สำนวนไทยชวนให้สืบ ๒ ปลาติดหลังแห


พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย

สำนวนไทยชวนให้สืบ  ๒

     ปลาติดหลังแห

 

 

            เมื่อครั้งเป็นนักศึกษา ได้เรียนเกี่ยวกับการสัมมนาการใช้ภาษาไทย และได้ร่วมกันอธิบายเกี่ยวกับสำนวนไทย เห็นว่า น่าจะนำมาเสนอเกี่ยวกับที่มา ความหมาย และยังเป็นการอนุรักษ์ วัฒนธรรมด้านภาษา บันทึกที่แล้ว  สำนวน “ผีซ้ำด้ำพลอย” บันทึกนี้ นำสำนวน “ปลาติดหลังแห” มาเสนอ

            (ภาพ : ภาสกร)

            ปลาติดหลังแห สำนวนนี้ ตามพจนานุกรม ให้ความหมายว่า (สำ) น.คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้งๆที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย ปลาติดร่างแห ก็ว่า

                    (ภาพ :ภาสกร)

            สำนวนนี้ มาจาก อาชีพการจับปลา ของชาวบ้าน ที่ใช้แห โดยชาวบ้านจะไปทอดแห ลักษณะของแห ที่ตีนแห จะถ่วงด้วยห่วงที่ทำด้วย ตะกั่วเป็นโซ่ ร้อยเรียงจนรอบแห  เพื่อให้แหจมน้ำได้อย่างรวดเร็ว ไม่อย่างนั้นจะไม่ทันปลาเวลาทอดแหปลาจะตกใจ และให้จมสนิทกับพื้นดิน ป้องกันการเล็ดลอดของปลา ที่ตีนแห จะมีเชือกด้ายเส้นเล็ก ๆ  โยงตีนแหขึ้นไปผูก กับร่างแหสูงประมาณ คืบ เป็นช่วง ๆ จนรอบตีนแหเรียกว่า เคราแห คล้ายกระเป๋าให้ปลาเข้าไปอยู่เวลาทอดแห เวลาทอด ค่อย ๆดึงแหขึ้นมา ปลาส่วนมากจะติดที่เคราแห มีบางตัว ที่ตกใจจะทะลึ่งขึ้นไปติดที่ร่าง หรือหลังแห ทั้งติดที่เคราแห และร่างแห ก็ติดแหขึ้นมาด้วยกัน โดยมาก เราจะเห็นที่ร่างแหหรือหลังแหก่อน กว่าจะลากแหขึ้นพ้นน้ำ จึงฝังใจ

 (กำลังปลดปลาออกจากเดราแห บางครั้งก็ได้หอย:ภาพภาสกร)

 

            ดังนั้น คนจึง เรียกสำนวนนี้ว่า ปลาติดหลังแห หรือร่างแห ไม่เรียกปลาติดแห หรือปลาติดตีนแห  เหมือนคนที่ไปนั่งดูเขาเล่นไพ่ เวลาตำรวจจับ ก็พลอยโดนจับไปด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เล่น เหมือน “ปลาติด หลังแห” ถึงจะไม่ติดเคราแห ก็โดนจับไปต้มแกงด้วย สำนวนนี้จึงนำมาใช้ ในความหมาย พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย แต่โดยมากเราจะได้ยินว่า “ปลาติด ร่างแห” มากกว่า “ปลาติด หลังแห”  . สวัสดีครับ

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 494295เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เชิญชวนอนุรักษ์ภาษาไทยครับ

ใช้ “ปลาติด ร่างแห” มากกว่า “ปลาติด หลังแห” ....

.... ได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่นทั้ง ๆที่ไม่ได้มีส่วนพัวพัน


ขอบคุณมาก สำหรับบทความดีดีนี้นะคะ

  • แวะมาเยี่ยมทักทายค่ะ
  • เขียนได้น่าสนใจดีค่ะ
  • ขอบพระคุณที่ไปให้กำลังใจ
  • อีกสำนวนหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ "น้ำร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย"
    ว่าง ๆ ช่วยนำเสนอนะคะ 

ขอบคุณสมาชิก GTK ทุกท่านที่ แวะมาเยือน ให้กำลังใจ

 สำหรับสำนวน "น้ำเย็นปลาตาย"ที่คุณครูทิพย์ สนใจ หมายถึง น้ำคำ หรือคำพูดที่อ่อนหวานไพเราะ ซึ่งทำให้ถูกใจผู้ฟัง แต่อาจเป็นโทษเป็นภัยได้ ( เปรียบ ตาย โทษ จากถ้อยคำ) สำนวนนี้ มักใช้คู่กับ "น้ำร้อนปลาเป็น" หมายถึง น้ำคำ หรือคำพูดที่ ตรงไปตรงมา แบบขวานผ่าซาก อาจไม่ถูกใจผู้ฟัง แต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย(เปรียบ ปลาเป็น) มักใช้คู่กับ น้ำเย็นปลาตาย  ดังนั้นเรามักได้ยินพูดร่วมกัน ว่า "น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย" ที่จริงเป็น สองสำนวน สวัสดีครับ

ขอบคุณครับสำหรับความรู้ใหม่ๆ ทั้ง ปลาติดร่างแห และ น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเป็นปลาตาย สำนวนหลังเพิ่งจะเข้าใจความหมายและที่มาก็วันนี้แหละครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ ( ภาพถ่ายสวยดีครับ ...คนถ่ายคงจะหน้าตาดีแน่นอน อิอิ )

สวัสดีค่ะอาจารย์ ชอบมากที่บันทึกเรื่องการอนุรักษ์ คำไทย น้ำคำ สุภาษิต สำนวน เพราะสมัยนี้จะลืมใช้กันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท