การบริหารความเสี่ยง


การบริหารความเสี่ยง

 

การบริหารความเสี่ยงขององค์กร

ภาษาง่าย ๆ ของคำว่า “ความเสี่ยง (Risk)” ก็คือ

สิ่งต่างๆ ที่อาจกีดกั้นการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ความเสี่ยงทำให้เราไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ความเสี่ยงทำให้เราไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ตามกิจกรรม โครงการที่เรากำลังทำเป็นประจำ ซึ่งเรียกว่า Operational Risk อาจเป็นความเสี่ยงทางด้านยุทธศาสตร์ (Strategy) ทางด้านการแข่งขัน (Competitive) ทั้งหมดอยู่ที่ว่า อะไรเป็นเป้าหมาย อะไรเป็นวัตถุประสงค์ที่เรากำหนดไว้ และหากจะดูเรื่องของความเสี่ยงจะดูที่เรื่องปัญหาและอุปสรรคว่าคืออะไร หรือจะดูว่าอะไรคือ “ตัวขัดขวาง”  ความสำเร็จ

การบริหารความเสี่ยง

ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด หรือ ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นและมีผลต่อการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้

ดังนั้น ความเสี่ยงจึงถูกวัดได้ด้วยผลกระทบที่ได้รับ และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  

การบริหารความเสี่ยงขององค์กร คือ การบริหารความเสี่ยงของโครงการต่าง ๆ ตามแผนงานซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้การตัดสินใจโดยการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) ต่าง ๆ จะช่วยให้มีความมั่นใจในผลสำเร็จว่าจะสามารถจัดความเสี่ยงได้ และจะทำให้โครงการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การดำเนินการตามโครงการก็อาจเกิดความเสี่ยงได้อีก และอาจเกิดผลกระทบกับความสำเร็จของโครงการได้

ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงจึงครอบคลุม ความเสี่ยงด้านงบประมาณ ความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงด้านกำหนดการ และความเสี่ยงด้านเทคนิค หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ในวางแผนปฏิบัติการแก้ไข  ติดตามประเมินผล  ผลเสียหายอย่างร้ายแรงย่อมเกิดขึ้นกับโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ได้

เมื่อความเสี่ยงสามารถถูกวัดด้วยผลกระทบที่ได้รับและความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ที่มากระทบ จึงอาจจำแนกปัจจัยเสี่ยงที่ต้องการวัด ตามด้านต่างๆ ของผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร ดังนี้ ด้านกลยุทธ (S: Strategic ) ดานการปฏิบัติงาน (O : Operation ) ดานนโยบาย (P : Policy)  ดานการเงิน (F : Financial) และ ดานเหตุการณภายนอก (E : Event )

 ทำไมจึงต้องการบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง  (Risk Management) เป็นงานด้านหนึ่งของการบริหารโครงการ อันเนื่องมาจากการประสบปัญญาทำให้งานไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ หรือการใช้จ่ายงบประมาณเกินวงเงินของโครงการ หรือการส่งมอบงานที่ลูกค้าไม่ถึงพอใจจนต้องปรับปรุงแก้ไข การป้องกันความเสี่ยงข้างต้น อาจดำเนินการได้โดยการบริหารความเสี่ยง หรือ การควบคุมไม่ให้ภาวะคุกคามเหล่านั้นเกิดขึ้นกับโครงการ

ความเสี่ยงอาจเกิดจากหลายสาเหตุโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ข้อจำกัดของโครงการและความไม่แน่นอนอันเนื่องมาจากอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโครงการ จนเป็นเหตุให้การคำนวณกิจกรรมของโครงการคาดเคลื่อนจากความจริง  ผลที่ตามมาที่เห็นได้ชัดเจนคือ
หากยอมรับความล่าช้านั้น  ก็ต้องเพิ่มงบประมาณและผลกระทบคือ  ค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กำหนดไว้  วันสิ้นสุดของโครงการผิดพลาดและก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของธุรกิจหรือโครงการ
ในกรณีที่ต้องจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติมผลก็จะจบลงที่ค่าใช้จ่ายของโครงการเกินวงเงินที่กำหนดไว้เช่นเดียวกันการดำเนินงานของภาครัฐ แม้ว่าเป้าหมายสำคัญไม่ได้อยู่ที่กำไร แต่ภาครัฐก็ต้องการผลผลิตที่เป็นประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่คุ้มค่างบดำเนินการ นั่นเอง

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง

                ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง อาจมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น  ระบบงานขององค์กร  บุคลากร การเงินการคลัง  การเมืองเศรษฐกิจ  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  ลูกค้าหรือผู้รับบริการ สภาพการแข่งขัน เป็นต้น และอาจมีแหล่งที่มาของความเสี่ยงทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ดังนี้

           ความเสี่ยง ภายในองค์กร  เช่น

- สถานที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย

- ระบบบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือ

- วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการสร้างประสิทธิภาพการทำงาน

- การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่เพียงพอ

- ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เป็นต้น

          ความเสี่ยงภายนอกองค์กร เช่น

- การเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย

- การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

- กระแสโลกาภิวัฒน์

- เสถียรภาพทางการเมือง

- การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภค

- กระแสสังคม สิ่งแวดล้อม

- การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นต้น

ซึ่งในการดำเนินโครงการใด โครงการหนึ่งขององค์กร อาจมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโครงการ ดังแผนภูมิที่ 1 ดังนี้

 

แผนภูมิที่ 1 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโครงการ

 

ผู้บริหารหรือผู้บริหารโครงการ จึงต้องการเห็นอนาคตของโครงการ  การเผชิญกับปัญหาที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า  และการเข้าไปสอดแทรกการดำเนินการให้ประสบการณ์ความสำเร็จ
โดยศึกษาและทำความเข้าใจระหว่างโครงการกับข้อจำกัดที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ตามแผนภูมิที่  2 ดังนี้

 

จากแผนภูมิที่ 2 ข้อจำกัดของโครงการได้แก่ ระยะเวลาการดำเนินการที่มี
การประเมินความเสี่ยงไว้แล้วก็อาจผิดพลาดได้ เป็นเหตุให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายและยืดระยะเวลา
การปฏิบัติการออกไปอีกซึ่งจะทำให้ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือโครงการประสบความล้มเหลวได้

หากยอมรับความล่าช้านั้น  ก็ต้องเพิ่มงบประมาณและผลกระทบคือ  ค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กำหนดไว้  วันสิ้นสุดของโครงการผิดพลาดและก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของธุรกิจหรือโครงการ ในกรณีที่ต้องจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติมผลก็จะจบลงที่ค่าใช้จ่ายของโครงการเกินวงเงินที่กำหนดไว้เช่นเดียวกันดังแผนภูมิที่ 3

 ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง

การนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในองค์กร จะช่วยให้เป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่าการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร จะมีการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยงเป็นการทำนายอนาคตอย่างมีเหตุมีผล มีหลักการและหาทางลดหรือป้องกันความเสียหายในการทำงานแต่ละขั้นตอนไว้ล่วงหน้า หรือในกรณีที่พบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด โอกาสที่จะประสบกับปัญหาน้อยกว่าองค์กรอื่นหรือหากเกิดความเสียหายขึ้น ก็จะเป็นความเสียหายที่น้อยกว่าองค์กรที่ไม่มีการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ เพราะได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ในขณะที่องค์กรอื่นที่ไม่เคยมีการเตรียมการหรือไม่มีการนำแนวคิดของกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตขึ้น องค์กรเหล่านั้นจะประสบกับปัญหาและความเสียหายที่ตามมาโดยยากที่จะแก้ไข ดังนั้นการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาช่วยเสริมร่วมกับการทำงาน จะช่วยให้ภาระงานที่ปฏิบัติการอยู่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และป้องกันโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและปัญหาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน

การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการองค์กร เป็นเรื่องส่วนรวมที่ทุกคนในองค์กร ตั้งแต่คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานทุกคนควรได้มีส่วนร่วมในการ วิเคราะห์ในเชิงลึก เชิงบูรณาการ และเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน แผนปฏิบัติการ กิจกรรมขององค์กร ซึ่งการบริหารความเสี่ยงที่ดีจะเป็นการวัดความสามารถและการดำเนินงานของบุคลากรภายในองค์กร  สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6 ที่ว่า

“ มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
(1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
(2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
(4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
(5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
(6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
(7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ ”

ดังนั้น  องค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดี จะต้องดำเนินงานบนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) การควบคุมภายใน (Internal Control) และการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงอย่างง่าย

 การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องสำคัญแม้ความเสี่ยงนั้นจะยังคงไม่หมดสิ้นไป
แต่ก็เป็นการควบคุมไม่ให้ปัญหาการบริหารโครงการเกิดขึ้นในระดับรุนแรงจนยากแก่การแก้ไขหรือ  เกินความเสียหายต่อองค์การ การบริหารความเสี่ยงอาจมีขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอนคือ
1) การกำหนดโครงสร้างพื้นฐานการจัดการ

2) การกำหนดของเขตการบริหารความเสี่ยงของโครงการ

3) การวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของโครงการ

4) การระบุความเสี่ยง

5) การวิเคราะห์ความเสี่ยง

5.1) การวางแผนควบคุมความเสี่ยง

5.2) การควบคุมความเสี่ยง

และ    5.3) การตรวจติดตามความเสี่ยง (http://www.rdware.com) ดังแผนภูมิที่ 4

จากแผนภูมิที่ 4 ผู้จัดการโครงการจะต้องทบทวนจุดมุ่งหมายของโครงการ
ระบุปัญหาหรือตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลง ระบุความเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยง การวางแผนการ
ควบคุมความเสี่ยง เลือกการปฏิบัติการที่เหมาะสม ควบคุมความเสี่ยงและตรวจติดตามผล
การดำเนินงาน

ดังนั้น การบริหารความเสี่ยง  (Risk Management) จึงเป็นการปฏิบัติการควบคุมความเสี่ยงซึ่งประกอบด้วย 1) การวางแผนความเสี่ยง 2) การประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ 3) การพัฒนาทางเลือกในการบริหารความเสี่ยง 4) การตรวจสอบความเสี่ยงเพื่อหาว่าความเสี่ยงได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และ 5) บันทึกการบริหารความเสี่ยงทั้งหมด (http://www.acq.osd.mil)

และการบริหารความเสี่ยงของโครงการ  (Project Risk Management) จึงเป็นการปฏิบัติการที่มีขั้นตอน วิธีการและเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง มีลักษณะของการตัดสินใจเชิงรุกเพื่อประเมินสิ่งที่อาจเกิดความผิดพลาดอย่างต่อเนื่องหรือประเมินความเสี่ยง ระบุว่าความเสี่ยงที่จะต้องจัดการคืออะไร และใช้ยุทธศาสตร์เพื่อจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น (http://www.sei.cmu.edu)

 

อาจสรุปขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงอย่างง่าย ๆ เป็น 5 ข้อ ดังนี้

1.  การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Establishment)

2.  การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)

3.  การประเมินความเสี่ยง(Risk Assessment)

4.  การสร้างแผนจัดการ(Risk Management Planning)

5.  การติดตามสอบทาน (Monitoring & Review)

การที่จะทำแผนรับมือความเสี่ยงมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่า เรามีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงแค่ไหน หากเรามีความเสี่ยงสูง อาทิเช่น ในเรื่องของงบประมาณ เป็นความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติ ความเสี่ยงของการที่จะของบประมาณเป็นความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน

ดังนั้น ปัจจัยการบริหารความเสี่ยง คือ การกำหนดเหตุไม่พึงประสงค์ และวางแผนกำจัดเหตุที่ไม่พึงประสงค์หรือผ่อนหนักให้เป็นเบา เพื่อรับความเสี่ยงน้อยที่สุด

 ความเสี่ยงของบริบทราชการไทย

ความเสี่ยงของหน่วยงานภาครัฐมีความแตกต่างจากภาคเอกชน เนื่องจากวิสัยทัศน์และภารกิจที่แตกต่างกัน โดยในภาคเอกชนั้น ความเสี่ยงทางการเงินเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด เพราะแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างกำไรสูงสุด ในขณะที่แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐจะมุ่งเน้นที่การตอบสนองนโยบายรัฐและให้บริการประชาชน ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานภาครัฐจึงเกี่ยวกับความเสี่ยงเชิงนโยบาย

ทั้งนี้ ความเสี่ยงของบริบทราชการไทย ที่นับว่าเป็นเหตุให้การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่

                    1.  ความเสี่ยงเชิงนโยบาย : ครอบคลุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานรวมไปถึงการตัดสินใจด้านบริหารที่ส่งผลต่อทิศทางของหน่วยงาน ในทางที่ไม่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์

                    2. ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน : เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์และส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ เช่น การขาดความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมการปฏิบัติงานผิดพลาดหรือล่าช้า การขาดข้อมูลหรือเครื่องมือที่จำเป็น เป็นต้น

                    3. ความเสี่ยงทางการเงิน : การบริหารงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจทำให้โครงการหรือการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องหรือสำเร็จลุล่วงภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจเป็นเพราะการประเมินค่าใช้จ่ายของโครงการไว้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น หรือการเพิ่มขึ้นของราคาวัสดุอุปกรณ์ รวมไปถึงการขาดการจัดสรรเงิน หรือทรัพยากรที่มีอยู่เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม

                    4. ความเสี่ยงด้านเหตุการณ์ : เป็นความเสี่ยงที่ไม่ได้เกิดประจำ แต่ส่งผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ผลตามแผนยุทธศาสตร์ และไม่สามารถคาดการณ์การเกิดความสูญเสียได้อย่างแม่นยำ รวมไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น ความเสี่ยงทางการเมือง การโยกย้ายผู้บริหาร ภัยธรรมชาติ เป็นต้น

 

วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงของบริบทราชการไทย         

สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ ดังนี้

           1. วัตถุประสงค์ก่อนความสูญเสีย : วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงก่อนความสูญเสียเป็นวัตถุประสงค์สำหรับการเตรียมการขององค์กร เพื่อวางแผนป้องกันความสูญเสีย เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยงขององค์กร รวมไปถึงความพยายามที่จะลดความกังวลของผู้บริหารและพนักงานก่อนที่จะเกิดความสูญเสียเพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสในการทำกำไร หรือประสิทธิภาพการทำงาน

                2. วัตถุประสงค์หลังความสูญเสีย : เป็นการวางแผนเพื่อความอยู่รอดขององค์กรเมื่อเกิดความสูญเสียขึ้น โดยการทำแผนรองรับความสูญเสียล่วงหน้า ซึ่งครอบคลุมการวางแผนการบริหารความเสี่ยง เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่เกิดความสูญเสียขึ้นกับองค์กรแผนการเยียวยาความสูญเสีย แผนการดำเนินงานหลักเกิดความสูญเสีย โอกาสความรับผิดชอบผู้อื่นและสังคมหลังเกิดความสูญเสีย เป็นต้น ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์นี้มากกว่าภาคเอกชน เพราะงานบริการของหน่วยงานภาครัฐ

ประโยชน์จากการบริหารความเสี่ยง

1. เป็นการสร้างฐานข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการบริหารและการปฏิบัติงานในองค์กร การบริหารความเสี่ยงจะเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจด้านต่าง ๆ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยง เป็นการดำเนินการซึ่งตั้งอยู่บนสมมุติฐานในการตอบสนองต่อเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร

2. ช่วยสะท้อนให้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญได้ทั้งหมด การบริหารความเสี่ยงจะทำให้พนักงานภายในองค์กรมีความเข้าใจถึงเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร และตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อองค์กรได้อย่างครบถ้วน ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงที่มีเหตุทั้งจากปัจจัยภายในองค์กร และจากปัจจัยภายนอกองค์กร

3. เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน การบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและทันเวลา รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารในการบริหารงาน และการตัดสินใจในด้านต่างๆ เช่น การวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ การติดตามควบคุมและวัดผลการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร

4. ช่วยให้การพัฒนาองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การบริหารความเสี่ยงทำให้รูปแบบการตัดสินใจในการปฏิบัติงานขององค์กรมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การตัดสินใจโดยที่ผู้บริหารมีความเข้าใจในกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ขององค์กร และระดับความเสี่ยงอย่างชัดเจน

5. ช่วยให้การพัฒนาการบริหารและจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงในแต่ละกิจกรรมและการเลือกใช้มาตรการในการบริหารความเสี่ยง

ดังนั้น การร่วมกันระหว่างผู้บริหาร (คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง) กับบุคลากรในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและแนวทางแก้ไข จะทำให้มีความเข้าใจตรงกัน เพราะการวิเคราะห์ความเสี่ยง ผู้บริหารและบุคลากรอาจมองต่างมุมกัน บนพื้นฐานความคิดที่ต่างกัน

ประเด็นที่จะกำหนดและควบคุมความเสี่ยง จุดแรกคือ ถามตัวเองก่อนว่า เรายอมรับความจริงได้หรือไม่ว่ามีความเสี่ยง ความเสี่ยงอะไรที่ควบคุมได้  แล้วจึงเอาสิ่งนั้นมาวิเคราะห์ต่อ

 

ขั้นตอนการวิเคราะห์ความเสี่ยง

ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงอาจใช้คำถามนำการคิดค้นหาประเด็นคำตอบที่เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้านต่าง ๆ ซึ่งควรตอบคำถาม 7 คำถามให้ได้ในแต่ละกิจกรรม โครงการ หรือแผนงาน  ดังนี้ คือ

Q1: ท่านมีความฝัน ความหวังอะไรที่ต้องบรรลุ (กิจกรรม โครงการ หรือแผนงาน) ให้ได้อยู่บ้างหรือไม่

Q2: ท่านมีความกังวลใจอะไรบ้าง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรคที่จะทำให้ (กิจกรรม โครงการ หรือแผนงาน) ของท่านไม่บรรลุความสำเร็จที่ตั้งไว้

Q3: ท่านได้เตรียมการณ์ใดเพื่อป้องกันสาเหตุของเหตุการณ์ที่อาจจะกระทบของ (กิจกรรม โครงการ หรือแผนงาน) เหล่านั้นบ้างแล้วหรือไม่

Q4: ท่านคิดว่าการเตรียมการเหล่านั้นถ้ามีสิ่งที่เล็ดลอดได้จะน่ากังวลใจเพียงใด

Q5: ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรค จำนวนมากนั้น ควรจะนำสิ่งใดมาพิจารณา

Q6: ท่านคิดว่าจำเป็นต้องมีแนวทาง วิธีการ เพิ่มเติมในการรับมือ เหตุการณ์หรือผลที่       เล็ดลอดมา อีกหรือไม่ อย่างไร

Q7: ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์นั้นได้เกิด หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดมากน้อยหรือไม่เพียงไร

 

หากผู้บริหารองค์กรมองเห็นปัญหาอุปสรรค ซึ่งปัญหาอุปสรรคที่อาจเป็นความเสี่ยงได้ การจัดการความเสี่ยงให้หมดไปหรือให้มีเหลือน้อยที่สุด จึงควรนำปัญหาอุปสรรคมาจัดลำดับจากมากไปหาน้อยและวิเคราะห์สาเหตุ หาแนวทางแก้ไข หรืออาจนำมาเทียบเกณฑ์และนำเข้าสู่สูตรการคำนวณประเด็นความเสี่ยง จากนั้นจึงจัดลำดับจากมากไปหาน้อยและวิเคราะห์สาเหตุ หาแนวทางแก้ไข ดังนี้

 

เอกสารอ้างอิง

 ชฎาภรณ์  เซ่งคลิ้ง. (2552). การบริหารความเสี่ยงกับการพัฒนาองค์กร. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม,

2552, จากบวรศักดิ์  อุวรรณโณ.(2545).การสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) ในสังคมไทย 2542 สำนัก

            พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ.  สำนักงาน ก.พ. แนวทางการบริหารราชการยุคใหม่

ของรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจและอธิบดี. สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ : กรุงเทพมหานคร.

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน.(2545). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบ

            บริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. สำนักงาน ก.พ. Good Governance กับการ

พัฒนาข้าราชการพลเรือน.

หมายเลขบันทึก: 495058เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท