วัคซีน (Vaccine) (ต่อ 2)


The immune system recognizes vaccine agents as foreign, destroys them, and "remembers" them.

การผลิตวัคซีน

ขั้นตอนการผลิต มีดังนี้

                 การเลือกชนิดของเชื้อ และสายพันธุ์ที่นำมาทำวัคซีน สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียอาจได้จากห้องปฏิบัติการณ์ และทดลองในสัตว์ จากนั้นนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นวัคซีนต่อไป

                 การคัดเลือกเซลล์ สำหรับการเพาะเลี้ยงเชื้อ เชื้อแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้ด้วยตัวเอง โดยมีอาหารเลี้ยงเชื้อ (media) ที่เหมาะสม ต่างจากเชื้อไวรัส ซึ่งจำเป็นต้องมีเซลล์พิเศษที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง เซลล์ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ เซลล์ของเนื้อเยื่อมนุษย์ชนิด human diploid (MRC 5) ,เซลล์สัตว์ชนิด heteroploid เช่น เซลล์ไตสุนัข ,Chicken embryo primary cell ,ไข่ฟัก (Embronated egg)

                 การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต เชื้อแบคทีเรียจะถูกเลี้ยงในอาหารเหลว (Suspension) และสภาวะที่เหมาะสม การเพาะเลี้ยงไวรัส ขึ้นกับระยะเวลาและประสิทธิภาพของเซลล์นั้นๆ เช่น หากเลือกใช้เซลล์ vero เทคโนโลยีที่ใช้คือ การใช้พาหะขนาดเล็ก (microcarrier) ให้เซลล์ยึดเกาะในการเพาะเลี้ยงไวรัสในถังหมัก

                 การทำให้บริสุทธิ์ (Purification) จุดประสงค์คือ การเก็บเฉพาะส่วนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยกำจัดองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการ

                        1) วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรีย ระดับความบริสุทธิ์ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน และจำเป็นต้องกำจัดท็อกซอยด์ออกจากเชื้อแบคทีเรีย (potential bacterial toxoid)

                        2) วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อไวรัส หากเพาะเลี้ยงจาก human diploid และเซลล์ตัวอ่อน (chicken embryo cell)   ไม่จำเป็นต้องทำให้บริสุทธิ์ หากเลือกใช้ไข่ฟัก (embronated egg) จำเป็นต้องทำให้บริสุทธิ์ เพื่อกำจัดอัลบูมินไข่ หากเลือกใช้เซลล์ animal heteroploid จำเป็นต้องทำให้บริสุทธิ์เพื่อกำจัดดีเอ็นเอและโปรตีนจากเซลล์สัตว์ออกไป

                การทำวัคซีนเชื้อเป็น หรือวัคซีนเชื้อตาย การพัฒนาวัคซีนเชื้อเป็นต้องอาศัยข้อมูลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างเป็นหมื่นๆคนเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัย การพัฒนาวัคซีนเชื้อตายแล้วจึงรวดเร็ว คุ้มค่ากว่า และมีความปลอดภัยสูงกว่า เพราะไม่มีการติดเชื้อโรคจากวัคซีน (infectivity) แต่ยังคงไว้ซึ่งความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

                การเชื่อมผนึก (Conjugation) ของวัคซีน วัคซีนที่ทำจากเชื้อแบคทีเรียจะมีเทคนิคเชื่อมผนึก เช่น วัคซีนคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก วัคซีนฮิบ เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น

                การทำสูตรผสม จุดประสงค์คือ การเตรียมส่วนประกอบสำคัญให้มีความเข้มข้นที่พอเหมาะ ภายใต้ภาวะที่เหมาะสมในการรักษาสภาพการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และความคงตัวของวัคซีน ปัจจุบันนิยมเตรียมวัคซีนในสูตรผสมคือ ของเหลว (liquid) ,ของเหลวผสมอะลูมินัม เพื่อเพิ่มการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ,ชนิดผง (freeze dried)

                ระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำวัคซีน โดยทั่วไประยะเวลาในการพัฒนาและวิจัยวัคซีนใช้เวลา 8-10 ปีขึ้นกับเทคนิคการผลิตและข้อจำกัดด้านกฎหมาย

เทคนิคที่ใช้ในการทำวัคซีนที่สำคัญคือ เทคโนโลยีการตัดต่อยีน (Recombination approach) มีการบวนการดังนี้

               ใช้สำหรับเชื้อแบคทีเรียที่เพิ่มจำนวนได้ไม่เพียงพอ หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือเกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ที่มีอันตรายสูง โดยใช้เทคนิคใส่รหัสพันธุกรรมที่จำเพาะต่อโปรตีนที่ต้องการลงในเชื้อแบคทีเรีย เช่น Escherichia coli ซึ่งสามารถผลิตวัคซีนหน่วยย่อย (subunit vaccine) สำหรับวัคซีนเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบ

ภาพ เทคนิคการตัดต่อยีน (Recombination approach)

               เทคนิคการตัดต่อยีนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดดังนี้

               1. วัคซีนอาศัยเชื้ออื่นเป็นพาหะ (live vectored vaccine) หรือวัคซีนไวรัสดัดแปลง เตรียมโดยนำยีนของสารก่อภูมิคุ้มกันของเชื้อ ไปใส่ในเชื้อไวรัสที่ถูกดัดแปลงทางพันธุกรรม เชื้อไวรัสที่ถูกดัดแปลงโดยใส่ยีนอื่นแทรกนี้ทำตัวเป็นพาหะ (vector) เมื่อเซลล์ในร่างกายผู้รับวัคซีนติดเชื้อไวรัสที่เป็นพาหะของยีน จะทำให้เซลล์ร่างกายสร้างสารก่อภูมิคุ้มกันของเชื้อตามที่กำหนดด้วยยีนนั้นๆ ไวรัสพาหะ เช่น  ไวรัสคานารี พอกซ์ ไม่สามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์ของผู้รับวัคซีนได้ จึงมีความปลอดภัยสูง

               2. วัคซีนเซลล์ดัดแปลง เซลล์ heteroploid จะถูกใส่ยีนจำเพาะต่อการสร้างโปรตีน เช่น ตัดยีนจำเพาะต่อ HBsAg ของไวรัสตับอักเสบบีใส่ลงในยีสต์ เพื่อให้ยีสต์หรือเซลล์เพาะเลี้ยงนั้นผลิตเฉพาะ HBsAg ออกมา

               การเลือกระหว่างเทคนิควัคซีนไวรัสดัดแปลงหรือวัคซีนเซลล์ดัดแปลงควรคำนึงถึงประเภทภูมิคุ้มกันที่สร้างคือ วัคซีนไวรัสดัดแปลงจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบ T cell ขณะที่ไวรัสเซลล์ดัดแปลงจะสร้างภูมิคุ้มกันแบบ B cell หรือชนิดสร้างแอนติบอดี


คำสำคัญ (Tags): #manufacturing#vaccine#Gene Recombination
หมายเลขบันทึก: 499154เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เป็นข้อมูลที่ดีมาก

น่าสนๆ ว่างๆไปหัดทำ 55

การวัคซีนมีขั้นตอนไม่น้อยเลยทีเดียว

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีคับ ได้ความรู้ใหม่เยอะเลย

วัคซีนนี่ก็ทำยากเหมือนกันนะ แต่ประโยชน์มากมายจริงๆ ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ

ขอบคุนมาก สำหรับข้อมูลดีๆ และครบถ้วนสมบูีรณ์มากคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท