การใช้แหนแดงทดแทนการใช้ปุ๋ยยูเรียในการปลูกข้าว


แต่สำหรับผู้ที่ต้องการลดต้นทุนและหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีหรือยูเรีย 46-0-0 ก็สามารถใช้แหนแดงที่มีปริมาณของโปรตีน คาร์บอนและธาตุอาหารหลากหลายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวทดแทนได้เป็อย่างดี

 วิถีการปลูกข้าวของพี่น้องชาวนาไทยตั้งแต่ที่มีการนำผลิตผลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 เป็นต้นมาส่งผลทำให้ชาวนายึดติดกับการใช้ปุ๋ยเคมีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานโดยเฉพาะปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) เพราะใช้แล้วเห็นผลรวดเร็วทันใจ ได้มีโอกาสเห็นใบข้าวเขียวเข้มอวบอ้วนโค้งงอ ช่วยกระทุ้งข้าวระยะกล้าและหลังหว่านน้ำตมให้ทะลึ่งเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่าถ้าปลูกข้าวครั้งใดแล้วไม่ได้ใส่ปุ๋ยยูเรียวันนั้นแทบไม่เป็นอันกินอันนอน มกมุ่นครุ่นคิดเกรงกลัวว่าข้าวจะให้ผลผลิตน้อย กลัวว่าเพื่อนบ้านจะต่อว่าถากถางว่าทำนาไม่เก่ง ทำนาไม่เป็น

 
ปุ๋ยยูเรียหรือธาตุอาหารไนโตรเจนนั้นข้าวจะใช้ในกระบวนการสร้างการเจริญเติบโตจนผลิตเม็ดให้เก็บเกี่ยวได้ 100 ถังต่อไร่นั้นจะใช้ไนโตรเจนอยู่ประมาณ 22.2 กิโลกรัม (สถาบันข้าวนานาชาติ IRRI, Manila, Philippines (1987)) จากตัวเลขดังกล่าวถ้าชาวนาไม่เผาฟางก็จะได้ปุ๋ยไนโตรเจนจากฟางข้าวฟรีๆอีก 7.6 กิโลกรัม และจะต้องหาเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นอีก 14.6 กิโลกรัม     ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีก็อาจจะมีไนโตรเจนเพียงพอให้ผลผลิตของข้าวได้ถึง 100 ถัง แต่ถ้าดินไม่ดีเป็นดินทรายขาดความอุดมสมบูรณ์ ก็อาจจะต้องเพิ่มปุ๋ยยูเรียใส่เพิ่มเข้ามาเพียง 30 กิโลกรัมต่อไร่ต่อรอบการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งก็ถือว่าประหยัดกว่าวิธีเดิมๆ ที่ต้องใช้มากถึง 50 -100 กิโลกรัมต่อไร่ต่อรอบ
 
แต่สำหรับผู้ที่ต้องการลดต้นทุนและหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีหรือยูเรีย 46-0-0 ก็สามารถใช้แหนแดงที่มีปริมาณของโปรตีน คาร์บอนและธาตุอาหารหลากหลายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวทดแทนได้เป็อย่างดี ยิ่งถ้ามีการเพาะเลี้ยงแหนแดงก่อนปักดำหรือหว่านน้ำตมก่อน 30 วันและไถกลบก็จะได้ไนโตรเจนมากถึง 12-25 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีปริมาณเพียงพอต่อการนำมาเสริมเพิ่มเติมต่อจากการทำนาหมักฟาง การเพาะเลี้ยงก็ทำได้ไม่ยาก ใช้พื้นที่อนุบาลแหนแดงเพียง 20-25 ตารางเมตรสำหรับพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ ขั้นตอนการทำให้รักษาระดับน้ำในแปลงนา 5-10 เซนติเมตร และใช้พันธุ์แหนแดง 50-100 กิโลกรัม จากแปลงอนุบาลที่เตรียมไว้ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วันให้ใช้ ฟอสเฟตหรือพูมิชซัลเฟอร์ 3 กิโลกรัมต่อไร่ก็จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของแหนแดงได้เร็วยิ่งขึ้นรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้แหนแดงในนาข้าวต้องลองติดต่อสอบถามไปที่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี งานคลินิกเทคโนโลยี กลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 111 ถ.มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 044-22482008-1718-3727 
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 499015เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท