ประสบการณ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของข้าพเจ้า


สิ่งที่เรียนรู้ (What) : การถ่ายภาพด้วยกล้อง DSLR

วิธีการเรียนรู้ (How) :    

      สิ่งที่สำคัญมากในการถ่ายภาพ ก็คือ "แสง" นั่นเอง หากไม่มีแสง ภาพก็ไม่เกิด ดังนั้น ภาพที่สวยงาม จึงเกิดจากการที่เราควบคุมปริมาณแสงได้เหมาะสมนั่นเองงงงง...มาดูกันสิว่า ปัจจัยหลักๆ ในการควบคุมแสงมีอะไรบ้างนะ??

ปัจจัยที่ 1 รูรับแสง (Aperture)

        หน้าที่หลักของรูรับแสงก็คือควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านเข้ามา ซึ่งหลักการทำงานของมันก็เปรียบได้กับการที่เราเปิด-ปิดหน้าต่างในตอนกลางวัน ถ้าเราเปิดหน้าต่างออกไปกว้างๆ แสงก็จะเข้ามาได้มาก แต่ถ้าเราเปิดนิดเดียวแบบแง้มๆ ไว้ แสงก็จะเข้ามาได้น้อย (พอจะนึกภาพกันออกมั๊ย??)

         ภาพนี้ก็จะแสดง รูรับแสงขนาดต่างๆ f ก็คือ f-stop ส่วนตัวเลขข้างหลัง f นั้นหมายถึงขนาดของรูรับแสง

เลขหลัง f มีค่า "มาก" >> รูรับแสง "แคบ" >> แสงเข้าได้ "น้อย"         เลขหลัง f มีค่า "น้อย" >> รูรับแสง "กว้าง" >> แสงเข้าได้ "มาก"

ปัจจัยที่ 2 สปีดชัตเตอร์ (Speed Shutter)

          Speed Shutter หมายถึง ความเร็วในการเปิด-ปิดของม่านชัตเตอร์ มีผลโดยตรงต่อปริมาณของแสงที่จะผ่านเข้าสู่เซ็นเซอร์รับภาพ (CCD) Speed Shutter จะมีหน่วยเป็นวินาที ถ้าจะเปรียบเทียบการทำงานของ Speed Shutter ก็คงเปรียบได้กับ การเปิด-ปิดก๊อกน้ำ

ถ้าเราเปิด-ปิดก๊อกน้ำ "เร็ว" >> ปริมาณน้ำที่ได้ก็ "น้อย" >> แสง "น้อย"   ถ้าเราเปิด-ปิดก๊อกน้ำ "นาน" >> ปริมาณน้ำที่ได้ก็ "มาก" >> แสง "มาก"

แต่ Speed Shutter มีหน้าที่หลักคือการจับความเคลื่อนไหว ถ้าความไวยิ่งสูง ก็จะยิ่งหยุดความเคลื่อนไหวในภาพให้นิ่งได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้ายิ่งช้า ก็จะเกิดความเคลื่อนไหวในภาพมาก

ปัจจัยที่ 3 ความไวต่อแสง (ISO)

          ISO ในกล้องแต่ละรุ่นจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถของกล้องที่ผู้ผลิตออกแบบมา โดยจะดูจากตัวเลขข้างหลัง ISO เช่น ISO 100 จะมีความไวแสงน้อย ก็ต้องการแสงปริมาณมากในการบันทึกภาพ ISO 800 จะมีความไวแสงมาก ก็ไม่จำเป็นต้องใช้แสงปริมาณมากในการบันทึกภาพ แต่ก็มีเงื่อนไขอยู่หนึ่งอย่างนั่นก็คือ ยิ่งความไวแสงมาก (ISO สูงๆ) คุณภาพของภาพที่ได้ก็จะลดต่ำลงนะ และจะเกิดจุดรบกวน (Noise) ขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าความไวแสงน้อย คุณภาพของภาพที่ได้ก็จะดีขึ้น Noise ก็จะไม่ค่อยเกิดขึ้น

       จากเนื้อหาที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า ปัจจัยทั้งสามนั้นมีความสัมพันธ์กัน ถ้าเรากำหนดรูรับแสงกว้าง เราก็ต้องใช้ Speed Shutter สูง และถ้าปริมาณแสงเพียงพอแล้ว ใช้ ISO ต่ำๆ ก็น่าจะเหมาะสม

       ดังนั้น ในการถ่ายภาพ ทุกอย่างจะเป็นเหตุเป็นผล และมีความสัมพันธ์กันทั้งหมด ยังไงก็แล้วแต่ หากต้องการเป็นช่างภาพที่ดีแล้ว จะมีเงินซื้ออุปกรณ์แพงๆ อย่างเดียวก็คงไม่พอ หากแต่ยังต้องหมั่นฝึกฝนฝีมือ ออกไปถ่ายรูปบ่อยๆ หาความรู้ เทคนิคใหม่ๆ อยู่เสมอ คิดภาพที่จะถ่ายไว้ในหัว แล้วได้ความรู้ที่มี ในการสร้างภาพที่สวยงามนั้นออกมา

ผลการเรียน (Outcome) : รู้สึกว่าตัวเองถ่ายรูปได้ดีขึ้นมาก จากตอนเริ่มต้นที่ยังหามุมกล้องไม่ค่อยเก่ง แต่การฝึกฝน ออกไปถ่ายรูปบ่อยๆ ดูผลงานของคนอื่นเยอะๆ ได้เห็นมุมมองอื่นๆ ที่แตกต่างออกไป ทำให้เรามีจินตนาการมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง (Reference) : หนังสือ เริ่มต้นกับ DSLR โดย ปิยะฉัตร แกหลง (บรรณาธิการ TSD e-Magazine)

ภาคผนวก (Appendix) : ตัวอย่างรูปที่ถ่ายมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา

                                 ปี พ.ศ. 2553

 

                                 ปี พ.ศ. 2554

 

                                  ปี พ.ศ. 2555

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 493813เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2012 00:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เป็นประโยชน์มากๆๆ อยากถ่ายรูปสวยๆเป็นบ้าง ^^

เจ๋งงง อ่านแล้วอยากลองไปถ่ายจังเลย TT แต่กล้องไม่มี เอิ้กๆ =////=

ถ้าทำได้แบบนี้ก็คงดีนะ คงมีรูปสวยเต็มบ้านเลยเนอะ

กำลังคิดเลยว่า จะใช้กล้อง และเลนส์แบบ ไหนดี

กำลังฝึกพอดีเลย ได้ความรู้ไปฝึกแล้ว ^^

รักถ่ายภาพสวยจังอะ >< ว่างๆมาถ่ายเค้า....เผื่อว่าเค้าจะดูดีขึ้น 555 XD

ขอบคุณครับ ได้ความรู้ไปถ่ายภาพ สวยๆ เเล้ว :D

สนใจถ่ายรูปคน..บ้างหรือเปล่า :)

ตากล้องมือโปรมากๆคับ =_,=+!

ไม่มีเงินซื้อกล้อง TT

อยากถ่ายภาพสวยๆ แบบนี้จังเลยจ้ะ สอนบ้างน้าาา อิอิ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท