KM(แนวปฏิบัติ) วันละคำ: ๕๗๔.“คุณ” ต่างๆ มีความสำคัญอย่างไร


...................“คุณ” เหล่านี้ เป็นคนที่มีอยู่แล้วในองค์กร ทำงานในฐานะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ด้าน OD (Organization Development), เจ้าหน้าด้าน HRD (Human Resource Development), เจ้าหน้าที่ด้าน IT, เจ้าหน้าที่ด้านการสื่อสารองค์กร, ฯลฯ ได้รับการชักชวนหรือมอบหมายให้ทำหน้าที่ “คุณ” อย่างใดอย่างหนึ่ง ในกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดกระบวนการที่ทรงพลัง และเลื่อนไหล ที่สำคัญคือเกิดความสุขความภาคภูมิใจในการทำงานให้มีคุณภาพประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เกิดพลังสร้างสรรค์รวมหมู่ (collective creativity) ต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง

 

มีคนส่ง อีเมล์ มาถามดังนี้

 

          เรียนคุณวิจารณ์
          หากมีคำถามถามว่า คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต คุณประสาน และคุณวิศาสตร์ มีความจำเป็นในกระบวนการจัดการความรู้และความเหมาะสมในองค์กรภาครัฐ เอกชน ประชาคม/ชุมชน และ NGOs จะต้องตอบมาในหลักการอย่างไรดีคะ

 

          ช่วยให้ผมได้โอกาสอธิบายแบบตีความตามความเข้าใจของผม   โดยที่ผู้ทำงานจัดการความรู้ท่านอื่นอาจมีความเห็นที่แตกต่างไปก็ได้   ไม่จำเป็นต้องเหมือนความเห็นของผม

 

          เพื่อประกอบความเข้าใจเรื่องนี้ ผมขอแนะนำให้เข้าไปอ่านหนังสือ การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ บทที่ ๒ หน้า ๒๐ - ๔๙  และหนังสือ KM วันละคำ จากนักปฏิบัติ KM  สู่นักปฏิบัติ KMหมวดที่ ๑ คนสำคัญในการจัดการความรู้ หน้า ๒๕ - ๔๕   หนังสือทั้ง ๒ เล่มนี้สั่งซื้อได้จาก สคส.

 

          คำตอบของผมคือ กระบวนการ KM ที่มีพลัง หรือเกิดผลอย่างแท้จริง ต้องมี “คุณ” เหล่านี้เกิดขึ้นในหน่วยงานหรือองค์กร   และที่สำคัญ ต้องไม่มีการแต่งตั้ง “คุณ” หน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งแยกออกมาจากหน้าที่ตามปกติของเขา    คือต้องไม่มีพนักงานที่มีหน้าที่ “ทำ KM” เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีหน้าที่ทำงานอย่างอื่น   เพราะจะทำให้ KM กลายเป็นภาระ ไม่ใช่เครื่องมือบรรลุ LO (Learning Organization) หรือบรรลุความเป็น องค์กรอัจฉริยะ

 

          กล่าวใหม่ว่า “คุณ” เหล่านี้ เป็นคนที่มีอยู่แล้วในองค์กร   ทำงานในฐานะผู้บริหาร  เจ้าหน้าที่ด้าน OD (Organization Development),  เจ้าหน้าด้าน HRD (Human Resource Development),  เจ้าหน้าที่ด้าน IT,  เจ้าหน้าที่ด้านการสื่อสารองค์กร, ฯลฯ  ได้รับการชักชวนหรือมอบหมายให้ทำหน้าที่ “คุณ” อย่างใดอย่างหนึ่ง ในกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดกระบวนการที่ทรงพลัง และเลื่อนไหล    ที่สำคัญคือเกิดความสุขความภาคภูมิใจในการทำงานให้มีคุณภาพประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   เกิดพลังสร้างสรรค์รวมหมู่ (collective creativity) ต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ก.ค. ๕๕

หมายเลขบันทึก: 496836เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2012 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2012 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท