ประวัติศาสตร์การจัดบริการสุขภาพประเทศไทย


ประวัติศาสตร์การจัดบริการสุขภาพประเทศไทย

  • การบริการสุขภาพในสมัยก่อน

- เนื่องจากคนในสมัยก่อนเชื่อกันว่าโรคเกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ จึงมักจะทำการรักษาด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์ ตามความเชื่อในชุมชน

- ต่อมา มีการพัฒนา โดยใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ แต่เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย เนื่องจากไม่มีใครเข้าใจสาเหตุและวิธีการกำจัดโรค

- จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เริ่มมีการบันทึก รวบรวมตำรายาต่างๆ ไว้

- การแพทย์ตะวันตกเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย โดยคณะมิชชันนารี ทำให้สามารถยับยั้งโรคระบาดได้ และมีการเผยแพร่การรักษาแบบตะวันตก แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จนัก เพราะการรักษาพยาบาลแผนไทยเป็นสิ่งที่สืบทอดต่อกันมาจนเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย

- ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีจัดโรงพยาบาลขึ้น และมีการเรียนการสอนวิชาแพทย์

- มีการจัดตั้งสถานีอนามัย โรงพยาบาลตามจังหวัดชายแดน โดยจะไม่มีการเก็บค่ารักษาพยาบาล แต่ก็ยังมีข้อเสียคือไม่มียา อีกทั้งจำนวนแพทย์และพยาบาลที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพออีกด้วย

 

เมื่อเกิดโรคระบาด ก็มีเพียงเพิงที่พักสำหรับให้น้ำเกลือเท่านั้น เพราะยังไม่มีใครรู้วิธีการรักษาโรคระบาดเหล่านั้น

 

มีสถานีอนามัยในชุมชนที่อยู่ห่างไกล

 

  • การบริการสุขภาพในปัจจุบัน

- มีการกระจายสู่ชนบทมากขึ้น ก่อตั้งสถานีอนามัยและโรงพยาบาลประจำอำเภอ ทำให้ประชาชนได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ตลอดจนการบริการสาธารณสุขเคลื่อนที่

- มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการรักษามากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

- มีระบบบริการที่หลากหลาย ซึ่งใกล้ชิดประชาชนและมีความพร้อมมากขึ้น

       1) การบริการปฐมภูมิ : เน้นครอบคลุม มีการผสมผสานทั้งด้านการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันควบคุมโรค
       2) การบริการทุติยภูมิ : เน้นการรักษาโรคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สูงขึ้น เช่น โรงพยาบาลอำเภอ
       3) การบริการตติยภูมิ : จะเน้นการรักษาในสาขาเฉพาะทาง เช่น โรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์

- เน้นรณรงค์ให้มีการป้องกันการเกิดโรค ส่งเสริมให้มีการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น แทนที่จะเน้นการรักษาโดยไม่คำนึงถึงการป้องกันโรค

- มีการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรทางการแพทย์ และบริการสาธารณสุขทุกระดับ

- มีระบบส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการรักษามากกว่า

- มีนโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน

        - เพิ่มจำนวนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขให้เพียงพอ เช่น โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท

        - มีการให้ความรู้ด้านสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

        - มีโครงการประกันสุขภาพต่างๆ เช่น

              1) โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค : เป็นโครงการที่ทำให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะมีฐานะอย่างไร

              2) บัตรทอง : เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การรักษาพยาบาล การป้องกันความพิการ ตลอดจนการอื่นใดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่หน่วยบริการนั้น ๆ จัดขึ้น

              3) ประกันสังคม : ระบบประกันสังคมที่ถือเป็นหลักปฏิบัติกันในปัจจุบัน มีทั้งหมด 8 ประเภท คือ

                    3.1) การประกันการเจ็บป่วย

                    3.2) การประกันการคลอดบุตร

                    3.3) การประกันอุบัติเหตุและโรคอันเกิดจากการทำงาน

                    3.4) การประกันทุพพลภาพ

                    3.5) การประกันชราภาพ

                    3.6) การประกันการสงเคราะห์ครอบครัว

                    3.7) การประกันการเสียชีวิต

                    3.8) การประกันการว่างงาน

              4) สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ลูกจ้างประจำและผู้รับบำนาญ : เป็นโครงการที่ให้สิทธิการรักษาพยาบาลแก่ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ/ผู้รับบำนาญ และ บิดา มารดา คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ในสถานรักษาพยาบาลต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

 

เอกสารอ้างอิง

30 บาทรักษาทุกโรค ใครคิด.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://linesiam.multiply.com/journal/item/119/119?&show_interstitial=1&u=%2Fjournal%2Fitem.  (วันที่ค้นข้อมูล : 10 สิงหาคม 2555)

กระทรวงแรงงาน, สำนักงานประกันสังคม.  การประกันสังคมในประเทศไทย.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=141.  (วันที่ค้นข้อมูล : 15 สิงหาคม 2555)

ใครมีสิทธิ์ได้บัตรทอง.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.oknation.net/blog/cheeraphong45/2010/05/13/entry-1.  (วันที่ค้นข้อมูล : 13 สิงหาคม 2555)

สิทธิประโยชน์ที่แตกต่าง บัตรทอง - ประกันสังคม.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=1679%3A2011-03-07-06-00-19&catid=204%3A2012-05-15-05-32-54&Itemid=196.  (วันที่ค้นข้อมูล : 15 สิงหาคม 2555)

สุภณิดา ปุสุรินทร์คำ.  ความเป็นมาของระบบสาธารณสุขไทย.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://supanida-opal.blogspot.com/2011/06/blog-post_9080.html.  (วันที่ค้นข้อมูล : 10 สิงหาคม 2555)

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ, กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ.  สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากบัตร 30 บาท. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://province.moph.go.th/rattaphum/UC.htm.  (วันที่ค้นข้อมูล : 11 สิงหาคม 2555)

 

คณะผู้จัดทำ

553070022-9       นางสาวญาดา     จารุอมรจิต

553070052-0       นายปุณณวิช     โล่ห์วงศ์วัฒน

553070002-5       นางสาวกนกวรรณ     ธเนศพลกุล

553070025-3       นางสาวณิชกานต์     ประพันธศักดิ์

553070060-1       นางสาวภวิกา     สุพรรณนนท์

553070079-0       นางสาวสุชีรา     นกแก้ว

553070217-4       นายอธิวัฒน์     อุ่นพิกุล

553070184-3       นายภรัณยู     เจริญวานิช

553070127-5       นางสาวณัฐชยาภรณ์     จันทร์ส่อง

553070192-4       นายวงศธร     สว่างขจร

553070093-6       นางสาวกรกนก     ตรีศิริรัตน์

553070148-7       นางสาวธันยพร     วรรณชู

553070123-3       นายณรงค์ฤทธิ์     สิงห์สาย

553070151-8       นายธีรพัฒน์     ใจสุข

553070105-5       นางสาวคคนางค์     จันทรโยธา

553070196-6       นางสาววรัชญา     วิริยะสุนทร

553070144-5       นายธวัชชัย     อุตมัง

553070259-8       นางสาวแพรวา     พนาเวศร์

553070233-6       นางสาวสุรอนงค์     สุขเกษม

           

 

      

 



 

 

คำสำคัญ (Tags): #medicine
หมายเลขบันทึก: 499160เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 01:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ระบบประกันสุขภาพ ถือเป็นการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของเราได้ดีเลยนะคับ : ))

ได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการการบริการสุขภาพเยอะเลย

โครงการบัตร 30 บาททุกโรค เป็นโครงการที่เข้าถึงได้ทุกคนจริงๆ ชอบโครงการนี้ๆ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ ทำให้ได้รูประวัติการจัดบริการสุขภาพของไทยเลย

ยอดเยี่ยมไปเลย มีประโยชน์ต่อสังคมโลก

อยากให้ระบบสาธารณสุขในประเทศไทยกระจายไปสู่ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ :)

ได้ความรู้เยอะเลยนะคะ :)

ดีๆ ได้ความรู้ขึ้นเยอะเลยเกี่ยวกับพัฒนาการการบริการสุขภาพในประเทศไทย

ขอบคุณที่นำความรู้มาเผยแพร่ เป็นประโยชน์มากๆค่ะ :D

โอ้โห มาเป็นสาระเลยเว้ยเฮ้ย ! ^^

มีการพัฒนาการรักษาเรื่อยๆเลย เรื่องระบบประกันสุขภาพ ถือว่าดีมาก สำหรับคนไทย 555

ขอบคุณมากเลยนะคะ สำหรับข้อมูลดีๆ > <

แนวโน้มของระบบการจัดบริการสุขภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ดีจัง :D

ขอให้พัฒนาต่อไปเรื่อยๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท