Geoengineering - อภิมหาโปรเจคต์ เปลี่ยนฟ้าแปลงปฐพี (ตอนที่ 1)


ตอนนี้ดาวเคราะห์ที่อาจจะได้ทดสอบเทคโนโลยี Geoengineering นี้ไม่ใช่ดาวอังคารแล้วครับ แต่จะเป็นโลกใบนี้ที่เราอาศัยอยู่นี่เองครับ ..... เดิมพันคือการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ของเราเลยทีเดียว

ไม่เป็นที่สงสัยกันอีกแล้วนะครับว่า Global Warming เกิดขึ้นจริงหรือไม่ คงเหลือคนจำนวนน้อยแล้วล่ะครับที่ยังไม่เชื่อเรื่องนี้ ซึ่งก็รวมไปถึงประธานาธิบดีบุชกับเจ้าของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ข่าวร้ายก็คือว่าเราอาจจะไม่สามารถหยุดมันได้แล้วครับ หากยังทำอะไรกันแบบเล็กๆ ไม่เต็มที่ เช่น ลดการใช้น้ำมันหันไปใช้ Biofuel เพราะผ่านมา 10 ปีแล้วที่เรามี Kyoto Protocol แต่ปริมาณการปล่อย CO2 ก็ไม่ได้ลดลงเลย น้ำแข็งที่ขั้นโลกเหนือจะละลายจนไม่เหลือหลอในช่วงหน้าร้อนในอีกไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า แต่เดี๋ยวก่อน ......ยังครับ .......ยังมีหวังที่จะหยุดโลกร้อน แต่เราต้องทำอะไรแบบใหญ่ๆ หนักๆ นั่นก็คือใช้การวิศวกรรมโลก หรือ Geoengineering หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Planetary Engineering ซึ่งหากเราคิดจะทำกันจริงๆ ก็จะกลายเป็นอภิมหาโปรเจคต์เปลี่ยนฟ้าแปลงโลก ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่กระทำโดยสิ่งมีชีวิต นับตั้งแต่มีโลกใบนี้ขึ้นมาเลยล่ะครับ

  

Geoengineering เป็นศาสตร์ในการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของดาวเคราะห์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจะทำให้ดาวเคราะห์เหมาะที่สิ่งมีชีวิตจะอยู่ได้ ในอดีตแนวคิดของ Geoengineering เกิดขึ้นเพราะมนุษย์มีความใฝ่ฝันจะไปตั้งรกรากในอวกาศ เช่น ดาวอังคาร ซึ่งมีการเสนอวิธีการต่างๆมากมายครับ เพื่อเปลี่ยนสภาพของดาวอังคารให้สามารถอยู่ได้ เช่น การสร้างพื้นผิวต่าง (Terraforming) การสร้างทะเลสาบ การปรับเปลี่ยนบรรยากาศ ปรับอุณหภูมิของดาวเคราะห์ ซึ่งทำเพื่อให้เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัย แล้วก็สร้างนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตขึ้นมา (Ecopoiesis) นาซ่าได้แอบดำเนินโครงการวิจัยลับๆ เกี่ยวกับการทำ Geoengineering เพื่อสร้างโลกใหม่บนดาวอังคาร ทำให้ดาวอังคารกลายเป็นโลกของสิ่งมีชีวิตให้ได้ ฟังดูเหมือนเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ใช่ไหมครับ .... แต่เดี๋ยวก่อนครับ .... ตอนนี้ดาวเคราะห์ที่อาจจะได้ทดสอบเทคโนโลยี Geoengineering นี้ไม่ใช่ดาวอังคารแล้วครับ แต่จะเป็นโลกใบนี้ที่เราอาศัยอยู่นี่เองครับ ..... เดิมพันคือการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ของเราเลยทีเดียว 

หมายเลขบันทึก: 499075เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2012 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2012 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท