ความแตกต่างระหว่างเรากับเจ้านาย


 เมื่อเราใช้เวลามากหน่อย………เราโง่
เมื่อเจ้านายเราใช้เวลามากหน่อย………เขาทำอย่างระมัดระวัง
 เมื่อเราไม่อยากทำงาน………เราขี้เกียจ
เมื่อเจ้านายเราไม่อยากทำงาน………เขายังไม่ว่างทำ
 เมื่อเราทำในสิ่งที่ไม่ได้สั่งไว้………เราทำเกินหน้าที่ไปแล้ว
เมื่อเจ้านายทำเช่นเดียวกับเรา………เขามีความคิดแปลกใหม่
 เมื่อเราละเลยมารยาทเล็กน้อย………เราเป็นคนชุ่ย
เมื่อเจ้านายเราเป็นเช่นนี้………เขาเป็นคนง่ายๆ
 เมื่อเราทำทุกอย่างตามที่เจ้านายสั่ง………เราประจบสอพลอ
เมื่อเจ้านายเราทำเช่นนี้กับเจ้านายเขา………เขาทำงานได้ดี
 เมื่อเราออกเสียงในเวลาประชุม………เราปากมาก
เมื่อเจ้านายเราออกเสียงบ้าง………เขาแสดงความคิดเห็น
 เมื่อเรายึดมั่นในความคิดของเราเอง………เราหัวแข็ง
เมื่อเจ้านายเราทำเช่นเดียวกัน………เขาเชื่อมันในตัวเองมาก
 เมื่อเราขยันทำงาน………เราอยากจะเสนอหน้าเสนอตา
เมื่อเจ้านายเราทำเหมือนกันกับเรา………เขาขยัน

ทำไมมันถึงต่างกันซะขนาดนี้??
หมายเลขบันทึก: 49863เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
คุณบอน ถูกใจมากเลยค่ะ  บันทึกนี้  สำหรับครูอ้อยนะคะ  ความแตกต่างจากเจ้านายกับเรามันมากมายทีเดียวค่ะ   ขอบคุณค่ะสำหรับการจุดประกายแห่งความแตกต่างได้เกิดขึ้น  ศักดินา
ครูอ้อย รับบทบาทเป็นทั้งเจ้านาย และลูกน้องมานาน คงจะเป็นเจ้านายที่ีดีึของลูกน้องแน่เลย หรือว่า ลูกน้องของครูอ้อยอาจจะสนุกนินทามากขึ้นก้ได้
  •  คุณบอนคะ   การเป็นเจ้านายทำอย่างหนึ่ง  การเป็นลูกน้องก็ทำอีกอย่างหนึ่ง 
  • คุณบอนพูดถูกว่าครูอ้อยเคยเป็นทั้งลูกน้องและเจ้านาย
  •  แต่การที่พวกเขาจะนินทา  แสดงว่าเรามีอะไรดีดี
  • คิดว่าได้บุญดีที่ทำให้พวกเขาได้สนุกกับการนินทาเรา
  • น่าสงสัย  ทำงานต่อไปดีกว่านะคะ
คิดแบบครูอ้อยนี่ก้ดีนะครับ การนินทาแสดงว่า ครูอ้อยเป็นที่สนอกสนใจของคนรอบข้าง ไม่ว่าจะด้านดี หรือไม่ก็ตาม ยังไงก็ดีกว่า ที่ไม่มีใครสนอกสนใจเลย

แต่ครูอ้อยอาจจะมีอะไรที่ดีมาก........................กกกกกจนเกินไปก็ย่อมได้นะครับ อิอิ
  • คุณบอนชอบเปิดคำตอบแบบปลายเปิดไว้ให้ติดตามถามด้วยความสงสัย 
  • ถ้ามีอาชีพเป็นครูก็จะดี 
  • เป็นนักเรียนก็เป็นนักเรียนที่ช่างสงสัยจริงๆ 
  • กะว่าล้วงลึกอะไรล่ะคะ 

อ่านบันทึกครูอ้อยมากๆก็จะรู้จักกันไปเองค่ะ 

ขอบคุณ

แอบอ่านบันทึกครูอ้อยจนแทบจะรู้หมดไส้หมดพุงแล้วนะครับ  ไม่รู้ว่าตัวจริงจะขนาดไหน

ไม่ใช่ขนาดของร่างกาย-  รอบเอว หรือ น้ำหนักนะครับ

เพราะไม่อยากคาดเดาจริงๆ อิอิ

 

     
     

 

อ่านบันทึกเก่าๆมีความสุขดีนะคะ...คุณบอน
แสดงว่า บันทึกใหม่ ไม่ค่อยสุขหรือครับ อิอิ

นายบอน...

อ่านๆ ไป ก็นึกถึงคำว่า การประเมินค่า...

 ขึ้นอยู่กับ ใคร เป็น ผู้ประเมินค่า ต่างหาก...

การประเมินค่า ก็คือ การให้คุณค่า บางสิ่งบางอย่าง ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า คุณค่า

คุณค่า ต่างจาก ข้อเท็จจริง ...

ถามว่า ข้อเท็จจริงกับคุณค่าอะไรมีความสำคัญกว่ากัน ?

เข้ามาอ่านนะ น่าสนใจดี

เจริญพร 

นมัสการครับหลวงพี่

   ขอบพระคุณสำหรับแง่คิดที่ดีๆครับ ทั้งคุณค่า และข้่อเท็จจริง  คงต้องแล้วแต่สถานการณ์ และเหตุการณ์เฉพาะกรณีครับ

บางอย่าง ก็ไม่มีคุณค่าเลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท