Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จ.ภูเก็ต


โครงการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”

สวัสดีลูกศิษย์และชาว  Blog  ทุกท่าน

          วันนี้ (วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมกับ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อเก็บข้อมูลโครงการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”  ในกลุ่มภาคใต้ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต       

          ภาคใต้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้แก่ประเทศไทยได้อย่างมหาศาล วันนี้เราจะได้รับฟังความคิดเห็นจากนักธุรกิจ ตัวแทนภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งวิชาการด้านการท่อเงที่ยวและกีฬาซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้เรานำมาพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาของประเทศ

            สำหรับผม สิ่งที่ผมอยากเห็นในเรื่องการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและกีฬาของภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดภูเก็ต คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเด็นเรื่องการรักษาผืนแผ่นดินของคนไทย และความสวยงามของธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเมื่อก้าวสู่ AEC แล้วประเทศไทย คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนระดับกลางและระดับรากแก้วจะต้องเข็มแข็งและได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง

           จึงเปิด Blog นี้เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาแบ่งปันกัน เเละหากท่านผู้อ่านจะร่วมเสนอแนะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ด้วยก็จะขอบคุณอย่างสูงครับ                                      

                                                จีระ หงส์ลดารมภ์

..................................................

ติดตามสาระสำคัญของ Focus Group ที่ผ่านมา

Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ สถาบันวิจัยเเละพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/493727

Focus Group ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา (ภาคตะวันออก) เมืองพัทยา ชลบุรีhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/493394

Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ มหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492836

สัมมนาระดมความคิดเห็นการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/490673

........................................................................

ภาพบรรยากาศช่วงเช้า Focus Group: กลุ่มการท่องเที่ยว

 

หมายเลขบันทึก: 494663เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012 09:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group)

โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 

กลุ่มภาคใต้

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555  

กลุ่มการท่องเที่ยวเวลา 9.00 – 12.00 น.

ณ  ห้องประชุมคณะวิทยาการจัดการ (ห้อง 512) มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

 

 

ความเข้าใจเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีเพียงพอหรือไม่อย่างไร

  • สงสัยในความชัดเจนของประชาคมอาเซียน เช่นเรื่องการแบ่งกลุ่มธุรกิจ  ความเร่งด่วนของแต่ละภาคส่วน  ทักษะในการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ 

ข้อตกลงการเปิดเสรีด้านบริการ

  1. 1.      สัดส่วนการลงทุนของชาวต่างชาติ  ปล่อยให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถลงทุนได้ 70% 

โอกาส คือ เปิดให้บริษัทดี ๆ เข้ามาร่วมได้

จุดอ่อน  คือ  กลัวบริษัทนอกอาเซียนใช้สิทธิ์แฝง

 *** การเจรจา ถ้าไม่เปิด 70% มีเงื่อนไขอะไรบ้าง มีสาขาใดบ้างที่ต้องยกเว้น

  1. ข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงาน มีข้อตกลงใน 7 สาขา

การสร้างประชาคมอาเซียน เน้นที่ประชาชนเพื่อให้มีการพัฒนา และสร้างความเข้มแข็ง  ดังนั้นการเตรียมตัวไม่ว่ามีหรือไม่มีประชาคมอาเซียนก็ต้องมีการเตรียมตัวอยู่แล้ว เพราะประเทศในกลุ่มอาเซียน มีการพัฒนตลอดเวลา ตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว พม่า เวียดนาม รู้หลายภาษา ประเทศไทยควรสนใจในเรื่องภาษาของกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มเติมนอกจากภาษาอังกฤษด้วย

อีกสิ่งหนึ่งคือควรเน้นเรื่องวัฒนธรรม

สถานการณ์ที่เป็นอยู่เรื่องความรู้ด้าน AEC คือการ ขาดข้อมูลความรู้ด้าน AEC ค่อนข้างมาก

 

การรวมเป็น AEC ตาม AEC Blueprint

1. การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วม – ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน – การสร้างความสามารถในด้านต่างๆ เช่น นโยบายการแข่งขัน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ)

3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค – การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิก และลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า และใหม่ เช่น การสนับสนุนการพัฒนา SMEs เป็นต้น

4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก – การร่วมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก โดยเน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี และการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่าย เป็นต้น

 

ขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างไร

  • เรื่องความปลอดภัย  จะทำอย่างไร ใครควรมีส่วนในการเกี่ยวข้อง
  • การทำ Sport Tourism
  • MICE
  • โรงพยาบาล

 

โจทย์ของภาคใต้

อยากจะให้มองที่ Cluster (ภูเก็ต กระบี่ ฯลฯ) และมองถึงประเทสอื่น ๆ เช่น อินเดีย พม่า และมาเลเซียด้วย

 

แต่ละ Cluster ประกอบด้วย

  1. ผู้ประกอบการ
  2. ระดับท้องถิ่น
  3. ข้าราชการ ได้แก่ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา

กระทรวงฯ ดูแล 3 เรื่อง

1.การพัฒนาบุคลากร

2. การพัฒนาแบบยั่งยืน (ทุนของภูเก็ตต้องคิดไกล)

 

การจัดการการท่องเที่ยวเพื่อรองรับ AEC

  1. ต้องเน้นเรื่องความยั่งยืน (Sustainability)ให้ได้ ตัวอย่าง การทำ Projection ว่าภูเก็ตอีก 20 ปีเป็นอย่างไร  สิ่งที่น่าสนใจคือ การสร้างบรรยากาศ อย่าง Green Tourism
  2. การกระจายรายได้ (Income Distribution) ใครได้ประโยชน์จากการทำวิจัยในครั้งนี้ AEC ต้องกระจายความเจริญไปให้คนไทย คนไทยได้ประโยชน์จริงหรือไม่ ?
  3. การเชื่อมโยงระหว่างกีฬากับท่องเที่ยวให้มากที่สุด (Sport Tourism) กีฬาในด้าน Upside มีประโยชน์มาก ทั้ง Sport Industry ,Youth,Culture

สรุป การทำ Focus Group ในครั้งนี้อยากให้เน้นที่คุณธรรม จริยธรรมให้มาก

 

การมี อาเซียนเสรี เราควรมี Project อะไรบ้างที่คิดมาใน 10 ประเทศ ?

  • การมองท่องเที่ยวเป็นยุทธวิธีให้ภูเก็ตขับเคลื่อนร่วมกัน
  • การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตามแนวทาง

 (1) Where are we?

(2) Where do we want to go?

(3) How to do it?

(4) How to do it successfully?

  • การให้ความสนใจในทุนมนุษย์

 

การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของการท่องเที่ยว ในภาคใต้

จุดแข็ง

  1. มีทะเลที่สวยงาม มีธรรมชาติที่สวยงาม หาดสวย สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ดี
  2. คนภูเก็ตดั้งเดิมเป็นคนมีน้ำใจที่ดี
  3. บุคลากรคนไทยที่มีอยู่มีความเป็นไทย ทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาใช้บริการเนื่องจากความประทับใจในความเป็นไทย
  4. มีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ เช่นอาหารภูเก็ตได้รับติดต่อเป็นอาหารโลก (แต่จะทำอย่างไรให้คนในภูเก็ตรับรู้เรื่องนี้ อยากให้มาดูแลเรื่องคน เรื่องบริการ)
  5. สร้างได้ได้ 1/3 ของการท่องเที่ยว น่าจะเป็นจังหวัดที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเสริมจากพัทยา และกรุงเทพฯ
  6. มีการทำ Creative Economy Spa ใช้วัฒนธรรมโนร่าห์ นวดแห่ง Massage ที่แตกต่างจากบาหลี
  7. มีความพร้อมในด้านบริการ
  8. มีสถานศึกษาที่ให้แหล่งความรู้ด้านการท่องเที่ยวเยอะ เช่น มีม.สงขลา มีม.ราชภัฏ
  9. ความเป็น Thainess

จุดอ่อน

  1. รัฐไม่ได้ไปควบคุมนักท่องเที่ยวอาจเกิดปัญหาเรื่องรถ การเดินทาง ตกเรื่องความยั่งยืนได้
  2. ปัญหาเรื่องการจราจรของภูเก็ต รถติด คนภูเก็ตไม่มีวินัย ต้องรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว  เป็นไปได้หรือไม่ที่ภูเก็ตควรมีรถไฟฟ้า
  3. ขาดการประชาสัมพันธ์ ให้คนรู้จัก
  4. ข้อจำกัดด้านการพัฒนายังไม่เต็มที่ ทั้งภาคราชการ การพัฒนาคน และการบริการ
  5. งบประมาณ และเงินที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากรมีจำกัด การพัฒนาความสามารถการแข่งขันจะสู้ได้หรือไม่
  6. ความมีวิถีชีวิต และเสน่ห์ของชาวภูเก็ตขาดหายไป เนื่องจากการบริหารจัดการที่เข้ามามากเกินไปแต่เน้นไปที่เรื่องอื่น ขาดการบริหารจัดการในเรื่องตัวคน
  7. การบริหารจัดการขยะ เนื่องจากนักท่องเที่ยวมีเพิ่มมากขึ้น ขยะมากขึ้นตามไปด้วย  อยากให้เทศบาลคิดก้าวหน้า เพื่อรองรับขยะ และสิ่งแวดล้อมให้ดีมากยิ่งขึ้น
  8. รถรับจ้างสาธารณะที่ผิดกฎหมาย คิดค่าจ้างเกินความเป็นจริง มีการตกลงราคาที่มีความขัดแย้งกันระหว่างนักท่องเที่ยวและรถรับจ้าง ทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากเข้ามาด้วย ส่งผลในเรื่องการสร้างความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย  มีการคอรัปชั่นในวงการผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นการเมืองท้องถิ่น และผู้มีอิทธิพล ส่งผลให้แก้ยาก มีเบื้องหลังอยู่ทุกวงการ

-มีการประชุมรถแท๊กซี่ป้ายเขียว ที่ต้องมีขอบเขตในเรื่องราคาที่ต้องมีความใกล้เคียงกับ แท๊กซี่มิเตอร์ ให้แต่ละคิวรถกำหนดสัญลักษณ์ มีการมอบรายชื่อและขึ้นทะเบียน มีการทำตามกฎ ถ้าไม่ทำตามกฎจะมีการเพิกถอนใบอนุญาต

-มีเบอร์โทรศัพท์ร้องเรียนที่ 1384  สามารถเพิกถอนรถแท๊กซี่ในกรณีทำผิดได้

- ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ที่ป่าตองมีการติดตั้งกล้องวงจร CCTV ร่วมมือกับสถานประกอบการ มีการเชื่อมโยงกับส่วนกลาง (ความปลอดภัยควรเน้นการสร้างจิตสำนึก)

- ตั้งศูนย์ข้อมูลที่การท่าอากาศยานป่าตอง กะตะ กะรน

- แท๊กซี่ป้ายดำ ประมาณ 80% เป็นของคนในท้องถิ่น ถ้าให้ถูกจับ จะกระทบกับ คนในพื้นที่ด้วย ตัวอย่างเทศบาลเชิงทะเล กำลังมีการประชุม และหาทางให้ชุมชนดูแลกันเองสามารถทำได้หรือไม่   ให้คนท้องถิ่นมีงานทำ และมีรายได้เสริมด้วย นอกจากการทำแท๊กซี่ป้ายดำที่ใช้รถราคาหลักล้านบาท  ให้ท้องถิ่นดูแลกันเอง ให้ผู้นำชุมชนดูได้หรือไม่ การไม่ควบคุมปริมาณที่แน่นอนจะทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากมีคนภายนอกเข้ามาแล้วใช้ระบบมาเฟีย ทำให้ท้องถิ่นไปที่อื่นไม่ได้ เนื่องจากเขาต้องทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรม  แต่ละท้องถิ่นคิดว่าเป็นพื้นที่ของใครของมัน การแก้ปัญหาไม่แก้แต่ต้น คนภาครัฐไปฉวยโอกาส

ข้อเสนอแนะ  ส่งเสริมมาตรการให้ท้องถิ่น และขนส่งต้องหาทางออกร่วมกัน

  1. ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ก็เกิดอย่างนี้ตลอดเนื่องจากการแสวงหาสิ่งภายนอกมากเกินไป  เช่น บางคนทำธุรกิจร้านอาหาร แต่หาเงินมาดาวน์รถเพื่อทำธุรกิจท่องเที่ยว มีความยั่งยืนหรือไม่ ในอนาคตคาดว่ากระบี่จะเป็นเหมือนภูเก็ตเนื่องจากมีชาวรัสเซียเข้ามามากขึ้นมีการเปิดเคาน์เตอร์ทัวร์  ไม่มีกฎหมายเข้าไปควบคุมได้
  2. ความเข้มแข็งของกลุ่มธุรกิจ ตัวอย่างเช่นสมาคมท่องเที่ยวในภาคใต้ ในภูเก็ต พบว่ามีความเข้มแข็งมาก มีความสะดวกรวดเร็ว แต่ที่พังงา และกระบี่เข้าได้ยากมาก เคยไปประชุมที่นั่น แต่ปรากฎว่าไม่เกิดผลที่ดี พบว่าในภาคธุรกิจยังไม่เห็นความสำคัญเรื่องนี้
  3. MICE  ราชภัฏภูเก็ต เซ็นสัญญาร่วมกับ สสปน. เรื่องการให้ความรู้เกี่ยวกับ MICE เนื่องจากพบว่าธุรกิจนี้ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการลงทุนอื่นเช่นโรงแรม แต่พบว่าสามารถทำรายได้ให้กับการท่องเที่ยวได้มากกว่า
  4. มูลนิธิสิ่งแวดล้อมมีการเซ็น MOU กับภูเก็ตมีการศึกษาเรื่องแหล่งท่องเที่ยวเน้น 2 เรื่องคือ 1.เรื่องความเปราะบางในพื้นที่เรื่องการใช้ที่ดิน 2. การจัดการน้ำในอนาคตคาดว่ามีปัญหามากขึ้น  ดังนั้นทำอย่างไรให้คนภูเก็ตสามารถติดต่อสื่อสารเมื่อเข้าสู่ AEC ได้ คาดว่ามีการหมุนเวียนประมาณ 100 ล้าน ถ้าไม่มีการเตรียมพร้อมจะทำให้อยู่อย่างลำบาก
  5. ผู้นำท้องถิ่นจะ Deal กับ AEC ได้อย่างไร มีปัญหาเรื่องภาษา เรื่องสิ่งแวดล้อม
  6. ขาดการประชาสัมพันธ์เรื่อง Creative Economy
  7. ขาดแรงงานที่มีคุณภาพ  อยากให้เน้นการพัฒนาที่ระดับปฏิบัติการจริง ๆ เมื่อมีใจจะทำงานโดยไม่ต้องดูแลเลย
  8. ห้องพักล้น บางครั้งไม่มีการจดทะเบียน ไม่มีใบอนุญาตโรงแรม แต่สามารถขายให้กับนักท่องเที่ยวพักเช่าได้
  9. ขาดการดูแล และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ควรสนับสนุนการอนุรักษ์ การเพิ่ม และสร้างความยั่งยืนได้
  10. การบังคับใช้กฎหมาย การจัดระเบียบที่เป็นกรอบ ต้องใช้การเจรจาด้วยวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน
  11. จุดเริ่มของปัญหาทั้งหมดคือการบริหารจัดการ ตัวอย่างเช่นจังหวัดภูเก็ต เป็น Destination ของไทยและของโลก ถึงแม้ไม่มี AEC ภูเก็ตก็ยังต้องพัฒนาการบริหารจัดการ

การบริหารจัดการในมุมมองภาครัฐ

-       ในระบบจังหวัดมีหลายกระทรวง พื้นที่  ไม่มีความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ มีแผน แต่ไม่สามารถดำเนินได้ตามแผน ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคท้องถิ่นไม่ทำงานร่วมกัน ขอเสนอให้มีวิธีการจัดการเรียนการสอนเรื่องการท่องเที่ยวตั้งแต่ ป. 1

-       การกระจายอำนาจ ท้องถิ่นไม่มีความเข้มแข็งพอที่จะทำ

-       การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยังไม่ดีเท่าที่ควร

-       กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้ ความมีวินัยของมนุษย์ไม่ดี

-       มีการทำให้ภูเก็ตเป็นเขตปกครองพิเศษ เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรได้น้อยกว่าสุราษฎร์  ตัวอย่างการคัดแยกขยะ น่าจะทำมากกว่าการเผาขยะ

-       วิชาการกับการปฏิบัติไม่ไปด้วยกัน

-       ภาคการท่องเที่ยวไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐที่เพียงพอ

การบริหารจัดการศึกษา

- เรื่องภาษาทำอย่างไรให้เข้มแข็ง

- การจัดองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอน ให้คนในระดับต่าง ๆ รวมถึงระดับชุมชน ท้องถิ่น

- มี 3 ร.ที่ให้เด็กมีส่วนร่วม

การบริหารจัดการชุมชน

-       การขยายรายได้สู่ชุมชน

-       สร้างความเข้มแข็งในชุมชนโดยเริ่มจากการพัฒนาคนในชุมชน

  1. การอำนวยความสะดวกไม่ดีเท่าที่ควรเช่น การเดินทาง
  2. ข้อกฎหมายไม่มีการควบคุมและจัดสรรให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง เช่นกลุ่มเรือยอร์ช
  3. ระบบบริหารพึ่งส่วนกลางมากเกินไป ทำให้ปัญหาท้องถิ่นถูกลืม
  4. ขาด Destination Management ขาดการบริหารในท้องถิ่นจริง ๆ
  5. ความกระตือรือร้นในการหางานของคนไทยน้อย จึงทำให้มีแรงงานจากต่างชาติเข้ามา แก้ด้วยการพัฒนาและผลิตบุคลากรให้มีความรู้และความสนใจในการทำงานมากขึ้น
  6. ความปลอดภัยด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวทางทะเล ไม่มีหน่วยอะไรที่เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยอมรับ ยังต้องพึ่งความช่วยเรือจากทหารเรือ
  7. ความสงบของภูเก็ตขาดหายไป
  8. บุคลากรยังขาดองค์ความรู้ด้าน AEC ควรส่งเสริมองค์ความรู้ด้าน AEC ให้มากขึ้น
  9. ท่าเรือในการรองรับเรือสำราญยังไม่เพียงพอ
  10. ความปลอดภัยของแท๊กซี่ และราคาของแท๊กซี่ที่ไม่เท่าเทียมกัน
  11. มัคคุเทศก์ที่มี่คุณภาพมีไม่เพียงพอ อย่างในภูเก็ตมีเพียง 50 – 60 คน
  12. ภัยที่เกิดจากการรับมือของมนุษย์ และภัยพิบัติต่าง ๆ มีข่าวนิดเดียวกระพือไกลมาก
  13. การประสานผลประโยชน์ของภูเก็ตยังไม่ลงตัวเหมือนกับสถานการณ์ของประเทศ นับว่าเป็นรากของปัญหาที่ต้องดูในปัจจุบัน เป็นไปได้หรือไม่ที่ให้ภูเก็ตออกเขตการปกครองตนเอง
  14. การแย่งเค้กกันเอง การท่องเที่ยวไม่ลงไปที่รากหญ้า  ไม่มีการเดินทาง จาก B2C สิ่งที่เป็นรากของภูเก็ตไม่เป็นผลิตภัณฑ์อย่างแท้จริง
  15. สิ่งแวดล้อม การดูแลเรื่องระบบน้ำของป่าตองไม่ดีเท่าที่ควรเช่นหาดป่าตองเป็นแหล่งน้ำเสีย หรือน้ำดำมากเกินไป ถ้าไม่ปรับตัวนับว่าเป็นจุดอ่อน
  16. การประสานผลประโยชน์ของคนใน AEC ไม่ลงตัว
  17. การแข่งขันทางธุรกิจขาดจริยธรรม เช่นเรื่องแย่งนักท่องเที่ยว

 

โอกาส

  1. มุ่งพัฒนาคนในระดับสูงขึ้นเนื่องจากมีค่าแรง 300 บาท สูงกว่าประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน เราจะมุ่งเน้นการพัฒนาคนในระดับสูงขึ้นได้อย่างไร
  2. ประชากรในภาคอาเซียนมีประมาณ 600 คน ในภูเก็ตมีชุมชนมุสลิมประมาณ 30 % จะให้ชาวอินโดฯ มาเลเซียไปใช้บริการได้อย่างไร จะสร้างวิถีชีวิตของชาวมุสลิมได้อย่างไร เน้นการส่งเสริมภาษาท้องถิ่น การสื่อสารให้เข้าใจถึงวิถีชีวิต และเข้าใจกระบวนการของคนในพื้นที่ได้อย่างดี เช่นการพูดภาษามาลายู ภาษาชาวเล กับหมู่บ้านชาวเล เป็นการเข้าถึงคุณธรรม จริยธรรม การสร้างความยั่งยืนในจิตใจ
  3. บุคลากรด้านสปาปกติขาดแคลนมาก มองว่าพม่าที่เข้ามาทำงานในภูเก็ตประมาณ 5,000 คน น่าจะเป็นแรงงานได้
  4. กิจกรรมด้านการกีฬาและการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น เช่น วินเซิร์ฟ 
  5. Tourism Destination
  6. การสร้าง Fruit Basket เช่นมาถึงภูเก็ตต้องทานกล้วยเล็บมือนาง
  7. สร้าง Wellness Tourism เป็นศูนย์อบรมคนทำงานในสปา แล้วส่งคนไปทำงานต่างประเทศได้ อย่างเช่นราชภัฏสามารถเข้ามาช่วยตรงนี้ได้
  8. ถ้าพัฒนาทุนทางสังคมและทุนมนุษย์จะสามารถแข่งขันใน AEC ได้

ความเสี่ยง

  1. บุคลากรที่ผลิตไประดับ ปวช. ปวส.ไม่ทำงานที่เมืองนอก ทำให้ไทยขาดบุคลากรที่มีมาตรฐาน
  2. นักท่องเที่ยวแม้มากขึ้น แต่คุณภาพลดลง
  3. การเอื้อประโยชน์กับนักการเมืองท้องถิ่นมากเกินไป
  4. การเข้ามาทำงานของแรงงานต่างชาติมากขึ้น ภาษาต่างชาติของไทยยังสู้เขาไม่ได้
  5. การผลิตคนที่รองรับกับการตลาดมีจริงหรือไม่
  6. ขาดการสร้างความมีส่วนร่วมกับคนในท้องถิ่นเรื่องการท่องเที่ยว ทำให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไป
  7. แรงงานของมาเลเซีย กับพม่าที่เดินทางเข้ามา 
  8. แรงงานระดับล่างมีโอกาสพัฒนาเป็นแรงงานมืออาชีพมากขึ้น เมื่อพม่าเปิดประเทศคนพม่าจะกลับบ้าน

การฝึกอบรมในอนาคตเพื่อรองรับอาเซียนเสรี

  • การสร้าง Thainess
  • การฝึกการเรียนรู้ตลอดเวลา ตลอดชีวิต
  • การรวมตัวกัน ผลักดันให้เกิดมูลค่าเพิ่มจากกลางลงล่าง
  • การสร้าง Quality ในทุกภาคส่วน
  • สร้างความยั่งยืนจากการพัฒนาคน
  • การพัฒนาคนในทุกระดับ ทั้งระดับปฏิบัติการ ถึงระดับบริหาร
  • อยากให้เน้นการพัฒนาที่ระดับปฏิบัติการจริง ๆ เมื่อมีใจจะทำงานโดยไม่ต้องดูแลเลย

 

ปัจจัยที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยว

  1. ความสวยงาม ตัวอย่างภูเก็ตถ้ามองในมุมของประเทศไทยนับว่ายังมีความสวยงามอยู่มาก แต่ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าเราอาจสู้ไม่ได้เนื่องจากมีธรรมชาติที่สดใหม่กว่า
  2. ความปลอดภัย เป็นเรื่องสำคัญ ปัจจุบันมีปัญหามากขึ้น มีคนฉกฉิงวิ่งราว เยอะขึ้น
  3. การคมนาคมขนส่ง
  4. คุณภาพของห้องพัก ยังคงดีอยู่
  5. การเข้ามาได้ง่ายหรือยาก  มีความเข้าถึงง่าย เนื่องจากภูเก็ตมีสนามบินใหญ่ ได้ 12 ล้านคนใน 3 ปีข้างหน้า แต่มีนโยบายจะพยายามเพิ่มเป็น 22 ล้านคนกำหนดให้นักท่องเที่ยวเท่าเดิมแต่พักได้ยาวมากเกินได้หรือไม่ เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ   การเมืองนำเกินสิ่งที่ควรจะเป็น เช่น ตลาด MICE อาจไม่เกิดที่ภูเก็ต จากการวิจัยสามารถทำรายได้ได้มากกว่า 3 เท่า

ดร.จีระ

  • ให้วิเคราะห์ถึงโอกาสและความเสี่ยงของ AEC ด้วย คนมีมากขึ้น เราสามารถทำอย่างไรให้ Less for More ได้ เราจะจัดการกับ AEC โลกาภิวัตน์ได้อย่างไร ให้คิดปัญหาขึ้นมา
  • การแสวงหาแนวร่วม  การระดมความคิดเห็น และสร้างความต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง
  • ภูเก็ต กับ AEC น่าจะเป็นตัวตัดสินที่ดี เพราะไม่มี AEC ภูเก็ตก็เด่นอยู่แล้ว ถ้าเราได้คนชั้นกลางของอินโดฯ มาเที่ยวเพิ่มขึ้น ก็ทำให้รายได้เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ตัวอย่างการพัฒนาอาหารของชาวมุสลิม
  • การสร้างการต่อยอด และยั่งยืน และการพัฒนาทุนทางนวัตกรรม
  • ความสำเร็จของภูเก็ต คือการสร้างความยั่งยืน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำงานร่วมกัน

 

ข้อเสนอแนะ

  • การเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ
  • การพัฒนาศักยภาพคน การพัฒนาคน สร้างคนรุ่นใหม่ ปลูกฝังค่านิยมด้านคุณธรรม จริยธรรม
  • การเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน
  • รักษาเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ชุมชน เช่นวัฒนธรรมบาบ๋า ย่าหยา
  • ให้คนมีศักยภาพ มีคุณภาพเข้ามาทำงาน
  • งบประมาณที่มาสนับสนุนให้คนมีคุณภาพ มีจิตอาสาจริง  ๆ เข้ามาทำงาน อย่าให้เขาใช้งบประมาณส่วนตัวมากเกินไป
  • การลงทะเบียน Passport เพื่อ Screen คน
  • การแก้ปัญหาเรื่องจริยธรรม คอรัปชั่น เรื่องที่ดินภูเก็ต
  • ควรมีโรงงานบำบัดน้ำเสีย และสิ่งแวดล้อมก่อนปล่อยลงสู่ทะเล
  • การพัฒนาอาหารที่มีคุณภาพ
  • การแสดงวัฒนธรรมแบบไทย ๆ
  • การพัฒนามัคคุเทศก์ที่มีความสามารถและความพร้อม
  • การสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวสัมผัสความเป็นไทยเช่น Thainess
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านการท่องเที่ยวให้มีความชัดเจน  และจุดขายที่ดี
  • อยากให้มีการประสานงานในกลุ่มธุรกิจมากขึ้น
  • การสร้างระบบเตือนภัยธรรมชาติ และมีการบำรุงรักษา
  • การคิดร่วมทุนกับชาวต่างชาติในกลุ่ม AEC และมีการแบ่งปันผลประโยชน์
  • พัฒนาภูเก็ตเป็นเขตปกครองพิเศษ เพื่อการตัดสินใจ และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว
  • การสร้างเครือข่ายแต่ละภาคส่วนให้จับมือกัน และบูรณาการทำงานร่วมกันให้ชุมชน ท้องถิ่นมีส่วนร่วม การให้ความรู้กับชุมชน เจ้าของ ต้องช่วยกัน
  • เรียนรู้การบริหารจัดการแบบใดที่สามารถ Maximize และไปร่วมกันได้
  • การพัฒนาใช้กฎหมาย ไม่ต้องรอจากส่วนกลาง ทุกอย่างแก้ได้ที่รากหญ้า ท้องถิ่น
  • การพัฒนาการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับสถานประกอบการ
  • ประสานประโยชน์ส่วนตัว และส่วนรวมให้ไปด้วยกัน และให้รอด

 

มุมมอง AEC ในต่างประเทศ

  • ภาคเอกชน ผู้ประกอบการมีการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมที่ดี
  • ภาครัฐออกกฎหมายบังคับใช้ภายในประเทศ จะมีมาตรการอย่างไรสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้มแข็ง และไม่ให้เอาเปรียบ
  • ควรมีการบังคับใช้กฎหมายให้ได้  กฎหมายบางครั้งล้าสมัย ไม่มีการปรับกฎหมายให้ตรงตามวัตถุประสงค์
  • การผลักดันกฎหมายเข้าสู่เวทีเจรจา มีการพิจารณาร่วมกันหมด โดยเริ่มจากภาคเอกชน
  • การนำกฎหมายมาบอกประชาชนให้เตรียมพร้อมต่อข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ

สรุปคือ ประเทศอื่นจะดูจากความพร้อมก่อน

การเจรจา AEC ต้องดูอะไรบ้าง

  1. สินค้า ลดภาษี ภาษีนำเข้าเป็น 0
  2. ถิ่นกำเนิดสินค้า ช่วยให้เรามีการรวมตัวมากขึ้นเพื่อส่งไปต่างประเทศได้
  3. การกำหนดมาตรฐานสินค้า  ต.ย. มาตรฐานสินค้าไทยดีมาก

การเจรจาการค้าเสรีด้านการบริการ

1.การลงทุนเปิดโอกาสให้ประเทศในกลุ่ม AEC ถือหุ้นได้ 70% ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่าง Partner ทั้ง 2 ฝ่าย

2.การเคลื่อนย้ายแรงงาน มีกฎหมายต่างชาติ การเข้าเมือง ไม่ใช่ใครก็ตามสามารถทำงานได้ ต้องมีข้อตกลงระหว่างบริษัท กับบริษัทร่วมกัน และมีการส่งคนระดับผู้จัดการเข้ามาเป็นต้น

สรุปคือ

  • ปัจจุบันเป็นการค้าเสรีของการลงทุนและแรงงาน
  • ด้านรับ มีแรงงานต่างชาติเข้ามาลงทุนในชุมชนของเรา  ดังนั้นต้องคำนึงถึงความปลอดภัย คำนึงถึงความเข้มแข็ง สร้างแรงจูงใจให้คนในท้องถิ่นทำงานในถิ่นของตนเอง
  • ผู้ประกอบการท้องถิ่น และต่างชาติ ต้องดูว่าเขามาใช้ประโยชน์อะไรจากเรา เราสามารถรักษาวัฒนธรรมได้หรือไม่
  • นักท่องเที่ยวเยอะดีจริงหรือไม่

สรุปจากพี่จ้า

  • การเป็นตลาดเดียว ฐานการผลิตร่วม ความมีเอกภาพ และการทำงานร่วมกัน

ด้านพื้นฐาน

  • แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยว มีธรรมชาติที่น่าสนใจและสวยงาม แต่ขาดการดูแลสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ มีขยะเพิ่มมากขึ้น
  • แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและกิจกรรมอื่น ๆ ยังไม่ได้รับการสนับสนุน ไม่ได้มีการทำงานร่วมกัน
  • ภาคบริการ หลายส่วนมีภาคบริการที่พร้อม สถานการศึกษาพร้อม แต่อาจฝึกบุคลากรไม่ตรงตามความต้องการ สิ่งที่ควรทำคือฝึกบุคลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
  • ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวใหม่ไม่มีเลย เช่น ผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือวัฒนธรรม
  • ห้องพัก  โอเคสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ปัญหาคือห้องพักล้น ระวังเรื่องอาชญากรรม
  • สมาคมท่องเที่ยว มีความเข้มแข็งร่วมมืออย่างดี  แต่ยังไม่ทราบว่าร่วมมืออย่างไร
  • ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวต่างจังหวัดใช้หลักรัฐศาสตร์ควบคู่กับนิติศาสตร์
  • ขาดการสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร

จุดอ่อน

  • ขาดการอนุรักษ์ต้องเน้นความร่วมมือในทุกภาคส่วน
  • ความเปราะบางด้านการใช้พื้นที่และการใช้น้ำ
  • การประสานผลประโยชน์ไม่ลงตัว
  • ขาด Destination Management
  • การแบ่งผลประโยชน์มีความทับซ้อน ควรเน้นการจัดสรรผลประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศ

การพัฒนาทุนมนุษย์

  • คน และทรัพยากรมนุษย์ คนในภูเก็ตแท้ ๆ มีน้ำใจ มีความเป็น Thainess สูง มีเสน่ห์ของภูเก็ตซ่อนอยู่  คนมีพื้นฐานดีควรพัฒนาได้ เน้นการพัฒนาคนตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวได้พัฒนาอย่างดี แต่คุณภาพไม่ดี เราต้องมุ่งพัฒนาทุนมนุษย์เพิ่มขึ้นให้คนรุ่นใหม่มีความขยันมากขึ้น เน้นการจัดกลุ่มการพัฒนาให้ง่ายขึ้น
  • การสร้างชุมชนมุสลิมให้แต่ละภาคส่วนมีความร่วมมือกัน
  • การสร้างจิตสำนึกสำหรับคนด้านการท่องเที่ยว
  • การพัฒนามัคคุเทศก์
  • คนมาเลเซีย และพม่าเข้ามามากเป็นทั้งจุดอ่อน จุดแข็ง
  • การสร้างองค์ความรู้เรื่อง      AEC
  • บุคลากรมีเป็นกลุ่มและก๊วนมาก
  • เราต้องพัฒนาบุคลากรให้สามารถแข่งขันได้
  • การสร้างเสน่ห์ของคนภูเก็ตจาก Inner
  • การจัดโปรแกรมการสอนภาษา แยกเป็นระดับ ๆ
  • การติดต่อสื่อสารการทำงานไม่ดี ไม่มีเอกภาพ ขาดองค์รวมในเรื่องการทำงาน
  • ผู้นำท้องถิ่นขาดความรู้ความเข้าใจ
  • ผลิตคนไม่รองรับความต้องการอย่างแท้จริง
  • สร้างจิตสำนึกให้คนในภูเก็ตทุกด้าน
  • Culture Tourism อาหารเด่น ได้รับการยกย่อง แต่เราขาดการบอก Story
  • ชุมชนจะสร้างรายได้และทำให้เกิดความยั่งยืนได้
  • ร้านขายของที่ระลึกไม่มีคนพื้นเมืองเลย
  • สนง.การท่องเที่ยวจังหวัดขาดเจ้าภาพหลักในการให้องค์ความรู้และการสื่อสาร 2 ทาง
  • ความปลอดภัยทางทะเล ยังไม่มีเลย
  • ตลาด MICE ต้องช่วยกันผลักดัน
  • Wellness ,Medical ,Health Spa ช่วยสร้างจุดแข็งในภูเก็ตได้
  • สร้าง Productivity ลงทุนน้อยได้ศักยภาพเยอะ ต้องทำ Projection ว่าแข่งกับต่างชาติได้อย่างไร
  • รัฐเพิ่มตัวเลขนักท่องเที่ยวแต่ไม่สนับสนุนความยั่งยืน
  • ผู้นำมีปัญหาขาดการทำงานต่อเนื่อง
  • การนำแหล่งท่องเที่ยวไปชุมชน
  • ความเข้มแข็งภาคส่วนต่าง ๆ ในภูเก็ต การสร้างรายได้เข้าไป หาวิธีการ  สร้างความเชื่อมโยงในทุกภาคส่วน เช่นสิงคโปร์สามารถใช้ฐานทรัพยากรมนุษย์ในการตั้งรับได้ เอาหัวสมองไปทำงาน
  • ถึงไม่มี AEC คนภูเก็ตต้องพัฒนาเพื่อความอยู่รอด และยั่งยืน

 

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group)

โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 

กลุ่มภาคใต้

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555  

กลุ่มการกีฬาเวลา 13.00 – 16.00 น.

ณ  ห้องประชุมคณะวิทยาการจัดการ (ห้อง 512) มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

 

เกริ่นนำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • กีฬามีความสำคัญต่อทุนมนุษย์อย่างยิ่งถ้าทำให้คนไทยมีสุขภาพดีจะลดต้นทุนการรักษาพยาบาล
  • กีฬาคือการทูตภาคประชาชนที่สร้างความรู้ ความเข้าใจในกลุ่มประเทศอาเซียน เรื่องเศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคมวัฒนธรรม และการสร้าง Connectivity
  • กีฬาน่าจะเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อย่างเช่น Youth Camp  และในด้านวิชาการน่าจะสนใจวิทยาศาสตร์การกีฬาให้มากขึ้น มหาวิทยาลัยน่าจะมีประโยชน์ร่วมกัน
  • เสนอสถาบัน Sport Academy ในอาเซียน มีการวิจัย อบรม เอาวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้าไปด้วย อยากให้มีการมองอาเซียนก่อนแล้วต่อไปถึงระดับโลก
  • อยากให้พื้นฐานกีฬาในไทยมีความมั่นคง สนใจกีฬาเยาวชน กีฬาพื้นฐาน ปัจจุบันมีแผนกีฬา 5 ปี แต่แผนเหล่านั้นไม่มีงบประมาณเลย กีฬาพื้นฐาน กีฬามวลชน เราละเลยมาก เราต้องเปรียบเทียบ Benchmark กีฬาในต่างประเทศด้วย
  • ธุรกิจทางการกีฬาน่ามีการเชื่อมโยงกับกีฬาด้วย
  • กีฬาในเมืองไทยต้องเปลี่ยนค่านิยม กีฬาน่าจะเป็นนโยบายของการพัฒนาทุนมนุษย์ในภาพกว้าง
  • การกีฬาต้องมองตัวละครให้ดี ตัวละครที่ขับเคลื่อนมีหลายกลุ่ม  เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาความมั่นคง ต้องสร้างความพร้อมในธุรกิจ และ Sport Entrepreneur ในอนาคตน่าจะมีการฝึก Sport Entrepreneur ทำไมไม่จัดเหมือนพัทยา เหมือนเทนนิสในระดับโลก
  • ให้มองกีฬาเป็นยุทธวิธีมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • การทำวิจัยอย่าทำในทุกเรื่อง แต่สามารถเลือกกีฬาบางชนิดที่จะพัฒนาไปสู่ระดับโลก ตัวละครคือ นายกสมาคมกีฬาทุกประเภท

การเข้าสู่ AEC เรื่องกีฬา

1.การแข่งขันเพื่อให้ AEC สู่ความเป็นเลิศ

2.ความร่วมมือใน AEC  เช่นการทูตภาคเยาวชน ,การทำ Sport  Tourism ,ไตรกีฬา

รองอธิการ ชัยธนัตถ์กร

  • กีฬาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในกลุ่มประเทศที่เจริญแล้ว ประเทศเหล่านั้นจะส่งเสริมให้คนเล่นกีฬาตั้งแต่เยาวชน อยากให้มีกีฬาเป็นพื้นฐานในทุกสังคมของประเทศไทย
  • สมาคมกีฬาหรือผู้จัดการทั้งหลาย ควรสร้างมาตรฐานและพื้นฐานให้กับเยาวชนเพื่อต่อยอดเป็นอาชีพได้
  • สมาคมกีฬาในประเทศไทยควรเน้นการมีส่วนร่วมมากขึ้นทำลักษณะ Academy เป็นการกระจายผลประโยชน์ลง ทำให้สามารถเชื่อมโยงธุรกิจกีฬาได้
  • กีฬาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ทุกด้าน ถ้ามีพื้นฐานดีจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้สังคมไทย ปัญหาสังคมจะลดลง

 

กีฬานกกรงหัวจุก

  • เป็นการละเล่นประเพณีพื้นบ้านของภาคใต้ เริ่มจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกีฬาอาเซียน มีการแข่งขันอาเซียนทุกปีที่ยะลา มีการลงที่กินเนสบุ๊กส์ด้วย
  • เป็นสัญลักษณ์ของการแข่งขันที่ให้ความสนุกสนาน ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้น เช่นทำกรงนก อาหารนก เป็นประเพณีพื้นบ้าน เป็นการแข่งอาเซียน มีการจัดทุกปีที่วัดไร่ขิงนครปฐมจะได้รับพระราชทานรางวัลจาก ในหลวง และราชินี
  • มีการแข่งขันระหว่างชาวไทย ชาวมาเลเซีย  และชาวสิงคโปร์
  • มีการเพาะพันธุ์นกได้
  • มีสมาคมอนุรักษ์ นกกรุงหัวจุก
  • การสื่อสารจะใช้การสื่อสารด้วยโปสเตอร์ มีการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษามาลายูในการสื่อสารอย่างง่าย ๆ

กีฬาพื้นบ้านนกกรุงหัวจุก คิดว่าไทยมีศักยภาพมากพอหรือไม่

  • คิดว่าไทยมีศักยภาพพอ  ไทยนับว่าเป็นเจ้าภาพที่ดี
  • นับว่าเป็นการรวมตัว และมีการสื่อสารที่ดีระหว่างชาวบ้าน และประเทศเพื่อนบ้าน
  • การส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม และสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน สร้างรายได้ให้ชุมชนเช่นการทำกรงนก
  • การมาพักของชาวต่างชาติ และชาวต่างจังหวัดถ้ามาแข่งนกจะเปิดโรงแรมพัก
  • ประเทศไทยเป็นคนจัดทุกปีแต่อยู่ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • การเก็บนกอยู่ที่ห้อง ตัวที่เป็นแชมป์ราคาตัวละ 2 ล้าน  ต้องเปิดห้องเฉพาะนกอย่างเดียว ไม่เปิดแอร์
  • ที่ภูเก็ตเริ่มเป็นประเพณี ปัจจุบันนี้นับว่าเป็นปีที่ 2 ที่จัดที่ราชภัฏภูเก็ต จัดสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคมทุกปี กำไรมอบให้มัสยิด โรงเรียน วัด

สนามกีฬาในระดับนานาชาติของภูเก็ต

  • มีไม่พอ ไม่ได้มาตรฐาน ต้องปรับปรุงเยอะ งบประมาณไม่เพียงพอ
  • ที่เป็นมาตรฐานระดับโลกคือกีฬาทางทะเล เช่นกีฬาเรือใบ  สนามที่เห็นมี Regatta ,Race Week
  • ทะเลของไทยมีมาตรฐานอยู่แล้ว
  • การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด นับว่าเป็นกีฬาระดับโลก แข่งช่วงต้นพ.ย. อยู่หน้าโรงแรมที่หาดกะรน
  • สนามฟุตบอลของรัฐบาลอยู่บนแหลมพรมเทพ มีบรรยากาศ และวิวแบบพาโนรามาสามารถพัฒนาเป็นสนามฟุตบอลนานาชาติ สามารถพัฒนาเป็นสนามไว้ซ้อมฟุตบอลกีฬาจากทั่วโลก
  • สนามฟุตบอลที่โรงเรียนบ้านน้ำเมา ที่น่าจะเป็นสนามฟุตบอลนานาชาติได้

มีแนวคิดจัดเทนนิสทัวร์นาเม้นเหมือนอย่างที่พัทยาโอเพ่นหรือไม่

  • ตอบ ต้องการจัดหมด แต่ขาดเรื่องเงินทุน
  • มีที่ธัญปุระ ตรงถลาง (โรงแรม ที่พัก โรงเรียนนานาชาติ สปอร์ตคอมเพล็กซ์) ใหญ่มาก

สนามกอล์ฟที่ภูเก็ตเป็นอย่างไร

  • การจัดกอล์ฟระดับนานาชาติเริ่มแผ่วลงไป (ราคาที่ภูเก็ตสูงมาก แต่ฝั่งอ่าวไทยราคาถูกกว่าจึงทำให้คนนิยมใช้มากกว่า)
  • การขยายกลุ่มฐานลูกค้าควรขยายให้มากกว่านี้ เนื่องจากมีกำลังจ่ายสูง มีความถี่สูงในการใช้บริการ  อุปกรณ์กอล์ฟสามารถเป็นน้ำหนัก Extra ได้สามารถส่งเสริมกีฬาท่องเที่ยวตรงนี้ได้

กลุ่มกีฬาที่น่าสนใจในภูเก็ต

  • Kite Surf , Para griding
  • ต่อยอดไปที่งานเย็บผ้าใบ มีการทำบอร์ดของเซิร์ฟบอร์ด  มีแนวทางการเรียนรู้การต่อเรือจากต่างประเทศได้
  • มวยไทยที่ภูเก็ต มีโรงเรียนสอนมวยไทยที่หาดราไวย์เยอะมาก มีชาวต.ป.ท.เปิดสอนมวยไทย และขายอุปกรณ์มวยไทยด้วย มีกลุ่ม K 5,K 1 จากต่างชาติชอบมาเมืองไทย  มีข้อมูลให้ผู้ที่สนใจเรียนมวยไทยทราบว่าสามารถไปเรียนที่ไหนได้บ้าง  มีการต่อยอดในธุรกิจอุปกรณ์มวยไทย และสร้างอาชีพในชุมชนได้ด้วย  แบ่งเป็นการฝึกออกกำลัง และการโชว์

รัฐควรเข้าไปควบคุม

จุดอ่อนคือ

-          ทิศทางมวยไทยเป็นในทางตรงกันข้ามที่ต้องการพัฒนาด้านศิลปะ แต่เน้นมวยไทยในลักษณะธุรกิจมากเกินไป ทั้งที่ความจริงแล้วมวยไทยเป็นศาสตร์และศิลป์ของการต่อสู้ ป้องกันตนเอง และศิลปวัฒนธรรม แต่ถ้าต่างชาติเปิดโดยไม่รู้จริงจะเป็นการทำลายมวยไทย

-          ขาดมาตรฐาน

-          มองในเรื่องการตลาดมากเกินไปเช่น ต่างชาติที่ชอบความรุนแรง ผิดวัตถุประสงค์ของกีฬา

  • กีฬาดำน้ำ มีการทำลายสิ่งแวดล้อมเยอะ ความเสื่อมโทรมของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ที่ถูกมนุษย์ทำลาย  ต้องเข้ามาดูมาตรฐานมากขึ้น  คนดำน้ำต้องห้ามใส่ถุงมือและห้ามโดนอะไรเลย ต้องมีความเข้มงวดมากกว่านี้ ควรมีกฎเกณฑ์ในการบอกว่าห้ามโดนปะการัง โดนปลา  มีการจำกัดจำนวนคนดำน้ำ ควรมีการอนุรักษ์ Dive side  คนที่ผ่านหลักสูตรดำน้ำต้องผ่านโรงพยาบาลมีการตรวจร่างกายว่าสมควรดำน้ำหรือไม่
  • รถแข่ง มาราธอน ลากูนา ไตรกีฬา ตกปลา (เน้นการสร้างเอกลักษณ์ของภูเก็ตว่าเป็นอย่างไร)
  • ปี 57 เป็นเจ้าภาพเอเชียจัด Asean Beach ได้อานิสงค์จัดสถานที่การแข่งขัน สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการรองรับได้

จุดอ่อน กีฬาไม่มีการประสานกัน การให้ท้องถิ่นส่งเสริมกีฬาในพื้นที่ กีฬาพื้นบ้าน กีฬานันทนาการ  การบริหารจัดการไม่เป็นการบูรณาการกัน  ส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพ กีฬามวลชน

  • การแข่งขันกีฬายิงปืน มี 2 สนาม ในภูเก็ตมีนักกีฬายิงปืนเก่ง ๆ ถึง 2 ท่าน
  • การกีฬาเพื่อการพักผ่อน (Leisure Sport) มี Hub ของการแล่นเรือ เป็นแหล่งในการหยุดพัก เป็นแหล่งเติมทรัพยากร อาหาร จุดพัก  เป็น Local Economic
  • การแข่งขันเครื่องบิน และเรือวิทยุบังคับ กลุ่มตลาด Market Segment น่าจะมีอยู่

ศักยภาพพื้นที่ของภูเก็ต

  • ภูเก็ตมีความพร้อมอยู่แล้วในหลาย ๆ ด้าน

การนำเสนอแผนของกกท.

  • ต้องทำในลักษณะภาพรวม ไม่สามารถทำเฉพาะกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งได้ ถ้าเป็นกิจกรรมจะเป็นลักษณะของการใช้เงินสนับสนุน
  • ต้องการทำการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

ข้อเสนอแนะ

  • การทำคู่มือ Blueprint
  • การทำ Sport Camp on the island หรือ Island Golf เนื่องจากภูเก็ตมีภูมิประเทศเป็นเกาะเยอะ สามารถพัฒนาเป็นเครื่องมือทางการท่องเที่ยวได้อย่างดี  การดูแลควรเป็นของส่วนกลาง มีผู้ประกอบการลงทุนที่สนามธัญปุระ แต่คนในพื้นที่อาจไม่ทราบเนื่องจากไม่ได้ประชาสัมพันธ์คนในพื้นที่ และมีราคาสูงแต่ในระดับนานาชาติจะทราบดีเพราะมีการมาทำ Camp
  • การตรวจสุขภาพร่างกายของคนเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ
  • ควรมีการดูแลเรื่องความปลอดภัย

เรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา

  • เป็นเรื่องที่พยายามนำมาใช้ในการพัฒนากีฬา ถูกนำไปใช้ในอาชีพกีฬาเป็นส่วนใหญ่
  • มีความรู้เรื่องการสร้างสมรรถนะทางกายของการกีฬา ตามหลักโภชนาการโดยทางสถิติ แต่ส่วนใหญ่ที่จบมาจะไปอยู่ด้านโรงแรม ด้านโภชนาการ
  • ในด้านอาชีพการกีฬา กกท. ดูอยู่ การส่งเสริมวิทยาศาสตร์การกีฬานำมาใช้ไม่มากเนื่องจากส่วนใหญ่เน้นเรื่องกีฬามวลชนอยู่
  • บุคลากรทางการกีฬา อุปกรณ์ทางการแข่งขัน สถานที่และการบริหารจัดการ ภูเก็ตรองรับได้แค่ระดับเยาวชนแห่งชาติ แต่ในระดับโลกยังทำไม่ได้ แต่สามารถทำได้ในลักษณะภูมิประเทศที่สวยงาม
  • ที่ราชภัฏภูเก็ตมีในวิชาพลศึกษา ถ้ามีการปรับปรุงจะสามารถนำมารองรับกิจกรรมทางการกีฬาได้ ยังไม่มีวิทยาศาสตร์การกีฬา เพราะคิดว่ายังไม่มีตลาดในการรองรับนักศึกษาที่จบออกมา   มีการทำหลักสูตรนักกีฬาทางทะเล  สร้างกีฬาให้สอดคล้องกับ 3 เสาของอาเซียน เรื่องเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และความมั่นคงของอาเซียน
  • คนที่จบวิทยาศาสตร์การกีฬาส่วนใหญ่ภาคเอกชนจะดึงไว้ในเรื่องการจ้างงาน ถ้าภาครัฐสนใจควรจัดหาตำแหน่ง และหาเงินสำหรับผู้ที่จบวิทยาศาสตร์การกีฬา

 

สรุปพี่จ้า

  1. Pilot Project เช่น การดูสนามทำเทนนิสระดับโลก สนามฟุตบอลนานาชาติ ต้องวางวิธีการบริหารจัดการที่ดี ขาดการเชื่อมโยง การบริหารภาครัฐยังไม่เหมาะสม การตักตวงผลประโยชน์ กฎหมาย กฎเกณฑ์ การบังคับใช้ ขาดการบูรณาการเชื่อมโยงทุกภาคส่วน
  2. การสร้างความรู้ในการเล่นกีฬาเช่น กีฬาดำน้ำ
  3. การสร้างบุคลากรรองรับทางด้านกีฬา การมองอนาคตไปข้างหน้า

ดร.จีระ

  1. สิ่งที่เกิดขึ้นต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง ปัญญาคือมูลค่าเพิ่ม
  2. กีฬามีความหลากหลาย
  3. กีฬาต้องสร้างความยั่งยืนได้
  4. นักกีฬาที่ดีต้องรู้แพ้ รู้ชนะ
  5. กีฬาควรมีการผสานไปกับการเรียนด้วย ไม่ใช่แยกกีฬากับการเรียนออกจากกัน
  6. มีกีฬามากมายที่สามารถยกในระดับอาเซียนด้วย

               เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผมและคณะ ได้ไปทำวิจัยเรื่องการท่องเทียวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่ภูเก็ต

                ในช่วงนี้ ถึงแม้จะเป็นช่วง Low season แต่ภูเก็ตก็ยังดังไปทั่วโลก เพราะมีนักกีฬาชื่อดังอย่าง Christiano Ronaldo  จากทีม Real Madrid และ Nani จากทีม Manchester United  มาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข 5-6 วัน แถมแต่ละท่านก็พาแฟนสาวสวยมาด้วย

                ภูเก็ตอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เพราะ ความเป็นธรรมชาติ  การดูแลสิ่งแวดล้อม การจราจร และความปลอดภัย  คือ ยุทธวิธีที่สำคัญ + คุณภาพของทุนมนุษย์ ในสาขาการท่องเทียว เช่น คุณธรรม จริยธรรม ความยั่งยืน ในกลุ่มผู้ประกอบการ  ในกลุ่มผู้นำท้องถิ่น  ในกลุ่มข้าราชการ จะต้องรวมตัวกันพัฒนาศักยภาพดังกล่าว และทำงานร่วมกันเป็นทีม

                ผมขอขอบคุณท่าน รศ.นิศา ชัชกุล รองอธิการบดี จากมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต และนักศึกษาปริญญาเอกทุกท่าน ที่ต้อนรับผมและทีมงานเป็นอย่างดี ผมจะเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้อีก 10-20 ปีข้างหน้า เราจะยังคงมีนักท่องเที่ยวมาเหมือนเดิม

                  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท