการเปลี่ยนแปลงทางฤดูกาล จะมีการปลูกพืชแบบแบ่งฤดูกาล ไม้ยืนต้น ไม้ผล และพืชสวนครัว สามารถขายได้ทุกสัปดาห์

กลุ่ม 1  การลดการเกิดภาวะดินถล่ม การใช้ประโยชน์สูงสุดจากที่ดิน

ภาวะดินถล่ม เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า ต้องมีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการพัฒนาหน้าดิน โดยได้แนวคิดนี้จากบ้านกำปอง

ขุดคลองให้ลึกเพื่อเก็บกักน้ำ

ปลูกข้าว ปลูกผักโดยมีการให้ความรู้จากกรมวิชาการเกษตร เป็นแกนกลางในการให้ความรู้ และแจกเมล็ดพันธุ์

ประโยชน์สูงสุด คือ เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ทำงานแบบบูรณาการ ต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีจิตอาสา

ทำให้เกิดการมีเครือข่ายที่กว้างขึ้น ไม่เป็นการแยกกรมการทำงาน

กลุ่ม 4  ชุมชนกับแผนการฟื้นฟูพื้นที่การเลี้ยงกุ้ง

สมบัติของดินเปลี่ยนแปลง เช่น ความเค็มของดิน ทำให้การปลูกพืชเปลี่ยนไป

แนวทางการฟื้นฟู คือ ต้องโน้มน้าวให้ชุมชนมีส่วนร่วม เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ต้องแสดงแผนที่ขอบเขตที่เกิดปัญหา

แนวผลกระทบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

การดูงานพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ ที่เกิดการแก้ไขในพื้นที่

ประกวดแผนฟื้นฟู สนับสนุนแผนทางวิชาการ ซึ่งมีหน่วยงานอื่นเข้ามาร่วมด้วย

การจัดทำสื่อ ผ่าน Social Network ทุก 3 เดือน และประกาศแผนในการฟื้นฟู

ประโยชน์ คือ ให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

กลุ่ม 3  ผลกระทบจากน้ำท่วม ที่เกิดจาก Global Warming

          มาตรการการป้องกันน้ำท่วม และเป็นการสร้างเสถียรภาพให้กับเกษตรกร

            ทางกรมมีข้อมูลว่าว่าดินตัวนี้ สามารถเก็บกักน้ำได้เท่าไหร่ ใช้หญ้าแฝกในการกักเก็บน้ำได้ปริมาณเท่าไหร่

            ข้อจำกัดทางกฎหมายคือ การบังคับใช้ และต้องแสวงหาเครือข่ายและความร่วมมือ

            การป้องกันใช้ประโยชน์ที่ดินในภาพรวม

อ.ณรงค์ศักดิ์ เสริมว่าต้องมีการคิดเรื่องใหม่ และมีแนวคิดในการป้องกัน เนื่องจากผลกระทบของโลกร้อน ทำสรุปเรื่องราวแนวคิด ให้ทุกองค์กรได้ใช้ประโยชน์

กลุ่ม 2  การให้เกียรติผู้อาวุโส ใน Gen Plus

          เอาคน 2 รุ่นมารวมกัน โดยให้รับความคิดเห็นของกันและกัน

            การทำงานแบบบูรณาการในการทำเขตพัฒนาที่ดิน โดยมีทุกเขต

กิจกรรม ประชุมระดมความคิดเห็น และมีการเสวนากัน

ต้องมีหมู่บ้านพัฒนาที่ดิน โดยเอานักวิชาการทุกสาขาเข้ามาช่วย ทางที่ดี ควรนำเอาทุกกลุ่มมาระดมความคิด โดยใช้โมเดลแม่กำปอง หากไม่ร่วมมือกันงานจะกระจาย

อ.ณรงค์ศักดิ์ เสริมว่า  การพัฒนากรมที่ดินเข้าสู่ AEC ต้องมีการพัฒนาจากภายในองค์กรจากคน 2 รุ่นก่อน   ซึงเอาความเก่งของแต่ละรุ่น มาแชร์ความรู้ซึ่งกันและกัน

 

 

 

 

 

 

           

สรุปการบรรยาย

หัวข้อ การพัฒนาภาวะผู้นำและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่กรมพัฒนาที่ดิน        

โดย     ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

22 สิงหาคม 2555

- Peter Drucker กล่าวว่าผู้บริหาร  ทำสิ่งที่ถูกต้อง ส่วนผู้นำ ถ้าทำไม่ถูกกฎหมาย ต้องให้เกิดถูกต้องตามหลักจริยธรรมและคุณธรรม

- อดีตประธานาธิบดีอเมริกา Dwight D. Eisenhower กล่าวว่าผู้นำ คือศิลปะที่ทำผู้อื่นคล้อยตามเรา

- ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์ แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ และสามารถฝึกฝนได้

วัตถุประสงค์หลัก คือ

-จับหลักการ ความสำคัญ why วิธีการ how และทำอย่างไรให้สำเร็จเรื่องภาวะผู้นำ และการสร้างผู้นำในองค์กรของเรา

- แบ่งปันความรู้ เพื่อค้นหาตัวเอง ทำให้ความเป็นผู้นำของท่านสูงขึ้น และนำไปปฏิบัติได้

- สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน

- สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง

 

การเป็นผู้นำที่ดี ต้องอย่ามองเฉพาะองค์กร

ปัจจุบันนี้ต้องเน้น 3 V ได้แก่ Value added Value Creation และ Value Diversity

กระตุ้นให้รู้จริง ทันเหตุการณ์ วิเคราะห์ข้ามศาสตร์ให้มีผลกับเกษตร ต้องรู้ AEC

 

ในอนาคตเราต้องเน้น

sustainability+

wisdom+

creativity+ คิดนอกกรอบ

Innovation+

 intellectual capital+เกิดทุนทางปัญญา และปัจจุบันต้อง บวกคุณธรรม จริยธรรมด้วย

 

ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหาร

ผู้นำ

ผู้บริหาร

 

  • เน้นที่คน
  • Trust
  • ระยะยาว
  • What , Why
  • มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์
  • เน้นนวัตกรรม
  • Change

 

  • เน้นระบบ
  • ควบคุม
  • ระยะสั้น
  • When , How
  • กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน
  • จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ
  • Static

 

Trust มี 3 ขั้นตอน

  1.  สร้าง (Grow)
  2.  ขยาย (Extend)
  3.  ดึงกลับ ถ้าหายไป   (Restore)

สิ่งที่สำคัญ ทำอย่างไรจึงจะสร้างศรัทธาได้มากขึ้น

Social Trust ต้องคำนึงว่าสังคมมองกรมพัฒนาที่ดินอย่างไร

ในต่างประเทศ โดยเฉพาะตะวันตก มีหัวข้อวิจัยมากมายเกี่ยวกับผู้นำ ซึ่งต่างจากประเทศไทย ที่มีงานวิจัยน้อยมาก สำหรับตะวันออกยังมีน้อยอยู่จึงมักจะใช้ Role Model เป็นหลัก

- คุณธรรม จริยธรรม ต้องมาก่อนความคิดสร้างสรรค์

คุณสมบัติของผู้นำของท่านผู้ว่าฯ เกษม จาติกวณิช หรือ “Super K”

1. ผู้นำต้องมีความรู้

2. ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ

3. ผู้นำต้องสร้างจิตวิญญาณในการทำงานเป็นทีม

4. ผู้นำต้องรู้จักมอบหมายงาน

5. ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ

6. ผู้นำต้องรู้จักให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่โอ้อวดและยกตนข่ม

7. ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

ซึ่งข้อ 5-7 มีความสำคัญมาก เรียกว่า servant leadership

ทฤษฎีล่าสุดของ Jack Welch  ผู้นำที่ดีคือต้องเป็นผู้สอน Leader / Teacher

ตัวอย่างผู้นำในจีน

  • เหมา เซ ตุง
  • เติ้ง เสียว ผิง
  • เจียง ซี มิน
  • หู จิ่นเทา การเปลี่ยนแปลง
  • สิ จินผิง เก่งเรื่องประชาธิป การกระจายรายได้ เพราะคนของเขาฉลาดขึ้น

ผู้นำที่เก่งต้องเรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลก

กรมพัฒนาที่ดินเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องการเกษตร แต่กรมนี้เป็นจุดอ่อนเรื่องการที่เราไปเรียนเรื่องที่ดิน ถ้าไม่ใช่เกษตกรก็ไม่มีใครสนใจ

สินค้าเกษตรเมื่อราคาขึ้นก็ปลูกมากเมื่อปลูกมาราคาก็ลง (Crop Wave Theory)

ผู้นำจะสร้างอย่างไร

1. Example คือ เป็น/สร้างตัวอย่างที่ดี

 2. Experience คือ สะสม/ถ่ายทอดประสบการณ์  ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องล้มเหลวและเจ็ยปวดเป็นประสบการณ์  (Intensity of Experience)

 3. Education คือ ให้การศึกษา ให้ความรู้

 4. Environment คือ สร้างบรรยากาศที่ดี

 5. Evaluation คือ มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ต้องวัดผลอย่างต่อเนื่อง มีแรงจูงใจอะไรที่ทำให้เราอยากเป็นผู้นำ

การสร้างผู้นำแบบ Ram Charan(Talent Management)

Identifyผู้นำตั้งแต่อายุน้อย

ศึกษาว่าแต่ละคนเก่งเรื่องอะไร

พัฒนาเขาเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง

ดูแลไม่ให้เขาตกราง

การวิเคราะห์ของอาจารย์ที่ University of Washington ผู้นำจะต้องมี 4 วิธี

1. Character หรือ คุณลักษณะที่พึงปรารถนา เช่น

            - ชอบเรียนรู้

            - มีทัศนคติเป็นบวก

            - การมีคุณธรรม จริยธรรม

2.มี Leadership skill ที่สำคัญคือ   

          - การตัดสินใจ

          - การเจรจาต่อรอง

          - การทำงานเป็นทีม

          - Get things done

3. เรียกว่า Leadership process  

     คือ การมี Vision และมองอนาคตให้ออก

4. คือ Leadership value  สำคัญที่สุดคือ Trust ความศรัทธาในผู้นำนั้น ๆ

เรื่องภาวะผู้นำที่เป็นทักษะ-ของกรมพัฒนาที่ดิน

  • การกระจายอำนาจ
  • การเชื่อมโยงกับชุมชน
  • การบริหารความขัดแย้งและการตัดสินใจ
  • การเจรจาต่อรอง

อุปสรรค

  • ระบบ Command-Control
  • วัฒนธรรมองค์กร
  • Authority Base มากไป
  • ฝึกอบรมเน้น How to ไม่เน้น Execution

ไม่น่าเชื่อว่า การเข้าร่วมอบรมเพียงสองวัน ได้พบสิ่งดีมากมาย ความคิดบางอย่างเปลี่ยนไป ต้องขอขอบพระคุณคณะวิทยากร ทีมงาน และท่านอธิบดีธวัชชัย สำโรงวัฒนา ที่มีโครงการดี ๆ ให้กับพวกเรา

การได้เข้ารับฝึกอบรมครั้งนี้ ทำให้มีทัศนคติที่ดี คิดบวกมากขึ้น รู้สึกดีค่ะที่ได้มา

อาจารย์ครับขออนุญาตนำไปเผยแพร่ให้กับนักศึกษาPh.Dม.ราชภัฏสวนสุนันทารุ่น 6นะครับ

Workshop: วิชา สร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่กรมพัฒนาที่ดิน

พิชชานันท์ รักษาทรัพย์

การได้เข้าอบรมในวันนี้ได้รับความรู้ เปิดมุมมองใหม่ ๆ ได้มิตรภาพ ได้ข้อคิดดี ๆ มากมาย และที่ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ การได้เรียนรู้เรื่องของบุคลิกภาพ การวางตัว การแก้ไขปัญาหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ซึ่งทุกสิ่งสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน และชีวิตการทำงานได้ ขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน คณะทำงานทุกคน รวมไปถึงผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านด้วย ที่ได้กรุณามอบความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความคิด ผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม

สรุปการบรรยาย

Problem Solving & Decision Making (การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ)

        โดยศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ)

22 สิงหาคม 2555

Problem Solving หมายถึง ระบบการแก้ปัญหาในการทำงาน

นิยามปัญหาในการทำงานมีองค์ประกอบ 3 ประการ

                1.Unplanned or Unexpected

                2.Cause Unknown

                3.Great Concern

ประเด็นปัญหาที่พบเสมอในการทำงาน

  • โดยปรกติในการปฏิบัติงานบริหาร เราจะพูดถึงปัญหาปนกันไปทั้งในแง่ผลดีและผลไม่พึงปรารถนา

Risk Management (การบริหารความเสี่ยง)

ในระบบสากลเรียกว่า COSO

IMPACT = SIZE X FREQUENCY

(ผลกระทบ = ขนาดของปัญหา x ความถี่ที่เกิด)

คำถามสำคัญที่ต้องตอบเพื่อแก้ปัญหาในงาน

  • 1.What อะไรได้เกิดขึ้น
  • 2.How much ปัญหารุกรามไปถึงไหนแล้ว
  • 3.Where สาเหตุเกิดที่ไหนบ้าง
  • 4.When ห้วงเวลาเกิดจากไหนถึงไหน
  • 5.Why ทำไมจึงเกิด

ประเด็นปัญหาเป็นทั้งข้อพัฒนาและข้อแก้ไข

  • ตัวอย่างประเด็นร้อนในปัจจุบัน

                1.Self Performance (ผลสัมฤทธิ์ของงาน)

                2.Value Creation (สร้างคุณค่าเพิ่มในงาน)

                3.Personality (บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่)

ประเด็นปัญหาเป็นทั้งข้อพัฒนาและข้อแก้ไข

  • ตัวอย่าง ประเด็นร้อนในปัจจุบัน

                4.Knowledge of Environment (ความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม)

                5.Strategy of Vision (วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์)

                6.Leadership (ภาวะผู้นำ)

                7.Team work(การทำงานเป็นทีม)

การตัดสินใจในงานอย่างเป็นระบบ

  • การตัดสินใจในงาน หมายถึง ระบบวิธีการเลือกดำเนินการและใช้ทรัพยากร เมื่อปฏิบัติงานมาถึงจุดที่ต้องเลือกทางเดิน
  • ผู้ที่ใช้ศิลปะในการตัดสินใจ (Qualitative Decision = Must)

                โดยไม่คำนึงถึงวิทยาศาสตร์ในการตัดสินใจ (Quantitative Decision = Want)

เทคนิคการใช้ Must and Want ในการตัดสินใจ

  • 1.Must คือประเด็นพิจารณาเชิงคุณภาพ ได้แก่ การประมวลความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ แล้วกำหนดเป็นเกณฑ์ (Criteria) อย่างชัดแจ้งว่า ทางเลือกเหล่านั้นข้อไหนผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์นี้ โดยต้องไม่มีข้อสงสัยในการ “ตัดตัว” ว่าทำไมจึงผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์
  • 2.Want คือประเด็นเชิงประมาณ ได้แก่การคำนวณโดยให้น้ำหนักความต้องการ (Want) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พิจารณาตามลำดับความสำคัญ
จันทิมา ไตรบัญญัติกุล

อดีต...เป็นกบ(ที่ตัวไม่ใช่น้อยๆ) อยู่ในกะลาอย่าง สุขบ้างทุกข์บ้าง ตามแต่จังหวะและโอกาสที่ได้รับ ยึดถือคติ.. ทำอะไรตามใจคือไทยแท้ ปัจจุบัน....ทันใดนั้น...กะลาที่ครอบมีคนเอาไม้มาแงะออก โอพระเจ้า...ยังมีโลกที่กว้างใหญ่ไพศาลและท้องฟ้าที่สดใส อะไรเช่นนี้ช่างน่าตื่นตา ตื่นใจเสียจริง อนาคต... ศึกษาเรียนรู้โลก กว๊างกว้างที่มีผู้เปิดให้อย่างเป็นระบบตามความรู้ได้รับ และนำไปประยุกต์ใช้ โดยทำอะไรให้มีสติ ค้นหาโลกใหม่ๆ ต่อไปเรื่อยไม่สิ้นสุดอย่างมีความสุข

ส่งการบ้านค่ะ

วิเคราะห์บทเรียนจากความจริง      ฝรั่งเศสมีประธานาธิบดีคนใหม่แล้ว ชื่อ Hollande ซึ่งเป็นคนเงียบๆ พูดไม่มาก ไม่เคยแต่งงานแต่มีคู่ชีวิตและอยู่ร่วมกันนาน 35 ปี มีลูกด้วยกัน 4 คน และปัจจุบันมีแฟนใหม่แล้ว มีการลงทุนทางการศึกษา โดยจะจ้างครูเพิ่ม 6,000 คน มีแนวคิดให้คนฝรั่งเศสกระจายรายได้ให้เท่าเทียมกัน โดยเน้นความเป็นธรรมและเสมอภาค ทำให้มนุษย์มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีไม่ได้วัดท่ีวัตถุเป็นหลัก      ประการท่ี 1  ประธานาธิบดี Hollande เป็นคนเงียบๆ พูดไม่มาก ซึ่งน่าจะเป็นคนที่มีทุนทางอารมณ์ รู้จักบริหารอารมณ์ ควบคุมตนเอง ทำให้ดูน่าเชื่อถือ น่าเชื่อมั่น ซึ่งต่างจากคนท่ีแสดงออกมากทำให้เสียเปรียบและเกิดความขัดแย้งได้ง่าย      ประการท่ี 2  ไม่เคยแต่งงานแต่มีคู่ชีวิต ซึ่งเป็นค่านิยมหรือวัฒนธรรมของชาวต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยก็เริ่มมีค่านิยมเช่นเดียวกันมากขึ้น เหตุผลที่เห็นชัดเจนก็คือการหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายในการทำนิติกรรมต่างๆ      ประการท่ี 3  มีการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางปัญญาให้กับประชาชนชาวฝรั่งเศสด้วยการให้การศึกษาเพิ่มขึ้น      ประการท่ี 4  มีการกระจายรายได้ให้เท่าเทียมกัน โดยเน้นความเป็นธรรมและเสมอภาค ทำให้มนุษย์มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีไม่ได้วัดท่ีวัตถุเป็นหลัก ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของการสร้างทุนแห่งความยั่งยืน ได้แก่ปัจจัยข้อท่ี 3 และ 5 ของ 6 ปัจจัยของความยั่งยืน (Chira's 6 factors) คือ                1. การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องให้ระยะสั้นสร้างความสำเร็จและสมดุล เพื่อให้ระยะยาวอยู่รอด                2. การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย                3. การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันกับความเจริญ                4. ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้                5. ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชน หรือประเทศเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็ก                6. ต้องเป็นการพัฒนาท่ีพึ่งตัวเอง      ในทางกลับกัน ประธานาธิบดี Hollande ขาดวินัยทางการเงิน มีการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นใช้นโยบายแบบรัฐกระตุ้น ลดเวลาในการทำงานลงเหลือ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งขาดทุนทางความรู้ของ 5K's ใหม่ คือ รู้ปัญหาของประเทศอยู่แล้วแต่ไม่ได้แก้ไขปัญหาจากความจริงที่เกิดขึ้นให้ตรงประเด็น อีกทั้งขาดการสร้างทุนแห่งความยั่งยืนในข้อที่ 1 และ 6 คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจและยกระดับอย่างรวดเร็ว แต่ประชาชนยังค่อยๆ ที่จะเรียนรู้และพัฒนา ทำให้ไม่เกิดความสมดุล ประชาชนไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ทำให้ไม่มีความยั่งยืน

วิเคราะห์บทความ

บทเรียนจากความจริง ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์
เรื่องที่ 1  ปลัดยรรยงอีกแล้ว พฤษภาคม 2552 ตัดสินใจผิดใน ครม. ต่อหน้านายกฯอภิสิทธิ์ พฤษภาคม 2555 ตก 8K, s ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่

ประการที่ 1 สามารถวิเคราะห์ได้ว่า การศึกษาแม้ว่าจะได้ศึกษาในสถาบันที่ดีมีชื่อเสียงหรือไม่มีชื่อเสียงก็ไม่สามารถทำให้ตัวบุคคลนั้นดีขึ้นไปเนื่องจากการขาดทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) ประการที่ 2 อายุมากหรือน้อยไม่สำคัญหากมีทุนทางอารมณ์ที่สูงก็สามารนำพาไปสู่ความสำเร็จได้มากกว่า ประการที่ 3 สื่อมีความสำคัญมากในยุคปัจจุบันจะต้องเป็นกลางในการเขียนข่าว คือต้องมีทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) เรื่องที่ 2 ประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศส สามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้นำประเทศหากตระหนักถึงผลประโยชน์ของคนในชาติมาก่อน มีคุณธรรม มีความโปร่งใส มีความเสมอภาค และที่สำคัญมีทุนมนุษย์ครบถ้วนทุกข้อ ก็จะสามารถนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

   มนุษย์ทุกคน มีส่วนดีและไม่ดีแตกต่างกันตามศักยภาพและพื้นฐานทางสังคม  การแสดงออกจากความคิดและเหตุผลของแต่ละคนจึงแตกต่างกันแล้วแต่มุมมอง  ที่ดีที่สุดควรปลูกฝัง ทฤษฎีทุน 8 K’s  และ ทฤษฎีทุน 5 K’s เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เริ่มต้นการเรียนรู้ ตลอดจนมีการติดตามผลต่อยอดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยั่งยืน
นางพิชชานันท์ รักษาทรัพย์

บทเรียนจากความจริง การวิเคราะห์เรื่องทุนมนุษย์ : ประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศส Hollande 1. บุคลิก เงียบ ๆ พูดไม่มาก ออลลองด์ ผู้นำพรรคโซเชียลลิสต์วัย 57 ปี ซึ่งไม่เคยมีตำแหน่งในคณะรัฐบาลระดับชาติมาก่อน แม้จะเป็นนักการเมืองที่เป็นที่รู้จักมานานกว่า 30 ปีแล้วก็ตาม 2. เรียนหนังสือมาจาก National School of Administration ซึ่งเป็นโรงเรียนของพวกปัญญาชน 3. เขารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคสังคมนิยมอยู่ 11 ปี ก่อนที่จะประกาศสมัครรับเลือกตั้งช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาชนะการเลือกตั้งขั้นต้นภายในพรรค 4. ไม่เคยแต่งงานแต่มีคู่ชีวิตและอยู่ร่วมกันนาน 35 ปี มีลูกด้วยกัน 4 คน และปัจจุบันมีแฟนใหม่แล้ว เป็นนักหนังสือพิมพ์ 5. นโยบายเศรษฐกิจ เก็บภาษี 75 % สำหรับคนร่ำรวย ที่มีรายได้กว่า 1 ล้าน ยูโร การตรึงราคาเชื้อเพลิง การเพิ่มเงินสวัสดิการสังคม และ การจ้างครูใหม่หกหมื่นคน การลดเงินเดือน 30% ของประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรี การเพิ่มเงินอุดหนุนนักเรียนอีก 25% การควบคุมราคาน้ำมันเป็นเวลาสามเดือน นโยบายช่วยเหลือให้คนนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงที่พักได้มากขึ้น นโยบายประกันเงินฝากเพื่อรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ให้สูงกว่าค่าเงินเฟ้อ นโยบายลดอายุการเกษียณงานเป็น 60 ปีเช่นเดิม ทบทวนนโยบายนักเรียนต่างชาติใหม่อีกครั้งจากที่รัฐบาลที่แล้วมีนโยบายกีดกันนักเรียนต่างชาติในการเรียนละหางานทำต่อได้อย่างยากลำบาก และมี โดยเน้นความเป็นธรรมและเสมอภาค ทำให้มนุษย์มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ไม่ได้วัดที่วัตถุเป็นหลัก 8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1. ทุนมนุษย์ (Human Capital) 2. ทุนทางปัญญา(Intellectual Capital) 3. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) 4. ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) 5. ทุนทางสังคม(Social Capital) 6. ทุนแห่งความยั่งยืน(Sustainability Capital) 7. ทุนทาง IT (Digital Capital) 8. ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ 1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital) 2. ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) 3. ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) 4. ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) 5. ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)

จากการนำทฤษฎี 8 K’s : พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ 5 K’s เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ มาวิเคราะห์จะพบว่า ประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศส Hollande มีจุดเด่นอยู่หลายประการคือ ทุนทางอารมณ์ ซึ่งจากบุคลิกเป็นคนเงียบ ๆ พูดไม่มาก น่าจะเป็นข้อดีของผู้นำประเทศ เพราะการเป็นคนไม่แสดงอารมณ์จะทำให้น่าเกรงขาม และลดการขัดแย้งได้ดี ข้อที่สอง คือ ทุนทางสังคม เพราะอยู่ในสังคมการเมืองมานาน ประสบการณ์ที่สั่งสมมาน่าจะเป็นประโยชน์ในการวางตัว การบริหารประเทศ แม้ว่าจะไม่เคยรับตำแหน่งสูงระดับประเทศมาก่อนก็ตาม ประการต่อมา คือ ทุนทางจริยธรรม ที่เน้นความเป็นธรรมและเสมอภาค ทำให้มนุษย์มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ไม่ได้วัดที่วัตถุเป็นหลัก ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีงามในการบริหารงานในระดับประเทศ เพราะถ้าผู้นำมีความเสมอภาค และยุติธรรมแล้ว ผู้บริหารระดับล่างลงมาก็ควรรับนโยบายไปปฏิบัติ ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ไปด้วย เช่น แนวคิดให้คนฝรั่งเศสกระจายรายได้ให้เท่าเทียมกัน ส่วนนโยบายที่ดี คือ มุ่งเน้นไปพัฒนาทุนมนุษย์ คือการเพิ่มเงินสวัสดิการสังคม และ การจ้างครูใหม่หกหมื่นคน การเพิ่มเงินอุดหนุนนักเรียนอีก 25% แต่ข้อด้อย หรือทุนที่ Hollande ยังขาด คือ ทุนทางปัญญา และ ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะในการแก้ปัญหาหลักคือ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เน้นแบบรัฐกระตุ้น เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปขณะนี้ มีหนี้สาธารณะสูงมาก ควรจะกระตุ้นไปที่ภาคเอกชนด้วยจึงจะพัฒนาไปได้ทั้งระบบ และต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาระดับประเทศไปด้วยกัน ไม่ใช่ขึ้นภาษีคนรวย แล้วไปแจกจ่ายให้คนจน ทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกจุด ควรแก้ไปที่ต้นเหตุแห่งปัญหาและหาทางออกร่วมกัน เพื่อจะได้พัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ รศ.สุขุม นวลสกุล สอนให้รู้จักการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง เมื่อเกิดความขัดแย้ง ดูว่าเกิดจากปัญหาอะไร ควรจะแก้ไขอย่างไร นักบริหารที่ดีต้องมีทัศนคติที่ดี ต้องมองหลายมุม เข้าใจในเรื่องใจเขาใจเรา รู้จักวิเคราะห์ปัญหาข้อเท็จจริง สังเกตอารมณ์และเรื่องผลประโยชน์ มักจะเป็นบ่อเกิดปัญหา เป็นหัวหน้าต้องรู้ในงานอื่นบ้าง จะได้รู้ปัญหา รู้จักการประสานงานควรจะขอดีกว่าการขู่ ที่สำคัญนักบริหารต้องสร้างความเชื่อถือ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

การบ้าน สรุปอ. สุขุม นวลสกุล

    จากการเรียนในวันนี้ได้รู้หลักการเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้ง  การเจรจาต่อรอง   ได้ชนิดของความขัดแย้งชนิดต่างๆ  ถ้าเราเป็นผู้นำ เราจะแก้ปัยหาต่างๆ ในความขัดแย้งได้อย่างไรบ้าง  การวิเคราะห์ปัญหาข้ออาศัยข้อเท็จจริง อย่าใช้อารมณ์  และอย่านำผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา   และฝึกมองปัญหา โดยให้มีทัศนคติที่ดี   มองหลายมุม  ใจเขา ใจเรา  และปัญหาใหม่   คิดว่าที่เรียนในครั้งนี้มีประโยชน์กับการพัฒนาตนเองมากคะ
นางณัฐวิภา สุขวิบูลย์

จากการได้เรียน ชม. อ.สุขุม  นวลสกุล

ทำให้ได้รับความรู้ในด้านการบริหารความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง และผู้บังคับ

บัญชา นักบริหารที่ดีควรยีดหลักการ 2 หลักการคือ

หลักการที่ 1 ยึดหลักรัฐศาสตร์ (จะต้องมีความน่าเชื่อถือ) รู้จักไกล่เกลี่ย และประนีประนอม

หลักการที่ 2 ยึดหลักนิติศาตร์ ต้องถูกระเบียบและถูกกฏหมาย ผู้บริหารต้องมีมนุษย์สัมพันธ์

                 ต้องมีสติปัญญา รับฟัง  ควบคุมอารมณ์ รู้จักพอ ลืมเรื่องเดิม และไม่เอาชนะ

เพื่อเป็นคติในการนำไปใช้ในอนาคต

ประธานาธิบดี Francois  Holland 

เมื่อพิจารณาบทความเกี่ยวกับประธานาธิบดี Francois  Holland ประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศฝรั่งเศสและนำมาประยุกต์กับทฤษฎี  8K’s + 5K’s ของ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ สามารถแยกประเด็นการพิจารณา ได้ดังนี้

๑.      Human Capital , Talented Capital และ   5K’s ใหม่ของอาจารย์ คือ Knowledge Capital โดยพิจารณาจากการให้ความสำคัญกับการลงทุนในด้านการศึกษา โดยจะจ้างครูเพิ่มขึ้น ซึ่งหากดำเนินการบรรลุได้ตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลในด้าน Creativity Capital และ Innovation Capital

๒.    Intellectual Capital การวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจของยุโรปกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศฝรั่งเศสว่าจะมีผลกระทบอย่างไร

๓.     Ethical Capital และ   5K’s ใหม่ของอาจารย์ คือ Emotion Capital โดยพิจารณาจากชีวิตส่วนตัว และสถาบันครอบครัว

๔.     Happiness Capital และ Social Capital โดยพิจารณาจากแนวคิดการกระจายรายได้ความเป็นธรรมและความเสมอภาพของมนุษย์ การเกษียณอายุจาก ๖๒ ปี เป็น ๖๐ ปี และ   5K’s ใหม่ของอาจารย์ คือ Cultural Capital ซึ่งเป็นการให้คุณค่ากับการดำเนินชีวิตของมนุษย์

๕.     Sustainable Capital ประเด็นการพิจารณาคือ การใช้นโยบายรัฐแบบกระตุ้น เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนจริงหรือไม่  เพราะสัดส่วนของรัฐในฝรั่งเศสมีถึง ๕๗% ของ GDP  การเพิ่มความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนและเอกชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง  สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน น่าจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนมากกว่ารึเปล่า เป็นประเด็นการพิจารณาที่สำคัญจากทฤษฎี  8K’s + 5K’s ของท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์

                 

ธรณ์ธันย์ บุญแก้ว

สรุปวิชาอาจารย์ สุขุม

          ทำให้ทราบว่าความขัดแย้งมี  3 อย่าง จากบุคคล  กับบุคคล  บุคลกับองค์กร หน่วยงานกับหน่วยงาน และนักผู้บริหารที่ดีใช้วิธีแก้ไขความขัดแย้งได้โดยใช้หลัก  2 ทาง คือ หลักรัฐศาสตร์  ได้แก่ การไกล่เกลี่ย   ประนีประนอม     วิธีนี้นักบริหารต้องมีมนุษย์สัมพันธืที่ดี เป็นที่เชื่อถือของคู่กรณี     หลักนิติศาสตร์ ได้แก่  ถูกระเบียบ  ถูกกฏหมาย วิธีนี้นักบริหารจะต้องเป็นผู้ที่รู้ระเบียบและกฏหมายเป็นอย่างดี  เป็นผู้ที่มีความยุติธรรมจริงๆ        

หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายกรมพัฒนาที่ดิน วันที่ 5 กันยายน 2555

โดยการใช้ mind mapping และ learning organization 

ทำให้เรามีความคิดที่แบบกว้าง และลึก และมีการจัดการความคิดที่เป็นระบบระเบียบ เป็นขั้นตอน เป็นหมวดหมู่ โดยใช้สมองทัั้งสองด้านร่่วมกัน โดยมีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งเราสามารถนำหลักการเหล่านี้ไปใช้ในการคิดและจัดทำโครงการต่างๆในงานของเราให้มีคุณภาพและเต็มไปด้วยไอเดียใหม่ๆ

สรุป วันที่ 4 กันยายน 2555      - ประสบการณ์ 7 วัน ท่ีหยุดไปได้อะไร กลับไปสะสางงานที่ค้าง วางแผนการทำงานวิจัย อ่านหนังสือ 8K's+5K's แล้วสรุป และวิเคราะห์การบ้านที่ได้รับ      - ศึกษาดูงาน SCG สิ่งที่ได้รับ การนำสิ่งที่ SCG มี เสนอให้ลูกค้าได้เข้าถึงนวัตกรรมต่างๆ ด้วยการพัฒนาทุนมนุษย์ ทุนปัญญา ทุนความรู้ มีการคิดนอกกรอบ มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้องค์กรมีการพัฒนาที่ดีขึ้น      - การคิดออกแบบและบริหารโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของกรมพัฒนาที่ดิน สิ่งท่ีได้รับ การสร้างโครงการเชิงนวัตกรรม ที่มีความยั่งยืน โดยมีพื้นฐานด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม วันท่ี 5 กันยายน 2555      - วิเคราะห์ประเด็นท้าทายกรมพัฒนาท่ีดิน ได้รู้วิธีการคิด ด้วยการทำ mind map ได้ฝึกปฏิบัติ การคิดเป็นระบบ      - ยุทธศาสตร์การสร้างพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์สำหรับกรมพัฒนาท่่ีดิน ได้รับความรู้จากประสบการณ์การทำงานของท่านวิทยากร นำมาปรับใช้กับการฝึกปฏิบัติ      - การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ ได้รับความรู้จากประสบการณ์การทำงานของท่านวิทยากร การวางตัวของผู้บริหารในการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง การวิเคราะห์ปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา

สรุปการบ้าน อาจารย์ สุขุม

  การบริหารความขัดแย้งต้องแยกปัญหาออกเป็น  2 ส่วน คือส่ีวนรวมและส่วนตัว  โดยมองปัญหาต่างๆ  ต้องคำนึงถึงทัศนคติที่ดี  มองหลายมุม  เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา  ต้องเข้าใจเขาใจเรา เอาเป็นที่ตั้ง และไม่สร้างปัญหาใหม่เกิดขึ้น  เมื่อเกิดปัญหาต้องวิเคราะห์ปัญหาทางด้นข้อเท็จจริง  ด้านอารมณ์  และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการแก้ปัญหา ปัญหาที่เกิดขึ้นพบบ่อยครั้งได้แก่  บุคคลกับบุคคล และบุคคลกับองค์กร และหน่วยงานกับหน่วยงาน เป็นปัญหาที่ผู้นำต้องตัดสินใจ ในการแก้ความขัดแย้งให้มีประสิทธิภาพ
นางพิชชานันท์ รักษาทรัพย์

จากการไปทัศนศึกษาดูงาน ณ SCG ได้มองเห็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการองค์กร เพราะเน้นรับฟังข้อมูลลูกค้าเป็นหลัก และสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกเรื่อง นอกจากนี้วิธีการเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีแบบ Touch Screen และสามารถส่งข้อมูลไปหา E-mail เราได้โดยตรง และองค์กรนี้เน้นการพัฒนาคนก่อน และมีการสร้างบรรยาากาศแห่งการเรียนรู้ มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์โดยทำเป็นตัวอย่างให้เห็น ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี

นายสุพงษ์ ไพชยนต์

สรุป อาจารย์สุขุม นวลสกุล

     การบริหารความขัดแย้ง  การเจรจาต่อรอง (ตามแนวพระราชดำริ)  
                                    The  King  
     ส่วนรวม  สติปัญญา   รับฟัง  ควบคุมอารมณ์  พอสมควร  ลืมเรื่องเดิม  ทิฐิ เอาชนะ  

หลักในการแก้ไขความขัดแย้ง ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ คือ ใช้การไกล่เกลี่ย หรือประนีประนอม เพราะจะทำให้คู่กรณ๊ไม่มีความรู้สึกว่าแพ้ หากไม่ได้ผลให้ใช้หลักนิติศาสตร์ ในการตัดสิน

ส่งการบ้าน อาจารย์จีระ

วิเคราะห์ Hollande ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ประเด็นที่ 1 ขาดทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) K3 คือ เพราะไม่มีวินัยทางการเงิน และมีภรรยาแต่ไม่มีการจดทะเบียน ไม่ให้เกียรติผู้หญิงในฐานะภรรยาทั้งๆ ที่แต่งงานกันมาถึง 35 ปี มีลูกด้วยกัน 4 คน ประเด็นที่ 2 ขาดทุนทางสังคม (Social Capital) K5 คือ มีแฟนใหม่เป็นนักหนังสือพิมพ์ น่าจะมีผลต่อความน่าเชื่อถือของตนเองต่อสังคม ประเด็นที่ 3 ขาดทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนะคติ (Talented Capital) K8 เพราะจะกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งๆ ที่ฝรั่งเศสมีหนี้ต่างประเทศเยอะแล้ว อาจเป็นเพราะไม่มีความรู้ หรือขาดทักษะ ประเด็นที่ 4 สร้างทุนมนุษย์ (Human Capital) K1 คือจะส่งเสริมให้มีการจ้างครูเพิ่มขึ้น ลงทุนด้านการศึกษามากขึ้น ประเด็นที่ 5 มีทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) K3 เพราะมีแนวคิดให้คนฝรั่งเศสกระจายรายได้เท่าเทียมกัน เน้นความเป็นธรรมและความเสมอภาค ทำให้มนุษย์มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี

วิโรจน์ บรรเจิดฤทธิ์

สวัสีครับอาจารย์ วันนี้ (5 ส.ค.55) ผมได้รับความรู้มากเลย โดยเฉพาะ อ.สุขุม นวลสกุล  นั่งฟังท่านได้ความรู้มากมาย แถมสนุกอีก(เหมือนฟังทอล์ดโชว์) ต่ออีกชั่วโมงยังไหว ผมขอสรุปความรู้ดังนี้ นะครับ

        การบริหารความขัดแย้ง                                                                   ความขัดแย้งมีข้อดี คือ ทำให้เกิดทางเลือก นำไปสู่การพัฒนา นักบริหารต้องวิเคราะห์ว่าหากความขัดแย้งแล้วดีต้องทำให้เกิด  หากความขัดแย้งอะไรที่ไม่ดีจะต้องป้องกัน        นักบริหารต้องมองปัญหา  4 ประเด็นคือ  1)ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อปัญหา  2)มองหลายมุม มองเพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่มองเพื่อตัดสินถูกผิด 3)ต้อคิดถึงใจเขาใจเรา และ 4)การแก้ปัญหา อย่าลืมคิดถึงปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้น                                                   การแก้ไขปัญหา   ให้ยกพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือให้ยึดส่วนรวมเป็นหลัก ใช้สติปัญญา แก้ปัญหาด้วยการรับฟัง ควบคุมอารมณ์  มีความพอสมควรในการยอมรับการแก้ไขข้อขัดแย้ง ไม่ใช่จะต้องแก้ปัญหาให้เราทั้งหมด ให้ลืมเรื่องเดิม อย่าสร้างเรื่องใหม่ทำให้เกิดทิฐิและการเอาชนะกัน คือ แพ้ทั้งสองฝ่าย

วิเคราะห์ Hollande ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนใหม่

               เรื่องแรกคือ  Hollande เป็นคนที่มีนิสัยเงียบๆ  พูดน้อย ทำตัวน่าเบื่อซึ่งไม่ตรงกับนิสัยคนฝรั่งเศสที่เป็นคนชอบสนุก แสดงว่าขาด K4ทุนแห่งความสุข  มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารประเทศฝรั่งเศส ในเรื่องความเข้าใจด้านการสั่งการหรือความน่าเบื่อของผู้ร่วมงานและบุคคลรอบข้าง
                ประเด็นที่ 2  Hollande ชีวิตส่วนตัวไม่เคยงาน  แต่มีลูกกับภรรยาคนแรก 4คน และแฟนคนใหม่อาชีพนักหนังสือพิมพ์และอดีตเป็นนักการเมืองมาก่อน แสดงให้เห็นว่า ขาด K3 ทุนทางจริยธรรม  แสดงถึงความรับผิชอบต่อสถาบันครอบครัวที่ไม่ยอมแต่งงานในขณะที่มีลูก 4 คน และมีแฟนคนใหม่อดีตเคยชิงตำแหน่งประธานาธิบดีมาก่อนและในปัจจุบันอาชีพนักหนังสือพิมพ์  จะมีผลต่อผลประโยชน์ทับซ้อนการยอมรับน่าเชื่อถือขององค์กรสื่อสารมวลชนที่จะประชาสัมพันธ์ งานของรัฐบาล
                 ประด็นที่ 3 Hollande เป็นบุคคลที่น่าอันตรายในมุมมองของนักวิจารณ์ด้านเศรษฐกิจ ถึง 7 เรื่องในการทำหน้าที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส แสดงถึงการขาด   K8   ทุนทางความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ  ในเรื่องความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำที่จะนำพาประเทศฝรั่งเศสสู่ความสำเร็จ
จันทิมา ไตรบัญญัติกุล

หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง
วิทยากร อ.สุขุม เมื่อทราบที่มาที่ไป การจัดกลุ่มความขัดแย้งทำให้สามารถนำมาใช้ได้ในฐานะเราเป็นผู้บังคับบัญชา หรือฐานะผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างเรากับบุคคลอื่นได้มากๆค่ะ

ธรณ์ธันย์ บุญแก้ว

การบ้าน อาจารย์จีระ

วิเคราะห์ Hollande ประธานาธิบดีฝรั่งเศส - ขาดทุนทางจริยธรรม K3 คือ เพราะไม่มีวินัยทางการเงิน และมีภรรยาแต่ไม่มีการจดทะเบียน ไม่ให้เกียรติผู้หญิงในฐานะภรรยาทั้งๆ ที่แต่งงานกันมาถึง 35 ปี มีลูกด้วยกัน 4 คน - ขาดทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนะคติ K8 เพราะจะกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งๆ ที่ฝรั่งเศสมีหนี้ต่างประเทศเยอะแล้ว อาจเป็นเพราะไม่มีความรู้ หรือขาดทักษะ - สร้างทุนมนุษย์ K1 คือจะส่งเสริมให้มีการจ้างครูเพิ่มขึ้น ลงทุนด้านการศึกษามากขึ้น

ส่งการบ้าน อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์ สิ่งที่ได้จากการอบรม 1.การใช้เครื่องมือทีช่วยบันทึกความจำ ทำให้สรุปข้อมูลได้ชัดเจน กระชับ และจำได้ทั้งหมด 2.รู้และเข้าใจหลัการเขียนแผนที่ความคิด 3.ทำให้สมองมีการคิดเป็นระบบมากขึน

อ.สุทธิเดช สุทธิ์สมณ์ 1.เกิดแนวคิดในการบริหารและพัฒนาองค์กร 2.เข้าใจในเรื่องขององค์กรแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้

อ.กิตติ ชยางคกุล 1.สามารถเชื่อมโยง วิเคราะห์โครงการจากแนวคิดทุนทางนวัตกรรมโดยใช้แผนที่ความคิดและแนวคิดLO มาวิเคราะห์เป็นโครงการ

อฺสุขุม นวลสกุล 1.ได้มุมมองเรื่องความขัดแย้งที่ดีและความขัดแย้งที่ไม่ดี 2.สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น 3.การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ควรใช้หลักของรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ โดยเน้นหลักรัฐศาสตร์ก่อน

ศ.ดร.จีระ หนึ่งสัปดาห์ที่กลับไปได้ไปทบทวนวางแผนการทำงานและมอบหมายงานให้ทีมงานทำงานต่อ ส่วนหนังสือ8k's และ5k's เพิ่งมานั่งทบทวนประกอบกับการทำการบ้านส่งก่อนเดินทางมาพบกันในช่วงที่2

การดูงานที่scg 1.ได้เรียนรู้การนำสิ่งที่มีในบริษัทกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ มาวางแผนในการทำธุกิจขององค์กร

นางภัทรานิษฐ์ ช่วยสระน้อย

Mind Map โดย อ. ขวัญฤดี ผลอนันต์ สอนให้รู้วิธีการคิดวิเคราะห์โครงการ โดยใช้ Mind Map เข้ามาช่วยในการจำได้แม่นยำมากขึ้น และง่ายต่อการนำเสนอแนวความคิด การทำ Mind Map ด้วย 5 ส ได้แก่ สัญลักษณ์ สั้น เส้น สี และสวย ประโยชน์ของการทำ Mind Map คือช่วยในการจดจำได้ง่ายกว่าการเขียนเป็นตัวหนังสือ และเป็นการฝึกให้สมองซีกซ้าย และซีกขวามีการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ช่วยป้องกันการเสื่อมของสมองได้

สรุป SCG

   สิ่งที่ได้พบเห็น  นวัตกรรมเกี่ยวกับการออกแบบอาคารที่มีรูปลักษณืไม่เหมือนกับอาคารทั่วไป ซึ่งเ็นเรื่องที่น่าสนใจกับผู้พบเห็น ได้เห็นการพัฒนานวัตกรรมมาใช้ในการออกแบบส่วนต่างๆ ของบ้าน  โดยออกแบบตามต้องการของลูกค้า

สรุป SCG

    ได้พบเห็นอาคารโชว์รูมเป็นที่น่าสนใจ   การต้อนรับโดยมีเจ้าหน้าที่ีมาต้อนรับด้วยความมุ่งมั่น  ไม่เหมือนกับสว่นราชการ  และได้เห็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ   นำมาใช้เพื่อการสาธิต รูปแบบต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า   โดยสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีด้าน IT  ในการสาธิตที่ทันสมัย  ในโลกการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
ธรณ์ธันย์ บุญแก้ว

สรุป SCG

    ได้พบเห็นการใช้ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย   สะดวกรวดเร็ว  ต่อการเสนอข้อมูลในเรื่องผลิตัณฑ์ ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าที่จะนำมาใช่้ในการตัดสินใจที่จะสร้างบ้านหรือตกแต่งบ้าน

สรุปอาจารย์ ขวัญฤดี

   ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียน mind map  ซึ่งต้องมีแก่นแกน  กิ่งแก้ว  และกิ่งก้อย   ในเรื่องการจดบันทึกที่ดีต้อ'มี  5ส   คือสัญลักษณื สั้น  เส้น  สี  และสวย  ฝึกให้มีการใช้สมองซีกขวา  ต้องฝึกเขียนเยอะๆ จะได้ฝึกเขียนให้
ธรณ์ธันย์ บุญแก้ว

สรุปอาจารย์ ขวัญฤดี

 mind map คือ การนำสัญลักษณ์  5 ส  มาใช้   ได้แก่  1 สัญลักษณ์ (ภาพ) 2 สั้น  3 เส้น   4สี  5 สวย (การสร้างสรรค์) มาใช้เพื่อให้เกิดความจำที่ง่ายขึ้น  

mind map เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมความรู้ ให้เป็นระบบเพื่อใช้ในการจดจำหรือนำเสนอผลงานให้มีผประสิทธิาพ ต้องคำนึงถึงการนำสัญลักษณ์ 5 ส มาใช้ ได้แก่ 1 สัญลักษณ์น่าสนใจ (ภาพ) 2 ข้อมูลสั้น 3 เส้นชัดเจน 4สีเด่นชัด 5 สัญลักษณืสวยงาม สร้างสรรค มาใช้เพื่อให้เกิดความจำที่ง่ายขึ้น

การบ้าน กลุ่มที่ 4 ค่ะ ดูงานที่ บริษัท SCG วันที่ 4 กันยายน 2555 ได้รับองค์ความรู้ด้าน 1.การบริหารจัดการองค์กร โดยมุ่งเน้นในเรื่องการเรียนรู้จากความต้องการของผู้บริโภค นำมาพัฒนากลยุทธ์ในองค์กร และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ตลดจนมีการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกัผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและการตัดสินใจเลือกใช้ของผู้บริโภค
2.องค์กรมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ภายใต้ทฤษฎี 3l's ได้แก่ 1.Learmin from pain 2.Learmin from experiencer 3.Learmin from listening

สุนีย์รัตน์ โลหะโชติ

การบ้าน กลุ่มที่ 4  วันที่ 5 กันยายน 2555  ดังนี้

อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

 Mind Map เรียนรู้ เรื่อง วิธีการจดบันทึกที่ดี ตามหลัก 5 ส ได้แก่

  1. สัญลักษณ์
  2. สั้น
  3. ใช้ลายเส้น
  4. ใช้เส้นสี
  5. เกิดความสวยงามตามความคิดสร้างสรรค์

ฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกหัดคิด

 

อาจารย์สุทธิเดช สิทธิสมณ์

ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่ององค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานการไฟฟ้า

Learning organization  องค์กรแห่งการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร  ซึ่งจะผันแปรไปตามระบบการเรียนรู้ขององค์กร  มีกระบวนการพื้นฐานที่สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างองค์กร 

การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ปรับตัวให้อยู่ทิศทางเดียวกับองค์กร  สร้าง commitment ให้บุคลากรรู้จักหลักองค์กรและพร้อมเสมอ เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง   

 

        รศ.สุขุม นวลสกุล

ได้รับความรู้ในเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สรุปได้ดังนี้

ที่มาของความขัดแย้ง

-        เกิดจาก ความคิดที่ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน

-        อุปสรรค  ขัดขวาง

-        ทางเลือก นำไปสู่การพัฒนา

หน้าที่นักบริหาร ต้องมีหน้าที่ผลักดันให้เกิดความขัดแย้งที่ดี  และความขัดแย้งที่ไม่ดีต้องไม่ทำให้เกิดขึ้น

ความขัดแย้ง ได้แก่ เรื่องดี  เรื่องส่วนรวม  และ เรื่องไม่ดี เรื่องส่วนตัว

การมองปัญหา  มองด้วยทัศนคติที่ดี  มองหลายมุม  ใจเขา ใจเรา

มองให้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่

รูปแบบของปัญหา ปัญหาตามข้อเท็จจริง ปัญหาตามอารมณ์ และปัญหาตามผลประโยชน์

ประเภทของความขัดแย้ง

        ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับบุคคล  ยึดหลักกันไว้ดีกว่าแก้

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับองค์กร  เกิดจาการไม่เข้าใจในองค์กร และไม่ได้รับการอธิบาย

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง หน่วยงาน กับหน่วยงาน  เกิดจากไม่เข้าใจบทบาทองตนเองและการหลงหน่วยงาน

          สรุป  การแก้ปัญหาที่ดี ควรคำนึงถึง ส่วนรวม  แก้ไขด้วยสติปัญญา  รับฟังความคิดเห็น  ควบคุมอารมณ์  รู้จัก พอสมควร ลืมเรื่องเดิม  ไม่มีทิฐิ และไม่เอาชนะการบ้าน กลุ่มที่ 4  วันที่ 5 กันยายน 2555  ดังนี้

อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

 Mind Map เรียนรู้ เรื่อง วิธีการจดบันทึกที่ดี ตามหลัก 5 ส ได้แก่

  1. สัญลักษณ์
  2. สั้น
  3. ใช้ลายเส้น
  4. ใช้เส้นสี
  5. เกิดความสวยงามตามความคิดสร้างสรรค์

ฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกหัดคิด

 

อาจารย์สุทธิเดช สิทธิสมณ์

ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่ององค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานการไฟฟ้า

Learning organization  องค์กรแห่งการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร  ซึ่งจะผันแปรไปตามระบบการเรียนรู้ขององค์กร  มีกระบวนการพื้นฐานที่สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างองค์กร 

การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ปรับตัวให้อยู่ทิศทางเดียวกับองค์กร  สร้าง commitment ให้บุคลากรรู้จักหลักองค์กรและพร้อมเสมอ เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง   

 

        รศ.สุขุม นวลสกุล

ได้รับความรู้ในเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สรุปได้ดังนี้

ที่มาของความขัดแย้ง

-        เกิดจาก ความคิดที่ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน

-        อุปสรรค  ขัดขวาง

-        ทางเลือก นำไปสู่การพัฒนา

หน้าที่นักบริหาร ต้องมีหน้าที่ผลักดันให้เกิดความขัดแย้งที่ดี  และความขัดแย้งที่ไม่ดีต้องไม่ทำให้เกิดขึ้น

ความขัดแย้ง ได้แก่ เรื่องดี  เรื่องส่วนรวม  และ เรื่องไม่ดี เรื่องส่วนตัว

การมองปัญหา  มองด้วยทัศนคติที่ดี  มองหลายมุม  ใจเขา ใจเรา

มองให้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่

รูปแบบของปัญหา ปัญหาตามข้อเท็จจริง ปัญหาตามอารมณ์ และปัญหาตามผลประโยชน์

ประเภทของความขัดแย้ง

        ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับบุคคล  ยึดหลักกันไว้ดีกว่าแก้

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับองค์กร  เกิดจาการไม่เข้าใจในองค์กร และไม่ได้รับการอธิบาย

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง หน่วยงาน กับหน่วยงาน  เกิดจากไม่เข้าใจบทบาทองตนเองและการหลงหน่วยงาน

          สรุป  การแก้ปัญหาที่ดี ควรคำนึงถึง ส่วนรวม  แก้ไขด้วยสติปัญญา  รับฟังความคิดเห็น  ควบคุมอารมณ์  รู้จัก พอสมควร ลืมเรื่องเดิม  ไม่มีทิฐิ และไม่เอาชนะ การบ้าน กลุ่มที่ 4  วันที่ 5 กันยายน 2555  ดังนี้

อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

 Mind Map เรียนรู้ เรื่อง วิธีการจดบันทึกที่ดี ตามหลัก 5 ส ได้แก่

  1. สัญลักษณ์
  2. สั้น
  3. ใช้ลายเส้น
  4. ใช้เส้นสี
  5. เกิดความสวยงามตามความคิดสร้างสรรค์

ฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกหัดคิด

 

อาจารย์สุทธิเดช สิทธิสมณ์

ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่ององค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานการไฟฟ้า

Learning organization  องค์กรแห่งการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร  ซึ่งจะผันแปรไปตามระบบการเรียนรู้ขององค์กร  มีกระบวนการพื้นฐานที่สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างองค์กร 

การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ปรับตัวให้อยู่ทิศทางเดียวกับองค์กร  สร้าง commitment ให้บุคลากรรู้จักหลักองค์กรและพร้อมเสมอ เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง   

 

        รศ.สุขุม นวลสกุล

ได้รับความรู้ในเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สรุปได้ดังนี้

ที่มาของความขัดแย้ง

-        เกิดจาก ความคิดที่ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน

-        อุปสรรค  ขัดขวาง

-        ทางเลือก นำไปสู่การพัฒนา

หน้าที่นักบริหาร ต้องมีหน้าที่ผลักดันให้เกิดความขัดแย้งที่ดี  และความขัดแย้งที่ไม่ดีต้องไม่ทำให้เกิดขึ้น

ความขัดแย้ง ได้แก่ เรื่องดี  เรื่องส่วนรวม  และ เรื่องไม่ดี เรื่องส่วนตัว

การมองปัญหา  มองด้วยทัศนคติที่ดี  มองหลายมุม  ใจเขา ใจเรา

มองให้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่

รูปแบบของปัญหา ปัญหาตามข้อเท็จจริง ปัญหาตามอารมณ์ และปัญหาตามผลประโยชน์

ประเภทของความขัดแย้ง

        ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับบุคคล  ยึดหลักกันไว้ดีกว่าแก้

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับองค์กร  เกิดจาการไม่เข้าใจในองค์กร และไม่ได้รับการอธิบาย

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง หน่วยงาน กับหน่วยงาน  เกิดจากไม่เข้าใจบทบาทองตนเองและการหลงหน่วยงาน

          สรุป  การแก้ปัญหาที่ดี ควรคำนึงถึง ส่วนรวม  แก้ไขด้วยสติปัญญา  รับฟังความคิดเห็น  ควบคุมอารมณ์  รู้จัก พอสมควร ลืมเรื่องเดิม  ไม่มีทิฐิ และไม่เอาชนะ การบ้าน กลุ่มที่ 4  วันที่ 5 กันยายน 2555  ดังนี้

อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

 Mind Map เรียนรู้ เรื่อง วิธีการจดบันทึกที่ดี ตามหลัก 5 ส ได้แก่

  1. สัญลักษณ์
  2. สั้น
  3. ใช้ลายเส้น
  4. ใช้เส้นสี
  5. เกิดความสวยงามตามความคิดสร้างสรรค์

ฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกหัดคิด

 

อาจารย์สุทธิเดช สิทธิสมณ์

ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่ององค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานการไฟฟ้า

Learning organization  องค์กรแห่งการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร  ซึ่งจะผันแปรไปตามระบบการเรียนรู้ขององค์กร  มีกระบวนการพื้นฐานที่สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างองค์กร 

การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ปรับตัวให้อยู่ทิศทางเดียวกับองค์กร  สร้าง commitment ให้บุคลากรรู้จักหลักองค์กรและพร้อมเสมอ เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง   

 

        รศ.สุขุม นวลสกุล

ได้รับความรู้ในเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สรุปได้ดังนี้

ที่มาของความขัดแย้ง

-        เกิดจาก ความคิดที่ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน

-        อุปสรรค  ขัดขวาง

-        ทางเลือก นำไปสู่การพัฒนา

หน้าที่นักบริหาร ต้องมีหน้าที่ผลักดันให้เกิดความขัดแย้งที่ดี  และความขัดแย้งที่ไม่ดีต้องไม่ทำให้เกิดขึ้น

ความขัดแย้ง ได้แก่ เรื่องดี  เรื่องส่วนรวม  และ เรื่องไม่ดี เรื่องส่วนตัว

การมองปัญหา  มองด้วยทัศนคติที่ดี  มองหลายมุม  ใจเขา ใจเรา

มองให้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่

รูปแบบของปัญหา ปัญหาตามข้อเท็จจริง ปัญหาตามอารมณ์ และปัญหาตามผลประโยชน์

ประเภทของความขัดแย้ง

        ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับบุคคล  ยึดหลักกันไว้ดีกว่าแก้

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับองค์กร  เกิดจาการไม่เข้าใจในองค์กร และไม่ได้รับการอธิบาย

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง หน่วยงาน กับหน่วยงาน  เกิดจากไม่เข้าใจบทบาทองตนเองและการหลงหน่วยงาน

          สรุป  การแก้ปัญหาที่ดี ควรคำนึงถึง ส่วนรวม  แก้ไขด้วยสติปัญญา  รับฟังความคิดเห็น  ควบคุมอารมณ์  รู้จัก พอสมควร ลืมเรื่องเดิม  ไม่มีทิฐิ และไม่เอาชนะ การบ้าน กลุ่มที่ 4  วันที่ 5 กันยายน 2555  ดังนี้

อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

 Mind Map เรียนรู้ เรื่อง วิธีการจดบันทึกที่ดี ตามหลัก 5 ส ได้แก่

  1. สัญลักษณ์
  2. สั้น
  3. ใช้ลายเส้น
  4. ใช้เส้นสี
  5. เกิดความสวยงามตามความคิดสร้างสรรค์

ฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกหัดคิด

 

อาจารย์สุทธิเดช สิทธิสมณ์

ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่ององค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานการไฟฟ้า

Learning organization  องค์กรแห่งการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร  ซึ่งจะผันแปรไปตามระบบการเรียนรู้ขององค์กร  มีกระบวนการพื้นฐานที่สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างองค์กร 

การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ปรับตัวให้อยู่ทิศทางเดียวกับองค์กร  สร้าง commitment ให้บุคลากรรู้จักหลักองค์กรและพร้อมเสมอ เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง   

 

        รศ.สุขุม นวลสกุล

ได้รับความรู้ในเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สรุปได้ดังนี้

ที่มาของความขัดแย้ง

-        เกิดจาก ความคิดที่ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน

-        อุปสรรค  ขัดขวาง

-        ทางเลือก นำไปสู่การพัฒนา

หน้าที่นักบริหาร ต้องมีหน้าที่ผลักดันให้เกิดความขัดแย้งที่ดี  และความขัดแย้งที่ไม่ดีต้องไม่ทำให้เกิดขึ้น

ความขัดแย้ง ได้แก่ เรื่องดี  เรื่องส่วนรวม  และ เรื่องไม่ดี เรื่องส่วนตัว

การมองปัญหา  มองด้วยทัศนคติที่ดี  มองหลายมุม  ใจเขา ใจเรา

มองให้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่

รูปแบบของปัญหา ปัญหาตามข้อเท็จจริง ปัญหาตามอารมณ์ และปัญหาตามผลประโยชน์

ประเภทของความขัดแย้ง

        ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับบุคคล  ยึดหลักกันไว้ดีกว่าแก้

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับองค์กร  เกิดจาการไม่เข้าใจในองค์กร และไม่ได้รับการอธิบาย

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง หน่วยงาน กับหน่วยงาน  เกิดจากไม่เข้าใจบทบาทองตนเองและการหลงหน่วยงาน

          สรุป  การแก้ปัญหาที่ดี ควรคำนึงถึง ส่วนรวม  แก้ไขด้วยสติปัญญา  รับฟังความคิดเห็น  ควบคุมอารมณ์  รู้จัก พอสมควร ลืมเรื่องเดิม  ไม่มีทิฐิ และไม่เอาชนะ การบ้าน กลุ่มที่ 4  วันที่ 5 กันยายน 2555  ดังนี้

อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

 Mind Map เรียนรู้ เรื่อง วิธีการจดบันทึกที่ดี ตามหลัก 5 ส ได้แก่

  1. สัญลักษณ์
  2. สั้น
  3. ใช้ลายเส้น
  4. ใช้เส้นสี
  5. เกิดความสวยงามตามความคิดสร้างสรรค์

ฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกหัดคิด

 

อาจารย์สุทธิเดช สิทธิสมณ์

ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่ององค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานการไฟฟ้า

Learning organization  องค์กรแห่งการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร  ซึ่งจะผันแปรไปตามระบบการเรียนรู้ขององค์กร  มีกระบวนการพื้นฐานที่สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างองค์กร 

การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ปรับตัวให้อยู่ทิศทางเดียวกับองค์กร  สร้าง commitment ให้บุคลากรรู้จักหลักองค์กรและพร้อมเสมอ เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง   

 

        รศ.สุขุม นวลสกุล

ได้รับความรู้ในเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สรุปได้ดังนี้

ที่มาของความขัดแย้ง

-        เกิดจาก ความคิดที่ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน

-        อุปสรรค  ขัดขวาง

-        ทางเลือก นำไปสู่การพัฒนา

หน้าที่นักบริหาร ต้องมีหน้าที่ผลักดันให้เกิดความขัดแย้งที่ดี  และความขัดแย้งที่ไม่ดีต้องไม่ทำให้เกิดขึ้น

ความขัดแย้ง ได้แก่ เรื่องดี  เรื่องส่วนรวม  และ เรื่องไม่ดี เรื่องส่วนตัว

การมองปัญหา  มองด้วยทัศนคติที่ดี  มองหลายมุม  ใจเขา ใจเรา

มองให้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่

รูปแบบของปัญหา ปัญหาตามข้อเท็จจริง ปัญหาตามอารมณ์ และปัญหาตามผลประโยชน์

ประเภทของความขัดแย้ง

        ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับบุคคล  ยึดหลักกันไว้ดีกว่าแก้

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับองค์กร  เกิดจาการไม่เข้าใจในองค์กร และไม่ได้รับการอธิบาย

          ความขัดแย้ง  ระหว่าง หน่วยงาน กับหน่วยงาน  เกิดจากไม่เข้าใจบทบาทองตนเองและการหลงหน่วยงาน

          สรุป  การแก้ปัญหาที่ดี ควรคำนึงถึง ส่วนรวม  แก้ไขด้วยสติปัญญา  รับฟังความคิดเห็น  ควบคุมอารมณ์  รู้จัก พอสมควร ลืมเรื่องเดิม  ไม่มีทิฐิ และไม่เอาชนะ  

สิ่งที่ได้ในการไปศึกษาดูงาน ณ SCG และอบรม 4-5 กันยายน 2555

              - มองงานเป็นที่ตั้ง
            - หาแนวร่วม
            - พร้อมเปลี่ยนแปลง

แนวคิดเพื่อพัฒนางาน

 คิดเสมอว่าเกษตรกร หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หรือบุคคลทั่วไป เป็นลูกค้าที่สำคัญของเรา ต้งทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากที่สุด และควรมีการแยกกลุ่มบุคคลออกเป็นหลายๆประเภท อาทิเช่น เพศ วัย อาชีพ เป็นต้น ซึ่งในการปฏิบัติงานจะต้องนำเอาบุคคลากรที่มีความรู้เข้ามาช่วยในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจน  คิดพัฒนาต่อยอดการทำงานให้เป็นที่ประจักษ์ ซึ่งผู้บริหารในแต่ละระดับก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม และให้เจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถได้แสดงออกทั้งด้านความคิดและการปฏิบัติอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้งานต่างๆ ได้พัฒนาตามยุคสมัย

  อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของมนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน ผู้บริหารต้องคิดและแยกแยะแต่ละบุคคลเพื่อให้เกิดการใฝ่รู้ เมื่อใฝ่รู้แล้ว ก็จะสารถทำให้ทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวแสดงออกมา และสามารถสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มได้

 การทำ Mind Map ทำให้รู้จักวิธีคิดอย่างเป็นระบบ และทำให้ไม่ลืมเรื่องราวต่างๆ ในการปฏิบัติงาน เพราะคนเราอายุมากขึ้น ความจำอาจจะลดลงได้ ฉะนั้นจะต้องหาวิธีการที่จะทำให้เราจดจำได้ง่าย 

กรณีศึกษาของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะเป็นการพัฒนาของบุคคล นั้นก็คือทุนมนุษย์ ทุกคนมี แต่ทำอย่างไร จะนำเอาทุนมาใช้ได้  ในหลักการ คือ ปลูกฝังบุคคลากรให้มีความรักองค์กร เข้าใจวิสัยทัศน์ ภารกิจ ก็จะทำให้มีสามัญสำนึกต้องมองอนาคตไปข้างหน้า เสมือนกับการปลูกต้นไม้หนึ่งต้น แล้วทำอย่างไรจึงจะเจริญงอกงามมีผลให้ได้รับประทาน สิ่งเหล่านี้ ต้องนำหลักการมาใช้ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ร่วมกัน เรียนรู้เป็นทีม บุคคลากรชั้นเลิศ มีแบบแผน คิดเป็นระบบ  เป็นต้น

  ความขัดแย้ง ไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะเกิดขึ้น ฉะนั้นจะต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ว่าความขัดแย้งที่เกิดมีสาเหตุมาจากอะไร 

อาจจะมาจากส่วนรวม หรือส่วนตัว ซึ่งการสร้างความขัดแย้งก็ทำให้ได้ประโยน์ต่อการปฏิบัติงานแต่ถ้าเป็นความขัดแย้งส่วนตัวอย่าพยายามให้เกิด เพราะจะนำไปสู่ปัญหาอีกมากมาย

 ความขัดแย้งที่ท้าทายความสามารถ มีดังนี้
ระหว่างบุคคลกับบุคคล  มีสาเหตุจาก
 1. อิฉาริษยา
 2. การเอารัดเอาเปรียบ

ระหว่างบุคคลกับหน่วยงาน มีสาเหตุจาก

1. ไม่เข้าใจ
2. ไม่อธิบาย

ระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน มีสาเหตุจาก

1. ไม่เข้าใจบทบาท
2. หลงหน่วยงาน 

จากความขัดแย้งเหล่านี้ ต้องมองปัญหาอย่างมีทัศนคติที่ดี มองหลายๆมุม นึกถึงใจเขาใจเรา จะเกิดปัญหาใหม่หรือไม่ และวิเคราะห์ให้ออกว่า

 - ข้อเท็จจริงคืออะไร
 - ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งหรือไม่
 - ผลประโยชน์เป็นหลัก  สุดท้ายต้องนำเอาหลักรัฐศาสตร์และหลักนิติศาสตร์เข้ามาใช้ในการแก้ไขความขัดแย้งมิให้เกิดปัญหา โดยเฉพาะการใช้หลักนิติศาสตร์เข้ามาช่วย ต้องพึ่งระวังว่า จะต้องมีความยุติธรรมโดยไม่ลำเอียง 

สรุป ต้องพึ่งระลึกเสมอว่า เราทำสิ่งดีๆเพื่อส่วนรวม ต้องมีสติปัญญา รับฟัง ควบคุมอารมณ์ พอสมควร ลืมเรื่องเดิม ขจัดทิฐิ แล้วจะชนะอุปสรรค

วันที่ 4 ก.ย. 2555 สิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานที่ SCG

การพัฒนาองค์กรโดยเรียนรู้จากความต้องการของลูกค้า การทำงานเป็นทีม การมีแนวคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เห็นรูปแบบการนำเสนอแบบใหม่ๆ ไม่น่าเบื่อ

วันที่ 5 ก.ย. 2555 หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายกรมพัฒนาที่ดิน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ธัญญา ผลอนันต์ และ อ.สุทธิเดช สุทธิสมณ์

เป็นการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Mind Map ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถใช้สมองทั้งสองซีกในการทำงาน ทำให้เราคิดอย่างเป็นระบบ โดยคิดจากกว้างไปสู่ลึก การเรียนรู้แบบ Learning Organization เรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเสมอ

หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

การมองปัญหา > เราต้องมีทัศนะคติที่ดีกับปัญหา คือ มองหลายๆ มุม ความขัดแย้ง 3 อย่าง 1. บุคคล vs บุคคล 2. บุคคล vs องค์กร 3. หน่วยงาน vs หน่วยงาน หลักการในการบริหารความขัดแย้ง 1. รัฐศาสตร์ : ใช้วิธีไกล่เกลี่ย ประนีประนอม 2. นิติศาสตร์ : ถูกระเบียบ ถูกกฏหมาย การบริหารความขัดแย้งนั้น ให้มองไปที่ส่วนรวม โดยใช้ สติปัญญา รับฟัง ควบคุมอารมณ์ พอสมควร ลืมเรื่องเดิม ทิฐิ เอาชนะ นำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในการบริหารจัดการความขัดแย้งก็จะไม่เกิด

สวัสดีครับอาจารย์จีระครับวันนี้วิชาของอาจารย์สุขุม นวลสกุลเป็นวิชาที่ดีมากวิชาหนึ่งเพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งองกรค์ เเละครอบครัวเพื่อลดความขัดแย้งเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้อย่างสูงสุด

สุวรรณภารัตน์ มาลัย
  ประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศส Hollande  เมื่อนำทฤษฎี 8 K’s : พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ 5 K’s เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ มาวิเคราะห์จะพบว่า 
       Hollande  มีทุน ตามทฤษฎี 8 K’s แต่ที่ขาดคือ ทุนทางจริยธรรม เรื่องของครอบครัวที่ไม่มีการแต่งงาน  ทุนทางสังคม เรื่องของภรรยาคนใหม่ที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ และ ทุนทางปัญญา เรื่องของการมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคตเพราะการขึ้นภาษี คนรวยไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และการทำงานสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง/สัปดาห์ ก็ถือว่าเป็นการทำงานที่น้อยเกินไป  ปัญหาน่าจะหาทางอื่นที่ดีและร่วมกันแก้ไข เพื่อจะได้พัฒนาประเทศในระยะยาว
สุวรรณภารัตน์ มาลัย

วันที่ 4 กันยายน 2555

          ดูงานที่ SCG ที่เลียบทางด่วนรามอินทรา ซึ่งก่อตั้งมาเป็นปีที่ 4 แล้ว ประทับใจหลายๆเรื่อง การต้อนรับ และรูปแบบการนำเสนอหน่วยงาน และสินค้า ชอบหลายๆมุม ได้แรงบันดาลใจหลายอย่าง น่าจะนำมาประยุคใช้กับงานของกรมฯมากๆ  ก็คงต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ของ SCG ทุกท่านมากๆ   ที่ให้การต้อนรับคณะของพวกเราเป็นอย่างดี           
            หัวเรื่อง โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานฯ  ต้องขอขอบคุณ อ.กิตติ ชยางคกุล  มากๆที่ให้ไอเดียใหม่ๆในการเขียนโครงการเชิงนวัตกรรมฯ
   ขอขอบคุณท่าน ศาสตราาจารย์ ดร.จิระ หงส์ลดารมย์ ที่ได้หาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับพวกเรา
นายสมเกียรติ ชนะพาล

หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง/การเจรจาต่อรอง วิทยากร รศ.สุขุม นวลสกุล

   การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ผู้บริหารที่ต้องยึดหลักสำคัญ 2 ประการคือ หลักรัฐศาสตร์และหลักนิติศาสตร์ หรือใช้ควบคู่กันเพื่อการแก้ไขปัญหาที่มี
สุวรรณภารัตน์ มาลัย

วันที่ 5 กันยายน 2555

                หัวเรื่อง วิเคราะห์ปัญหาประเด็นท้าทายยุทธศาสตร์  ,การสร้าง พัฒนา และการบริหารความขัดแย้ง จาก 3 หัวเรื่อง และ 4 อาจารย์ ได้เล่าประสบการณ์ต่างๆให้ฟัง สุดยอดมากค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Mine Mapping  กับ อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์  เรื่องจากการไฟฟ้าฯ อ.สุทธิเดช สุทธิสมณ์ หรือฟังเรื่องเล่าจากอาจารย์สุขุม  นวลสกุล  เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก สามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยตรง   

ขอขอบคุณท่าน ศาสตราาจารย์ ดร.จิระ หงส์ลดารมย์ ที่ได้คัดสรรอาจารย์ที่เหมาะสมที่สุดให้กับพวกเรา

พงษ์ศักดิ์ พงศ์กสิกิจ

วันที่ 4 กันยายน 2555

          ดูงานที่ SCG ที่เลียบทางด่วนรามอินทรา ชอบมากครับ 
          อ.กิตติ ชยางคกุล  ให้ไอเดียในการเขียนโครงการเชิงนวัตกรรมฯ กระตุ้นความคิดได้อีกเยอะมาก
           ขอบคุณทุกๆชั่วโมงครับ ที่มอบสิ่งดีๆให้
พงษ์ศักดิ์ พงศ์กสิกิจ

วันที่ 5 กันยายน 2555

                อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์ แนะนำได้ชัดเจนมากๆ ด้านการทำ Mine Map ทำให้รู้จักวิธีคิดอย่างเป็นระบบ และทำให้ไม่ลืมเรื่องราวต่างๆ ในการปฏิบัติงาน เพราะคนเราอายุมากขึ้น ความจำอาจจะลดลงได้ ฉะนั้นจะต้องหาวิธีการที่จะทำให้เราจดจำได้ง่าย    
                อาจารย์สุขุม  นวลสกุล  นำเรื่องจริงมาเล่า เรื่องจริงที่บางครั้งเมื่อเจอจะหนักมาก แต่ฟังแล้วดูขำๆ แต่ช่วยลดความขัดแย้งได้ คิดว่าต้องได้นำไปใช้อย่างแน่นอน ทั้งทางตรงและทางอ้อม   
                ขอบคุณอาจารย์ และทีมงาน Chira Academy
นายพงษ์ศักดิ์ พงศ์กสิกิจ

ความคิดเห็นต่อการบรรยาย 1. วิทยากร อ.กิตติ ชยางคกุล : ทำให้เข้าใจและมีความคิดที่ดี 2. หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายกรมพัฒนาที่ดิน/ยุทธศาสตร์การสร้าง พัฒนาและบริหารทุนมนุษย์ :ให้ความรู้ เข้าใจในองค์กร และแนวทางการวางแผน และการทำงานเป็นทีม 3. หัวข้อ การบริหารความขัดแย้ง : ให้รู้จักการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าและระยะยาว

สุดสงวน เทียมไธสงค์

วันท่ี4กย สรุปจากการได้ไปศึกษาดูงาน scg จากการไปศึกษาดูงานจะเห็นได้ถึงเทคโนโลยั นวัตกรรมใหม่ๆ ได้แนวคิดวัสดุท่ีใช้ในการสร้างบ้าน อาคาร มีส่วนประกอบของเส้นใยเซลลูโลส ของพืช เข้ามาร่วมด้วย ทำให้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ น่าสนใจ วันท่ี 5 กย. อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์ Mind Map เรียนรู้ เรื่อง วิธีการจดบันทึกที่ดี ตามหลัก 5 ส ได้แก่ สัญลักษณ์ /สั้น/ใช้ลายเส้น/ใช้เส้นสีเกิดความสวยงามตาม /ความคิดสร้างสรรค์ ฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกหัดคิด ทำให้เราคิดเป็นระบบ มีการส่่ือสารโดยใช้สัญลักษณ์ เช่นใช้รูปภาพส่ือแทน ตัวอักษร บทสรุป ท่ีรับฟังการบรรยาย อาจารย์สุทธิเดช สิทธิสมณ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่ององค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานการไฟฟ้า Learning organization  องค์กรแห่งการเรียนรู้รูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร  ซึ่งจะผันแปรไปตามระบบการเรียนรู้ขององค์กร  มีกระบวนการพื้นฐานที่สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างองค์กร การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ปรับตัวให้อยู่ทิศทางเดียวกับองค์กร  สร้าง commitment ให้บุคลากรรู้จักหลักองค์กรและพร้อมเสมอ เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง    บทสรุปจาก การรัปฟังการบรรยาย   รศ.สุขุม นวลสกุล ได้รับความรู้ในเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สรุปได้ดังนี้ ที่มาของความขัดแย้ง เกิดจาก ความคิดที่ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน /อุปสรรค  ขัดขวาง/ทางเลือก นำไปสู่การพัฒนา หน้าที่นักบริหาร ต้องมีหน้าที่ผลักดันให้เกิดความขัดแย้งที่ดี  และความขัดแย้งที่ไม่ดีต้องไม่ทำให้เกิดขึ้น ความขัดแย้ง ได้แก่ เรื่องดี  เรื่องส่วนรวม  และ เรื่องไม่ดี เรื่องส่วนตัว การมองปัญหา  มองด้วยทัศนคติที่ดี  มองหลายมุม  มองให้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่ รูปแบบของปัญหา ปัญหาตามข้อเท็จจริง ปัญหาตามอารมณ์ และปัญหาตามมา ความขัดแย้ง  ระหว่าง บุคคล กับองค์กร  เกิดจาการไม่เข้าใจในองค์กร และไม่ได้รับการอธิบาย ความขัดแย้ง  ระหว่าง หน่วยงาน กับหน่วยงาน  เกิดจากไม่เข้าใจบทบาทองตนเองและการหลงหน่วยงาน           สรุป  การแก้ปัญหาที่ดี ควรคำนึงถึง ส่วนรวม  แก้ไขด้วยสติปัญญา  รับฟังความคิดเห็น  ควบคุมอารมณ์ 

อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์ เรียนรู้ว่าการจดจำของสมองไม่ชอบจำเป็นตัวอักษร แต่ชอบจำรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ ได้เรียนรู้เทคนิกในการจดบันทึกโดยใช้ mind map และการนำไปใช้ในการทำงาน เช่น การนำเสนอโครงการโดยการใช้ mind map เป็นเทคนิคที่สะดวก รวดเร็ว ไม่เปลืองทรัพยกร ง่าย ในการระดมสมองของทีมงาน การนำเสนอทำให้ผู้รับฟังโครงการมองเห็นภาพรวมได้ง่าย

อาจารย์สุทธิเดช สิทธิสมณ์ ได้รู้จักของหน่วยงานการไฟฟ้าทั้งหมด ได้ทราบถึงรูปแบบการบริหารจัดการองค์กร การทำ LO ในภาพรวมของทั้งหน่วยงาน ได้เข้าใจในเรื่องการที่จะทำให้องค์กร เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นจะเป็นไปได้ ต้องเป็นนโยบายของผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารก็ให้ความสำคัญอย่างแท้จริง

รศ.สุขุม นวลสกุล ได้ การบริหารความขัดแย้ง การมองปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น วิชานี้จริง ๆ เป็นเรื่องยาก แต่ได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์ สุขุม ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ มาบรรยายในรูปแบบของ Talk Show นั้น ทำให้การเรียนรู้เข้าใจได้ง่าย สนุก มีส่วนร่วม มองเห็นภาพ และจดจำได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ทั้งเรื่องส่วนตัว และเรื่องส่วนรวม

นางพิชชานันท์ รักษาทรัพย์

อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์ เรียนรู้ว่าการจดจำของสมองไม่ชอบจำเป็นตัวอักษร แต่ชอบจำรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ ได้เรียนรู้เทคนิกในการจดบันทึกโดยใช้ mind map และการนำไปใช้ในการทำงาน เช่น การนำเสนอโครงการโดยการใช้ mind map เป็นเทคนิคที่สะดวก รวดเร็ว ไม่เปลืองทรัพยกร ง่าย ในการระดมสมองของทีมงาน การนำเสนอทำให้ผู้รับฟังโครงการมองเห็นภาพรวมได้ง่าย

อาจารย์สุทธิเดช สิทธิสมณ์ ได้รู้จักของหน่วยงานการไฟฟ้าทั้งหมด ได้ทราบถึงรูปแบบการบริหารจัดการองค์กร การทำ LO ในภาพรวมของทั้งหน่วยงาน ได้เข้าใจในเรื่องการที่จะทำให้องค์กร เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นจะเป็นไปได้ ต้องเป็นนโยบายของผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารก็ให้ความสำคัญอย่างแท้จริง

รศ.สุขุม นวลสกุล การบริหารความขัดแย้ง การมองปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น วิชานี้จริง ๆ เป็นเรื่องยาก แต่ได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์ สุขุม ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ มาบรรยายในรูปแบบของ Talk Show นั้น ทำให้การเรียนรู้เข้าใจได้ง่าย สนุก มีส่วนร่วม มองเห็นภาพ และจดจำได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ทั้งเรื่องส่วนตัว และเรื่องส่วนรวม

วันที่ 4 กันยายน 2555      - ศึกษาดูงาน SCG สิ่งที่ได้รับ การนำสิ่งที่ SCG มี เสนอให้ลูกค้าได้เข้าถึงนวัตกรรมต่างๆ ด้วยการพัฒนาทุนมนุษย์ ทุนปัญญา ทุนความรู้ มีการคิดนอกกรอบ มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้องค์กรมีการพัฒนาที่ดีขึ้น      - การคิดออกแบบและบริหารโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของกรมพัฒนาที่ดิน สิ่งท่ีได้รับ การสร้างโครงการเชิงนวัตกรรม ที่มีความยั่งยืน โดยมีพื้นฐานด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

วันท่ี 5 กันยายน 2555      - วิเคราะห์ประเด็นท้าทายกรมพัฒนาท่ีดิน ได้รู้วิธีการคิด ด้วยการทำ mind map ได้ฝึกปฏิบัติ การคิดเป็นระบบ      - ยุทธศาสตร์การสร้างพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์สำหรับกรมพัฒนาท่่ีดิน ได้รับความรู้จากประสบการณ์การทำงานของท่านวิทยากร นำมาปรับใช้กับการฝึกปฏิบัติ      - การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ ได้รับความรู้จากประสบการณ์การทำงานของท่านวิทยากร การวางตัวของผู้บริหารในการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง การวิเคราะห์ปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา

อาจารย์ ขวัญฤดี ผลอนันต์

 ได้รับความรู้เรื่อง Mind  Map เพื่อใช้ในการจดบันทึกต่าง ๆโดยเริ่มจากจุดใหญ่ แล้วแตกย่อยลงไปเรื่อยๆทำให้เราสามารถคิดอย่างเป็นระบบ

และใช้สีและรูปภาพหรือสัญลักษณ์อะไรก็ได้ที่เราดูแล้วจดจำได้ง่ายมาเป็นส่วนประกอบทำให้ต่อการจดจำ และได้เขียนแบบ Mind Map สามารถนำไปใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก

วิเคราะห์จากบทเรียน การคิด-ออกแบบ และบริหารโครงการเชิงนวัตกรรม เพื่อการพัฒนางานของกรมพัฒนาที่ดิน

      การที่จะสร้างโครงการเชิงนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับองค์กรนั้นสิ่งสำคัญที่จะสร้างได้ก็ต้องอาศัยมุมมองหรือวิสัยทัศน์ขององค์กรเพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร มองบาทบาทขององค์กรว่าอยู่ในจุดไหน กลุ่มลูกค้าขององค์กรที่เราต้องบริการ ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือไม่ และสิ่งสำคัญโครงการใหม่ที่เกิดขึ้นงบประมาณสอดคล้องกับการลงทุนหรือสิ่งที่จะได้รับกลับมาหรือไม่ หรือก็คือมีจุดคุ้มทุนหรือไม่

การเรียนเรื่อง Mind Map และยุทธศาสตร์การสร้าง พัฒนาและบริหารทุนมนุษย์

      การใช้ Mind Map มาช่วยใช้ในการคิด สามารถคิดอย่างเป็นระบบ เนื่องจากการใช้ Mind Map เป็นการเลียนแบบระบบการทำงานของสมองทั้งสองซีก ทำให้เราคิดเป็นภาพ ง่ายต่อการเข้าใจ และจดจำ ซึ่งการทำ Mind Map สามารถนำมาใช้แม้กระทั่งการคิด และนำเสนอโครงการใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี แม้แต่โครงการพัฒนาหรือบริหารทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นนามธรรม ยากต่อการเข้าถึง เข้าใจ และอธิบายอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อนำ Mind Map มาช่วย ก็สามารถจัดระบบความคิดออกมาให้เป็นรูปธรรม อย่างเข้าใจง่ายได้

การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรองและเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ

     การขัดแย้งมีสองอย่างคือ การขัดแย้งส่วนรวม และการขัดแย้งส่วนตัว ซึ่งการขัดแย้งมีทั้งด้านดีและไม่ดี โดยที่ด้านดีจะเป็นการขัดแย้งส่วนรวมเพื่อให้เกิดการพัฒนาเนื่องจากความเห็นที่แตกต่าง ซึ่งสิ่งสำคัญของผู้บริหารที่ดีจะต้องบริหารความขัดแย้งให้ได้ โดยอย่าให้ความขัดแย้งส่วนรวมที่เกิดลุกลามกลายเป็นความขัดแย้งส่วนตัว ซึ่งการสร้างบรรยากาศ การมองปัญหา  การเข้าใจปัญหา และรู้จักอุปนิสัยลูกน้อง จะสามารถบริหารความขัดแย้งได้ดี โดยสิ่งสำคัญของการบริหารคือต้องใช้หลักรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ควบคู่กันเสมอ

4 ก.ย.55 ดูงาน SCG SCG ใช้ทฤษฎี 3V's ในหัวข้อ value creation เพราะ SCG นำ customer กับ user มาพูดคุยกันเพื่อให้ได้ productivity ซึ่ง SCG เป็น 1 ใน 5 ของกลุ่มในเครือปูนซีเมนต์ไทย เป็นแหล่งให้ข้อมูลสินค้า ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ถูกต้องตรงตามความต้องการ และยังมีสถาปนิกให้คำแนะนำ ปรึกษา และ SCG ยังเรียนรู้ลูกค้าแบบครบวงจรกระบวนการว่ามีปัญหาเกิดขึ้นในกระบวนการไหน

 โครงการเชิงนวัตกรรม อ.กิตติ ได้เรียนรู้เรื่อง Innovation Thinking Approach ประกอบด้วย 1.creating motivation 2. setting conditions 3. drawing stakeholders 4. doing commuunication 5. keeping everyone involved 6. using existing partnerships ส่วน Project's key concerning ประกอบด้วย 1. policy 2. content 3. budget 4. risk
5 ก.ย.55 Mind Mapping Workshop อ.ขวัญฤดี  ได้ความรู้ว่า สมองคนเราไม่ชอบการจำตัวหนังสือ ตัวเลข แต่จะจำรูปร่างลักษณะจากรูปภาพได้มากกว่า โดยองค์ประกอบของการจดบันทึก 5ส มีดังนี้ 1.สัญลักษณ์ภาพ 2. สั้น 3. เส้น 4. สี 5. สวย การเขียน Mind Map ประกอบด้วย 1. Main topic 2. subtopic 3. detail
    ประสบการณ์การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คุณสุทธิเดช ได้ความรู้ว่า การเรียนรู้จจากการบรรยายเพียงอย่างเดียวจะทำให้เราได้ความรู้กลับไปเพียง 5% แต่ถ้าสอนตัวต่อตัวจะได้ความรู้กลับไป 90% LO เหมือนกับการปลูกต้นไม้ให้มีผล ซึ่งผลก็คือความรู้ วินัยที่ 5 มี 5 ประการ คือ มีวิสัยทัศน์ร่วม เรียนรู้เป็นทีม บุคลากรชั้นเลิศ มีแบบแผนความคิดร่วมกัน และคิดเป็นระบบ
การบริหารความขัดแย้งการเจรจาต่อรอง (ตามแนวพระราชดำริ) อ.สุขุม ได้ความรู้ว่า ความขัดแย้งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนรวมและส่วนตัว ต้องป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งที่ไม่ดี แต่ต้องทำให้เกิดความขัดแย้งที่ดี การมองปัญหาจะต้องมีทัศนคติที่ดี มองหลายมุม นึกถึงใจเขา-ใจเรา และต้องคิดเผื่อล่วงหน้าว่าจะมีปัญหาอะไรตามมาอีกหรือไม่ นักบริหารต้องมองปัญหาเพื่อแก้ไม่ใช่เพื่อตัดสิน หลัการบริหารมี 2 แบบ คือ รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นให้้ใช้หลักรัฐศาสตร์ก่อน
นายสมศักดิ์ ยาชะรัด

รศ. สุขุม นวลสกุล จากการได้ฟังการบรรยาย ทำให้ได้เข้าใจถึงการบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง ตลอดจนถึงเทคนิคการตัดสินใจของผู้บริหารมืออาชีพ นักบริหารที่ดีจะต้องป้องกันไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นในองค์กร หรือบุคคล ทำให้เรารู้จักมองปัญหา เช่น มีทัศนคติที่ดี มีปัญหาแล้วสามารถแก้ไขได้ การมองหลายมุมเพื่อนำมุมที่นำไปสู่การแก้ปัญหา ตลอดจนถึงการเข้าใจปัญหาใจเขาและใจเรา

สุวรรณภารัตน์ มาลัย

วันที่ 6 กันยายน 2555

        หัวเรื่อง วันนี้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และ AEC 2015 ฟังแล้วเข้าใจมากขึ้น จากที่มีความรู้สึกว่า AEC 2015 ยังอยู่อีกไกล แต่จริงๆแล้ว ถ้าเราไม่รีบเตรียมพร้อมตั้งแต่ตอนนี้ เราอาจไม่ทันประเทศอื่นก็ได้           ผศ.ดร.พงษ์ชัย  อธิคมรัตนกุล ถ่ายทอดได้เยี่ยมมาก  
       หัวเรื่อง การบริหารจัดการเชิงคุณภาพ โดย รศ.ดร.เฉลิมพล  เกิดมณี ให้สาระความรู้ดี แต่ตัวอย่างที่ยกมาอาจจะลึกเกินไป ต้องใช้เวลาในการตีความ แต่อาจารย์ก็มีความเป็นกันเองมากและพยายามอธิบายให้พวกเราเข้าใจด้วยความตั้งใจอย่างดียิ่ง

การบริหารจัดการเชิงคุณภาพ (Total Quality Management)

กับการทำงานของกรมพัฒนาที่ดิน

โดย       รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

หัวหน้าที่ดี คือต้องมีความรู้ มีคุณธรรม มีความเสียสละ มีความเป็นผู้นำ

ปัญหาของ TQM คือ ไม่มีใครชอบถูกจัดการ คนโดนจัดการจะอึดอัด เบื่อ ไม่มีความสุขในการทำงาน

วิธีการทำ TQM ที่เหมาะสมกับประเทศไทย

1. ต้องเข้าใจวิเคราะห์ลูกค้าให้ได้ 

2. การสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนองค์กรเป็นไปด้วยดี  ประเทศไทยโดดเด่นในกลุ่มอาเซียนในเรื่องการเกษตร การใช้ที่ดิน

3. การจัดการทรัพยากรให้เหมาะสมกับการทำงาน

4. พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ต้องทำให้การพัฒนาเชิงคุณภาพแบบมวลรวม ต้องทำให้เกิดคุณภาพกับคนของเรา คือ ตัวเรา หัวหน้า ลูกน้อง ผู้ที่มีส่วนร่วม ต้องมีการกระจายอำนาจ และต้องคิดว่าทำอย่างไรจะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ

หลักที่ทำจากภายในสู่ภายนอก

ค้นหาว่าตัวเองได้อะไร การทำสิ่งนั้น เป็นหลักสำคัญในการทำ TQM

-          หาให้เจอว่าตัวเราเองเก่งอะไร เชี่ยวชาญและมีคุณค่าอะไร

เพื่อนเขียนตรงกับที่เราเขียน แสดงว่าเราแสดงพฤติกรรมตรงกับที่เพื่อนเห็น

การทำTQM ทำให้ รู้จักตัวเองมากขึ้น วิเคราะห์ตัวเองเป็น ทำให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

            TQM หากเราทำได้ดี จะเกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ชีวิตจะรุ่งเรือง และมีความสุข

            TQM การเอาตัวเองมาตั้ง เป็นประเด็นแรกและประเด็นสำคัญในการทำ

 

            การทำแผน TQM

1. Plan

            2.Do

            3. Check

            4. Act

            จิตนาการทำให้อยู่เหนือความสำเร็จได้  ซึ่งคนที่มีประสบการณ์มีความเชื่อมั่นว่าจะทำงานในสิ่งที่ไม่เคยทำได้  จินตนาการถึงสิ่งที่กำลังจะทำ สิ่งที่จะได้รับ อย่างละเอียด จะทำให้แผนนั้นประสบความสำเร็จ 

            การที่วางแผนในสมองจะทำให้มีแผนที่ชัดเจน

-           เวลาทำแผน ต้องเขียนให้ละเอียดให้มากที่สุดเหมือนการทำจริง ทำให้รอบคอบ ทำให้ควบคุมสถานการณ์ได้เหมือนจริง ต้องเขียนแบบ Positive Thinking  ไม่ใช่เขียนแบบอยากได้ ต้องเขียนแบบได้แล้ว

-          การไม่มีงบประมาณเป็นปัญหาทำให้ทำแผนไม่ได้ ส่วนใหญ่มักทำแผนในเดือนที่มีเงิน ส่วนเดือนที่ไม่มีเงิน ต้องติดตามงานที่เหลืออยู่ นำข้อมูลมาสังเคราะห์วิเคราะห์  ต้องทำให้สอดคล้องและ Action ให้ได้ อีกปัญหาหนึ่ง คือ มีแผนแต่ไม่ทำ  ปัญหาในองค์กรที่ทำให้คุณภาพไม่ไป คือ มัวแต่ทำเรื่องอดีต คิดแต่เรื่องอดีต  และคิดแต่เรื่องอนาคต เพราะฉะนั้น ต้องอยู่กับปัจจุบัน ณ วินาทีนั้นที่เราทำ ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ส่งผลไปถึงคุณภาพโดยรวม ส่งผลต่อภาพรวมที่มีประสิทธิภาพ  

เวลาทำสิ่งใดแล้วใครก็ทำได้ ก็ไม่มีใครเห็นความสำคัญของเรา เพราะนั้นควรทำสิ่งที่เหนือกว่าคนอื่น และมีคุณภาพให้ดีให้ได้

เรามีคุณค่ากับวิสัยทัศน์องค์กรหรือไม่  ต้องเอาคุณภาพสวมกับวิสัยทัศน์องค์กรเพื่อขับเคลื่อนองค์กร สิ่งที่ดีหรือไม่ดี มีวิธีหลักการตัดสินใจอย่างไร แต่ถึงอย่างไรก็จะถูกต้องเสมอ

การตัดสินใจ หลักการคือ

-          ใช้ปัญญา  IQ

-          ใช้ EQ

-          คุณธรรม จริยธรรม MQ

-          เอาตัวรอดได้ SQ

ต้องหาวิธีคิดที่ทำให้ทั้ง 4 ตัวทำงานร่วมกันได้ มีประเด็นมากมายที่ต้องทำให้เป็นคนดีในสังคม กรอบประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดกรอบให้ชีวิตเรา ทำให้มีวิธีคิดแบบเดิม ไม่คิดนอกกรอบ

MQ ต้องไม่ผิด เพราะหากทำผิดจะเกิดความทุกข์

การทำงานเป็นทีม งานจะมีคุณภาพได้ และมีความสำเร็จแบบรวม ต้องทำงานเพื่อส่วนรวม และตัวเองก็จะได้รับผลด้วย ต้องหาความต้องการร่วม หาแรงจูงใจ  ต้องมีแรงบันดาลใจ  ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน งานที่ทำต้องมีคุณค่า

การที่อยู่ร่วมกัน และทำให้เรามาทำงานร่วมกับเราได้เยอะๆ คือ ต้องเปิดใจให้กว้าง ทำงานในภาพใหญ่   

การร่วมการทำงานกับคนเยอะๆ  คือ การทำงานที่ร่วมกับกายและใจ  ต้องทำใจให้กว้าง ทำงานเพื่อส่วนรวม เริ่มจากกลุ่มเล็กๆ เพื่อขับเคลื่อน แล้วกลุ่มก็มีผลงานเด่น ที่ที่รับกลับมาคือ ชื่อเสียง รางวัล การยอมรับ ความเป็นมิตรภาพก็จะกลับมา

การทำงานต้องนำพลังกายกับพลังใจมารวมกันแล้วงานจะมีคุณภาพมากขึ้น

กิจกรรมกลุ่ม คิดรูปแบบการทำงานแบบใหม่ที่มีคุณภาพกับลูกค้าเหล่านี้

กลุ่ม 1 เกษตรกร  

ต้องทำกายกับใจให้ดี  การทำให้เกษตรกรพอใจ ต้องสร้างความศรัทธาให้เกษตรกร ให้หญ้าแฝก เมล็ดพันธุ์ ให้องค์ความรู้ใหม่ ให้ข้อมูลต่างๆที่ชัดเจน  รายได้เพิ่ม สามารถพึ่งพาตนเองได้

อ.เฉลิมพล  การให้คุณค่าเทียมออกมาเยอะมาก กลายเป็นว่า เกษตรกรรอของแจก  ต้องเคลื่อนไปหาคุณค่าที่แท้จริงให้ได้

กลุ่ม 2 เจ้านาย

          ต้องอยู่กับปัจจุบัน ก้าวข้ามความเจ็ดปวด ต้องการความโปร่งใส ตอบคำถามกับสาธารณะชนได้ ตอบสนอง Need ได้

            ข้อตกลงระหว่างกัน เป็นคุณค่าเทียม เพราะต้องมีแผนการทำงาน แล้วทุกคนทำหน้าที่ของตนเอง แล้วได้รับผลประโยชน์เท่าเทียมกัน หากตกลงกัน แต่ไม่มีผลงานก็เปล่าประโยชน์

            สิ่งที่เจ้านายต้องการจริง ๆ คือ เนื้องาน ซึ่งเป็นคุณค่าจริง เป้าหมายต้องตามเป้าหรือเกินเป้า งบประมาณใช้เงินน้อย แต่ทำงานได้เกินเป้า  บางทีเจออิทธิพลของนักการเมือง เราปฏิเสธไม่ได้ จึงเจอสิ่งที่แอบแฝง แต่นักการเมืองก็ต้องการคุณค่าจริง คือ ผลงานเช่นกัน  เพราะนั้นเจ้านายต้องการผลประโยชน์ และผลงาน ที่ได้อย่าง Win – Win       

กลุ่ม 3 ลูกน้อง

          เป้าหมายที่จะทำให้ลูกน้องมีความสุข คือ มอบหมายงานให้ตรงกับความต้องการของลูกน้อง สร้างแรงจูงใจ ส่งลูกน้องไปอบรมในด้านที่ถนัด

            ผู้นำต้องใจกว้าง เสียสละ ยุติธรรม สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

กลุ่ม 4 องค์กรร่วม

          หน่วยงานจะมีความขัดแย้ง เพราะคิดถึงแต่ประโยชน์ของแต่ละหน่วยงาน

            ต้องทำจาก การสื่อสาร การตัดสินใจ การทำงานอย่างคุณภาพ มีการกับใน ยึดปัจจุบัน เปิดใจให้กว้าง

            ต้องเห็นคุณค่าขององค์กรอื่นด้วย ต้องแจ้งถึงประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกัน

            คิดถึงปัจจุบัน อย่าไปคิดถึงอดีต และคิดว่าทำอย่างไรจึงไปร่วมกัน

            ฟังเสียงลูกค้าบ้าง และมีการเชื่อมความสัมพันธ์กันบ้าง และควรมีการทำกิจกรรมร่วมกัน

            บริหารจัดการให้ตรงกับบทบาทของแต่ละองค์กร ไม่ทำงานซ้ำซ้อนกัน

            ใช้สติปัญญา อย่าใช้อารมณ์

            องค์กรแต่ละองค์กรหากทำงานร่วมกัน ดังนั้นเกษตรกรก็จะได้รับผลประโยชน์

                     

กลุ่ม 5 ประชาชน

การต้อนรับ  ยิ้มแย้มแจ่มใส ต้องมีใจที่พร้อมในการบริการ

ความต้องการ  หากได้ตามความต้องการก็จะได้รับความพอใจ

การให้การบริการ ได้รับของทันที  การรอคอยซึ่งต้องมีการนัดหมายขอเบอร์โทรศัพท์  และ มีการประเมินผล จากการทำแบบสอบถาม และการสังเกต

การสร้างความประทับใจ  เดินไปส่งที่รถ และมีการติดตามด้วยการไปเยี่ยมที่บ้าน และมีการโทรศัพท์ไปคุย

 

สรุปการทำงาน

-          หาคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งที่ทำ

-          กลับมาอยู่กับปัจจุบัน ลืมอดีต และอย่าไปคิดถึงอนาคตมาก ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด

-          ทำให้ดีที่สุด ซึ่งต้องมีความแตกต่าง

-          ทำงานให้ได้รางวัล กายและใจต้องทำงานร่วมกัน

-          มีความสุขกับการสร้างงาน

ซึ่งเป็นหลักการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกเรื่อง

 

 

 

 

           

 

6 กันยายน 2555

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ การวางแผนเชิงกลยุทธ์และแนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของกรมพัฒนาที่ดิน

โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Workshop กรมพัฒนาที่ดิน

กลุ่ม 5

โครงการพัฒนาสมรรถนะภาษา

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสื่อสารกับอาเซียน กลุ่มผู้บริหารทุกระดับ ต้องไปประชุมพบผู้นำต่างๆ รวมถึงหมอดินเพราะกระจายองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกร เราต้องเรียนรู้จากหมอดิน มีความรู้ภาษาท้องถิ่น ชายแดน

วิธี

  • สอบวัดระดับความรู้ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
  • ฝึกอบรม ดูงาน จ้างบุคลากรในอาเซียนมาให้ความรู้เรา

งบ

  • ในกรม
  • นอกกกรม

ผลที่จะได้

  • กรมเราต้องมีความเป็นเลิศภาษา มีความมั่นใจมากขึ้นเมื่อเปิดเสรีอาเซียน
  • สามารถที่จะแข่งขันได้ในระดับอาเซียน

การประเมินผล

  • ถ้าสำเร็จก็มีความร่วมมือต่างๆเกิดขึ้น ถ้าเราเลิศด้านข้าว เขาก็มาศึกษา
  • บุคลากรต้องมีความรู้มากขึ้น มีความพร้อมเป็นแถวหน้าของอาเซียน

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • ภาษาสำคัญ
  • ควรต้องมีแผน เป้าหมายจำนวนเท่าไร ต้องรู้ภาษาอังกฤษกี่คน

กลุ่ม 4

โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรกรมที่ดินระหว่างประเทศอาเซียน

วัตถุประสงค์

  • แลกเปลี่ยนบุคลากรเรื่ององค์ความรู้การพัฒนาที่ดินให้เกิดฐานข้อมูล
  • ไทยเป็นหนึ่งด้านการพัฒนาที่ดินในอาเซียน เรามีศูนย์เรียนรู้และพัฒนา
  • เทคโนโลยีต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด
  • สารสนเทศ แผนที่
  • สร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ
  • ต้องมีหมอดินอาเซียน แต่ละประเทศรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
  • พัฒนานวัตกรรมใหม่

วิธี

  • ตั้งหน่วยงานดำเนินงานของกรมพัฒนาที่ดิน มีหน่วยรับผิดชอบโดยตรง
  • จัดทำแผนงาน กำหนดเวลา คุณสมบัติบุคลากรที่จะทำงาน
  • ศึกษาดูงานระหว่างประเทศ

ประโยชน์

  • บุคลากรมีความสามารถพัฒนาที่ดิน และพัฒนาภาษา
  • นวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาที่ดิน
  • ได้เครือข่ายความร่วมมือหมอดินระหว่างประเทศ
  • ศักยภาพเกษตรกรอาเซียนสูงขึ้นไปขายอียูหรือสหรัฐ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้อะไรกับลาว พม่า ต้องทำ mind map ให้ลึก
  • ถ้าเราเป็นหนึ่งด้านหมอดิน เราต้องถอดรหัสและให้ประเทศอื่นเรียนรู้
  • เราควรกำหนดมาตรฐานแล้วให้เพื่อนบ้านมาใช้มาตรฐานเดียวกับเรา ถือเป็นที่สุดของการแลกเปลี่ยน

กลุ่ม 3

โครงการลดปัญหาหมอกควันในภูมิภาค

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • ใช้ที่ดินยั่งยืน
  • ลดน้ำท่วม

วิธีการ

  • ทำ MOU
  • ประชุมระหว่างประเทศ
  • อบรม
  • ใช้มาตรการร่วมกัน เลือกพื้นที่เสี่ยง
  • ติดตามประเมินผล

ผลที่จะได้รับ

  • ลดมลภาวะ
  • เพิ่มความยั่งยืนใช้ประโยชน์ที่ดิน สิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเชื่อมั่นก็มามากขึ้น

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • สิ่งที่ร่วมมือกับเพื่อนบ้าน ต้องลงลึกวิธีการ
  • บริเวณชายแดน ดินมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน 2 ฝั่ง อาจพิจารณาเรื่องการใช้ที่ดิน

กลุ่ม 1

โครงการร่วมมือระหว่างประเทศในการสำรวจทรัพยากรดินในกลุ่มประเทศ AEC

  • เรามีความหลากหลายทางดิน
  • เราผลิตพืชบางชนิดต้นทุนสูงไป
  • อาเซียนแต่ละประเทศมีศักยภาพปลูกพืชแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ทำ MOU สำรวจทรัพยากรดิน

วัตถุประสงค์

  • เพื่อลดช่องว่าง

ผลที่จะได้รับ

  • รู้ฐานข้อมูลชุดดิน
  • ถ่ายทอดความรู้บริหารจัดการดิน

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • เราควรตั้งสถาบันวิจัยดินอาเซียนก่อน
  • มีนักธุรกิจไทยไปทำธุรกิจที่ลงทุนต่างประเทศ ควรขอไปสำรวจดินของเขา ทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มขึ้นและขยายผลการทำเกษตร

กลุ่ม 2

โครงการประชาสัมพันธ์งานกรมพัฒนาที่ดิน

วัตถุประสงค์

  • สร้างเครือข่าย

วิธี

  • ประชาสัมพันธ์งานกรม
  • จัดสัมมนา

ผลที่จะได้รับ

  • เครือข่าย
  • มีการขยายตัวเศรษฐกิจ ไปตั้งโรงสีในประเทศเพื่อนบ้าน
  • คัดเลือกฐานการผลิตได้ เพราะมีฐานข้อมูลหมด รัฐต้องร่วมมือกับเอกชน

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • ควรประชาสัมพันธ์หมอดิน การสำรวจดินถือเป็นจุดแข็ง
  • การเพิ่มผลผลิตของดิน
  • พูดเรื่องดิน ต้องทำให้คนคิดถึงกรมเรา และต่อยอดไปประเทศเพื่อนบ้าน

 

 

 

 

6 กันยายน 2555

Dinner Talk หัวข้อ ภาวะผู้นำในกรมพัฒนาที่ดิน ในมุมมองของข้าพเจ้า

โดย         ดร.อรรถ สมร่าง

กรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร

และอดีตอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน

อยากให้ทุกคนเขียนนโยบายให้อธิบดีที่สามารถทำได้ภายใน 1 ปี แล้วมาส่งผมสัปดาห์หน้า

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีปัญหามาก ในการปลูกต้นไม้ 1 ต้น ต้องใช้หลายกรม แต่ไม่เห็นการประสานงาน ไม่เคยกำหนดว่าจะผลิตอะไร เท่าไร นำไปขายต่างประเทศเท่าไร

ควรประสาน What, Where, When, How ประสานถ่ายทอดความรู้ให้ชาวบ้าน เช่นชาวบ้านอยากได้พันธุ์ข้าว เราก็ต้องมีกรรมการคอยหาให้

ต้องมีการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยี เช่นนำข้อมูลพื้นที่ไปใส่ไว้ในอินเตอร์เน็ตว่าปลูกอะไรได้ที่ไหน และสามารถรับข้อมูลได้ผ่านเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ควรใช้คนเก่งที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำ GIS

ควรทำแผนการใช้ที่ดิน ข้าวแต่ละชนิดควรปลูกที่ไหน โดยให้จังหวัดทำและประสานกับอบต.และอบจ.จึงจะสัมฤทธิ์ผล

GIS ที่ผมทำอยู่ ควรจะสำรวจให้ละเอียดขึ้น และจะมีประโยชน์ถ้าสามารถถ่ายทอดให้ชาวบ้านได้

ควรลดต้นทุนลูกค้าโดยนำ พ.ด. 2 เข้าครัวเรือนเพราะ นำไปซักผ้าได้และเป็นการส่งเสริม Food Safety

ควรแก้ดินเสียเป็นดีด้วยการใช้น้ำมันระเหยจากส้ม

พ.ด. 6 ที่เป็นน้ำกำจัดน้ำเสีย ผมกำลังให้เขาพัฒนาอยู่

ควรคิดนวัตกรรม Biotech

ช่วงถามตอบ

1.ตอนที่ท่านเป็นข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านมีวิธีฝ่าฟันอุปสรรคและจัดการความเลวร้ายในการเมืองอย่างไร

ดร.อรรถ สมร่าง

ผมทำงานมีเพื่อน เช่น 4 คน ทำงานอยู่คนละกอง ผมอยู่กองวางแผน คิดประเด็นการทำงานร่วมกัน ต้องนำโครงการไปขายอบต. เพราะเขาไม่รู้จะทำอะไร

ต้องพูดความจริง ข้าราชการประจำเดือดร้อนเพราะนักการเมืองสั่งอย่างเดียว อะไรที่ทำไม่ได้ ก็บอกว่าทำไม่ได้ นักการเมืองมาจากชาวบ้าน เขาก็กลัวปัญหาเรื่องคะแนนเสียงเหมือนกัน

ผมสอนเจ้านายโดยนำโครงการไป ผมมีเพื่อนก็ให้เขาช่วยโน้มน้าวเจ้านายเขา จะได้ไม่มีข้อโต้แย้งในการประชุม

ควรทำสิ่งที่ถูกต้อง ต้องบอกนักการเมืองว่า ทำแล้วประชาชนไม่เลือกเขา

2.ในฐานะที่ท่านผ่านอุปสรรคมาแล้ว ถ้าเราพัฒนาคนรุ่นหลังขึ้นไปแล้ว ต้องทำให้เขายอมรับนักการเมืองไหม

ดร.อรรถ สมร่าง

การเมืองมีจุดอ่อนเรื่องฐานเสียง ส่วนจุดอ่อนของเราคือกลัวถูกย้าย เราต้องขอร้องที่จะไม่ทำในสิ่งที่ติดคุก เรารู้ว่าเขามีฐานเสียงที่ไหนก็ไปช่วย เราก็นำงานไปเสนอเขาด้วย

3.ได้รับความรู้จากท่านมาก จากการที่บ้านน้ำท่วม มีหน่วยงานในเขตแจ้งให้ไปรับพ.ด.6 มาแก้ปัญหาน้ำเสีย ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่ดีมาก องค์กรจะเปลี่ยนแปลงต้องมีโครงการ Winning Project งานสื่อสารของกรมต้องฉลาดขึ้นด้วย จะมีวิธีสื่อสารอย่างไร

ดร.อรรถ สมร่าง

ต้องพัฒนาหมอดิน 80,000 คน สร้างเครือข่ายหมอดินซึ่งสำคัญมากเพราะมีทุกหมู่บ้าน ควรทำ YouTube และ Facebook เพื่อบริการชาวบ้าน เช่นถ้าเขาอยากได้พ.ด. 2 ก็ให้หมอดินนำไปให้แล้วจ่ายค่าเสียโอกาสให้หมอดิน พ.ด. 2 ยืดอายุผลไม้ นำไปแช่ลำไยสามารถนำไปยืดอายุ แล้วนำมากินต่อได้อีก 2 สัปดาห์ ถ้านำองค์ความรู้ไปใส่สินค้า  Organic จะทำให้มีราคาแพงขึ้น

4. ท่านมองอนาคตของกรมพัฒนาที่ดินอย่างไร ควรจะปรับตัวให้เข้ากับอธิบดีคนใหม่อย่างไร

ดร.อรรถ สมร่าง

อยากให้เขาทำอะไรก็ต้องเขียนมา อธิบดีใหม่ก็มาจากนักวิชาการวิจัยดินเค็ม ควรเน้นการทำในสิ่งที่ถูกต้องที่สามารถทำได้ภายใน 6 เดือนเท่านั้น

5. อยากฝากเรียนอธิบดีใหม่เกี่ยวกับขวัญกำลังใจของคนปฏิบัติงานในพื้นที่ ให้พิจารณาความอาวุโสในการโยกย้าย คนในส่วนภูมิภาคอาจไม่ได้ใกล้นายจึงไม่เห็นผลงาน

ดร.อรรถ สมร่าง

ต้องนำกองเก่าๆที่ยุบคืนกลับมาให้หมด โดยเฉพาะ Climate Change ผมจะชี้แจงเพราะเกี่ยวกับปัญหาดินกับพืช ต้องมีการทำ GMO เพราะโลกจะขาดอาหาร

การบริหารเป้าหมายงานและเงินต้องชัดเจน

6. เรามีส่วนร่วมกำหนดทิศทางของกรม จุดแข็งของกรมคือฐานข้อมูลดิน เทคโนโลยีชีวภาพ เครือข่าย เราใช้ Green Organic Food Safety เป็นตัวขับเคลื่อน เป้าหมายจะช่วยให้เราฝ่าฟันได้ ผมอยู่ร้อยเอ็ด ทำข้าวหอมมะลิได้รับมาตรฐานแล้วไปสู่การรับรอง GI ถ้าพื้นที่เราตั้งเป้าหมายชัดเจนขับเคลื่อน อยากให้กรมสนับสนุนพื้นที่ในจังหวัด กลับไปผลักดันในพื้นที่ อยากให้พวกเราเป็นผู้กำหนดการกระทำในอนาคต

ดร.อรรถ สมร่าง

ต้องดูตัวผลิตภัณฑ์แล้วคิดว่าจะปรับปรุงอย่างไร มันอยู่ที่ต้นกำเนิดและจุลินทรีย์

7. ผมยินดีที่ท่านได้มาเยี่ยม เราชื่นชมท่านเป็นต้นแบบของพวกเรา ท่านมองว่ากรมพัฒนาที่ดินเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนแล้ว

ดร.อรรถ สมร่าง

เปลี่ยนไปมาก เราบริหารวิชาการ

ควรนำพ.ด. 2 เข้าบ้าน เป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

พวกเราโชคดีที่ได้ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มากระตุ้น

หวังว่าทุกท่านจะเป็นพลังให้ลูกค้า เราต้องนำสินค้าไปให้ลูกค้าโดยที่ไม่มีผลข้างเคียง ต้องขาย Organic Product ที่ทำไว้ใช้ได้หมดและมากกว่าที่คิด

6 ก.ย.55 ได้รับความรู้จาก ผศ.ดร.พงษ์ชัย เกี่ยวกับมุมมองของแต่ละประเทศใน AEC ที่มีต่อกัน ทราบที่มาที่ไป และประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ ทราบวิสัยทัศน์ของอาเซียน คือ one vision, one identity, one community ได้ทราบโครงข่ายถนนที่เชื่อมโยงภายในภูมิภาคอาเซียนจำนวน 23 สาย ได้รับความรู้จาก รศ.ดร.เฉลิมพล เกี่ยวกับ Total Quality Management (TQM) ว่าต้องพิจารณาเสียงจากลูกค้า รู้จักการสื่อสาร รู้จักการจัดการทรัพยากรให้เหมาะสมกับการทำงาน และรู้จักพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลักการทำงานให้มีคุณภาพต้องประกอบด้วยPlan Do Check และ Act ทราบแนวทางที่ทำ ให้ลูกค้าพึงพอใจ

วันที่ 6 กันยายน 2555

หัวข้อ "เศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทย และ AEC 2015 กับผลกระทบและการปรับตัวกรมพัฒนาที่ดิน

โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

 สิ่งที่ได้จากการฟังบรรยาย

  1. ทำให้ต้องกลับไปคิดทบทวนว่ากรมพัฒนาที่ดินควรจะปรับตัวหรือเตรียมความพร้อมที่จะรับมือจาก AEC ที่กำลังจะมาถึง
  2. มีปัจจัยสำคัญทางด้านเศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทยใดบ้างที่มีผลกระทบต่อองค์กรและควรหาวิธีรับมืออย่างไร
  3. ทำให้รู้จักคิดวิเคราะห์ว่าประเทศในกลุ่ม AEC เขามีแนวทางการพััฒนาประเทศอย่างไรบ้าง

 

หัวข้อ การบริหารจัดการเชิงคุณภาพ (TQM) กับการทำงานของกรมพัฒนาที่ดิน

โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

สิ่งที่ได้จากการฟังบรรยาย

"การที่คนจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งใหม่ๆ เขาจะนึกถึงอะไรก่อนเป็นอันดับแรก

  • สิ่งแรกที่คนคิดเป็นอันดับแรกเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนั่นคือ ผลประโยชน์ (ผลประโยชน์ = คุณค่า)

หลักการทำ TQM  4 ประการคือ 1) Plan ต้องมีการวางแผนอย่างชัดเจน  2) Do 3) Chek 4) Act

ความสำเร็จของ TQM

  • Endurance
  • Capability
  • Imagination
  • Goal
  • Inspiration
  • Value

   สรุป ต้องเปิดใจให้กว้างใช้ทั้งพลังกายและใจ หาคุณค่าที่แท้จริงอยู่กับปัจจุบัน ตั้งเป้าหมายและวางแผนให้ชัดเจนแล้วทุ่มเทกำลังทำให้เต็มที่แล้วจะประสบผลสำเร็จ

วันท่ี 6 กันยายน 2555      เศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทย และ AEC 2015 กับผลกระทบและการปรับตัวของกรมพัฒนาที่ดิน ได้เรียนรู้และเข้าใจสภาพเศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทย ความรู้เรื่องอาเซียน แนวคิดการจัดตั้งอาเซียน      การบริหารจัดการเชิงคุณภาพกับการทำงานของกรมพัฒนาท่ีดิน ได้เรียนรู้การหาคุณค่าท่ีแท้จริงของสิ่งท่ีได้ทำ การอยู่กับความเป็นจริง และลืมอดีต มีจุดหมายในสิ่งท่ีทำ ทำอย่างเต็มท่ี ทำให้ดีท่ีสุด ทำสิ่งใหม่ ต้องทำทั้งกายและใจ และมีความสุขในการทำงาน

7 กันยายน 2555

Panel Discussion หัวข้อ ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • อย่าเคยชินกับการมีงบแล้วค่อยทำโครงการ อย่ามัวรอรับคำสั่ง ต้องแสดงความสามารถให้เห็น
  • สิ่งที่อันตรายมากที่สุดคือ คนเก่งมีมาจากหลายแห่งแต่ทำงานเป็นทีมไม่ได้ มีวัฒนธรรมต่างกันและมีความขัดแย้ง
  • ทุกท่านเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพแล้ว แต่ยังต้องมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • ต้องค้นหาตนเองว่าทำงานเพราะอะไร อย่าทำงานไปเรื่อยๆ ต้องมีแรงบันดาลใจในการเอาชนะอุปสรรค
  • Where are we? Where do you want to go? How to get there? ไม่มีปัญหา
  • แต่มีปัญหาที่ How to overcome difficulty?
  • ใน 8 วันเข้าใจแก่นกี่เรื่อง มีความใฝ่รู้มากเท่าไร
  • คุณเป็นผู้นำด้านเกษตรและการพัฒนาที่ดิน ประเทศอื่นใน AEC ก็อยากมาเรียนกับเรา

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

  • ควรนำบทเรียนจากดร.จีระและท่านอธิบดีไปคิด
  • ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้ให้ดิฉันไปร่วมทำวิจัย AEC ของกระทรวงท่องเที่ยว ควรจะมีการทำวิจัย AEC สำหรับกระทรวงเกษตร
  • เศรษฐกิจโลกกำลังดิ่งลง กระทบลูกค้าท่าน
  • หมดยุคค้าเสรี เกิดการกีดกัน ต้องเปลี่ยนเกษตรเป็น Green
  • แผน 11 กำลังล้มเหลว
  • ท่านดูแลเกษตรกร ควรจะให้งบกรมท่านไปดูแลเกษตรกรจริงจัง
  • ท่านอธิบดีดร.อรรถเป็นผู้นำแบบห่านป่า รู้ทุกเรื่อง เอาใจใส่ลูกน้องทุกคน ผู้ตามตามโดยสัญชาตญาณ แต่บินเดี่ยวก็ได้
  • ผู้แทนกัมพูชาเสนอให้มีการตั้งศาล AEC เพื่อแก้ปัญหานักการเมืองหนีคดี
  • ผู้นำแบบพญานกอินทรี มองไกล ไม่ลงในรายละเอียด
  • ผู้นำแบบเหยี่ยว มุ่งหาเป้าหมาย พลาดแค่ 0.5% แต่ไม่สนใจระยะระหว่างทาง จาก vision ไป direction เลือกใช้คนที่ทำงานได้โดยไม่เน้นวิธีการบรรลุเป้าหมาย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมองค์กร

1.วัฒนธรรมองค์กรไม่ใช่กฎระเบียบหรือคำสั่ง แต่เป็นสิ่งที่สะสมมานาน ทุกคนมองเป็นกรอบที่จะปฏิบัติ มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว

2.วัฒนธรรมองค์กรเกิดได้ด้วยเหตุผลคือ ใครก่อกำเนิดองค์กร อายุองค์กร เกิดในยุคใด ที่ตั้งองค์กร กิจกรรมหลักขององค์กร คนที่ทำงานในองค์กร

3.วัฒนธรรมองค์กรต้องเก็บของดีไว้และเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เช่น หมอดินควรใช้ Google Map

4.องค์กรเป็นสิ่งมีชีวิต ต้องปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง ต้องให้ลูกน้องเสนองาน (Proactive)

5.ผู้นำต้องเก่งในเรื่องที่มองไม่เห็นนั่นคือวัฒนธรรมองค์กร มีทั้งวัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมย่อยด้วย

6.ความเป็นเลิศของวัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่อยู่ข้างใน ต้องกระทุ้งออกมา ความเป็นเลิศอยู่ที่ใช้ศักยภาพที่เวทีไหน กรมพัฒนาที่ดินควรเน้นความเป็นผู้นำด้านดินระดับโลก

7.ปัญหาคือเด็กรุ่นหลังไม่สนใจประวัติศาสตร์ ควรปฐมนิเทศวัฒนธรรมองค์กรและสิ่งที่ซ่อนอยู่

8.ปัญหาคือการตีความหมายวัฒนธรรมองค์กรที่ต่างกัน ควรวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรที่แท้จริงโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก ทุนแห่งความสุขเกิดจากการทำงานอย่างมีเป้าหมาย ต้องวิเคราะห์ระดับบุคคลส่วน Happy Workplace คือเจ้านายต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้องได้ ต้องวิเคราะห์ระดับองค์กร คนมีความสุขก็มีความคิดสร้างสรรค์อยากทำงาน

9.ผู้นำที่ดีต้องสื่อสารว่าวัฒนธรมองค์กรที่ควรจะเป็นและในอนาคตควรเป็นอย่างไร ผู้นำต้องเป็นผู้สื่อสารให้ผู้ร่วมงานในการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ

10.วัฒนธรรมองค์กรถูกกำหนดโดยประเทศและภาค กรมพัฒนาที่ดินมีทั้งวัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมย่อย

กฎการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1.มนุษย์ชอบความเคยชิน ทำให้ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าไม่เปลี่ยนแปลง เราก็อยู่ไม่ได้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือเวลา อย่ารอนานเพราะจะถูกบังคับให้เปลี่ยน เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วก็จะประสบความสำเร็จ

2.ข้าราชการยุคใหม่ต้องปรับตัวตอบสนองความท้าทายหลายเรื่อง

3.สำรวจความพร้อมของตนเองว่าพร้อมเปลี่ยนตรงไหนก่อน ควรเริ่มจากจุดเล็กๆก่อน ต้องรีบๆทำ มี Sense of Urgency

4.ต้องเปลี่ยนแปลงเป็นทีม จะมีประสิทธิภาพกว่าทำคนเดียว

5.ตกลงกันที่จะเปลี่ยนแปลง

6.ต้องนำไปทำต่อให้เกิดประโยชน์

7.ทฤษฎีแว่นตา มองสถานการณ์ข้างหน้าให้ชัดเสียก่อน มีความรู้ที่สด รู้กว้าง รู้ไกล ข้ามศาสตร์ ต้องมีพลังทางอารมณ์เพื่อเปลี่ยนแปลง กล้าคิดในสิ่งที่แปลกใหม่ ปล่อยวางในสิ่งที่ไร้สาระให้ได้

8.ต้องบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงได้โดยเป็นองค์กรการเรียนรู้ มีความใฝ่รู้

9. ใช้แนวคิด 3V ให้เกิดประโยชน์ value added (ตัวคุณดีขึ้น), value creation (มีมูลค่าเพิ่ม), value diversity (รู้จักคนหลากหลายวงการ)

10. เปลี่ยนจาก Fixed Mindset ไปสู่ Growth Mindset ต้องพร้อมจะเปลี่ยนแปลง ใฝ่รู้ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค นำคำวิจารณ์มาเป็นบทเรียน

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

  • ในเรื่อง AEC and Beyond ควรจะปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัส รู้งาน รู้กาล รู้คนและรู้คิด
  • ต้องรู้ว่าตอนนี้ต้องทำอะไร
  • ควรพัฒนา AEC ให้แก่เกษตรกร
  • ควรทำงานโดยใช้เครือข่าย
  • ควรทำตามดร.อรรถแนะนำโดยเขียนแผนให้อธิบดี
  • ของที่จะอยู่ในตลาดในปัจจุบันได้ต้องเป็นของดีราคาสมเหตุสมผล สินค้าเกษตรต้องทำให้ดีมีคุณภาพ โดยใช้วิชาความรู้ทางการเกษตร ใช้พ.ด. 2 ทำให้สินค้าเกษตรราคาถูกต้อง
  • ควรเน้นพัฒนาข้าว ในอนาคตจะถูกกีดกันการค้าโดยแหล่งผลิตสินค้า
  • ยางพารา ตอนนี้กำลังมีปัญหาเรื่องราคา
  • ต้นหม่อน ดูว่าพื้นที่ปลูกหม่อนได้ไหม โครงการหลวงทำน้ำลูกหม่อน (มัลเบอร์รี่) มีคุณค่าทางอาหารเท่าน้ำทับทิม โปรตีนไหมเคลือบเสื้อผ้า ระบายอากาศ ควรนำมาทำเป็นเสื้อผ้ากีฬา ในอนาคตจะมีความต้องการใช้โปรตีนไหมมาก
  • กาแฟ บุรีรัมย์ปลูกได้ดีเพราะเป็นดินภูเขาไฟ จึงแนะนำให้เกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ปลูก เราเน้นเป็นกาแฟปลูกในเส้นทางวัฒนธรรมขอม
  • พืชดาวโรยคือปาล์มน้ำมันและมันสำปะหลังต้องดูแล เพราะจะมีของนอกเข้ามาแข่ง ปลูกแล้วไม่คุ้ม พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังนำไปทำกาแฟ
  • ของดีมีมากแต่ราคาสมเหตุสมผลก็ต้องพัฒนา
  • องค์กรต้องมีการสื่อสาร พ.ด. 2 พ.ด. 6
  • ควรเชื่อมโยงกับ Green Bank จะได้พัฒนาดินสำหรับพืชที่เหมาะสม
  • แผน 11 ล้มเหลวเพราะรัฐจำนำข้าว แทรกแซงตลาด
  • องค์การค้าโลกกำลังจับตาดู ไม่อยากให้รัฐอุดหนุนภาคเกษตรโดยตรง จึงเป็นข้ออ้างในการไม่ซื้อสินค้าแล้ว
  • สารสกัดจากเม็ดลำไยนำมาทำยาทาระงับการปวดได้
  • ควรเปลี่ยนแปลงไปสู่ Creative Agriculture
  • ทำวิจัย GMO แล้วค่อยนำมาใช้ในเวลาที่เหมาะสม
  • ต้องคิดเรื่องนวัตกรรมจากยางพารา ต้องผลักดันให้เกิดการพัฒนา
  • ตอนนี้ ม.อ.ทำครีมหน้าขาวจากยางพารา ทำให้หน้าเด้งเพราะมีคอลลาเจน
  • ควรทำ Winning Project โครงการวิจัยของบทำ พ.ด. 2 พ.ด.6
  • ควรทำ Winning Project ทำการสื่อสารองค์กรให้มาก
  • ควรร่วมกันทำเรื่องไอที นำข้อมูลจากทุกพื้นที่มาทำ Application

Workshop

1.อธิบาย Culture ของกรมพัฒนาที่ดินที่เป็นจุดดี 3 เรื่อง และจุดอ่อน 3 เรื่อง

จุดดี

  • เคารพอาวุโส ให้เกียรติบุคคลอายุมากกว่า หรือหัวหน้างาน ผู้มีอายุราชการมากกว่า
  • สามัคคี มีความเอื้ออาทร
  • รักองค์กร เราถูกปลูกฝังมา รู้จักหน้าที่ในกรม

จุดอ่อน

  • การทำงานเป็นทีม แต่ละหน่วยวิชาการแน่น แต่เวลาทำงาน ก็ทำของตนเอง
  • การพิจารณาผลงาน คนใกล้ชิดนายได้มาก
  • ระบบอุปถัมภ์ คนที่จะได้ความดีความชอบ ต้องเป็นคนใกล้ชิดหรือรุ่นพี่รุ่นน้อง

2.เสนอโครงการที่จะนำวัฒนธรรมของกรมพัฒนาที่ดินไปสู่ 3 V และทำสำเร็จได้อย่างไร?

เสนอโครงการที่ลดปัญหาของวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นจุดอ่อนและเอาชนะอุปสรรคได้อย่างไร?

วัฒนธรรมของกรมเรา

  • แผนเราเขียนไว้ แต่ผู้บริหารไม่ใช่คนเดียวกันกับยุคที่ทำแผน
  • เราเก่งวิชาการ แต่มีค่านิยมไม่พูด รอสั่ง
  • ทุนมนุษย์เก่งทุกท่าน ต้องนำไปสู่ 3V โดย
  • สร้างเครือข่าย เช่น สร้างความปลอดภัยด้านอาหารโดยการบูรณาการ
  • ควรเข้าเว็บกรมเพื่อเป็นวัฒนธรรมกรมแล้วให้ข้อเสนอแนะ
  • ต้องทำงานไม่ผิดพลาด เช่นร่างคำกล่าวชี้นำสังคมต้องใช้เวลา 15 วันระดมสมอง การที่คนเดินสะดุดสายไฟถือเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่
  • โครงการลดอุปสรรค
  • ใช้เครือข่าย
  • อย่ายอมให้คุณค่าเทียมล้ำหน้าคุณค่าที่แท้จริง ต้องฝึกค่านิยม ฝึกพูด แสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • เยี่ยมมาก

3.ลองสำรวจองค์กร “กรมพัฒนาที่ดิน” ของท่าน เสนอ 3 เรื่องที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา เพราะเหตุใด

                1.ทำงานเชิงรุก ไม่ต้องรอปัญหา

                2.เพิ่มอัตรากำลัง

                3.เพิ่มช่องทางสื่อสารและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเรียนรู้ ทำให้องค์ความรู้เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งาน ทำแบบ E-Learning ทำ Application ต่างๆ เจ้าหน้าที่และผู้รับบริการต้องรู้ด้วย กรมควรไปติดต่อนำ Smart Phone มาขายแบบเงินผ่อนในราคาพิเศษจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลให้มากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ขอชมเชย
  • ทุกประเด็นนำไปต่อยอดได้
  • วัฒนธรรมองค์กรถูกต้องแล้ว ต้องแยกสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น
  • ควรเรียน Cross-functional team

 

4. วิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมเพื่อรองรับ AEC 3 วิธี

 

                1.เปลี่ยนแปลงการบริหารบุคคล ใช้ 3V (Value added, Value Creation, Value Diversity)

 

มีเป้าหมายคือสังคมการเรียนรู้ ต้องทำให้เกิดการใฝ่รู้มากที่สุด ต้องพูดได้ทุกภาษา

ต้องมีองค์ความรู้เข้มแข็ง มีการแลกเปลี่ยนบุคลากร

2.พัฒนาการสื่อสาร

มีเอกสารเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ

ประชาสัมพันธ์โดยใช้ไอที วิทยุ โทรทัศน์

3.พัฒนาเทคโนโลยี

ให้ใช้เป็นทุกคนและอย่างมีประสิทธิภาพ

เพิ่มประสิทธิภาพเพื่อการสร้างใหม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • การแลกเปลี่ยนบุคลากรระดับผู้ปฏิบัติการใน AEC เป็นเรื่องที่ดี
  • ควรมี AEC Director Forum for Soil Scienceโดยใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง

5. เสนอยุทธวิธีในการปรับ Mindset จาก Fixed Mindset ไปสู่ Growth Mindset สำหรับคนในองค์กร “กรมพัฒนาที่ดิน” เป็นโครงการ 1โครงการ

  • รวบรวมจัดสัมมนากลุ่มเพื่อให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น มีการประชุมร่วมกัน มีกิจกรรมสันทนาการหลังประชุมให้ทุกคนคุ้นเคยกันและแลกเปลี่ยนกัน มีการค้นหาตนเอง ระดมสมองพัฒนากิจกรรมกรม ให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากที่สุด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ดีที่ปฏิบัติได้ทันที
  • ผมเคยให้เด็กเทพศิรินทร์ทำวิเคราะห์สถานการณ์ คนเรียนเก่งไม่พอ ต้องทำกิจกรรมด้วย ไปปรึกษาคนหลายชนิดจะได้ทำได้
  • ต้องฝึกให้คนเก่งฟังความคิดเห็นคนอื่น
  • ควรทำให้ต่อเนื่องในหน่วยงานอื่นๆ
  • นอกจากกิจกรรมกลุ่ม คนเก่งต้องใฝ่รู้ในเรื่องนอกสาขา และมีความรู้ที่ทันเหตุการณ์

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

  • Network ต้องมีคนทุกสาขาทำงานร่วมกันจึงประสบความสำเร็จ
  • ท่านเข้าใจสังคมการเรียนรู้ แต่ต้องทำแผนให้ชัด
  • การเชื่อมโยงสำคัญ
  • Dignity คือคุณค่าที่เกิดจากการทำงาน
  • ท่านเข้าใจความเปลี่ยนแปลง

วิชายุทธศาสตร์สร้างพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์สำหรับกรมพัฒนาที่ดิน อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์ อ.สุทธิเดช สุทธิสมณ์ และ อ.กิตติ ชยางคกูล

        เท่าที่ได้รับฟังอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน บรรยายเนื้อหา วิชาทุนมนุษย์  การสร้างพัฒนา สำหรับกรมพัฒนาที่ดิน ท่านทั้ง 3 ได้บรรยายเนื้อหาวิชาเข้าใจดีมาก ทำให้ผู้ที่เข้ารับการอบรม ทราบถึงเรื่องราวต่างๆ มากยิ่งขึ้น เกิดการเรียนรู้ที่จะทำเอาวิชาที่ทานบรรยายไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์กับเกษตรกรมากขึ้น

เรียน อ.เอ ข้อมูลการบรรยายใน flash drive ของ อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ไม่มีค่ะ ข้อมูลเป็นของอ.ท่านอื่นค่ะ รบกวนส่ง mail ให้ด้วยนะค่ะ

การนำเสนองานกลุ่ม กรมพัฒนาที่ดินรุ่นที่ 1

กลุ่มที่ 1

นวัตกรรมสิ่งแวดล้อมของกรมพัฒนาที่ดิน

โครงการหมู่บ้านพัฒนาที่ดินท่องเที่ยวเชิงระบบวิถีเกษตรแบบยั่งยืน

                ปัจจุบัน มีแต่ละเขตทำไปแล้ว เมื่อทำเสร็จแล้ว ท่านต้องกลับมาบ้านของท่าน ก็ปล่อยให้เกษตรกรใช้ความรู้ ความสามารถที่เราถ่ายทอดไว้ก่อนที่จะไปดำเนินการ ทำไปตามประสบการณ์ที่เกษตรกรมี แต่โครงการของเราจะต่อยอดความยั่งยืนโดยทำหมู่บ้านพ.ด.เป็นการท่องเที่ยวในตัวด้วย

                ปัญหาคือระบบเกษตรไม่ยั่งยืน ส่วนใหญ่เป็นการทำเกษตรของเราเน้นไปที่ภาคเหนือ ทำเกษตรโดยการหมุนเวียนไปทำปีละที่ ถือว่าไม่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีความสูงชัน เมื่อระบบเกษตรไม่ยั่งยืน เกิดปัญหาการทิ้งถิ่นฐานของเกษตรกร ไปเป็นแรงงานในเมือง ชุมชนจะเปลี่ยนไป ไม่แต่งชุดพื้นเมือง มาอยู่ในเมืองเกิดปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ เมื่อระบบการเกษตรไม่ดี รายได้เกษตรกรจะลดลงไปด้วย มีการเกษตรไม่ยั่งยืน มีการเผาตอซังทำลายระบบนิเวศ มีหมอกควัน ดินเสื่อม มีการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้น มีการทำไร่เลื่อนลอย มีการทำลายป่า ต้นน้ำ ดิน ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ  หน้าดินพังทลาย ดินเสื่อม ทำให้แม่น้ำลำคลองตื้นเขิน

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เกษตรมีความยั่งยืนมากขึ้น มีความสมบูรณ์ ลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต มีพื้นที่ปลอดภัย

2.สร้างงานและมีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีอาชีพที่มั่นคง เพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร

3.การสร้างจิตสำนึกในการรักท้องถิ่นและบ้านเกิดในการฟื้นวิถีชุมชน มีความหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ มีการทำประชาคม มีการหาแนวร่วม สมาชิกในพื้นที่ทำความเข้าใจและสร้างจิตสำนึก มีการตั้งคณะกรรมการทำงานประกอบด้วย ประธาน เลขานุการ เหรัญญิกและกรรมการ มีการสร้างกิจกรรม มีแปลงพืชอินทรีย์ เช่น ข้าว ผัก ผลไม้ที่ใช้กินได้เลย มีหัตถกรรมการแปรรูป เช่น ผลไม้แปรรูป และหัตถกรรมหญ้าแฝก วิธีชุมชนมีความร่วมมือ เช่นการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก และการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ต่างๆ การปรับปรุงพื้นดิน การไถกลบตอซัง

การขับเคลื่อน

1.มีการประกวดและประชาสัมพันธ์ตามสื่อโทรทัศน์ เว็บไซต์

2.มีการจัดแรลลี่ โชว์ต่างๆ

3.มีบริษัททัวร์ไปท่องเที่ยว

องค์ความรู้ที่จะใช้ในโครงการ

1.การอนุรักษ์ดินและน้ำ มีการปลูกป่าและหญ้าแฝก จัดระบบ ทำฝายแม้ว ฝายคอนกรีต

2.การปรับปรุงดิน เน้นไปที่ปุ๋ยพืชสด ได้ทั้งปรับปรุงดินและแหล่งการท่องเที่ยว การแสดง การถ่ายรูป

3.การไถกลบตอซัง

4.เทคโนโลยีชีวภาพ ใช้น้ำหมัก ปุ๋ยหมัก และผลิตภัณฑ์ของเรา

                จะประสบความสำเร็จได้ ต้องประสานกับหลายหน่วยงาน เช่นท้องถิ่น เกษตรกร และตัวเราที่จะชักจูงเขา

กลุ่มที่ 2

โครงการสร้างเครือข่ายออนไลน์สำหรับวิถีเกษตรของคนเมือง

หลักการและเหตุผล

                ปัจจุบัน การดำเนินชีวิตของคนเมืองเร่งรีบเพราะมีข้อจำกัดเรื่องเวลา สถานที่มีจำกัด ทำให้ไม่สามารถปลูกผักสวนครัวบริโภค ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก

ตัวชี้วัด

                ตั้งเป้าหมาย

1.จะลดรายจ่ายในครอบครัวให้ได้ร้อยละ 10

2.ทำให้มีคนเข้าชมเว็บไซต์กรมพัฒนาที่ดิน 1 ล้านคนต่อปี

3.จะมีผลผลิตจากหลังห้องในคอนโดมีเนียม 1 กิโลกรัมต่อบ้าน 1 ล้านครัวเรือนน่าจะมี 1 ล้านกิโลกรัมต่อวัน

4.กรมพัฒนาที่ดินจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

วิธีการดำเนินการ

ใช้ Mind Mapping ในการทำโครงการนี้ต้องมี 4 ขา คนต้องมีความรู้ บุคลากรต้องเตรียมพร้อมรับโครงการนี้ ศึกษาว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นใคร

ประโยชน์

1.ลดรายจ่าย

2.อาหารปลอดภัย

3.คนสุขภาพแข็งแรง

4.ได้ KM ข้อมูลที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ต้องถูกต้อง ทันสมัย นักวิชาการอาจจะต้องมาวิจัยเกี่ยวกับคนเมืองบ้างก็ได้ ถ้าผลผลิตผักขึ้นมา 1 ล้านกิโลกรัมต่อวัน ผักในตลาดไทต้องไม่มีคนไปซื้อ 1 ล้านกิโลกรัมต่อวัน แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร

งบประมาณ

จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายแล้ว ทำให้ทราบว่าต้องใช้งบประมาณตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ในกรณีที่คนในกรมพัฒนาที่ดินร่วมมือกันดำเนินการเอง หรือต้องใช้งบประมาณ 10,000 บาทถ้าจ้างคนมาทำเว็บไซต์

กลุ่มที่ 3

โครงการความร่วมมือผลิตอาหารปลอดภัยอาเซียน

                เมื่อพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์พื้นฐาน เราเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของโลก

เราจะใช้จุดแข็งนี้ขับเคลื่อนเครือข่าย

วัตถุประสงค์

1.ใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีอยู่ผลิตอาหารปลอดภัย

กระบวนการ

1.วิเคราะห์ SWOT Analysis

2.ทำ Mind Map

3.ประชุมเพื่อทำ MOU กับประเทศกลุ่มอาเซียน มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย MOU อาจจะตั้งเป้าหมายว่า อาเซียนจะเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยให้กับโลก และกล้านำประเทศต่างๆ

4.กำหนดพื้นที่

5.กำหนดเรื่องการ Transfer เทคโนโลยี ความรู้และปัจจัยต่างๆที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

กลุ่มเป้าหมาย

เกษตรกร เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้บริโภค ผู้ส่งออก

ความเสี่ยง

ภาวะโลกร้อน ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ การตลาด การพัฒนาเทคโนโลยี

Output

ทำให้เกิดความร่วมมือในอาเซียน สร้างผลผลิตที่ปลอดภัย เป็นกระบวนการลดต้นทุนการผลิตในภาพรวมของอาเซียน

ผลสัมฤทธิ์

1.เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

2.ทำให้คนมีสุขภาพแข็งแรง เพราะผลิตผักที่มีคุณภาพของโลก

3.เกิดความยั่งยืนในการถือครองที่ดิน เรื่องสิ่งแวดล้อม

4.ไปเป้าหมายปลายทางคือประเทศในอาเซียน

5.รายได้เพิ่มขึ้น

6.การรับรอง ISO หรือแล้วแต่เป้าหมายปลายทาง

                อาจจะเหมาะสมกับช่วงเวลาปรับเปลี่ยน เพราะมาตรฐานอินทรีย์แต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ถ้าเราเริ่มต้นตอนนี้ก็เป็นโอกาสที่ดีของการร่วมมือ

กลุ่มที่ 4

โครงการสร้างเครือข่ายกรมพัฒนาที่ดิน กรณีตัวอย่าง เทคโนโลยีไถกลบตอซัง

                ทางกรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมการไถกลบตอซังแต่การไถกลบตอซังประสบความสำเร็จค่อนข้างน้อยเพราะมีการเผาตอซังมากทั้งๆที่ก็มีการรณรงค์การไถกลบตอซังมาหลายปีแล้ว

กระบวนการเรียนรู้

                บูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน เอกชน เกษตรกร มุ่งเน้นทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการปฏิสัมพันธ์ผู้เกี่ยวข้องโดยสมัครใจ ใช้ CSR ไม่หวังผลกำไรมากนัก

ปัญหา

1.กรมพัฒนาที่ดินไม่มีเครื่องมือกลุ่มใหญ่เพื่อให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการไถกลบตอซัง

2.ไม่มีการเชื่อมโยงภาครัฐและเอกชนมากนัก

3.เกษตรกรขาดเครื่องมือทางการเกษตร เข้ามาสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยี

ความต้องการ

                ต้องการบุคลากรผู้มีความรู้ ความสามารถมาเป็นพันธมิตรเพราะทำงานคนเดียวไม่ได้

ความรู้ด้านวิชาการ

1.องค์ความรู้ด้านการปรับปรุงดิน

2.เทคโนโลยี ความร่วมมือเครือข่าย

3.นวัตกรรมที่เกิดจากการร่วมมือ

กลุ่มเป้าหมาย

1.ภาครัฐ

2.หมอดิน

3.เอกชน

4.สถานศึกษา

5.ภาคเกษตรและสหกรณ์

การดำเนินการ

1.เปิดเวทีการประชุมสัมมนาระหว่างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมตามเป้าหมาย มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยและเอกชนมากล่าวถึงบทบาทที่ชัดเจนของทุกภาคส่วน

2.ลงนามใน MOU สานข้อตกลงร่วมกัน

3.แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และไอทีที่เกี่ยวข้อง

4.กรมพัฒนาที่ดินประสานงานเตรียมข้อมูลเชิงพื้นที่ GIS

5.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล

ผู้ได้รับผลประโยชน์

1.ในด้านเอกชน เขามองความร่วมมือด้านเครื่องจักรกล ผู้ได้รับผลประโยชน์ได้แก่ คูโบต้า อาจจะให้การสนับสนุนเครื่องจักรกล

2.เกษตรกรได้รับผลประโยชน์ เพราะเป็นเจ้าของพื้นที่

3.หมอดินอาสา เตรียมงาน ศึกษาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์เพื่อทำวิจัย

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.จะมีศักยภาพอย่างยั่งยืน

2.ไม่มีปัญหาภาวะโลกร้อน ไม่มีมลภาวะ

3. เกิดความพึงพอใจและยอมรับแนวทางของกรมพัฒนาที่ดิน

4.ได้เครือข่ายบูรณาการที่ดิน เป็นเครือข่ายการแลกเปลี่ยน

5.การไถกลบตอซังมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีทันสมัย

6. ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร

กลุ่มที่ 5

บทบาทกรมพัฒนาที่ดินนวัตกรรมข้าวหอมมะลิ

โครงการพัฒนาเทคโนโลยีข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

                เราเลือกทำข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่นี้เพราะพื้นที่ของข้าวหอมมะลิในประเทศไทยทั้งหมด 12 ล้านไร่ ผลผลิตทั้งหมด 31 ล้านตัน มีนาปี 20 ล้านตัน นาปรัง 11 ล้านตัน เราพบว่า พื้นที่นี้สามารถผลิตข้าวที่มีคุณภาพดี เราจึงทำโซนนิ่งพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

                ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้มีความพิเศษคือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี มีความหอม เหนียวนุ่มและเป็นที่ยอมรับของสากล

พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ประกอบด้วย 5 จังหวัดคือร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร มหาสารคาม มีพื้นที่รวม 2.1 ล้านไร่

พื้นที่ตรงนั้นส่วนใหญ่เป็นดินเค็ม ทำให้เกิดลักษณะพันธุ์ข้าวพิเศษขึ้นมา ข้าวหอมมะลิปลุกที่อื่นจะไม่เหมือนที่นี่ อันที่จริงพื้นที่นี้มีศักยภาพต่ำในการปลูกพืชชนิดอื่น แต่พอเป็นข้าวหอมมะลิพันธุ์นี้ ก็กลายเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ

หลักการและเหตุผล

1.สร้างนวัตกรรมข้าวหอมมะลิ เราคิดว่าต้องเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิ

2.ตอบโจทย์รัฐบาล ถ้าเป็นข้าวหอมมะลิจะสวมสิทธิ์กัน การทำโซนนิ่ง จะช่วยลดการสวมสิทธิ์ข้าวหอมมะลิ

3.ลดต้นทุนการผลิต ระบบ Logistics

วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนาคุณภาพข้าวให้ได้รับมาตรฐานเดียวกันในพื้นที่เขตทุ่งกุลาร้องไห้นี้ มาตรฐานข้าวพันธุ์นี้ต้องมีความหอม ความนุ่ม ความเหนียวตรงตามสายพันธุ์ โดยที่ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ต้องมีความยาวของเม็ดข้าวไม่ต่ำกว่า 7 มิลลิเมตร มีเปอร์เซ็นต์แป้งได้ตามคุณลักษณะ

2.เพิ่มมูลค่าข้าว

3.สามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันไปสู่ตลาดโลก

วิธีการ

                ขั้นต้น วางแผนร่วมกันทำงานของหน่วยงานทุกหน่วย รวมถึงภาคเอกชนทั้งหมดเพราะเป็นโครงการใหญ่จึงต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

                ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย

                ภาคเอกชน ภาครัฐบาลซึ่งเอกชนก็ไปควบหอการค้าหรือบริษัทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโรงสีข้าวหรือเป็นบริษัทนำเข้าข้าวหอมมะลิไปแปรรูป

หน่วยงานภาครัฐมีหลายกระทรวงเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นอกจากกรมพัฒนาที่ดินแล้ว ในเรื่องของข้าวหอมมะลิที่จะไปสู่ตลาดโลกได้ ต้องมีความร่วมมือไม่ว่าจะเป็นในส่วนกรมการข้าว กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมวิชาการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องมาร่วมวางแผนกัน เราต้องขับเคลื่อนทำโซนนิ่งให้ออกมาเป็นรูปของพระราชบัญญัติหรืออื่นๆก็ได้ กำหนดให้เขาว่า ถ้าปลูกข้าวหอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้ ควรปลุกในพื้นที่อย่างนี้ เพราะมีศักยภาพที่เหมาะสม

เราจะใช้ไอทีมาช่วย ทางกรมมี GIS อยู่แล้ว มีการใช้ GPS โปรแกรมต่างๆ โปรแกรมดินไทย Soil View Land Use หรือโปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืชซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เพราะมีการวิเคราะห์ดินไปในทุกอำเภอ ตำบล หมู่บ้านแล้ว เวลาเครื่องนี้ชี้เข้าไปว่าแต่ละอำเภอใช้ปุ๋ยอะไร สูตรไหนเท่าไร ถ้าเราเน้นเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยแต่ละสูตรและอัตราสามารถเช็คกลับไปใช้ได้ว่า ถ้าเราใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยพืชสดของเราที่จะใส่ลงไปทดแทนปุ๋ยเคมีต้องใช้ในอัตราส่วนเท่าไร

ในการเข้าถึงเรามอง Facebook, Youtube และ Twitter ตอนนี้มี Facebook โครงการทุ่งกุลาร้องไห้

ในการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการนี้ให้ประสบความสำเร็จได้ ก็ต้องขอจดทะเบียนซึ่งรับรองสายพันธุ์ มีการวิเคราะห์ในด้านดิน น้ำ อากาศที่เป็นข้อมูลจำเพาะของพื้นที่ กำหนดควรปลูกพืชชนิดนี้ ผลการปลูกจะออกมา พื้นที่ตรงนั้นก็เป็นดินเค็ม ชุดดินที่ 20 กำหนดทั้งความเหมาะสมของการปลุกข้าว ถ้ามีดินเค็ม ถ้าเค็มมาก ปลูกข้าวไม่ได้ ก็ไปทำในพื้นที่เค็มปานกลางและเค็มน้อยก่อน

มีการใช้เกษตรอินทรีย์เข้าไปช่วยด้วยสำหรับการคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้องมีความบริสุทธิ์อย่างน้อยร้อยละ 95 ไปปลูกในพื้นที่ข้าวหอมมะลิ ในโครงการนี้มี 2 สายพันธุ์คือ หอมมะลิ 105 กับข้าว ก.ข.15

ตัวที่ใช้คือ ตัวปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก สารเร่งพ.ด.

กลุ่มเป้าหมาย

1.กลุ่มผู้ผลิตซึ่งเป็นตัวเกษตรกร ภาคเอกชน

2.กลุ่มผู้บริโภคในและต่างประเทศ ส่งออกไปกลุ่มอาเซียน จีนและยุโรปแล้ว

3.ส่วนการวิจัยที่เกี่ยวข้องคือมหาวิทยาลัยต่างๆที่ช่วยดูแลนวัตกรรมการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ภาครัฐก็ทำวิจัยเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วย ประกอบด้วยกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการข้าว กรมส่งเสริมวิชาการ กรมวิชาการ กรมพัฒนาที่ดิน

งบประมาณ

มีแหล่งสนับสนุนจาก2 หน่วยงานหลักทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ในประเทศ

งบจากรัฐบาล วิทยาลัย ว.ช. สหกรณ์การเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร

ถ้าเราดึงหอการค้ามาช่วยได้ เขาก็สามารถช่วยกระจายสินค้า (ข้าว) ไปในพื้นที่ในโซนจังหวัดหรือประเทศเรา ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ เราจะดึงธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์หรือสหกรณ์การเกษตรเข้ามาเป็นแหล่งทุนที่จะให้เกษตรกรเข้ามาร่วมโครงการกับเราได้มีทุนเข้าไปโซนนิ่งปลูกข้าวตรงนี้ได้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เมื่อเราทำ GI เราจะได้รับ GI ทั้งของจีนหรือยุโรป

2.ในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ได้รับมาตรฐานแกตต์เพราะเราทำเกษตรอินทรีย์

3.ส่งออกข้าวได้มากขึ้น

4.รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น

การติดตามประเมินผล

                นอกจากจะขายในประเทศได้มากขึ้น ต้องไปดูที่ปริมาณการส่งออกที่กลุ่มประเทศต่างๆด้วยว่าปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นหรือไม่

การขยายผล

ถ้าเราทำโซนนิ่งพื้นที่กุลาร้องไห้ได้สำเร็จ ก็จะขยายผลไปยังพื้นที่ดินเค็มในภาคอีสานซึ่งมีถึง 11 ล้านไร่ สามารถโซนนิ่งไปพื้นที่อื่นๆได้โดยใช้โมเดลคล้ายโครงการนี้ต่อไป

ข้อเสนอแนะ

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล ที่ปรึกษาด้านวิชาการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                ภายใต้เวลาอันจำกัด 2 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับผลงานที่ออกมาถือว่ามีคุณภาพมาก อยากให้แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอโครงการด้วย

                กลุ่มที่ 1 ทำโครงการหมู่บ้าน พ.ด. บูรณาการเกษตร เศรษฐกิจ การสร้างงานรวมถึงแหล่งท่องเที่ยว รวมอยู่ในหมู่บ้านต้นแบบเพื่อสร้างวิถีเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย ผลพลอยได้คือ ประชากรก็มีรายได้นอกเหนือจากการเกษตรด้วย

                โครงการนี้ต้องใช้เวลานานเท่าไร

กลุ่มที่ 1

                2 ปี

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล ที่ปรึกษาด้านวิชาการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                ปัญหาหรืออุปสรรคของโครงการในขณะนี้คืออะไร

กลุ่มที่ 1

                ไม่ต่อเนื่อง

กลุ่มอื่น

                การมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล ที่ปรึกษาด้านวิชาการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                ปัญหาที่เกิดคือ เมื่อมองว่าโครงการนี้ใช้เวลา 2 ปี ถ้ามองในระยะสั้น อะไรที่พอจะทำได้ใน 1 ปีเพื่อที่จะนำร่องในปีที่ 2

กลุ่มที่ 1

                ใช้ SCG Model บวกแม่กำปอง ใช้แนวคิดศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ขับเคลื่อน ใช้ทุกวัน มีการสัมมนาทุกวัน ทำต่อเนื่อง ต้องให้กำลังใจจึงจะไปรอด

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

                กลุ่มที่ 2 ทำโครงการเกษตรกรรมคนเมือง จะใช้เวลานานเท่าไร

กลุ่มที่ 2

                ประมาณ 1 ปี พอที่จะขับเคลื่อนได้

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล ที่ปรึกษาด้านวิชาการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                ตั้งงบไว้เท่าไรสำหรับโครงการนี้

กลุ่มที่ 2

                เราจะใช้สิ่งที่กรมพัฒนาที่ดินมีอยู่แล้ว

กลุ่มอื่น

                ต้องคิดเผื่อเกษตรกรไว้ โครงการนี้ทำให้ตลาดของเขาหายไป จึงขาดรายได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                ผมฝันไว้นานแล้วว่า จะมี Urban Agriculture มันไม่ใช่อาหาร แต่เป็นเรื่องของความสุข และสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัย บ้านผมก็เหมือนสวน ผมทำได้ดีเพราะบรรยากาศ ที่คอนโดมีเนียมก็ต้องมีสภาพแวดล้อมทาง Green เหมือนกัน

                โครงการนี้เป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ กรมพัฒนาที่ดินก็ต้องเป็นผู้นำเพราะวันนี้เราใช้ดอกไม้พลาสติก ธุรกิจนี้อาจทำลายดอกไม้พลาสติก ผมขอสนับสนุนเพราะชอบ

                ต้องแบ่งบทบาทในกรมพัฒนาที่ดินให้ดี

                ต้องถามชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากพูด แล้วพูดน้อยลงบ้าง และต้องมีการปะทะกันทางปัญญา

ชัยพร เหมะ Chief Executive Director บริษัท หาญเจริญโฮลดิ้ง จำกัด               

                การวางนโยบาย ควรมองนโยบายหน่วยเหนือ

                แม้ประเทศนิวซีแลนด์มีระบบการศึกษาที่ไม่อยู่ในอันดับต้นๆของโลก แต่เขาเน้นไปที่ทุนแห่งความสุขมาก เช่น สังคมครอบครัวนิวซีแลนด์มีความสุขมาก ต้องมองว่าความสุขตรงนี้จะสร้างมูลค่าเพิ่มตรงไหนให้ปัจเจกบุคคลได้บ้าง ถ้าครอบครัวมีความสุข มูลค่าเพิ่มที่ได้มาตรงนี้ก็คือทุกอย่าง เราก็มีพลังที่จะทำอะไรอีกหลายๆอย่าในชีวิต

                ถ้าเปรียบเทียบนโยบายระดับประเทศ เช่น เกาหลี อยู่ได้แม้มีความขัดแย้งกัน เศรษฐกิจก็ดำเนินต่อไปได้ นี่คือการผสมผสานกันระหว่างคนที่มีพลังทางการเงิน เศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน ผู้มีพลังทางเศรษฐกิจไม่เคยลืมฝ่ายแรงงาน ทำให้ประเทศไปได้

                เมื่อกลับมาดูประเทศไทย นโยบายของประเทศไทยแม้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 แต่ละรัฐบาลเข้ามาฉีกแผนหมด นำนโยบายของตนเองขึ้นมาใช้แทน นี่อาจจะเป็นอุปสรรคข้างหน้าในการเข้าไปสู่ประชาคมอาเซียนของเรา นโยบายของกรมพัฒนาที่ดินกับนโยบายของประเทศ ถ้าทุกคนรวมพลังกันผลักดัน อย่าเบนนโยบายระดับประเทศมากเกินไปเพราะถ้าเปลี่ยนเข็มไปเรื่อยๆ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองทั้งหลาย ก็จะทำให้เราเปลี่ยนไปด้วย ต้องวางนโยบายของกรมพัฒนาที่ดินให้สอดคล้องกับนโยบายระดับประเทศ น่าจะพาประเทศไทยสู่แถวหน้าของอาเซียนได้

                ขอบคุณมากครับที่ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ยินดีที่ได้รู้จักว่าที่อธิบดีหลายท่าน ขอให้ค้นหาตนเองมากๆ

                1.Where are we? เรามีความรู้แล้ว รู้จักตนเองแล้ว ต้องถามว่า เราอยู่ที่ไหนก่อน

                2.Where do we want to go? เรารู้ว่าจะไปที่ไหน

                3. How to get there?

                ทั้ง 3 ข้อนี้ถือเป็นปัจจัยไปสู่ความสำเร็จของชีวิตได้

                ขอบคุณมากครับ

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล ที่ปรึกษาด้านวิชาการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                กลุ่มที่ 3 เสนอโครงการความร่วมมือเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยของอาเซียน ค่อนข้างจะเป็นระยะยาว ในระยะสั้น วางแผนอย่างไร

กลุ่มที่ 3

                อาเซียนมีวิสัยทัศน์ว่า หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งเอกลักษณ์อาเซียนคือภูมิประเทศที่เหมาะสม จะเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยของโลก ขึ้นอยู่กับอาเซียนว่าจะเห็นชอบหรือไม่

                ในช่วงปีที่ 1 อาจเตรียมการประสานงาน ใครทำอะไร มีฐานข้อมูล

                ในปีที่ 2 หลังจากประสานงานทำความเข้าใจในภูมิภาค ต้องกำหนดทิศทางของตนเอง แล้วมีการหางบสนับสนุน

                ผมเขียนแผนแล้วต้องไปถึงสำนักงานเลขาธิการอาเซียนแห่งประเทศไทยที่โยงไปให้เกิดการขับเคลื่อน

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล ที่ปรึกษาด้านวิชาการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                กลุ่มที่ 4 ทำโครงการเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมเรื่อง เทคโนโลยีเพื่อการไถกลบตอซัง มองว่าไปเน้นเครือข่ายไม่มาก มีมุมภาคธุรกิจด้วย เรามองว่า เราจะนำ CSR ไปเป็นตัวเชื่อมภาคธุรกิจ

                ตัวที่เราต้องเตรียมรับอุปสรรคคือคน ท่านมองอย่างไร

กลุ่มที่ 4

                เกษตรกรไม่ยอมรับเทคโนโลยีการไถกลบตอซังกรมพัฒนาที่ดินกำลังพยายามดำเนินการอยู่

                การให้บริษัทมาร่วมมือ CSR ก็ยาก แต่ก็ไม่เกินความสามารถ ถ้าหารือร่วมกันแล้ว ราบว่ามีความจริงใจ เน้นว่าบริษัทจะได้ประโยชน์อะไร

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล ที่ปรึกษาด้านวิชาการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                ใช้เวลาสร้างเครือข่าย และก็ต้องให้ความรู้แก่เกษตรกร

กลุ่มที่ 4

                เราร่วมมือกับสถานศึกษาในการให้ความรู้

ชัยพร เหมะ Chief Executive Director บริษัท หาญเจริญโฮลดิ้ง จำกัด

                เรื่องเครือข่ายนี้ ภาคเอกชนยินดีร่วมมือ

                ภาคเอกชนไปก่อนราชการเสมอและติดขัดที่ระบบราชการเสมอ ขอความกรุณาว่าที่อธิบดีในห้องนี้ช่วยดูแล เอกชนพร้อม รอว่าราชการจะเดินเข้ามาเมื่อไรหรือให้เอกชนเดินเข้าไปแทน เอกชนปรับตัวดีกว่า พร้อมที่จะแข่งขันมากกว่า ควรจะดึงความเก่งของเอกชนมาช่วยราชการอย่างไร ที่ไหน เกษตรกรไทยก็ยังเชื่อในระบบราชการ เพียงแต่การสื่อสารควรแสวงหาความร่วมมือ ถ้าขอร้อง ขอแรง และขอรับการสนับสนุน คนไทยทำเต็มที่

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล ที่ปรึกษาด้านวิชาการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                กลุ่มที่ 5 สร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาข้าวหอมมะลิไทย ช่องว่างของโครงการคืออะไร

กลุ่มที่ 5

                โครงการนี้น่าจะสมบูรณ์ครบถ้วน แต่คนอื่นบอกมาว่า เครื่องการตลาด

กลุ่มอื่น

                GI ที่ได้รับในทุ่งกุลาร้องไห้ตอนนี้ที่ผมสัมผัสมี 9 จุด สหกรณ์การเกษตรและหน่วยงานอื่น เงื่อนไขการส่งออกไปสหภาพยุโรป มีกฎองค์การการค้าโลกข้อหนึ่งว่า สินค้าที่ส่งเข้าไปต้องมี GI

                GI เป็นสิ่งที่บ่งชี้ทางยุทธศาสตร์ เช่นข้าวหอมมะลิว่าเป็นของทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งจะคุ้มครองทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่ข้าวหอมมะลิทั่วไปยังไม่ได้มีข้อกำหนดเรื่องนี้ สิ่งที่เขาให้ ก็ให้ในส่วนที่เป็นข้าวหอมมะลิจริงๆ เพราะมูลค่าเพิ่มแตกต่างจากข้าวทั่วไป มูลค่าจะสูงขึ้นถ้ามีตัวนี้รับประกัน สิ่งที่เราจะขับเคลื่อน ถ้าเราทำแบบปกติ จะไม่มีมูลค่าเพิ่ม กลไกใดก็ตามที่จะสร้างให้เกิดผลกระทบที่สามารถเพิ่มคุณค่าในจุดหมายปลายทางของเราก็ควรที่จะทำ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

                ข้าวที่เราส่งออก ตอนนี้อาจไม่ใช่อันดับ 1 แล้ว

                ใช้คน ที่ดิน ปุ๋ยมากมายแต่ Net Income ถ้าเกี่ยวกับมูลค่าที่เรานำเข้าน้ำมัน คิดเป็น 1 ใน 5 ควรคิดเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นต่อลูกค้า ตอนนี้มูลค่ายังเป็นระดับออกมาจากฟาร์มและเป็น Commodity ประเทศที่จะไปดูงานเช่นนิวซีแลนด์มีกีวีเป็นไวน์ไม่ว่าจะเป็นที่เนเบียหรือโอ๊คสเวย์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าต่างๆที่นิวซีแลนด์ผลิต มูลค่าส่งออกได้ ฉะนั้นเขาเป็นประเทศเล็กกว่า เขาใช้แรงงงานน้อยกว่าเรา แต่ Brand ของสินค้าการเกษตรของเขาสูงกว่าเรา ท่านอธิบดีอรรถกับผมคิดตรงกันว่า เวลาจะกินบรั่นดี จะเน้นว่าบรั่นดีนั้นมาจาก Where ซึ่งสำคัญต่อกรมพัฒนาที่ดินคือชนิดของดินแต่ละจุดของประเทศจะเหมาะสมกับพืชคนละชนิด อยากให้นำข้อมูลเหล่านี้เผยแพร่ผ่านจอไอแพด ไอโฟน บอกข้อมูลลึกระดับตำบลหรือหมู่บ้านได้

                การผลิตในอนาคต Differentiate สิ่งสำคัญคือ Income ที่เพิ่มขึ้นและความยั่งยืน ปีหน้า เอา where และชนิดพืชมาดู นำนักเศรษฐศาสตร์เกษตรมาหารือวางแผนให้เกิดมูลค่าเพิ่มบวก Value Creation สำหรับพืชที่สร้างรายได้สูงกว่านี้

                วันนี้ข้าวส่งออกจริง 2 แสนกว่าล้านบาท เราสั่งน้ำมันเข้ามา 1 ล้านล้านบาท และวัตถุดิบที่สั่งเข้ามารวมถึงเครื่องมือมูลค่ามากกว่าสินค้าเกษตร แต่เราก็ไปทึ่งอุตสาหกรรมส่งออกเช่นรถยนต์ วันดีคืนดี รถยนต์ก็จะหายไปกับการส่งออกเพราะอีกหน่อย Economy of Scale ของจีนกินหมดเลย เพราะเราไม่มีทรัพย์สินทางปัญญาเรื่องส่งออก เราไม่ได้สร้างมูลค่าที่แท้จริงมาจากปัญญาของเรามาจากทรัพย์สินทางปัญญาหรือทุนทางปัญญาของเรา ต้องเริ่มมองเกษตรกร+วัฒนธรรม+ความรู้+มูลค่าเพิ่ม อนาคต สินค้าเกษตรบางอย่างอาจกลายเป็น Service, tourism รวมๆกันแล้ว มูลค่าน่าจะเพิ่มขึ้นกว่านี้ แล้วมันก็ขึ้นอยู่กับทุนมนุษย์ ถ้าทุนมนุษย์ไม่มีความสามารถ ความคิดนอกกรอบ นวัตกรรม หลังจากที่เขามี basic แล้วมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นได้อย่างไร หลักสูตรนี้เพิ่มพลังทางสมองคือใช้ปัญญาแล้วไปสู่มูลค่าที่สูงขึ้น ถ้าเราคำนวณตัวพืชต่างๆและที่ดินที่ใช้อยู่ เกิด Mismatch มหาศาล เพราะข้อมูลระดับหมู่บ้าน ตำบลไปไม่ถึง วันนี้ เรามีข้อมูลมาก แต่เราไม่สามารถส่งข้อมูลเหล่านี้ไปให้ Users ได้ทันทีได้ หลายคนในห้องนี้อาจอยากทำ แต่นโยบายเบื้องบนสั่งมาเป็นโหลๆ ไม่ได้ผล ต้อง Bottom-up ความเป็นเลิศของคุณ ต้องรู้จักรุกมากขึ้น ถ้าเราทำงานร่วมกันอาจสร้างโมเดลของ proactive ควรแยกจากกระทรวงจะได้มีวัฒนธรรมใหม่ ควรทำเรื่องระหว่างประเทศ เช่น Academy of Soil Science ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำคัญที่สุด ต้องยืมความเป็นเลิศจากภายนอก

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท