ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

คิดสร้างสรรค์


ปัจจัยข้างต้นจึงเป็นที่มาของคนไทยที่ไม่ชอบคิดสร้างสรรค์ สินค้าใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ จึงไม่เกิดขึ้นในเมืองไทยมากมาย แต่ตรงกันข้ามสังคมไทยเป็นสังคมที่ชอบลอกเลียนแบบ เช่น การลอกเลียนแบบ เพลง ภาพยนตร์ โดยการ Copy ขาย ฯลฯ ดังนั้นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไป

ความคิดสร้างสรรค์

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

                เมื่อพูดถึงเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ในประเทศไทยเรา เรายังมีความคิดสร้างสรรค์กันน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอเมริกา ซึ่งมีนักคิดสร้างสรรค์และสามารถสร้างผลงานใหม่ๆ ให้เป็นประโยชน์แก่โลกของเรามากมาย เช่น

-                    โทมัส อัลวา เอดิสัน คิดค้น หลอดไฟฟ้าหลอดแรกของโลกได้ ซึ่งทำให้โลกของเรามีความ

สว่างในเวลากลางคืน

-                    สองพี่น้องตระกูลไรค์ คิดค้นเครื่องบินลำแรกของโลกได้สำเร็จ ซึ่งทำให้เราสามารถเดินทาง

ข้ามทวีปได้อย่างง่ายดายกว่าในอดีต

-                    ฟิโล เทย์เลอร์ ฟาร์นสเวิร์ธ ชาวอเมริกัน ผู้ที่คิดค้นโทรทัศน์เครื่องแรกของโลก

-                    สตีฟ จอบส์   คิดค้นสินค้าตระกูล I ซึ่งทำให้เราได้ใช้สินค้าที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น

ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง การคิดสิ่งใหม่ๆ

(Creative thinking) เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่แตกต่างไปจากสิ่งที่มีอยู่เดิมและใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม  องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์             ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ (New, Original) ใช้การได้ (Workable) และมีความเหมาะสม (Appropriate)

                                เช่นกระผมปัจจุบันทำงานเป็นวิทยากรอิสระ หากว่ากระผมแก้ผ้าไปบรรยาย พวกเราคิดว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ไหม เนื่องจากเป็นสิ่งใหม่ กระผมขอตอบว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งใหม่ก็จริง แต่มีความไม่เหมาะสมและใช้ประโยชน์ไม่ได้เนื่องจากผิดมารยาททางสังคม จึงไม่ถือว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์

ทำไมคนไทยเราถึงมีความคิดสร้างสรรค์น้อยกว่าสังคมอเมริกา อาจเนื่องมาจากหลายสาเหตุเช่น

1.สังคมไทยเป็นสังคมที่พึ่งพาผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสมากกว่าพึ่งพาตนเอง เช่น ลูกพึ่งพาพ่อแม่ถึงแม้ลูกจะ

หางานทำมีงานทำแล้ว แต่ลูกบางคนยังขอเงินพ่อแม่อยู่ , ผู้น้อยพึ่งพาผู้ใหญ่ สังคมไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ เป็นสังคมที่มีเส้นมีสาย , สังคมไทยเมื่อมีปัญหามักจะพึ่งพาผู้มีอำนาจ ผู้ที่มีเงินมากกว่าที่จะระดมความคิดแก้ไขปัญหากันเอง

                2.ระบบการศึกษาของไทยมักสอนให้เด็กท่องจำมากกว่าสอนให้คิดเอง เมื่อตอนเด็กๆ เรามักได้ทำข้อสอบที่เป็นปรนัย( กขคง)มากกว่าข้อสอบอัตนัย(เขียนบรรยาย) เช่น เราเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับประเทศพม่าครั้งที่หนึ่งในสมัยของใคร ก.พระเจ้ามหาราช       ข.พระเจ้าอู่เงิน   ค.พระเจ้าอู่ทอง ง.ผิดหมดทุกข้อ

แต่หากข้อสอบเป็นอัตนัย(เขียนบรรยาย) ก็จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนได้คิดมากขึ้น เช่น ท่านคิดว่าหากเปลี่ยนประวัติศาสตร์ได้ ท่านมีวิธีใดที่จะไม่ทำให้กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่าในครั้งที่หนึ่ง

                3.คนไทยส่วนใหญ่มักคิดว่าตนเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องของพรสวรรค์ มากกว่าพรแสวง เช่น เห็นนักวาดรูป ศิลปิน นักแต่งเพลง ฯลฯ คนไทยมักคิดว่าเราสร้างสรรค์งานเหล่านี้ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของพรสวรรค์ แต่แท้จริงแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ เราสามารถสร้างและพัฒนาได้ ฝึกฝนเรียนรู้ได้

                4.สังคมไทยเป็นสังคมที่กลัวความล้มเหลว เรามักได้ยินคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ผิดเป็นครู” แต่เรามักไม่ชอบในครูคนนี้สักเท่าไร แต่ตรงกันข้ามกับสังคมอเมริกาที่คนของเขากล้าที่จะล้มเหลว โดยไม่กลัวความล้มเหลว เนื่องจากคนของเขาคิดว่า ยิ่งล้มเหลวมาก ยิ่งประสบความสำเร็จมาก ดังเช่น บุคคลที่กระผมกล่าวในข้อความข้างต้น  เอดิสัน กว่าจะประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าได้สำเร็จซึ่งเป็นดวงแรกของโลกเขาต้องล้มเหลว นับพันๆครั้ง  เป็นต้น

                ปัจจัยข้างต้นจึงเป็นที่มาของคนไทยที่ไม่ชอบคิดสร้างสรรค์ สินค้าใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ จึงไม่เกิดขึ้นในเมืองไทยมากมาย แต่ตรงกันข้ามสังคมไทยเป็นสังคมที่ชอบลอกเลียนแบบ เช่น การลอกเลียนแบบ เพลง ภาพยนตร์ โดยการ Copy ขาย ฯลฯ  ดังนั้นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไป

หมายเลขบันทึก: 494283เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณ บทความดีดีนี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท