วรรณกรรมเป็นฐาน


วรรณสำหรับเด็ก

   วันนี้จะมาเสนอข้อมูลเรื่องรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3-6 ปีกันค่ะ เรื่องของรูปแบบที่จะกล่าวถึง คือ เรื่องของวรรณกรรมเป็นฐานค่ะ หรือ สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การเล่านิทานหรือเรื่องสั้นให้เด็กฟังนะค่ะ ^^วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็น หนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อให้เด็กอ่าน หรือฟังอย่างเหมาะสมกับวัยของเด็ก โดยเนื้อหาสาระสอดคล้องกับความสนใจของเด็ก  มีรูปเล่มสวยงามสะดุดตา และสามารถเลือกอ่านได้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งวรรณกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะเน้นเป็นนิทาน หรือ เรื่องสั้น นิทาน เป็นเรื่องเล่าที่ถ่ายทอดความคิด ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม อันเป็นกลวิธีการปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดและแนวปฏิบัติที่สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งมายาวนานนับพันปี ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างมีนิทานประจำชาติหรือ ท้องถิ่นของคน นิทานที่ได้รับความนิยมและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง มีหลายชุด เช่น นิทานอีสป  นิทานเวตาล นิทานชาดก ฯลฯ การถ่ายทอดนิทานแต่เดิมมาใช้การเล่า การเล่าประกอบภาพ หรือ การแสดงต่อมาเมื่อเทคโนโลยีในการสื่อสารที่ความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น นิทานก็ได้แพร่หลายในรูปของสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ซีดี ฯลฯ สิ่งที่เด็กได้รับจากการฟังนิทาน คือ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความรู้ แนวคิด แนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องหรือป้องกันปัญหาในชีวิตประจำวัน  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็นหลักในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างเป็นองค์รวมค่ะ ^^

หลักการสำคัญของการเล่าวรรณกรรม คือ

1. การจัดการเรียนรู้ควรตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของเด็กในการค้นหาความหมาย
2.
การเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เด็กกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตน
3.
การจัดการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญต่อบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
4.
การฟังคือที่มาสำคัญของการพัฒนาภาษาคำ ความหมาย และภาษาที่งดงามสร้างขึ้นได้จากนิทาน
5.
เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า

      ตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ซึ่งสามารถแยกได้เป็น 6 ระดับ คือ

   -สู่การเข้าใจ การเข้าใจคือการตีความได้ สามารถสรุปเนื้อเรื่องเป็นคำพูดของตัวเองได้ 
   - การประยุกต์ใช้  เช่น เรียนเรื่องดอกเบี้ย  กลับบ้านไปสามารถคิดดอกเบี้ยคนกู้ให้พ่อได้ เป็นต้น
  - การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ การให้ความเห็น  ให้เหตุผล
   - การสังเคราะห์  การรวมเป็นสิ่งใหม่  เช่น การนำ รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม มาต่อกันให้เป็นรูปใหม่
   - การประเมินค่า  การตัดสิน การวิจารณ์  ดีหรือไม่ดี  ใครดีกว่ากัน เห็นด้วยหรือไม่ เป็นต้น
   - การสร้างสรรค์ คือการทำให้เกิดสิ่งใหม่

  ในการที่เราจะเลือกวรรณกรรมเรื่องใดมาเล่าให้เด็กฟังนั้นมีหลักการในการเลือก คือ

1. เลือกวรรณกรรมที่ดีมาอ่านให้เด็กฟังไม่ต้องกังวลที่จะให้เด็กอ่านตามไม่ต้องให้เด็กคอยตอบคำถามไม่ต้องจำเรื่องให้ได้ทำให้เด็กรู้สึกสนุกที่จะฟังเรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่าให้ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง
-ภาพประกอบในหนังสือจะสื่อความหมายให้สมองรับรู้เรื่องราวที่ได้ฟังและแม้มีคำยากปนอยู่บ้างสมองก็จะพยายามเชื่อมโยงความหมายของคำนั้นกับเรื่องราววิธีเรียนรู้แบบนี้เป็นวิธีเรียนภาษาที่ได้ผลสัมฤทธิ์สูง
- เมื่ออ่านให้เด็กฟังติดต่อกันยาวนานพอเด็กจะเริ่มจดจำเรื่องได้ในที่สุดเด็กจะหยิบหนังสือมาเปิดอ่านการสะกดได้จะตามมาภายหลังการสอนอ่านและสอนสะกดทำได้ง่ายมากเมื่อเด็กรักที่จะอ่านแล้ว

2. กระตุ้นให้เด็กสนทนาเกี่ยวกับตัวละครวัตถุสิ่งของ ฉาก หรือสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม โดยใช้คำถามหลายๆ ระดับ
-ลักษณะของคำถาม : ความจำ, ความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การนำไปใช้, การประเมินค่า, การสร้างสรรค์

3. วางแผนและออกแบบกิจกรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม และสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกิจกรรมประจำวัน โดยมีศิลปะและละครเป็น องค์ประกอบสำคัญ

4. จัดนิทรรศการแสดงสิ่งที่เด็กๆ เรียนรู้โดยทบทวนกิจกรรมที่จัดแล้วร่วมกับเด็กให้เด็กช่วยกันเลือก สิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้เกี่ยวกับวิธีการที่เด็กเรียนรู้และสิ่งที่เด็กเรียนรู้ และร่วมกันจัดนิทรรศการ

        สิ่งที่เด็กจะได้รับจากการเล่าวรรณกรรมนั้น

1. ช่วยให้เด็กเกิดความพร้อม ความคล่องแคล่ว และเสริมสร้างให้รักการอ่านใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2.
ช่วยเสริมทักษะและเสริมสร้างบุคลิกลักษณะนิสัย ค่านิยม ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งเป็นสื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้และประสบการณ์
ต่าง ๆ
3.
ช่วยให้เด็กได้รับความบันเทิงและตอบสนองความสนใจของเด็กด้วยการอ่าน
4.
ช่วยให้เด็กเข้าใจตัวเอง และผู้อื่น รวมถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต ข่าวสารความรู้ ความคิด และคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกต้อง อันจะทำให้เกิดโลกทรรศน์กว้างไกล มีความรอบรู้ ทันโลก ทันเหตุการณ์
5.
ช่วยลับสมองและส่งเสริมเชาวน์ปัญญาให้กับเด็ก
6.
ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้สึกมั่นคงในชีวิต มีความหวังในชีวิต มองเห็นทางออกของปัญญา
7.
ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม สร้างศรัทธาในเอกลักษณ์ของชาติให้แก่เด็กซึ่งจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของความเป็นชาติและสถาบันที่สำคัญของชาติ
8.
เป็นแหล่งบันดาลใจให้เด็กเกิดจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

      ดังนั้น  การสอนเด็กปฐมวัยโดยการใช้วรรณกรรมเข้ามามีส่วนช่วยนั่น จะทำให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน เข้าใจในบทบาทของตัวละครและสามารถเรียนรู้ได้ว่า การกระทำของตัวละครนั้นดีหรือไม่ดี และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ซึ่งวรรณกรรมนั่นเด็กจะเข้าใจได้ง่าย ทั้งการใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจของเด็ก และเด็กสามารถที่จะอ่านออกเสียงให้ครูหรือเพื่อนฟังได้ บางครั้งวรรณกรรมนั่น เด็กสามารถนำมาแสดงเป็นบทบาทสมมุติได้ด้วย และเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักการรักการอ่านและช่วยพัฒนาสมองและการเรียนรู้ของเด็กได้ดียิ่งขึ้นด้วยนะค่ะ ^^ การสอนเด็กโดยใช้วรรณกรรมหรือนิทานนั้น ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้แต่ในห้องเรียนหรือกับครูผู้สอนเท่านั้น พ่อแม่เองก็สามารถส่งเสริมให้เด็กรู้จักการอ่านด้วยตัวเองได้ โดยพ่อแม่อาจจะมีบทบาทในการเล่าให้ลูกฟังโดยให้เด็กตอบโต้การเล่าด้วยการตอบหรือการให้เด็กมาเล่านิทานให้พ่อแม่ฟัง ก็เป็นการสร้างความสัมพันธ์กันในครอบครัว และ ยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กรักการอ่าน สนุกกับการอ่านมากยิ่งขั้นด้วยค่ะ  เป็นวิธีการสอนเด็กอย่างง่ายๆ และสามารถใช้ได้จริงกับเด็กนะค่ะ ท่านผู้อ่านลองเอาไปสอนเด็กโดยการใช้วรรณกรรมสอนดูนะค่ะ เด็กจะเข้าใจได้ง่ายมากและเด็กสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยค่ะ ^_^

 

 

หมายเลขบันทึก: 499159เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 01:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 01:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท