มาทำความรู้จักกับ AAR (After Action Review) กันครับ


AAR (After Action Review)

วันนี้มีโอกาสได้มาอบรม KM Blog  ก็เลยหาความรู้มาเขียนบันทึก ลองอ่านและนำไปใช้กันดูนะครับ เพื่อประสิทธิภาพการทำงาน

AAR (After   Action  Review ) คือ ขั้นตอนหนึ่งในการทํางานเป็นการทบทวนวิธีการทํางานทั้งด้านความสําเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น  ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อค้นหาคนที่ทําผิดพลาด ไม่ใช่การกล่าวโทษใครทั้งสิ้น  แต่เป็นการทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทํางาน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีก ในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งวิธีการที่ดีอยู่แล้ว

ที่มาของ AAR ใช้ครั้งแรกในกองทัพของสหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณปี1970 โดยมีวัตถุประสงค์ในขณะนั้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของกองทัพ แก้ไขช่องโหว่ที่อาจทําให้เป็นรองฝ่ายตรงข้ามหรือทําให้สูญเสียทหารฝีมือดีในการทําศึกสงคราม และสิ่งสําคัญคือได้ฝึกการทํางานเป็นทีม ไปพร้อมกันด้วย จนกระทั่งปี 1990 ภาคธุรกิจซึ่งเป็นภาคส่วนที่มีภาวะการแข่งขันสูงและ แข่งขันตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอดขององค์กรได้เริ่มนําเทคนิคนี้มาใช้ในการทํางานเพื่อพัฒนาองค์กรเพื่อส่วนครองตลาดที่สูงขึ้นหรือเพื่อกําไรที่มากขึ้น ซึ่งจุดนี้เองที่ทําให้เทคนิคนี้ได้รับความสนใจอย่างมากมายและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

AAR ได้รับความสนใจมากมาย เรามาดูกันว่าจุดเด่นของ AAR มีอะไรบ้าง

1. ทําให้เรียนรู้ว่าในการทํางานต่างๆ ไม่ควรชื่นชมความสําเร็จแต่เพียงด้านเดียว ต้องยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย และควรให้ความสนใจมากกว่าความสําเร็จด้วยซํ้าเพราะปัญหาคือโอกาสในการพัฒนาคนเพื่อพัฒนางานนั่นเอง

2. ฝึกการรับฟังความคิดเห็นหรือคําแนะนําของเพื่อนร่วมงาน ที่อาจทําให้คุณได้รู้ว่า “ทุกปัญหามีทางออก” นั้นเป็นอย่างไร

3. ฝึกการทํางานเป็นทีม

4. สามารถใช้เทคนิคนี้กับงานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นงานประจําที่ดูเหมือนว่าไม่สําคัญเช่นการรับโทรศัพท์ การจัดประชุม ไปจนถึงโครงการระยะยาวที่ได้รับเงินสนับสนุนหลายพันล้านบาท

5. ผู้ที่เข้าร่วมคือเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมแผนกหรือทีมงาน ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจากPeer Assist ที่เป็นการขอคําแนะนําจากผู้รู้ภายนอกกลุ่ม

4 คําถามกับ AAR คือ

1. สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทํางานคืออะไร

2. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร

3. ทําไมจึงแตกต่างกัน

4. สิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีการลด/แก้ความแตกต่างคืออะไร

7 ขั้นตอนกับ AAR

1. ควรทําAAR ทันทีทันใดหรืออย่างเร็วที่สุดหลังจากจบงานนั้นๆ

2. ไมมีการกล่าวโทษ ซํ้าเติม ตอกยํ้าซึ่งกันและกัน ไม่มีความเป็นเจ้านายหรือลูกน้องมีแต่บรรยากาศที่เป็นกันเอง

3. มี “คุณอํานวย” คอยอํานวยความสะดวก กระตุ้น ตั้งคําถามให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของตน

4. ถามตัวคุณเองว่าสิ่งที่คุณควรได้รับคืออะไร

5. หันกลับมาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร

6. ความแตกต่างคืออะไร ทําไมจึงต่างกัน

7. จดบันทึกเพื่อเตือนความจําว่าวิธีการใดบ้างที่คุณได้เคยนํามาแก้ปัญหาแล้ว 

คุณต้องเข้าใจว่าคําตอบหรือวิธีแก้ปัญหาที่ได้จากการทําAAR คงไม่ใช่คําตอบสุดท้ายสําหรับงานของคุณ เพราะเมื่อเวลาเปลี่ยนไป บริบทเปลี่ยนไป ย่อมทําให้เกิดปัญหาใหม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย

 

 

หมายเลขบันทึก: 497682เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2012 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เยี่ยมมาก
  • นี่ขนาดเพิ่งบันทึกนะครับ
  • รออ่านเรื่อง BAR ต่อเลยครับ
  • 555
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท