การศึกษาไทยกับ IT


การศึกษา 2020 .ในอนาคต

วันนี้ต้องขออภัยกันซักนิดหากว่าใช้ระบบหรือใช้คำใดไม่เหมาะสมเพราะเพิ่งเปิดประเดิมเป็นสมาชิกวันแรก สังเกตเห็นหัวข้อนำเสนอด้านบทเลยอยากขอพูดคุยแลกเปลี่ยนด้วยซักคน

--------------------------------------------

ฝันถึงการศึกษาไทยในอีก ๑๐ ปี

๑. อยากให้ระบบการศึกษาเลิกและวัดมาตรฐานบุคลากรด้วยกระดาษ ความเป็นจริงที่เราทราบกันดีว่ามีอีกมากที่ครูขาดไม่เพียงพอ นอกเหนือจากอัตรามาจากการอบรมและจัดประชุม  โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่มันสามารถลดภาระและงบประมาณได้  จากประสบการณ์ที่ผ่านมาแทบจะไม่เห็นได้เลยว่าผลตอบสนองจากการวัดด้วยกระดาษนั้นมันสัมฤทธิ์ผลด้วยภาพหรือความจริง   ที่สำคัญ ระบบมาตราฐานที่สร้างก่อให้เกิดธุรกิจการศึกษาโดยไม่รู้ตัว  มากมายเสียจนไม่รู้ว่า คุณภาพของผู้เรียนแท้จริงเกิดจากระบบการศึกษาภายนอกหรือในโรงเรียน  

ยกตัวอย่าง  การจัดเรียนกวดวิชา หารายได้เสริม

๒. ระบบควรจัดแยกการทำงานด้านการศึกษาให้ชัดเจน เพราะปัจจุบันครูหลายๆท่านงานล้นมือทั้งงานนอกงานใน และเดินสายประชุม  อบรม  คงดีกว่านี้มากมาย  ถ้าผู้สอนได้รับและดูแลงานสอนได้เต็มที่ มีเวลาสร้างวิจัยผลงานจริงๆ มากกว่าต้องจัดสรรเวลาว่าจ้าง  กันเป็นหมื่นเป็นแสน ท่านเชื่อไหมละว่านี่คือความจริงของชีวิตครู  ซึ่งถามว่าหลายท่านอยากทำเช่นนั้นหรือก็เปล่า

๓. การศึกษารุ่นใหม่ใส่ใจเทคโนโลยี  เป็นสิ่งที่ดีเหลือกำลัง  ยิ่งอีกไม่กี่วันข้างหน้าการร่วมเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน ก็ดูจะเป็นเรื่องใกล้ตัวเข้ามาทุกที  หากเรายังมึนๆกันแบบนี้เห็นทีจะไม่ทันเพื่อนบ้าน  ยิ่งระบบเปิดกว้างการทำงานในอนาคตที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้  ดูจะต้องคิดมากที่เดียวถ้าบรรดาครูของเราไม่ตื่นตัวกระตุ้นเร้าลูกศิษย์  แต่ติดเสียที่่ว่า  ปัจจุบันไอทีที่มี มันซ้ำๆ ลอกไปลอกมา เสียจนไม่รู้ว่าต้นฉบับจริงอยู่ตรงไหน  ผลที่เห็น ตามมาด้วยกลยุทธเรียนรู้แบบไอทีที่ครูสอนแบบส่งๆ  ต้องการเพียงงานโดยไม่ดูที่มา  จึงพบว่า  งานเกิดจากการคัดลอกด้วยรูปแบบเทคโนโลยี และด้วยเงิน การลงทุนขอนักเรียนเพื่อชิ้นงาน  จะดีกว่านี้ไหมในอีก ๑๐ ปีที่ครูจะมีเวลาให้เดกมากขึ้น 

๔. การเรียนรู้ของเด็กเห็นผลจากการกระทำจริงได้ ก็อยากให้ ระบบการพัฒนาบุคคลากรเป็นเช่นนั้นตาม  จะเห็นได้ว่า เรามีการอบรมกันมาก แต่การปฏิบัติตามเราน้อย  ทำไว้ก้แค่กันการประเมิน ตรวจคราวหนึ่งเอกสารก้รื้อมาคราวหนึ่ง

๕. อีก ๑๐ปีโรงเรียนแนวใหม่ควรเกิดแล้ว ด้วยเทคโนโลยีที่ให้อิสระต่อการเรียนรู้ภายใต้กรอบการควบคุม  นักเรียนคิดเป็น และเข้าใจตนเองได้ โดยรูปแบบการศึกษาที่จัดฝึกและพัฒนาจากสภาพจริง เช่น การเรียนลูกเสือ จัดเป็นจิจกรรมนอกเวลา ภาคบังคับที่ทุกคนต้องฝึก นักเรียนทุกคนมีกิจกรรมต้องรับผิดชอบตามความสนใจ ในช่วงบ่าย เพื่อฝึกพัฒนาตนเองเช่น ดูแลเดกเล็ก งานอาสา เป็นต้น 

๖. ระบบการเรียนการสอน ควรกระชับเจาะตรงเหมือนเรียนกวดวิชา  ทำไมเราต้องเรียนกวดวิชา  ทั้งๆที่เรามีครูใน โรงเรียนอยู่แล้ว  เด็กปัจจุบันเรียนเช้าจรดค่ำ แม้กระทั่งเสาอาทิตย์  เพื่ออะไรในเมื่อสมองมีขอบเขตจำกัดการรับรู้ต่อวันเราๆท่านๆก็ทราบดี  

๗. ข้อนี้เป็นความฝันมานานนับ 20 ปี นับตั้งแต่ ระบบดอส เพิ่งเข้ามาในระบบการศึกษา  เป็นความฝันทุกครั้งว่าทำไมเราต้องโรเนียวกระดาษ แล้วก้ทิ้ง หรือชั่งกิโลขาย  อยากให้เทคโนโลยีมาช่วยในการทดสอบ  สอบเมื่อไรก็ได้ภายใต้ขอบเขตที่กำหนด  ผู้เรียนศึกษาด้วยตัวเองได้จากสื่อทุกที่ หรือเวบของผู้สอน แล้วจัดสอบทำไมต้องรอสอบ ตามตาราง  ข้อสอบที่ใช่เทคโนโลยีช่วยมันสร้างง่าย ถ้าเรากำหนดรูปแบบวิธี และวางรูประบบป้องกัน

ไม่ทราบว่าอนาคตจะเปลี่ยนแปลงได้แค่ไหน  เท่าที่ทำได้เราควรทำวันนี้ให้ดีที่สุด  วันนี้นักวิชาการยังคงระดมความคิดและคิด  แต่ลืมไปหรือเปล่าว่าคนที่รับสนองความคิดของท่านไปปฏิบัติ  มันอึดอัดเหลือกำลัง...

ครูดีๆจะเหลือให้ใจกับศิษย์อีกซักกี่ท่าน ครูใหม่ ยังใหม่เกินไปสำหรับประสบการณ์ครู ทักษะยังสู้ความรู้ที่จบไม่ได้   ท่านว่ายังงัย

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาไทย 2020
หมายเลขบันทึก: 494654เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ยากให้ความฝันไว้ เป็นความจริง จริงๆๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

@Somsri ขอบคุณค่ะ จริงๆเราๆท่านๆก็ทราบถึงปัญหาว่าไหมคะ ^ ^

กดผิดกดถูก นี่ละความจริงของครูรุ่นเก่ากับเทคโนโลยีรุ่นใหม่ กลับมากดขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ให้กำลังใจในการแสดงความคิดเห็นค่ะ

สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญของคุณครูที่มีความตั้งใจอุทิศเวลาให้กับนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนการสอนก็คือการถูก"ขัดจังหวะ"(Interruption) เพราะไม่ใช่ว่าเราจะเสียเวลาไปเพียงเท่าที่ถูกขัดจังหวะเท่านั้นนะครับ ก่อนหน้าหรือหลังจากเหตุการณ์นั้นมันยังมีผลข้างเคียง(Side Effect)ตามมามากกว่าที่เราคิด เช่นการถูกประเมินภายนอกสามวันอาจต้องมีสามเดือนก่อนหน้าและอีกสามสัปดาห์หลังจากนั้นที่ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับที่ท่านเองก็คงไม่พอใจ

ความถี่ของการถูกขัดจังหวะยิ่งมากเท่าใด เวลาที่เด็กควรจะได้ก็ยิ่งน้อยเท่านั้นครับ

สำหรับเรื่องปัญหาการใช้ไอทีมักจะมาจากเรายึดเอามันเป็นสาระสำคัญที่จะใช้แก้ปัญหาให้ได้สารพัด แทนที่จะเป็นแค่เครื่องมือ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท