ทำอย่างไรจึงจะพูดเก่งๆ ? (2)


วิธีพัฒนาทักษะการพูดในที่ชุมชน ถ่ายทอดจากชีวิตจริงๆ ของคนเขียน
    ตอนนี้ผมกำลังรวบรวมข้อมูลเรื่องพัฒนาการพูดจากประสบการณ์ตรงของตัวเองลงใน Blogs ส่วนตัวไปพร้อมกันด้วยกับ Facebook น่ะครับ เพื่อหวังจะให้เป็นประโยชน์ต่อมิตรสหายบ้าง ไม่มากก็น้อย ในโทษฐานที่เรารู้จักกันครับ
    มาถึงประเด็นที่สองที่ผมอยากจะแชร์ท่านตรงนี้คือถ้าเราจะสนทนากับคน ท่านว่าผู้ฟังหรือผู้รับสาร เขาคิดตามท่านไปเป็นตัวอักษรวิ่งทีละประโยคเหมือนกับเวลาเราดูหนัง Sound track หรือว่าเขาคิดเป็นภาพซ้อนๆกันเป็นเรื่องราว ตัวอย่างเช่น ถ้าผมเอ่ยคำว่า “มะนาว” ตอนนี้ในความคิดของท่านทั้งหลายจะมีตัวอักษรวิ่ง “มะนาว” ขึ้นมาหรือท่านจะระลึกผลไม้ลูกกลมๆ ที่มีรสเปรี้ยวจี๊ด พร้อมกันนั้นท่านก็มีน้ำลายไหลและมีอาการเสียวฟันตามมาติดๆ เป็นอย่างหลังถูกต้องใช่ไหมครับ?
    คนเราคิดเป็นภาพความครับ เวลาเราฟังคนอื่นพูดเราจะมองเห็นภาพหลายภาพสลับกันไปมาและรวดเร็ว เหมือนลิงกระโดดจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปสู่อีกต้นหนึ่ง และสิ่งที่พ่วงลิงไปด้วยเสมอคืออารมณ์ความรู้สึกของคนครับ..
ดังนั้น ภาพและความรู้สึก สองคำนี้จึงสำคัญมากๆ สำหรับผู้รับสาร นักพูดที่ดีจะต้องใช้คำพูดที่ทำให้เกิดภาพที่ชัดเจนแก่ผู้ฟัง ไม่ทำให้ผู้ฟังต้องเปลี่ยนภาพในหัวคิดของเขาเร็วหรือช้าเกินไปและคำถามที่จะต้องถามตัวเองคือ
    ในขณะนี้ผู้ฟังของเราเขากำลังคิดถึงอะไร ถ้าขนาดเราฟังตัวเองพูดแล้วภาพที่เกิดในหัวของเรายังไม่ชัด สับสนอยู่ต้องฝึกเรียบเรียงใหม่และค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนั้นๆ ให้เราช่ำชองกว่าเดิม สิ่งที่เรานำเสนอต่อเขาจึงจะเกิดเป็นภาพที่ชัดเจน 
    อีกประการหนึ่งนอกจากภาพจะต้องชัดแล้ว สิ่งที่จะต้องมาประกอบกันเสมอๆ คือ "ความรู้สึกของคนฟัง" ครับ เนื่องจากมนุษย์มักจะพ่วง Tattoo Color หรือ ศักดิ์ศรี ไปไหนมาไหนด้วยเป็นนิจศีล ดังนั้น น้ำเสียงและสรรพนามที่ให้เกียรติจึงต้องตามประกบภาพที่ชัดเจนเสมอๆ ตัวอย่างที่เจอในชีวิตจริงๆ คือ ผมไปเรียนเนติบัณฑิตไทย ท่านอาจารย์ผมทั้งหลายส่วนมากก็เป็นผู้พิพากษาผู้ใหญ่ระดับ ประธานศาลฎีกา รองหรือระดับหัวหน้าคณะในศาลสูงต่างๆ แหละครับ เรียกว่าเวลามีคดีดังๆ จะเห็นท่านเหล่านี้เรียงแถวเป็นองค์คณะตัดสินออกโทรทัศน์หล่ะครับ
     เวลาท่านเหล่านี้บรรยายกฎหมาย ท่านใช้สรรพนามแทนเหล่านักศึกษาหน้าละอ่อนอย่างพวกผมว่า "ท่านนักศึกษาครับ" ผมก็เลยเอามาปรับใช้บ้างครับ เวลามีโอกาสบรรยายหรือพูดในที่ชุมชน ผมจะใช้สรรนามเรียกผู้ฟังว่า     "ท่านครับ" "พี่ๆครับ" แทนคำว่า "คุณ" เพราะมันฟังดูแข็งไปครับ คำพูดอื่นๆก็สำคัญครับเช่น "ขอความกรุณาด้วยครับ" "ขอบคุณครับ" "ประทานโทษครับ" เป็นต้น เพราะถ้าเราทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีมากเท่าไหร่ เขาจะเปิดใจรับข้อมูลของเรามากเท่านั้น ผู้ฟังเขาไม่สนใจหรอกครับว่าผู้พูดจะเก่งมาจากไหน แต่เขาจะสนใจว่า เราทำให้เขารู้สึกดีและแคร์เขามากขนาดไหนต่างหาก...
 
       สวัสดีครับ
คำสำคัญ (Tags): #ปณิธานสามรุ่น
หมายเลขบันทึก: 497047เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท