วัคซีน (Vaccine) (ต่อ 3)


"The impact of vaccination on the health of the world's peoples is hard to exaggerate. With the exception of safe water, no other modality, not even antibiotics, has had such a major effect on mortality reduction and population growth."

วัคซีนที่สำคัญที่สำเร็จแล้ว

ตัวอย่างวัคซีนที่สำคัญที่ถูกผลิตขึ้น เรียงลำดับตามการค้นพบได้ดังนี้

        ค.ศ. 1879 วัคซีนอหิวาตกโรค 

        ค.ศ. 1881 วัคซีน Anthrax

        ค.ศ. 1882 วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า

        ค.ศ. 1890 วัคซีนโรคคอตีบ 

        ค.ศ. 1890 วัคซีนโรคบาดทะยัก

        ค.ศ. 1896 วัคซีนไข้ไทฟอยด์

        ค.ศ. 1897 วัคซีนกาฬโรค

        ค.ศ. 1918 วัคซีนวัณโรค

        ค.ศ. 1926 วัคซีนโรคไอกรน

        ค.ศ. 1932 วัคซีนโรคไข้เหลือง

       ค.ศ. 1937 วัคซีนโรคไทฟัส

       ค.ศ. 1945 วัคซีนไข้หวัดใหญ่

       ค.ศ. 1952 วัคซีนโรคโปลิโอ

       ค.ศ. 1954 วัคซีนไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น

       ค.ศ. 1964 วัคซีนโรคหัด

       ค.ศ. 1967 วัคซีนโรคคางทูม

       ค.ศ. 1969 วัคซีนโรคหัดเยอรมัน 

       ค.ศ. 1974 วัคซีนโรคสุกใส 

       ค.ศ. 1978 วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น 

       ค.ศ. 1981 วัคซีนตับอักเสบบี

       ค.ศ. 1985 วัคซีน HiB

       ค.ศ. 1992 วัคซีนตับอักเสบเอ

 

วัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัย

1.   วัคซีนป้องกันโรคเอดส์

                เป้าหมายก็เพื่อให้ได้วัคซีนที่สามารถกระตุ้นภูมิต้านทานเพียงพอและเกิดความทรงจำทางพันธุกรรม (immunological memory) ซึ่งสามารถเรียกคืนและกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อได้สูงเมื่อร่างกายได้รับเชื้อ และทำหน้าที่กำจัดการถ่ายแบบของเชื้อ รวมทั้งการทำลายเชื้อในที่สุด  การทดสอบวัคซีนในประเทศไทย โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติได้เลือกประเทศไทยเป็นหนึ่งในสี่ประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อเอชไอวี-1 เมื่อปี พ.ศ.2535

 ภาพที่ 1 การทำวัคซีนโรคเอดส์ที่เป็นไปได้ในอนาคต

2.   วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี

                โรคไข้เดงกีและไข้เลือดออกจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประชากรโลก  อุบัติการณ์โรคไข้เลือดออกสูงสุดในเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยและเวียดนาม

                เป้าหมายของการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีคือ ให้มีวัคซีนที่มีความปลอดภัย ป้องกันโรคได้และราคาไม่แพง อุปสรรคของการพัฒนาวัคซีนนี้รวมถึงการไม่มีสัตว์ทดลองที่เหมาะสมเนื่องจากสัตว์ติดเชื้อแล้วไม่ป่วย

3.   วัคซีนป้องกันโรคมาลาเรีย

                การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพเป็นแนวทางที่สำคัญในการป้องกันและควบคุมมาลาเรีย ทั้งนี้เพื่อลดอัตราการเป็นโรคมาลาเรียในกลุ่มประชากรไม่เคยมีประวัติการได้รับเชื้อมาลาเรียมา หรือเพื่อลดอัตราการตายของผู้ที่อาศัยในถิ่นมาลาเรียและลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ วัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมาลาเรีย ควรเป็นวัคซีนที่สามารถกระตุ้นร่างกายให้เกิดภูมิคุ้มกันทั้งชนิดแอนติบอดีและภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์ต่อแอนติเจนเป้าหมายของเชื้อมาลาเรียระยะต่างๆ ในวงจรชีวิต และวัคซีนที่ดีควรเป็นวัคซีนที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อมาลาเรียทุกสายพันธุ์และในประชากรทุกเชื้อชาติ เนื่องจากเชื้อมาลาเรียฟัลซิพารัมทำให้เกิดโรคมาลาเรียชนิดรุนแรง อัตราตายสูง และวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียฟัลซิพารัมมีการพัฒนามากที่สุด 

ภาพที่ 2 วงจรชีวิตของเชื้อก่อโรคมาลาเรีย
คำสำคัญ (Tags): #vaccine#types of vaccine
หมายเลขบันทึก: 499158เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 01:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

น่าจะมีวัคซีนที่รักษาไ้ด้หลายๆโรคนะ

อันที่กำลังวิจัย ถ้ามันสำเร็จ คนอีกหลานคนคงยิ้มได้ :)

วัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยก็ขอให้วิจัยเสร็จเร็วๆเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ

ดีจังเลยย ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะ

วิวัฒนาการดีจริงๆ ขอให้สำเร็จเร็วๆ ด้วยเถอะ จะเป็นประโยชน์มาก

กำลังหาความรู้เีิรืิ่องนี้อยุพอดีเลย

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ นะคะ

รูปภาพประกอบช่วยให้เข้าใจง่ายมากค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท