ปลาร้า


ของดีอิสาน

       หน้าฝน ปีไหนที่ฝนดีหน่อย มีน้ำหลาก  น้ำท่วมนาข้าว นาลุ่มน้ำท่วมเวิ้งว้าง มองไปทางไหนมีแต่น้ำ แต่ทางหากินของพวกเราเด้กๆที่อยากไปมาก ไปเล่นน้ำ และหาปลามาด้วย ผู้ใหญ่ เตรียมแห เตรียมมุ้งไปดักปลา หาปลาตามแต่จะหาอุปกรณ์ได้

 

   นาทุ่งมนอยู่ห่างจากบ้านประมาณ สองถึงสามกิโลเมตร พวกเราต้องเดินไปนาแต่เช้า ใครมีรถจักรยานต้องพ่วงรถเข็นน้ำ ขนอุปกรณื และพวกคนแก่ และเด็กไปล่วงหน้าก่อน จะได้เปรียบคนอื่นในการจับจองที่ดักปลา ก็จะเป็นตามสะพาน ที่มีท่อน้ำ น้จะไหลแรงมาก น่าแลปใจว่าปลาหน้าตาแปลกๆตัวโตๆไม่รู้ว่ามาจากไหน  แต่พวกเราก็ได้กินปลาทุกมื้อ ที่สำคัญสนุกสนานตามประสาเด็กๆ

 เราห่อข้าวเหนียวกับแจ่วบองที่แม่ตำไว้  พ่อสอนไว้ว่าไป ทุ่งไปนา เอาเกลือ เอาพร้าไป ก็มีของกินแล้ว

พี่สาวเราเตรียมคุถัง กับข้องไว้ใส่ปลาตัวโตๆ บอกแม่ว่า สายๆค่อยให้พี่คนโตไปเก็บปลา เอามาให้แม่จัดการ แม่อยู่บ้าน ปลูกข้าวโพดไว้กิน วันนี้แม่จะปลูกผัก ที่สวนหลังบ้าน และจะตัดแต่งไม่ให้สวนรก

 พ่อต้องไปดูน้ำปล่อยน้ำออกจากนาข้าว นาข้าวในที่นาลุ่มเสียหายหนัก นาดอนอย่างนาโคกเป็นที่สุดท้ายที่ต้นข้าวยังชูคอไหวอยู่

 

พี่ขายสองคนต้องไปหาหญ้าเกี่ยวหญ้าไว้ให้ควาย เพราะน้ำมาหญ้าจะหายาก น้ำท่วมตายหมด ดังนั้นพี่ต้องไปเกี่ยวหญ้าตามสวน

 

 พี่คนโตยังไม่ปิดเทอมพี่ไปเรียนไกลจากบ้าน นานๆกลับบ้านที เพราะต้องประหยัดค่ารถ เเละพี่จะรับจ้างอาจารย์ขายขนม เก็บเงินไว้เป็นค่ากินค่าอยู่ แม่จะได้ประหยัดเงินลง เพราะน้องๆอีกหลายคนต้องเรียนด้วย

 

 ชุดนักเรียนพวกเราใช้คุ้มค่ามาก เป็นมรดกตกทอด น้องๆต้องไม่อ้วนเดี๋ยว ต้องซ้อชุดใหม่ แต่ตัวเราอ้วนกว่าพี่น้องคนอื่น แม่ต้องใช้ผ้ามาต่อขยายเอวกระโปรง ขยายมากไปก็ไม่ใส่ตะขอซะเลย แต่เราก็ไม่รู้สึกอาย เพื่อนๆเพราะแม่สอนให้รู้จักว่า เราจนต้องประหยัดเงิน ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องซื้อ

 

  เรารีบเดินไปนากับพวกน้า นาที่อยู่ใกล้กัน ทั้งหอบผ้ามุ้งอุปกรณ์ หาปลา วิ่งแข่งกันไปตามถนน เป็นที่สนุกสนาน ถึงที่หมายก็หาไม้ทำหลักดักปลา(ก่องปลา=เอาผ้ามุ้งไปกันทางน้ำไหลดักปลาที่ไหลมากับน้ำ )สักครู่ก้ไปยกดูว่า=เราเรียกว่า ไปยาม เพื่อดูว่าปลากับกุ้ง ได้มากน้อยแค่ไหน

 

 พอสายๆพวกเรากับน้าพากันปิ้งปลา ที่หาได้กินกับข้าวเหนียวทั้งอร่อยทั้งสนุกสนาน เราอยากให้น้ำท่วมนานๆ จะได้หาปลา ไม่ได้คิดไกลกว่านี้

 

  ' แม่คือสิได้เฮ็ดปลาแดก ตำบักหุ่งแซ่บขะหนาดเด้อ  น้าไปขอเด้อ เฮ็ดงวดก่อน เหมิดเร็วขะหนาด มีแต่คนมาขอ' เราคุยโม้กับการทำปลาร้าโหน่ง=ปลาแดกต้วง  ใส่ตำบักหุ่งทั้งแซ่บ และของดีมักมีน้อย

 

ไม่รู้หรอกว่ามะเร็งตับ เป็นยังไง เพราะนั่นคือวิถีชีวิตที่กินประจำ

 

    วันนี้เรากับพี่หาปลามาได้ สองคุถังใหญ่ ปลาใหญ่แยกไว้ในข้อง เอาปลาที่จี่มาให้แม่ด้วย พวกเราฝากน้าเอาปลามาให้แม่ก่อนเผื่อแม่จะได้ แยกไว้ หมก ไว้ แจก ไว้คัดทำปลาแดก ส้มปลาน้อย กินกับปลิกอ่อน ดิบ อร่อยจัง

 

  แม่จะปรุงส้มปลาน้อยกับตะไคร้ และเตรียมพริก หัวหอม กระเทียมแล้วแต่คนชอบ ทำแล้วก็แจกจ่ายบ้านใกล้เรือนเคียง

 

 หน้าน้ำปีนี้ แม่ทำปลาร้าได้ ห้าไหใหญ่  ปลาร้าของแม่ ต้องเลือกปลามาล้างอีกสักสองสามน้ำ เอามาคลุกกับเกลือที่ชาวบ้านเราต้มเอง เกลือจึงไม่ขาวใสเหมือนปัจจุบัน แม่แยกปลาร้าที่ทำไว้ ว่าสองไหนี้กินไว=ปลาร้าโหน่ง(ต้วง)ไว้ใส่ส้มตำเพราะแม่กะว่า ใกล้งานวัดแล้ว ต้องเอาไปตำส้มตำที่วัด หรือใครอยากได้ก็มาขอที่บ้านได้เลย มันเป็นความสุขที่มีคนมาขอปลาร้าแม่ไปตำส้มตำ และส้มปลาน้อยก็จะแถมไปด้วย

(ถ้ารู้ว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งตับแม่จะทำแจกไหมนะ?)

 

ใครมาบ้านทั้งปลาแห้ง มะนาว ตะไคร้ หมากเว่อ สารพัดจะแจกกันไป แต่แม่ใช้ให้เอาของไปให้ ลุงป้าน้าอา  พวกเราจะขี้เกียจต้องเกี่ยงกันเพราะบ้านอยู่ไกลบ้านคนอื่น เดินทางมืดๆพี่ๆชอบหลอกผี ทำให้แม่ต้องใช้ไม้ตายให้ไปคู่กัน และห้ามหลอกผี ดังนั้น พวกเราจะดีมากที่มีคนมาขอเองที่บ้านไม่ต้องเที่ยวเดินแจกจ่ายเอง

 

ข้างรั้วบ้านมีต้นมะละกอสาย(มะละกอติ่งที่เป็นสายมีดอกเป็นส่วนใหญ่ และลูกมะละกอ เล็กๆ แตาพ่อชอบกิน) แม่มักตำให้พ่อกิน  แต่พวกเราไม่ชอบเพราะมันขม

' ขมอ่ำหล่ำ'พ่อชอบพูด

พวกเรานั่งล้อมวงกินข้าว กับฝีมือหาปลาของพวกเรา

 

พี่ชายสองคนไปเกี่ยวหญ้าก้เก็บผัก หาตั๊กแตน และยังได้กบตัวใหญ่มาให้แม่ปิ้ง วันนี้เราได้กินป่นกบ ที่ตำใส่แมงดานา และพริกที่ปลูกที่โพนเถียงนา (เราไม่รู้หรอกว่าพริกที่ปลูกที่ ที่นามันไม่เผ็ดมาก แต่ออกหวาน) อย่างเอร็ดอร่อย

ชีวิตในวัยเด็กสอนให้พวกเราหาเลี้ยงชีพได้ วันๆไม่ต้องได้ใช้เงินซื้อเลย

 

ผงชูรส เราไม่รู้หรอกว่ามันเป็นยังไง เพราะเวลาตำบักหุ่ง เราตำพริกที่เก็บมาจากนา  ใส่ใบมะขามอ่อน และใส่ปลาแดกของแม่ แล้วก็ตักกินทำกินใหม่ๆ

เรามารู้จักผงชูรสเมื่อมีร้านขายก๋วยเตี๋ยวที่โรงเรียน ชามละบาท มันรู้สึกอร่อยแบบไม่เคยกินมาก่อน

 

แม้ไปนาพวกเราก็ไม่ได้ใช้ผงชูรส ยิ่งอยู่นาเรายิ่งมีวุตถุดิบสดใหม่ ตำสดๆใหม่ๆใส่ยอดมะขามอ่อน ก้อยกุ้ง ป่นกุ้งที่หาได้จากหนองใหญ่(น้ำไหลผ่านตัวกุ้งใสๆ เต้น แต่แม่ก็ยังคั่วให้พวกเรากิน แต่ก็ไม่บังคับ)

 

ปลาร้าที่หมักไว้กินนานๆแม่จะใส่เกลือมากหน่อย สักระยะหนึ่ง แม่จะเอาออกมาปรุงกับรำอ่อน ซึ่งต่างกับปลาร้าโหน่งที่กินเร็ว ใส่เกลือหมักน้อย และคลุกกับรำอ่อน รำยิ่งอ่อน ปลาร้ายิ่งเป็นเร็ว (ยิ่งอร่อย) และยิ่งนานเนื้อปลาจะหอม และเอาปลาร้ามาปิ้ง บีบมะนาว กินกับพริกอ่อน ยิ่งอร่อย

 

ปลาร้าของแม่จึงเป็นของแจกที่พวกเราหน้าบานเวลาเอาไปให้ลุงป้า น้า อา และเวลาชาวบ้านมาขอไปกิน

ผงชูรสใส่ปรุงอาหารเมื่อมีแขกมากินข้าวที่บ้านแม่จึงต้องใส่กลัวว่าแขกที่มากินข้าวไม่ประทับใจ

 

ทุกวันนี้ปลาร้าของแม่ก็จากไปพร้อมกับแม่เพราะเราก็ไม่ได้ทำปลาร้าอีกมีแต่ปลาร้าที่ปรุงแล้วจากตลาด  หรือซื้อจากร้านค้า

หมายเลขบันทึก: 498310เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2012 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คิดถึงนะคะ บ้านทุ่งมนอยู่ อ บ้านไผ่ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท