EGA
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) สรอ. Electronic Government Agency(Plublic Orgenization)

การศึกษารากฐานของปัญหาการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (มุมมองของภาครัฐ)


รากฐานของปัญหาการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของภาครัฐ

Phase: 1

                  

ศึพัอิส์ 

ด้วยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) เป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความสมบูรณ์และมั่นคงปลอดภัย (Enabling Complete & Secure e-Government) จึงได้ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการศึกษารากฐานของปัญหาการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน

รวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์โดย การสัมภาษณ์ (Interview) ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในแต่ละด้าน ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่คิดว่ามีประโยชน์อยู่ไม่น้อย จึงอยากจะนำมาแบ่งปันกันคะ

          รากฐานของปัญหาการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ใน

มุมมองของภาครัฐ  

คัดเลือกมาเฉพาะส่วนที่เป็น keyword และข้อเสนอแนะในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จากประเด็นต่างๆ ที่ใช้สัมภาษณ์ ซึ่งข้อมูลในมุมมองของภาครัฐได้รับการอนุเคราะห์จากทาง ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ นายกสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยคะ)

            แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

(IT Implementation)

Timing / Speed

-        การทำงานต้องมีความรวดเร็ว การทำงานที่ล่าช้าหรือทำงานไม่เสร็จจะทำให้ไม่สามารถมองเห็นถึงสิ่งที่จะต้องแก้ไขและปรับปรุง  

Open Standard

-    Open standard คือ มาตรฐานที่ถูกกำหนดเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันหรือสื่อสารถึงกันได้ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย  Open source, Microsoft, Oracle, IBM ในการนำ Open standard มาใช้จะเป็นการเปิดโอกาสให้เราสามารถเลือกใช้ Vendor ได้มากขึ้น โดยไม่ผูกขาดเจ้าใดเจ้าหนึ่ง            ยกตัวอย่างเช่น Cloud ที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กำลังดำเนินการอยู่นั้น สามารถเลือกใช้ Vendor ได้ถึง 4-5 ราย เป็นต้น 

  ปัญหา/อุปสรรคในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  

-    ขาดการวางแผน ขาดการมองในภาพรวมและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบยกตัวอย่างเช่น  ความเจริญต่างๆ ในปัจจุบันนั้นล้วนเกิดจากการตามกระแสสังคม โดยขาดการวางแผนและการบริหารจัดการที่ดี จากสถานการณ์น้ำท่วมจะเห็นได้ชัดเจนจากกรณี การสร้างบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ เป็นต้น

-    ระบบที่ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้

-    ไม่มีมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้าง

  ปัจจัยเร่งด่วนที่ควรดำเนินการ 

-    การ Standardize รหัสประจำตัวประชาชนจำนวน 13 หลัก ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้

-    การกำหนดมาตรฐานการเก็บข้อมูลเป็นภาษาไทยใน Smartcard เนื่องจากการเก็บข้อมูลใน Smartcard ไม่มีภาษาไทย ใน Smartcard สามารถเก็บภาษาไทยได้แต่ไม่เป็น Standard เนื่องจากไม่มี Transliteration rule หรือ การแปลแบบ Map ตัวต่อตัว เนื่องจากชื่อภาษาไทยสามารถเขียนภาษาอังกฤษได้หลายวิธี ที่ออกเสียงคล้ายๆ กัน ซึ่งเมื่อเขียนไม่เหมือนกันแล้วก็ยากที่จะทราบได้ว่าเป็นคนๆ คนเดียวกัน เพราะไม่สามารถ Uniquely identification บุคคลจากชื่อ ID จากวิธีการเขียน

-    การกำหนดมาตรฐานกลางสำหรับ Data exchange และการบังคับใช้ เช่น Mapping หรือมาตรฐานกลางต่างๆ ที่ต้องใช้ร่วมกัน

  ข้อเสนอแนะการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  

-    การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ควรดำเนินการให้เป็นในลักษณะของมาตรฐานเปิด (Open standard) เพื่อให้ส่วนต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้และช่วยป้องกันการผูกขาดของบริษัทผู้ผลิต

-    มาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้าง

-    มาตรฐานกลางสำหรับ Data exchange

-    National Citizen ID (การกำหนดมาตรฐานรหัสประจำตัวประชาชนจำนวน 13 หลัก ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้)

-    Transliteration rule (การกำหนดมาตรฐานการเก็บข้อมูลเป็นภาษาไทยใน Smart card)

   

***   มุมมองทางด้านภาคธุรกิจ และภาคประชาชน นั้นจะนำมาแบ่งปันกันในบันทึกครั้งต่อไปนะคะ หากเพื่อนสมาชิกมี ข้อมูลหรือข้อคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว มาร่วมแบ่งปันกันนะคะ เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษา วิเคราะห์เพิ่มเติมในครั้งถัดไปคะ

 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน EGA
หมายเลขบันทึก: 495710เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2012 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณมากค่ะ..อยากเห็นการขับเคลื่อนอย่างเปึนรูปธรรมตามแนวทางที่กล่าวข้างต้นบนความร่วมมือของทุกฝ่าย..หาก pool กันได้ จะประหยัดทรัพยากรของชาติและเพิ่มความแข็งแกร่งของระบบไอทีของประเทศ..ขอเพียงให้ระบบราชการมีความคล่องตัวและเป็นธรรม..

ขอบคุณคะ พี่ Blank Bowling

ขอขอบพระคุณพระอาจารย์ Blank พระมหาแล อาสโย ขำสุข.

ขอบคุณคะ ป้าใหญ่ Blank นงนาท สนธิสุวรรณ

ต้องร่วมด้วยช่วยกันในทุกภาคส่วนคะ ซึ่งจะนำแนวทางหรือมุมมองที่สะท้อนในภาคธุรกิจ และภาคประชาชนมาฝากกันในครั้งถัดไปนะคะ

อยากเห็นเป็นรูปธรรมเช่นกันค่ะ.... "คนยุคใหม่....เราใช้ IT"

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณคะ BlankDr.Somsri

เมื่อคนยุคใหม่...จำเป็นต้องใช้ IT

แต่ที่สำคัญกว่าคือ จะใช้ ITที่

มีอย่างไรให้เกิดประโยชน์ น้อยกว่าโทษคะ

  • ถ้าทุกภาคส่วนสามารถสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงด้านอิเล็กทรอนิกส์กันได้ครบแล้ว ประเทศไทยน่าจะเป็นภาครัฐที่สมบูรณ์แบบนะคะ
  • อยากเห็นจริง ๆ ค่ะ

วันนี้ (๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ได้มีโอกาสไปขอข้อมูล ณ สรอ. เพื่อประโยชน์ต่อการทำงาน และได้รับการต้อนรับตลอดจนอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดียิ่งจากคณะทำงานของ สรอ. ผมและคณะจึงขอบคุณสำหรับการต้อนรับและข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งมา ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท